Browse Tag: glucose

19 ชนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน

Source: Flickr (click image for link)

“การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสิรฐ” หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีกับสำนวนดังกล่าว ไม่ว่ามนุษย์เราจะยาก ดี มี จน ก็อยากให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บกันทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าคนเราก็ล้วนแต่ต้องมาเผชิญกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอโดยที่ใครก็ไม่สามารถกำหนดหรือหลีกเลี่ยงกันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วสิ่งที่เราทำได้ก็มีแค่รู้จักที่จะอยู่กับมันและประคับประคองให้ดีที่สุดค่ะ ใครๆ ก็คงไม่อยากเจ็บป่วยกายกันหรอกจริงไหมคะ นอกจากป่วยกายแล้วยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจจนทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่มีความสุข ส่วนใหญ่การดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดนอกจากออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญยิ่งอีกทั้งเป็นตัวส่งผลทั้งโดยตรงและทางอ้อมค่ะ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมนอกจากจะช่วยไม่ให้ก่อโรคต่างๆ แล้วยังช่วยชะลอหรือรักษาบางโรคได้เลยทีเดียวค่ะ วันนี้เลยจะมาพูดถึงหัวข้อที่ว่า จะเลือกรับประทานผลไม้ชนิดไหนถึงจะเหมาะสมกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ขึ้นชื่อว่ามีโรคประจำตัวไม่ว่าจะโรคอะไรก็จะถูกจำกัดการรับประทานอาหารอยู่เสมอ บางคนอาจจะยังไม่ทราบหรือทราบมาบ้างแล้วว่าควรรับประทานอาหารชนิดไหนได้บ้าง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะชอบรับประทานอาหารที่ถูกห้ามเสมอด้วยข้อจำกัดของประเภทของอาหารที่ต้องควบคุมมากมาย แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงผลไม้ชนิดไหนอะไรบ้างที่คนเป็นโรคเบาหวานสามารถรับประทานได้บ้างค่ะ ซึ่งอย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานผลไม้สดๆ แทนการเลือกรับประทานแบบเป็นน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือในรูปแบบน้ำผลไม้ปั่น เนื่องจากการเลือกรับประทานผลไม้แบบสดๆ นอกจากจะได้รับเส้นใยอาหาร สารสำคัญต่างๆ รวมถึงวิตามินในผลไม้อย่างธรรมชาติโดยตรง โดยการดื่มน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือแบบน้ำผลไม้ปั่นนอกจากสารสำคัญรวมถึงวิตามินคุณค่าทางโภชนาการจะหายไปกับกระบวนการผลิตแล้ว เรากลับได้รับน้ำตาลจากน้ำเชื่อมที่ถูกเติมลงไปอีก ด้วยการถูกจำกัดการเลือกรับประทานอาหารก็ยากพอแล้ว แต่เชื่อเถอะค่ะว่าผลไม้ที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเป็นตัวช่วยได้ดีเลยทีเดียว นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังได้รับวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลยล่ะ

ถึงแม้ว่าในผลไม้จะมีน้ำตาลอยู่แต่จะเห็นได้ว่าก็จะไม่ถูกให้งดทานเลยซะทีเดียว ซึ่งก็ควรเลือกรับประทานในปริมาณที่จำกัดนั่นเองค่ะ โดยในแต่ละวันอาจจะทานได้ 2 ถึง 3 มื้อ และเป็นมื้อละ 7- 8 ชิ้นคำค่ะ

 

19 ขนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน

Source: Flickr (click image for link)

1.แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ลแดง ชมพู เหลือง เขียว ถือเป็นผลไม้ชนิดแรกที่จะแนะนำให้มีติดบ้านไว้เลยก็ว่าได้ค่ะ ถือเป็นผลไม้ที่เป็นอาหารว่างอันดับแรกที่เลือกนำมารับประทาน นอกจากน้ำตาลต่ำ มีเส้นใยอาหารและวิตามินซีสูงแล้วยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วยค่ะ

 

