Browse Tag: hair

14 ชนิดสุดยอดอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสูง

Source: Flickr (click image for link)

ปัจจุบันการเลือกรับประทานอาหารไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามหรือเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไป เมื่อเทียบกับผลของการเกิดโรคร้ายต่างๆ มากมายให้เห็นอยู่ในทุกวัน การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการนั้นจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม คุณจะรับประทานอาหารอะไรก็ได้ถ้าในอาหารนั้นมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องเป็นชนิดของอาหารที่มีราคาแพงถึงจะการันตีว่านั่นคืออาหารที่ดีเสมอไปค่ะ แค่เพียงคุณอยากรู้อะไรก็ต้องได้รู้จากความสะดวกสบายตามยุคตามสมัยที่มีเทคโนโลยีที่กดคลิ๊กเดียวก็สามารถทราบข้อมูลที่คุณอยากรู้ได้ดั่งใจ ดังนั้นวันนี้ทางบล็อคของเราก็เลยเลือกนำเสนอหัวข้อของ “ชนิดของอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสูง” ทำไมต้องเป็นกรดอะมิโนจำเป็นล่ะ? เนื่องจากกรดอะมิโนก็คือ โปรตีนที่ถูกย่อยให้มีขนาดเล็กที่สุดเพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้ เมื่อร่างกายของเราได้ทำการย่อยโปรตีนแล้วโปรตีนเหล่านั้นจะอยู่ในรูปแบบของกรดอะมิโนค่ะ โดยกรดอะมิโนจะถูกนำไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสัดส่วนของเซลล์กล้ามเนื้อรวมถึงเนื้อเยื่อส่วนใหญ่ก็ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ซึ่งก็หมายความว่าเซลล์เหล่านี้ไปทำหน้าที่สำคัญในร่างกายของมนุษย์เราหลายอย่างนั่นเอง นอกจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ที่เป็นสารอาหารหลักๆ ที่จำเป็นต่อร่างกายเราแล้วนั้น โปรตีนก็เป็นอีกหนึ่งของสารอาหารหลักที่ร่างกายเราต้องการค่ะ โดยร่างกายของเราต้องใช้กรดอะมิโนที่แตกต่างกันถึง 20 ชนิด เพื่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ต่อร่างกายและสุขภาพของเรา จาก 20 ชนิดของกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราต้องการ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้อยู่ 11 ชนิด และมีอีก 9 ชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้นอกจากจะได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไปค่ะ จึงเรียกกรดอะมิโนนี้ว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) และนี่เองที่เป็นไฮไลท์ของหัวข้อที่สำคัญของวันนี้ค่ะ กรดอะมิโนที่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป ซึ่งมีกรดอะมิโนที่จำเป็นอยู่ 9 ชนิด คือ histidine, isoleucine, leucine, lysine, methionine, phenylalanine, threonine, tryptophan valine และ arginine โดย arginine จะจัดอยู่ในกลุ่มของเด็กทารกเท่านั้นเนื่องจากเด็กทารกไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ร่างกายจึงสามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นเด็กทารกจะต้องการกรดอะมิโนจำเป็นจำนวน 10 ชนิด ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่สามารถสร้างอาร์จีนีนได้แล้วจะมีกรดอะมิโนจำเป็นเหลือเพียง 9 ชนิดค่ะ

 

14 ชนิดของอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ไข่

บอกแล้วว่าอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนนั้นไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป ในเมื่อไข่ที่หาซื้อมารับประทานได้ง่ายและราคาไม่แพงนั้น ยังเป็นโปรตีนที่มีไขมันต่ำที่จัดว่าเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์อีกด้วย! ซึ่งนั่นก็หมายความว่านอกจากเป็นโปรตีนทั้งหมดที่ร่างกายต้องการแล้วยังรวมไปถึงมีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิดอีกด้วยแหน่ะ โอ้โห…ว่าแล้วนึกเมนูไข่ของวันนี้ออกยังเอ่ย

