Browse Tag: enzyme

L-lysine (แอล ไลซีน) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

L- lysine (แอล ไลซีน) หรือไลซีน เป็นหัวข้อที่น่าสนใจไม่น้อยที่ว่าความเป็นไปเป็นมาของไลซีนนี้เป็นยังไง คืออะไร เนื่องจากผู้เขียนได้ไปเห็นอาหารเสริมที่เรียกว่า L-lysine เยอะแยะเต็มไปหมดตามร้านขายยาหรือร้านขายวิตามินต่างๆ เลยทำให้อดสงสัยและสนใจไม่ได้เลยว่าจะมีความสำคัญต่อร่างกายเราอย่างไรนะ ซึ่งเอาตามตรงแล้วผู้เขียนรู้แค่เพียงว่าไลซีนเป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อีกหนึ่งชนิด ด้วยความที่อยากรู้จึงได้หาข้อมูลเพิ่มเติมทำความเข้าใจมากขึ้นแล้วว่าตัวกรดอะมิโนจำเป็นตัวนี้คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อร่างกายมนุษย์เรา จริงๆ แล้วกรดอะมิโน (amino acid) นั้นมีความจำเป็นมากต่อระบบในร่างกายของเราค่ะ โดยเฉพาะกรดอะมิโนจำเป็นจึงจำเป็นและสำคัญต่อร่างกายซึ่งร่างกายไม่สามารถขาดได้ซึ่งนั่นก็มีอยู่มากมายหลากหลายตัวเลยทีเดียว โดยบางตัวที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องได้รับจากสารอาหารหรืออาหารเสริม และตัวไลซีนเองก็เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายเราไม่สามารถสร้างเองได้ แต่ประเด็นที่น่าสนใจของตัวไลซีนก็คือคุณสมบัติและประโยชน์ที่มีต่อสุขภาพร่างกายเราค่ะ

 

L-lysine (แอล ไลซีน) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

L- lysine (แอล ไลซีน) หรือไลซีน อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นคือไลซีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายของเราโดยที่ร่างกายของเราเองเนี่ยไม่สามารถสร้างหรือผลิตเองขึ้นมาได้ค่ะ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากทางอาหารหรืออาหารเสริม ไลซีน เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกเหนือจากกรดอะมิโนที่ถูกพบจากธรรมชาติหลายร้อยชนิด ซึ่งจะมี 20 ชนิดที่เป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนและการเจริญเติบโต อีกทั้งมีเพียงแค่ 10 ใน 20 ชนิดที่สามารถผลิตได้เองในร่างกาย ส่วนที่เหลืออีก 10 ชนิดนั้นจึงเรียกว่ากรดอะมิโน “จำเป็น” เนื่องจากมนุษย์เราต้องกินเพื่อสุขภาพที่เหมาะสม การขาดกรดอะมิโนทำให้เกิดการสลายตัวของเซลล์ภายในและอาจนำไปสู่ปัญหาได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารให้เพียงพอ

จริงๆ แล้ว L- lysine ตัวนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อสุขภาพและร่างกาย นอกจากหลักๆ ที่ไปช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการเจริญเติบโตในส่วนต่างๆ ของร่างกายแล้ว ยังมีบทบาทความสำคัญต่อการเสริมสร้างภูมิต้านทาน ฮอร์โมน คอลลาเจน และเอนไซม์ต่างๆ ด้วยค่ะ อีกทั้งยังพบว่าในช่วงเวลาหลายปีแล้วที่ผู้คนนิยมใช้ L-lysine ในการรักษาโรคไวรัสเริมและช่วยในการฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย โดยแหล่งอาหารที่ดีของ L-lysine โดยทั่วไปคือโปรตีนจากสัตว์โดยเฉพาะเนื้อแดง ไข่ไก่และไขมันจากปลาซึ่งแหล่งที่ดีจะได้จากปลาคอดและปลาซาร์ดีน นอกจากนี้ไลซีนยังพบในพืช ได้แก่ พืชตระกูลถั่วเช่นถั่วลิสงและถั่วลันเตา นอกจากบทบาทในการทำงานต่อสุขภาพร่างกายที่สำคัญที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นไปแล้วนั้น ในฐานะกรดอะมิโนที่จำเป็น L-lysine ยังทำหน้าที่ที่สะคัญสำหรับการสังเคราะห์ acetyl-CoA ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในปฏิกิริยาทางชีวเคมีหลายอย่าง อีกทั้ง L-lysine ยังไปช่วยสร้าง allysine ที่เป็นส่วนประกอบของคอลลาเจนและอีลาสติน ส่วนใหญ่แล้วอาหารเสริมที่มี L-lysine จะถูกใช้กับคนที่ขาดหรือได้รับไม่เพียงพอจากอาหารรวมทั้งมีปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆ อีกด้วย

 

ประโยชน์ต่อสุขภาพและร่างกายของไลซีน (L-lysine)

  • ช่วยรักษาบรรเทาและป้องกันโรคเริม
  • ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมน
  • ช่วยเพิ่มการดูดซืมของแคลเซียม
  • ช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน
  • ช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน
  • ช่วยลดความวิตกกังกวลและอาการทางจิต
  • ช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน
  • ช่วยรักษาโรคงูสวัด
  • ช่วยเสริมสร้างเอ็นไซม์และเนื้อเยื่อต่างๆ
  • ช่วยส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร

 

ประโยชน์ทางสุขภาพจากไลซีน L- lysine มีมากมายอย่างน่าเหลือเชื่อเลยจริงๆ ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงของไลซีนมีอยู่เล็กน้อย เช่น อาการปวดท้องและท้องร่วง นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางไตและตับควรระมัดระวังและควรได้รับปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญบริการด้านสุขภาพเสียก่อนที่จะเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไลซีนนะคะ ซึ่งโดยในคนปกติทั่วไปควรที่จะได้รับไลซีนปริมาณระหว่าง 800 ถึง 3,000 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/mateusd/14631911192/

www.flickr.com/photos/oldpatterns/23568689538/

สารอาหาร คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

eating-healthy-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ทาง HealthGossip อยากนำข้อมูลของ สารอาหาร มานำเสนอกันค่ะ เคยสงสัยหรือเปล่าคะว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการสารอาหาร ก่อนที่จะได้สารอาหารก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปก่อน อาหารก็มีหลากหลายอย่างและเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารแบบไหนถึงจะเรียกว่าอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารแบบไหนที่เราเลือกรับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ตอนนี้เราจึงควรที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของอาหารและสารอาหารกันก่อนเลยค่ะ 

อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

สารอาหาร คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน และเมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหารจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ห้พลังงาน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) คาร์โไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับโปรตีนและไขมัน โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic linkage) ทำให้โมเลกุลใหญ่ขึ้น เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่หลากหลายชนิดกันค่ะ คาร์โบไฮเดรตบางชนิดเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น เซลลูโลส (cellulose)

โปรตีน (protein) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นสองรองจากน้ำ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (amino acid) แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย (non essential amino acid) โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ สร้างภูมิคุ้มกันโรค รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย

ไขมัน (fat) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลอรี่ (calorie) ไขมันเกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล และโมเลกุลของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล เป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride)

 

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน คือ สารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ ได้แก่ เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ

วิตามิน (Vitamin) แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่

  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

เกลือแร่(Mineral) ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันมากว่า 100 mg ขึ้นไป ได้แก่ แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), แมกเนเซียม (Magnesium), โซเดียม (Sodium), กำมะถัน (Sulphor) และคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งในร่างกายของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม
  • แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันในปริมาณน้อยกว่า 100 mg ต่อวัน แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็ก (Iron), สังกะสี (Zinc), ซีลีเนียม (Selenium), แมงกานิส (Manganese), ทองแดง (Copper), ไอโอดีน (Iodine), โครเมียม (Chromium), โคบอลท์ (Cobalt), ฟลูออไรด์ (Fluoride), โมลิบดินัม (molybdenum) และ วานาเดียม (Vanadium)

 

 

www.flickr.com/photos/electrolux-design-lab/14921194033/

www.flickr.com/photos/arselectronica/14063329988/

แมงกานีส คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-vegetable-1
Source: Flickr (click image for link)

มงกานีส (Manganese) เป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายไม่แพ้แร่ธาตุตัวอื่นๆค่ะ และที่สำคัญก็คือร่างกายของเราไม่สามารถขาดได้ด้วยเช่นกัน จะพบมากในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ แมงกานีสจะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมโดยประโยชน์หลักๆของแร่ธาตุชนิดนี้ก็คือ จะไปช่วยในเรื่องของการตอบสนองของกล้ามเนื้อการยืดตัวหดตัวดี ช่วยทำให้ไม่ปวดหลังและทำให้ร่างกายสดชื่นมีความจำที่ดีและอื่นๆอีกมากมาย แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันในกระดูกและกระดูกอ่อน แมงกานีสจะมีส่วนที่คล้ายกับแมกนีเซียม คือ สารอาหารชนิดนี้จะมีการสูญเสียระหว่างกระบวนการดัดแปลงทางอาหาร เช่น เมื่อธัญพืชถูกเปลี่ยนเป็นแป้งขัดขาวจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับแมงกานีสต่ำในระดับเพียงแค่ 25% ของกลุ่มทดสอบที่มีการควบคุมการได้รับสารอาหารนั่นเอง