2.ฝรั่ง

การเลือกรับประทานฝรั่งเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อยเลยค่ะ เห็นผลสีเขียวๆอย่างนี้มีน้ำตาลต่ำแต่วิตามินซีสูงปรี๊ดนะเออ แถมมาด้วยเส้นใยอาหารที่มีมากไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆ เลยทีเดียว จะว่าไปฝรั่งที่บ้านเราราคาก็แสนจะถูกแถมหาง่ายอีกด้วย

 

3.บลูเบอร์รี่

บลูเบอร์รี่เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่ขึ้นชื่อของเรื่องที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และมีส่วนช่วยการต้านการอักเสบ บูเบอร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีผลไม้เหล่านี้ติดบ้านไว้ค่ะ

 

4.แตงโม

หลายคนคงคิดว่าผลไม้อย่างแตงโมที่มีรสชาติหวาน สดชื่น นี้จะเหมาะกับคนเป็นเบาหวานหรอ ? แต่รู้มั้ยคะว่าน้ำตาลในแตงโมไม่เยอะอย่างที่คิดเลย นอกจากนี้แตงโมยังมีแร่ธาตุ ใยอาหารและน้ำปริมาณมาก ที่จะไปช่วยลดความอยากอาหารค่ะ

 

5.องุ่น

องุ่นโดยเฉพาะองุ่นแดงมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง Resveratrol ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่พบได้ในองุ่น ที่จะไปช่วยปรับการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดโดยทำให้ร่างกายหลั่งและใช้อินซูลินค่ะ

 

6.แคนตาลูป

แคนตาลูปสามารถรสชาติหวานฉ่ำช่วยเติมความสดชื่นด้วยเนื้อนุ่ม ๆ แคนตาลูปเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีปริมาณน้ำมาก และมีสารอาหารต่างๆ สูง

 

7.ชมพู่

ชมพู่เป็นผลไม้ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลในพื้นที่เขตร้อนอย่างบ้านเรา นอกจากมีพลังงานต่ำและน้ำเยอะแล้วยังมีเส้นใยอาหาร วิตามินซีที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

8.สตรอเบอร์รี่

สตรอเบอร์รี่เป็นอีกชนิดของผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถปรับภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งและเพิ่มการเผาผลาญอาหารซึ่งจะช่วยคุณในขณะลดน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

9.ราสเบอร์รี่

ราสเบอร์รี่ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีเส้นใยสูงที่เป็นผลดีต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ดีของสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามิน

 

10.ส้ม

สารฟลาโวนอยด์และกรดฟีนอลเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบในส้ม อีกทั้งยังมีวิตามินซีและเส้นใยอาหารสูง เมื่อกล่าวถึงการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสไม่เพียงแต่ช่วยชะลอระดับกลูโคส แต่ยังยับยั้งการเคลื่อนไหวหรือการขนส่งของน้ำตาลกลูโคสผ่านลำไส้และตับด้วย

 

11.กีวี่

กีวี่ลูกกลมๆ รีๆ มีเปลือกขนสีน้ำตาลแต่มืเนื้อข้างในสีเขียวสดใส ด้วยรสชาติที่หวานอมเปรี้ยวกัดทีให้ความชุ่มฉ่ำไม่น้อย มีวิตามินซีและเส้นใยอยู่สูงไม่น้อยดเลยค่ะ นึกอะไรไม่ออกก็จับกีวี่มาสักลูกรับรองหลังจากรับประทานจะไม่รู้สีกผิดเลยแม้แต่น้อย

 

12.ลูกแพร์

ผลไม้อีกชนิดอย่างลูกแพร์ไม่ว่าคุณจะกินมันเท่าไรคุณก็จะได้ลิ้มรสที่แสนอร่อยและเต็มเปี่ยมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารอาหารที่ดี ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะยังไปช่วยในการควบคุมความหิวได้ด้วยเช่นกัน

 

13.เลมอล

นอกจากเลเมอลแล้วยังรวมถึงมะนาวที่นอกจากมีวิตามินต่างๆ เช่นวิตามิน A, B, แมกนีเซียมโซเดีย เส้นใย และอื่นๆ นอกจากนี้เลมอลและมะนาวยังมีระดับที่ดีของเส้นใยที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะไปช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เส้นใยที่ละลายน้ำช่วยยับยั้งปริมาณน้ำตาลที่นำเข้าจากเลือด นอกจากนี้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะทำให้ระดับกลูโคสของเราคงที่ค่ะ