 

2.ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองขึ้นชื่อว่าเป็นพืชที่มีโปรตีนในคนที่ต้องการได้รับโปรตีนจากพืชสามารถเลือกรับประทานถั่วเหลืองแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้ค่ะ นอกจากนี้ถั่วเหลืองยังมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วนและมีในปริมาณที่สูงถ้าเทียบกับถั่วชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังมีไขมันต่ำและมีไขมันไม่อิ่มตัวที่จะไปช่วยในการลดคอเลสเตอรอลอีกด้วยค่ะ

 

3.เนื้อวัว

เนื้อวัวจัดเป็นสัตว์เนื้อแดงที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็น นอกจากนี้สัตว์เนื้อแดงอย่างเนื้อวัวยังถือว่าเป็นแหล่งที่มีปริมาณกรดอะมิโนสูงที่สุดในกลุ่มโปรตีน อีกทั้งยังเต็มไปด้วยธาตุเหล็กอีกเช่นกัน

 

4.เนื้อไก่งวง

ความเป็นจริงแล้วเนื้อไก่ส่วนที่ไม่ติดไขมันก็จัดเป็นกลุ่มโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่สูงรวมถึงเป็นแหล่งชั้นดีของไนอะซีนและซีลิเนียม เช่นเดียวไก่งวงที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นตามที่ร่างกายเราต้องการค่ะ

 

5.ปลาทูน่า

เนื้อปลาทะเลอย่างปลาทูน่านั้นเป็นตัวเลือกลำดับต้นๆ ของอาหารที่มีโปรตีนสูงไขมันต่ำอย่างแน่นอน ด้วยความที่มีโปรตีนคุณภาพคับแก้วมักจะตามมาด้วยการมีกรดอะมิโนจำเป็นสูงและดีต่อสุขภาพ

 

6.งา

ธัญพืชอย่าง งา เป็นอีกตัวเลือกของชนิดอาหารที่ถูกจำกัดในการรับประทานสำหรับคนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ แต่อยากได้โปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็นจากพืชค่ะ

 

7.ปลาแซลมอล

อีกหนึ่งชนิดของเนื้อปลาทะเลนอกจากได้รับโปรตีนที่ดีและกรดอะมิโนจำเป็นที่สูง มีไขมันต่ำ แล้วก็จะได้รับกรดไขมันชนิดดีๆ อย่าง โอเมก้า 3 ไปอย่างเต็มๆ แน่นอนค่ะ

 

8.ปลาซาร์ดีน

การเลือกรับประทานปลาทะเลอย่างปลาซาร์ดีนช่วยให้คุณสามารถกักตุนกรดอะมิโนจำเป็นไว้ได้ ด้วยความที่ปลาซาร์ดีนเป็นอาหารที่สุดยอดของกรดอะมิโนจำเป็นอีกหนึ่งชนิดเลยก็ว่าได้ นอกจากให้โปรตีนที่สูงแล้วไขมันยังต่ำอีกด้วยค่ะ

 

9.เนื้อแกะ

เนื้อแกะก็ถูกจัดให้เป็นเนื้อสัตว์ชนิดสัตว์เนื้อแดงที่มีโปรตีนสูงและเป็นแหล่งที่ดีของ CLA ซึ่งเป็นกรดไขมันโอเมก้า 6 ที่ให้ส่งผลดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งชั้นดีของซีลีเนียมและสังกะสีด้วยค่ะ

 

10.ควีนัว

Quinoa หรือ ควีนัว เป็นอาหารชนิดแหล่งของพืชที่มีโปรตีนคุณภาพหรือโปรตีนสมบูรณ์นั่นเอง ไม่เพียงแต่เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์เท่านั้นแต่ยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนที่จำเป็น โดยเฉพาะ Lysine ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกายค่ะ

 

11.กุ้ง

กุ้ง เป็นอาหารทะเลที่รู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นชั้นดี นอกจากประโยชน์ต่อสุขภาพที่หลากหลายแลัวยังมีไขมันต่ำด้วย