 

เกี่ยวกับแมงกานีส หรือ Manganese

  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคนเราและไม่สามารถขาดได้
  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง
  • แมงกานีส พบมาในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจ
  • แมงกานีส ส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วขับออกทางอุจจาระ
  • แมงกานีส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด คือ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย
  • แมงกานีส ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมเพราะอย่างนี้ในคนที่ร่างกายขาดแมงกานีส จะทำให้หลงลืมได้ง่าย ความจำจะสั้นกว่าคนปกติ
  • แมงกานีส แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก พืชผัก ผลไม้และเมล็ดผลไม้(เปลือกแข็ง)
  • แมงกานีส  พบมากในผักใบเขียว ธัญพืช ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หัวบีต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม เนย ไข่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ตับสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ มะพร้าว คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด ข้าวเจ้า แห้ว แครอท หัวปลี เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน องุ่น มะกอก ส้ม เชอรี่ แอปเปิ้ล อะโวคาโด แอพริคอท มะตูม มะขวิด กระจับ
  • แมงกานีส ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และกระดูกพร้อมทั้งรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
  • แมงกานีส กระตุ้นให้ตับเก็บน้ำตาลในรูปของ Glycogen
  • แมงกานีส มีความสำคัญในการผลิตน้ำนมในผู้หญิงตั้งครรภ์ และการสร้างยูเรียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัสสาวะ
  • แมงกานีส เป็นตัวสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์ทางเคมีของต่อมไทรอยด์ขับไทรอกซินและช่วยในการใช้โคลีน
  • แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมัน และ คอเลสเตอรอล
  • แมงกานีส ช่วยให้ความจำดีขึ้น ลดอาการหงุดหงิดง่าย
  • แมงกานีส ถ้าได้รับประทานแมงกานีสอย่างพอเพียงโรคลมบ้าหมูก็สามารถมีอาการดีขึ้นได้
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยและนำสารอาหารมาใช้ให้เป็นประโยชน์
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อการสร้างไทรอกซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของต่อมไทรอยด์

 

 

ประโยชน์ของแมงกานีส (Manganese)

 

แมงกานีสช่วยควบคุมการทำงานของเอนไซม์ คือช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย และช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่จำเป็นต่อกระบวนการนำไบโอติน วิตามินบี1 และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งแมงกานีสมีความจำเป็นต่อโครงสร้างของกระดูก

 

ช่วยในการทำงานของอินซูลิน โดยการขาดแมงกานีสจะทำให้อินซูลินลดประสิทธิภาพน้อยลง

 

แมงกานีสช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต คือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ให้ทำงานตามปกติและช่วยขับฮอร์โมนเพศสำหรับวัยเจริญพันธ์ุ

 

ช่วยเรื่องการทำงานของสมองระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ โดยจะไปควบคุมสุขภาพและการทำงานของสมองระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิการสั่งงาน่่และมีความสัมพันธ์กัและมีส่วนช่วยในกระบวนการตอบสนองของกล้ามเนื้อด้วยค่ะ

 

 

ปริมาณของแมงกานีสที่ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน

โดยสถาบันวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำปริมาณแมงกานีสที่ควรได้รับต่อวันคือประมาณ 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน

หากร่างกายมีแมงกานีสไม่เพียงพอ คนที่ร่างกายขาดแมงกานีสจะทำให้หลงลืมได้ง่ายความจำจะสั้นกว่าคนปกติ นอกจากนั้นยังมีอาการปวดหลังและข้อกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วกว่าคนที่ร่างกายไม่ขาดแมงกานีส

หากร่างกายได้รับแมงกานีสมากเกินไป ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับเข้ามาจากทางของการสัมผัสมากกว่าที่จะได้จากการรับประทานอาหาร เพราะฉะนั้นหากเราได้สัมผัสไม่ว่าจะจากการสูดดมหรือ ทำอะไรที่เกี่ยวกับแมงกานีสโดยตรงก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับแมงกานีสที่มากเกินไปหรือมีอาการจากการได้รับมากเกินไป และถ้าเกิดว่าแมงกานีสมีอยู่ในร่างกายมาเกินไปจากการที่เราสัมผัสโดยตรงก็อาจจะทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท และมีอาการสั่นคล้ายกับโรคพาร์กินสันหรือโรคสันนิบาตนั่นเองค่ะ

 

www.flickr.com/photos/chodhound/5540012574/