 

14.แครนเบอร์รี่

แครนเบอร์รี่เป็นแหล่งที่มีปริมาณเส้นใยและสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมระดับกลูโคสของร่างกายเนื่องจากมีน้ำตาลน้อยมาก น้ำแครนเบอร์รี่หากดื่มเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการ UTIs ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานค่ะ

 

15.เสาวรส

ผลไม้รสเปรี้ยวอบหวานนิดๆ อย่างเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังพบว่าเสาวรสและเปลือกของมันมีเส้นใยที่ละลายน้ำได้เรียกว่าเพคตินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเพคตินทำให้ความสามารถในการดูดซึมน้ำตาลลดลงค่ะ

 

16.ทับทิม

ผลทับทิมเม็ดสีแดงสดใสอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องคุณจากอนุมูลอิสระและโรคเรื้อรัง อีกทั้งทับทิมยังเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ยอดเยี่ยมอีกด้วยค่ะ

 

17.เชอร์รี่

เชอร์รี่ผลสดๆ มีสารสำคัญเหมือนกับบลูเบอร์รี่คือ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสำคัญอย่างแอนโธไซยานินที่ช่วยให้เซลล์ผลิตอินซูลินได้ถึง 50% เลยค่ะ

 

18.ลูกพีช

นอกจากรสชาติที่อร่อยของลูกพีชทั้งยังสามารถเติมความสดชื่นให้กับเครื่องดื่มในช่วงอากาศร้อนๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาวิตามิน A และ C หรือกำลังต้องการใยอาหาร ลูกพีชเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

19.ส้มโอ

ผลไม้ไทยที่รสชาติอร่อยติดปากคนไทยอีกชนิดอย่างส้มโอ นอกจากมีวิตามินซีและเส้นใยอาหารที่สูงไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆ แล้ว ยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง flavonoid ที่ไปช่วยในการสร้างความสมดุลให้แก่ฮอร์โมนอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/ktpupp/684941010/

www.flickr.com/photos/lori_greig/5334058050/

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yeast-1
Source: Flickr (click image for link)

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ภาวะการขาดโครเมียม

จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง

การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น

การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

 

เกี่ยวกับโครเมียม หรือ Chromium

  • โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
  • โครเมียม ในร่างกายของคนเรามีอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม และปริมาณนี้ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น
  • โครเมียม เกี่ยวข้องกับเมตาบอริซึม ของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะการใช้กลูโคสในร่างกาย
  • โครเมียม มีผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก คือ มันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
  • โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด
  • โครเมียม เมื่อขาดจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โครเมียม วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast)
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมในธรรมชาติ พบมากใน น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ เนื้อไก่ บริวเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ตับ ไข่แดง เห็ด เนยแข็ง กากน้ำตาล และในข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง
  • โครเมียม ช่วยการเจริญเติบโต
  • โครเมียม ช่วยป้องกันพิษจากตะกั่ว
  • โครเมียม ป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • โครเมียม ทำงานเป็นเกราะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงเฉียบพลัน
  • โครเมียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • โครเมียม ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้
  • โครเมียม ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  • โครเมียม เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน
  • โครเมียม ทั้งหมดที่รับประทาน ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสาวะและอุจจาระบางส่วน

 

ประโยชน์ของโครเมียม หรือ Chromium

 

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ คลอเรสเตอรอลทั้งหมด

 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญน้ำตาล โครเมียมทำหน้าที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน โดยเป็นส่วนประกอบของ glucose tolerance factor ซึ่งมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินต่อตัวรับอินซูลิน (insulin receptor)

 

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก โครเมียมพิกโคลิเนต จะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียมจำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)

 

ปริมาณของโครเมียมที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปริมาณที่แนะนำ ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

(ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 

www.flickr.com/photos/cgc/4755952861/

9 เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงไกลห่างจากน้ำตาล

brown-sugar-1
Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารไทย รสชาติอร่อยคืออาหารที่มีรสชาติครบรส นั่นก็คือรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด โดยเฉพาะอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นเปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ล้วนแต่อร่อยทั้งนั้น รสชาติจืดชืดน่ะหรอแล้วมันจะไปมีรสชาติอร่อยอะไรล่ะ จริงไหมคะ? แต่ทว่าอาหารรสจัดที่กล่าวมานั้นส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้อยากที่จะแนะนำสักเท่าไหร่ ทั้งหมดทั้งปวงก็อยากจะให้รับประทานแต่พอดี…ในบ้านเรานั้นตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวกรรมวิธีส่วนใหญ่จะปรุงอาหารด้วยกะทิ แกงกะทิต่างๆ ส่วนอาหารหวานก็นิยมกะทิเช่นกันและขนมหวานในบ้านเราต่างๆนั้นก็จะมีรสชาติที่หวานจับใจ จนกระทั่งปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆเริ่มพัฒนาขึ้นมากมีขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบมากมายให้เลือกเกลื่อนเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด แค่ตื่นตอนเช้าเดินไปซื้อกาแฟ หรือเดินออกมาจากปากซอยก็จะมีขนมให้เลือกหลากหลายง่ายดายเหลือเกิน และส่วนผสมส่วนใหญ่ก็คือน้ำตาลทั้งนั้น แม้แต่เครื่องดื่มที่เคลมกันว่า healthy เหลือเกินวางเรียงรายให้จับจ่ายในร้านสะดวกซื้อ ส่วนผสมหลักก็ยังเป็นน้ำตาลอยู่ดี ไม่ต้องพูดถึงการเติมน้ำตาลเพื่อปรุงอาหารจานเดียวเลยค่ะ อาหารบางอย่างถูกปรุงมาเรียบร้อยแล้วแต่เราก็ยังปรุงเพิ่มอยู่เสมอ แล้วเราทราบกันหรือไม่คะว่า ‘’น้ำตาล’’ หรือ ‘’sugar’’ ที่เรารู้จักกันดีเนี่ย มันไม่มีประโยชน์อื่นใดๆเลย นอกจากให้พลังงาน (Empty Calorie) เนื่องจากน้ำตาลจัดเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ซับซ้อน คือให้แต่พลังงานเท่านั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆทั้งสิ้นนั่นเองค่ะ โดยที่น้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี่ เพราะฉะนั้น น้ำตาล  1 ช้อนชา ก็จะให้พลังงานโดยประมาณ 15 แคลอรี่ค่ะ โดยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า แต่ละวันควรใช้น้ำตาลในการปรุงแต่งรสชาติอาหารไม่เกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานทั้งหมด ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีจึงแนะนำว่า เด็กเล็กควรได้รับประทานน้ำตาลไม่เกินวันละ 4 ช้อนชา (16 กรัม) และผู้ใหญ่ควรรับประทานไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม) ส่วนปัจจุบัน พบว่าคนไทยบริโภคน้ำตาลเฉลี่ยประมาณ 23 ช้อนชา (92 กรัม) ต่อวันซึ่งถือเป็นปริมาณที่มากเกินกว่าที่แนะนำถึงเกือบ 4 เท่า โดยในชีวิตประจำวันนั้นเราได้รับ แหล่งอาหารคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจากพวกข้าว แป้ง ซึ่งมีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นประจำอยู่แล้ว และได้รับน้ำตาล ธรรมชาติจากผลไม้เป็นแหล่งพลังงานและวิตามินแร่ธาตุอีกด้วยค่ะ   

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประเภทของน้ำตาลกันค่ะ !