 

12.นม

ไม่เพียงแค่นมเท่านั้นที่คุณจะได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนจำเป็น แต่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของนมด้วยค่ะ จำพวก ชีส เนย เป็นต้น

 

13.ปลานิล

ปลานิลที่มีราคาถูกกว่าปลาหลายๆ ชนิดตามท้องตลาดแต่กลับได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพไปเต็มๆ ขึ้นชื่อว่าเนื้อปลานอกจากไขมันต่ำแล้วคุณก็จะได้รับโปรตีนคุณภาพตามไปด้วยกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายคุณต้องการ

 

14.หอยแครง

อาหารทะเลอบ่างหอยแครง ก็ถูกจัดให้อยู่ในอันดับของอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นเช่นเดียวกันค่ะ นอกจากเป็นอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นแล้วยังเป็นแหล่งวิตามินบี 12 ที่ดีและยังประกอบไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 อีกทั้งยังมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/nalbertini/6224912901/

www.flickr.com/photos/unitedsoybean/9624496390/

เคราติน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

beautiful-lady-1
Source: Flickr (click image for link)

ความงามกับผู้หญิงเป็นของคู่กันเสมอ เพื่อให้ตัวเองดูดีและสุขภาพดีนั้นต้องมาจากภายในไปสู่ภายนอกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเพียงแต่ดูแลภายนอกอย่างเดียวบางทีก็ไม่เห็นผลได่เต็มที่ ทุกสิ่งทุกอย่างมักมีที่มาที่ไปเสมอ อย่างเช่นการที่เราอายุมากขึ้นผิวหนังก็จะไม่ยืดหยุ่นได้ดีเหมือนครั้งที่ยังอายุน้อย อีกทั้งจะให้ร่างกายสามารถสู้ทนเหมือนเมื่อก่อนก็คงจะยากถ้าหากเราไม่ดูแล เหมือนอย่างวันนี้ที่เราเห็นว่าการดูแลสุขภาพเส้นผมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สาวๆ หลายคนกังวลใจเนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งมีการตกแต่งเส้นผมด้วยสารเคมีต่างๆ ไหนจะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เราทำเกือบทุกวัน ทำให้เส้นผมเราโดนความร้อนจากการเป่า ไดร์ หนีบอีก ยังรวมไปถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการบำรุงของเส้นผม ปัจจัยหลายอย่างมากมายที่สามารถทำให้เส้นผมของเราอ่อนแอ เพราะอย่างนี้จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายด้วยเช่นกันที่พร้อมใจกันมาให้ทดลองกันนำมาดูแลได้ง่ายดายมากขึ้น อย่างเช่น Keratin หรือ เคราตินที่สาวๆ คงจะคุ้นหูกันดีว่าด้วยช่วยเราในเรื่องของเส้นผม ดังนั้นวันนี้ทาง HealthGossip จึงอยากให้มาทำความเข้าใจและรู้จักกับเคราตินกันให้มากขึ้น ว่ามันคืออะไร มีในส่วนไหนในร่างกายเราหรืออะไรยังไง ไปไขข้อข้องใจและหาคำตอบไปพร้อมๆกันเนอะ