น้ำตาล ก็คือ คาร์โบไฮเดรตที่มีรสหวาน ประกอบด้วยคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยหลักๆแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (simple sugar) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจึงสามารถดูดซึมนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการย่อย ได้แก่
  • น้ำตาลกลูโคส (glucose) มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไปในพืช ผัก ผลไม้ เป็นน้ำตาลที่มีความหวานน้อยกว่ารองลงมาจากน้ำตาลฟรักโทสและสามารดูดซีมได้อย่างรวดเร็ว
  • น้ำตาลฟรุกโตส (fructose) เป็นน้ำตาลที่มีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบมากในน้ำผึ้งและผลไม้ที่มีรสหวาน
  • น้ำตาลกาแล็กโตส (galactose) คล้ายน้ำตาลกลูโคสมากที่สุด ไม่พบในธรรมชาติ มีอยู่เฉพาะในอาหารพวกนมและผลิตผลของนมทั่วๆไป
  1. น้ำตาลโมเลกุลคู่ (double sugar) เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่ให้รสหวาน เมื่อรับประทานเข้าไป จะต้องผ่านการย่อยโดยเอนไซม์ในระบบย่อยอาหารจนได้น้ำตาลเชิงเดียวก่อนจึงจะดูดซึมต่อไปได้ ได้แก่
  • น้ำตาลซูโครส (sucrose) (กลูโคส + ฟรุกโตส) คือน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลอ้อย น้ำตาลชนิดนี้พบมากในอ้อย หัวบีต และผลไม้ที่มีรสหวานเกือบทุกชนิด
  • น้ำตาลมอลโทส (moltose) (กลูโคส + กลูโคส) คือน้ำตาลพบมากในเมล็ดข้าวที่กำลังงอกหรือน้ำที่สกัดจากข้าวงอก (malt-liquors)
  • น้ำตาลแล็กโทส (lactose) (กลูโคส + กาแลกโตส) พบอยู่ในน้ำนม เราจึงรู้จักในชื่อน้ำตาลนม มีความหวานน้อย ละลายน้ำได้น้อยกว่า ย่อยได้ช้ากว่าและบูด (ferment) ได้ยากกว่าซูโครส และมอลโทส

 

9 เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงไกลห่างจากน้ำตาล

sugar-sweet-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.น้ำตาลทำให้อ้วน

สำหรับคนอ้วนทั้งที่กำลังเริ่มจะอ้วนหรือได้ทำการอ้วนไปแล้วเรียบร้อยนั้น รู้กันหรือเปล่าคะว่าสิ่งที่น่ากลัวที่สุดในการควบคุมน้ำหนักไม่ใช่ไขมันนะคะ แต่เป็นน้ำตาลตัวดีนี่เองล่ะค่ะ เพราะต่อให้ระมัดระวังในการควบคุมไขมันมากแค่ไหน แต่ถ้าคุณยังเติมน้ำตาลไม่ยั้งมือก็จะส่งผลต่อสุขภาพได้เช่นกันค่ะ หลายคนคงพยายามที่จะควบคุมการรับประทานอาหารโดยการเลือกรับประทานอาหารพวกไขมันต่ำหรือไม่มีไขมัน แต่ก็อย่าลืมกันนะคะว่าอาหารพวกนี้ก็สามารถทำให้คุณอ้วนได้ ถ้ามีน้ำตาลฟรุกโตสอยู่ในปริมาณมาก เพราะร่างกายเราดูดซึมอาหารพวกนี้ได้เร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วยค่ะ ตามกลของไกร่างกายแล้ว ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด แต่ความจริงที่แสนจะโหดร้ายก็คือ ถ้าร่างกายของเราไม่ได้ใช้พลังงานมากพอ น้ำตาลที่เหลือก็จะถูกเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมไว้ตามร่างกาย เราจึงเห็นได้ง่ายๆ ว่าทำไมเราถึงได้มีไขมันส่วนเกินโผล่มาตามหน้าท้อง ต้นขา และสะโพกได้ถึงเพียงนี้ แต่นั่นก็อีกแหละค่ะ มันเป็นสัญญาณเตือนแบบนัยๆ ว่าจะมีอีกสารพัดโรครอเข้ามารุมเร้าโดยที่เราไม่รู้ตัวด้วยเช่นกันค่ะ

 

2. น้ำตาลทำให้แก่เร็ว

เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นประจำ จะเกิด ปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ที่จะไปเร่งกระบวนการเสื่อมของร่างกาย หรือเรียกง่ายๆว่าทำให้แก่เร็วขึ้นนั่นเองค่ะ ไกลเคชั่น เกิดจากโมเลกุลของน้ำตาลไปทำปฏิกิริยากับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเรา ทำให้เกิดสารขึ้นมากลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า AGEs (Advanced Glycation End-Products) ซึ่งเป็นพิษต่อร่างกาย เจ้า AGEs นี้ ถ้าไปยุ่งเกี่ยวกับเซลล์ร่างกายบริเวณไหนเมื่อไหร่แล้วล่ะก็จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นเสื่อมหรือมีการทำงานที่แย่ลง เมื่อมี AGEs มาก และนานวันเข้าก็จะทำให้เกิดการทำลายคอลลาเจนและใยโปรตีนที่ผิวหนังทำให้เกิดริ้วรอยและจุดด่างดำ แถมยังทำให้เซลล์สมองเสื่อมจนเกิดเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และส่วนของผนังหลอดเลือดแดงก็จะแข็ง เปราะบาง และยืดหยุ่นน้อยลง ทำให้ เกิดโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular disease) ได้ เกิดความเสื่อมของตับอ่อน ทำให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือผลิตได้แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน = โรคเบาหวาน ถ้าไปทำปฏิกริยากับสายพันธุกรรม ก็จะทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ผิดไปจากเดิม ทำให้ร่างกายเสื่อมอย่างถาวร

 

3. น้ำตาลทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ

คนที่ชอบกินอาหารหวานบ่อย ๆ สมดุลของแร่ธาตุชนิดต่างๆ จะรวนจนหาสมดุลไม่ได้ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ติดเชื้อได้ง่าย มีรายงานกล่าวว่าการกินหวานมากทำให้เลือดมีธาตุแคลเซียมสูงขึ้น ฟอสฟอรัสลดลง ซึ่งอาจไปตกตะกอนสร้างปัญหานิ่วในไต นอกจากนี้การเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายบ่อย ๆ ยังเร่งให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวเร่งให้เกิดทั้งโรคหัวใจและมะเร็ง ทั้งนี้น้ำตาลยังทำให้อาการของโรคติดเชื้อที่เป็นอยู่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เพราะเชื้อโรคทุกชนิดใช้น้ำตาลเป็นอาหารนั่นเองค่ะ

 

4. น้ำตาลทำให้ฟันผุ

การรับกระทานอาหารไม่ว่าจะเป็นพวกข้าว แป้ง เมื่อร่างกายได้ทำการย่อยแล้วก็จะถูกกลายเป็นน้ำตาลแล้วก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลใดๆ ในอาหาร แบคทีเรียในปากจะยังคงมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการย่อยสลายแป้ง และน้ำตาลที่คั่งค้างอยู่ในช่องปากทำให้เกิดกรดแล็กติก กรดแล็กติกนี้เองที่จะเป็นตัวทำลายเคลือบฟัน (enamel) ให้กร่อนและบางลงจนเกิดฟันผุในที่สุด

 

5. น้ำตาลทำให้ปวดท้อง ท้องอืด

การที่กระเพาะอาหารมีน้ำตาลมากเกิน ก็จะทำให้เกิดการหมักหมม มีส่วนที่ทำให้แบคทีเรียกลุ่มแล็กติกที่อยู่ในทางเดินอาหารผลิตกรดและแก๊สขึ้น จึงสามารถทำให้เกิดอาการท้องอืดหรือปวดท้องได้ค่ะ  

 

6. น้ำตาลทำให้ซึมเศร้า ไม่กระปรี้ประเปร่า

การกินน้ำตาลเยอะๆ จะส่งผลทำให้กรดอะมิโนที่ชื่อ “ทริปโตเฟน” ถูกเร่งให้ผ่านเข้าสู่สมองมากเกินไป สมดุลของฮอร์โมนในสมองเปลี่ยนแปลง ผลที่ตามมาคือเกิดอาการเหนื่อย เซ็ง ซึมเซา ง่วงหงาวหาวนอน ไม่กระฉับกระเฉงกระปรี้กระเปร่า