เคราติน (Keratin) คืออะไร

dry-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

“เคราติน” ที่เราเข้าใจและเคยได้ยินมาจากคำแนะนำของช่างทำผมร้านประจำ ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญในการล็อคความสวยงามของเส้นผม และให้ความเปล่งประกายของเส้นผมของเราใช่ไหมล่ะคะ จริงๆ แล้วเคราติน (Keratin) คือ เส้นใยผิวหนังชนิดหนึ่งที่อยู่ที่บริเวณหนังกำพร้าของคนเรา เป็นเซลล์ที่ผิวหนังสร้างขึ้นจากเซลเยื่อบุผิวหนังและอัดแน่นเป็นแผ่นบางใสในชั้นนอกสุดเรียกว่า หนังขี้ไคล เคราตินจะช่วยป้องกันการดูดซึมของสารต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต และป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวหนัง เคราตินที่มีโครงสร้างประกอบมาจากโปรตีนเส้นใย ทั้งยังเป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวหนังอย่างที่กล่าวมาข้างต้น โดยทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โปรตีนชนิดนี้เป็นส่วนประกอบหลักของเส้นผมถึงร้อยละ 90 รองลงมาคือเส้นขนและเล็บมีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ บริเวณผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อกระจกตาและเลนส์ตา คุณสมบัติของเคราตินคือสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับชั้นเซลล์ผิวหนังและเป็นแหล่ะความชุ่มชื้นของเส้นผม เส้นขนและเล็บ รวมถึงเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ เจริญเติบโตได้ปกติด้วย

เกี่ยวกับเคราติน หรือ Keratin

  • ร่างกายคนเราสามารถผลิตเคราตินเองได้
  • เคราตินธรรมชาติในร่างกายเรา จะอยู่ในรูปของเซลล์หนังกำพร้าที่เรียกว่า เคราติโนไซต์
  • เคราติน เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของผิวหนัง เส้นผม เล็บและส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • เคราติน มีกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ในลักษณะผลัดเซลล์เก่าแทนที่เซลล์ใหม่
  • เคราตินเป็นสารอาหารหลักของกระบวนการงอกใหม่ของเส้นผม เส้นขน เล็บรวมถึงเซลล์ผิวหนังและเป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไว้ใช้งานได้เอง
  • การทำสีผม ดัด ยืดผม รวมถึงการมัดผมเป็นเวลานานๆ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เคราตินธรรมชาติละลายหายไป โดยเส้นผมจะมีสัมผัสที่หยาบกระด้างชี้ฟู ไม่สามารถแต่งเป็นทรงได้
  • เมื่อร่างกายขาดเคราตินก็จะทำให้ ผมบางลง ผมร่วง เส้นผมชี้ฟูและผมขาดเส้น
  • หากบริเวณผิวหนังขาดเคราติน ก็จะแสดงอาการผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุยหรือถ้าเป็นบริเวณเล็บ เล็บก็จะเปราะหักง่ายฉีกเป็นชั้น
  • การเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้กระตุ้นสร้างเคราตินนั้น ควรเลือกอาหารที่อยู่ในหมวดโปรตีนเป็นหลัก

 

เคราตินที่พบในอาหาร

นอกจากจะพบเคราตินในอาหารจำพวกหมวดของโปรตีนเป็นหลักแล้ว รองลงมาก็คืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็น เช่น กรดไขมัน โดยแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในกระบวนการสร้างเคราติน ได้แก่ ปลาแซลมอน ไข่ไก่ ถั่วเช่น อัลมอนด์ พีแคน มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท ถั่วแดง มะม่วง สัปปะรด กีวี ลูกพืช ชีส นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต บลูเบอร์รี ราสเบอร์รี สตอเบอร์รี บร็อคโคลี ผักปวยเล้ง ผักโขม ผักคะน้า หอยนางรม เมล็ดฟักทอง และเนื้อไก่ เป็นต้น

 

 

www.flickr.com/photos/90157732@N03/26511446454/

www.flickr.com/photos/luxenography/11826052763/

โปรตีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

protein-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเป็นพอลิเมอร์สายยาวของกรดอะมิโน (amino acid) ส่วนในทางของโภชนาการโปรตีนนั้นเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน โดยโปรตีน 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 แคลอรี (calorie) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ร่วมไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างพืชด้วย โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกายที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ โดยเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด เช่น เอนไซม์ (enzyme) ฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานและการดำรงชีวิต คำว่า Proteins เป็นคำที่มีจากภาษากรีก โปรตีนนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายเนื่องจากมีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อ ควมคุมเมตาบอลิซึมของร่างกายและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในส่วนของพืชนั้นสามารถสังเคราะห์โปรตีนได้จากแหล่งไนโนโตเจนอนินทรีย์ แต่สัตว์ทั่วไปต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

โปรตีนประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ คือ คาร์บอน 50% ออซิเจน 20% ไนโตเจโดรเจน 6% และกำมะถันอยู่เล็กน้อย น้ำหนักของโมเลกุลโปรตีนมีน้อยมากจะถูกสังเคราะห์ในเซลล์ไรโบโซม ซึ่งมีหน่วยเล็กที่สุดของโปรตีนคือ กรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนหลายโมเลกุลมาเรียงต่อกันเรียกว่าพันธะแปปไทด์ เมื่อเกิดการเรียงตัวกันก็จะกลายมาเป็นโปรตีน โดยโปรตีนในแต่ละชนิดจะให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันค่ะ

กรดอะมิโน เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน สามารถสร้างขึ้นเองในร่างกายของมนุษย์ในบางชนิดเท่านั้น และบางไม่สามารถสร้างเองได้ต้องอาศัยการรับประทานเข้าไป โปรตีนจะประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 12 -22 ชนิดเป็นโปรตีนที่อยู่ในอาหาร ส่วนโปรตีนที่อยู่ในร่างกายมี 20 ชนิดมีความจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ 8 ชนิด สำหรับเด็ก 9 ชนิด

กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้นได้แก่ ไอโชลูซีน ลูซีน ไลซีน เมโทรอนิน เฟนิลอะ ลานีน ทรูไอนิน ทรับโตเฟน วาลีน เด็กต้องการเพิ่ม อาร์จินิน ฮีสติดิน หากขาดกรดอะมิโนเหล่านี้จะทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถเจริญเติบโตได้

กรดอะมิโนไม่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายสามารถสร้างได้เองโดยสร้างจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ได้แก่ อะลานิน แอสพาร์ติก ซีสเอทีน กรดกลูดามิก อาร์จิมีน โพนลิน เซริน ไทโรซิน กลูตามีน

 

เกี่ยวกับโปรตีน (Protein)

ลักษณะของโปรตีน โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกายแต่ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองจึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป พืชสามารถสังเคราะห์จากไนโตรเจนและแอมโมเนียมที่อยู่ในดิน ดังนั้นสัตว์จะได้จากพืชกว่ากินเนื้อสัตว์เข้าไป โดยจะเปิดจากอะมิโนที่มีหลายชนิดที่เรียงต่อกันเป็นโปรตีน

แหล่งอาหารของโปรตีน จะพบได้จากพืชและสัตว์ แต่สัตว์จะให้โปรตีนที่สูงกว่าพืช แต่ถั่วเหลือถือว่ามีโปรตีนมากที่สุดและมีราคาถูกด้วย โดยในเนื้อสัตว์จะมีมากในเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู ไข่และเนื้อปลา ในส่วนที่ได้จากพืชจะเป็นพวกข้าวทั้งหลาย ข้าวสาลี ข้าวโพด  โปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีกรดอะมิโนที่ครบและสามารถนำไปใช้งานได้ทันที ในส่วนของโปรตีนที่ได้จากพืชนั้นก็จะเป็นถั่วเหลือง โดยถั่วเหลือง 34%  เนื้อไก่ 23.4%  ไข่ 13%

protein-foods-2
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีนแบ่งได้ 2 แบบคือ แบ่งตามสมบัติทางเคมีและแบ่งตามสมบัติทางโภชนาการ

(แบบที่1) แบ่งตามสมบัติทางเคมี

1.Simple Proteins เป็นโปรตีนที่เกิดจากกรดอะมิโนมาเรียงต่อกัน และมีการย่อยสลายออกมาเป็นกรดอะมิโนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2.Conjusgated Protein หรือเรียกอย่างว่าโปรตีนประกอบเป็นการรวมตัวของ Simple Proteins และสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่โปรตีน เรียกว่า พรอสเททิก (Prosthetic Group) มักพบในเม็ดเลือดและตามต่อมต่างๆ