 

7. น้ำตาลก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

คงจะหนีไม่พ้นโรคเบาหวาน เนื่องจากเมื่อน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายก็จะถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่เล็กพอจะเข้าสู่กระแสเลือด ทั้งนี้ก็เพื่อให้ร่างกายสามารถนำไปใช้เป็นพลังงานได้ ถ้าเราได้รับน้ำตาลในปริมาณสูง ระดับของน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น ฮอร์โมนอินซูลินที่ถูกสร้างโดยตับอ่อนก็จะออกมาทำหน้าที่คอยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ การที่เรากินน้ำตาลมากๆ ทุกวัน ตับอ่อนก็ต้องทำงานหนักเพื่อเร่งการสร้างอินซูลิน และเมื่อนานๆเข้า ตับอ่อน ก็จะกลายเป็น ตับอ่อนล้า คือตับอ่อนเกิดภาวะเสื่อมจนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอที่จะไปคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ น้ำตาลในเลือดเลยสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคเบาหวานในที่สุด

 

8. น้ำตาลส่งผลต่อระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

น้ำตาลฟรุกโตสที่ได้จากอาหารหลังจากถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไขมันแล้วจะถูกส่งออกจากตับและส่วนมากจะถูกส่งออกในรูปของ Very Low Denstiry Lipoprotein (VLDL) ซึ่งไขมันชนิดนี้เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะถูกเปลี่ยนเป็นคลอเลสเตอรอลชนิด LDL (คลอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) มีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์และคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้นค่ะ

 

9. น้ำตาลทำให้มีอารมณ์ดุร้ายได้ง่าย

“น้ำตาล” ที่มีรสหวานอร่อยลื่นลิ้นนั้น รู้หรือเปล่าคะว่าจะมีผลร้ายต่อระบบประสาทและภาวะอารมณ์ของคนเราค่ะ โดยจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ซึมเศร้า ก้าวร้าว ต่อต้านสังคม หรือ อาจจะรุนแรงถึงขั้นก่ออาชญากรรมไปเลยก็ว่าได้ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ ได้อธิบายถึงการทำงานของน้ำตาลที่ไปมีผลต่ออารมณ์เอาไว้ว่า เมื่อน้ำตาลจำนวนมากเข้าไปในร่างกาย มันจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดภายในเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น แล้วตับอ่อนก็จะหลั่งอินซูลินออกมา เพื่อขับน้ำตาลในเลือดส่วนเกินออกไป จนกระทั่งระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Hypoglycemia ในภาวะดังกล่าว Cerebrum ซึ่งเป็นสมองส่วนที่สัมพันธ์กับการเรียนรู้ การคิดค้น พฤติกรรม จิตสำนึก และสติสัมปชัญญะ ก็จะปิดตัวลง พลังงานของสมองก็จะส่งผ่านไปยังก้านสมองซึ่งควบคุมสัญชาติญาณและกิริยาอาการดั้งเดิมของมนุษย์ที่เต็มไปด้วยความก้าวร้าว รุนแรง ไร้เหตุผล ทำให้คนที่เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นสามารถทำอะไรโดยไม่ทันยั้งคิดได้ง่ายขึ้นเลยล่ะค่ะ

 

เหมือนอย่างที่คำโบราณได้บอกไว้ว่า “หวานเป็นลม ขมนั้นเป็นยา” ก็อย่างว่า อาหารที่มีรสชาติหวานละมุนก็ย่อมที่จะอร่อยกว่ารสชาติที่ขมเป็นไหนๆ แต่ก็อีกนั่นแหละค่ะ ว่าคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยุคสมัยเปลี่ยนไปตามการเวลา การผลิตเครื่องดื่ม ขนมหวาน สำเร็จรูป เกลื่อนกลาดเต็มท้องตลาดพร้อมให้จับจ่ายเลือกซื้อกัน ได้แต่หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้เข้าใจยิ่งขึ้น และเป็นแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้นนะคะ 🙂

 

www.flickr.com/photos/zh3us/4774497262/

www.flickr.com/photos/andrein/5556815064/