3.Derived Proteins เป็นโปรตีนที่ย่อยสลายโปรตีน 2 กลุ่มแรก โดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มากระทบ อย่างเช่น แสง ปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวใหม่เป็นโครงสร้างจากเดิมแต่มีน้ำหนักเท่าเดิม

(แบบที่2) แบ่งตามสมบัติโภชนาการ

1.โปรตีนสมบูรณ์ (Complete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกชนิดในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีความเจริญเติบโต แข็งแรง จะมีอยู่ในเนื้อนม ไข่

2.โปรตีนไม่สมบูรณ์ (Incomplete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมีโนที่จำเป็นอยู่ไม่ครบหรือว่ามีมากกว่า ไม่มีประโยชน์และความจำเป็นต่อร่างกายได้ มักจะอยู่ในข้าว ผัก

 

ประโยชน์ของโปรตีนที่มีต่อร่างกาย

 

สร้างและซ่อมแซมส่วนที่ศึกหรอ เสริมสร้างเนื้อเยื้อให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย โปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนก่อนที่จะถูกซึมผ่านลำไส้เล็กไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

 

สร้างโปรตีน เอนไซม์ ฮอร์โมน ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการสร้างเอนไซม์หรือนำไปย่อยอาหารและปฏิกิริยาต่างๆ สร้างฮอร์โมนในการควบคุมการทำงานของร่างกายและแอนติบอดี้ของร่างกายและโปรตีนยังช่วยในการสร้างเซลล์ผิว เพราะในบริเวณใต้ผิวหนังจะมีใยคอลลาเจนที่สร้างจากโปรตีน ช่วยให้ผิวหนังเกิดความหยุ่ยนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง นอกจากนั้นโปรตีนสามารถเพิ่มความแข็งแรงของเล็บ เส้นผม และเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาททั้งหมดของร่างกายเข้าด้วยกัน

 

รักษาสมดูลของกรด – ด่างในร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราเกิดกรดขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการเมตาบริซึมของร่างกายอย่างเช่น กรดกำมะถัน กรดแลดติก เป็นต้น โปรตีนจะเป็นได้ทั้งกรดและด่างจึงทำให้ร่างกายได้รับทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นการสร้างบัฟเฟอร์ในการสร้างความสมดุลของกรดด่างไว้

 

รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย โปรตีนจะทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของเหลวกับเซลล์ทั้งนำภายในเซลล์และรอบๆเซลล์ จึงทำให้น้ำสามารถเข้าออกของเซลล์ได้ โปรตีนจึงทำหน้าที่ควบคุมน้ำในการออสโมติกให้สมดุล

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย โปรตีนนั้นจะถูกเผาผลาญและให้พลังงานออกมา โดยโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลลอลี ในกรณีที่เหลือจากการที่ร่างกายนำไปใช้ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ

 

การแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดบาดแผลจะมีการสร้างไฟบริด โดยโปรตีนในการอุดที่บาดแผลทำให้เลือดนั้นหลุดไหลได้

 

 

www.flickr.com/photos/artizone/6788516807/

www.flickr.com/photos/arepb/3085141320/

ทองแดง คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

copper-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

ทองแดง (Copper) เป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายอีกหนึ่งตัวค่ะ เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย โดยในร่างกายของคนเรานั้นจะมีทองแดงประมาณ 70-150 มิลลิกรัม และส่วนใหญ่อยู่ในตับ สมอง หัวใจและ ไตนั่นเอง ซึ่งทองแดงนั้นมีประโยชน์มากมาย เช่น ในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และยังเป็นตัวประกอบสำคัญที่ช่วยในการขนส่งธาตุเหล็กในเลือดของเรา ทำให้เราไม่เป็นโรคโลหิตจางนอกจากนี้ นอกจากนี้ ทองแดง ยังเป็นแร่ธาตุที่ช่วยปรับระดับออกซิเจนในเนื้อเยื่อให้อยู่ในภาวะสมดุล ไม่มากหรือน้อยจนทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกาย สร้างเม็ดเลือดสีหรือเมลานินให้กับผิวหนัง และทองแดงก็ช่วยสร้างคอลลาเจนและช่วยทำให้กระดูกและผนังหลอดเลือดมีความแข็งแรง ที่สำคัญทองแดงเป็นตัวช่วยลดความอันตรายที่เกิดจากสารตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งอาจจะทำให้ร่างกายของเราเจ็บป่วยได้นั่นเองค่ะ ทองแดงเป็นแร่ธาตุ ที่ไม่ว่าเราจะได้รับจากอาหารตามธรรมชาติหรือจากรูปแบบอาหารเสริมก็สามารถเป็นพิษได้ทั้งนั้น ซึ่งหากได้รับในปริมาณมากๆก็จะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระเพาะอาหาร ปวดกล้ามเนื้อ และอาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้เช่นกันเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกสลาย นอกจากนี้หากว่าได้รับการสะสมเป็นระยะเวลานานๆก็อาจทำให้ตับมีปัญหา และอาจจะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้นะคะ

ภาวะการขาดธาตุทองแดง จะมีผลต่อความเจิรญเติบโตและกระบวนการสร้างและสลายของร่างกายอย่างรุนแรง และที่สำคัญคือจะพบความผิดปกติของการสร้างเม็ดลือดแดง ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง และเอนไซม์ที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ ก็จะทำงานได้ไม่ดี

       

เกี่ยวกับทองแดง หรือ Copper

  • ทองแดง  เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นของเนื้อเยื่อทุกชนิดที่ร่างกายต้องการ แต่ในปริมาณน้อยมากต่อวัน
  • ทองแดง  ในร่างกายคนเราจะมีทองแดงประมาณ 70-150 มิลลิกรัม ส่วนใหญ่อยู่ในตับ สมอง หัวใจและไต
  • ทองแดง เป็นส่วนประกอบในเอนไซม์หลายตัวในร่างกาย เช่น การสร้างพลัง งานให้แก่ร่างกาย
  • ทองแดง จำเป็นสำหรับการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและการสร้างพังผืดเนื้อเยื่อ และมันยังเกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง
  • ทองแดง ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี
  • ทองแดง การมีธาตุเหล็กและสังกะสีในร่างกายมากเกินไปก็จะไปขัดขวางการดูดซึมทองแดงได้
  • ทองแดง ร่างกายต้องการทองแดงเพื่อใช้ในการเปลี่ยนธาตุเหล็กให้เป็นเฮโมโกลบิน (ส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง) มีความสำคัญในการนำพาออกซิเจนไปยังเซลล์
  • ทองแดง เป็นแร่ธาตุ 1 ใน 18 ตัว ที่ร่างกายต้องมี
  • ทองแดง เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีธาตุทองแดงอยู่ด้วย และเมื่ออาหารนั้นถูกย่อยแล้ว ทองแดงจะเข้าไปสู่สายเลือดได้ภายใน 15 นาที
  • ทองแดง ร่างกายจะดูดซึมทองแดงที่บริเวณลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้เล็กน้อยที่เหลือก็จะถูกขับถ่ายไปกับอุจจาระและทองแดงบางส่วนจะไปสะสมอยู่ที่เม็ดเลือดแดง สมอง และตับ
  • ทองแดง การขาดธาตุทองแดง จะมีผลต่อความเจิรญเติบโตและกระบวนการสร้างและสลายของร่างกายอย่างรุนแรง
  • ทองแดง เมื่อขาดจะทำให้ เหนื่อยง่าย โลหิตจาง ผมแข็งและขดเป็นเกลียว สีผมและสีผิวจาง ติดเชื้อง่าย การหายใจผิดปกติ บวมน้ำ กระดูกพรุน เป็นแผลที่ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ หัวใจ และระบบประสาททำงานผิดปกติ
  • ทองแดง หน้าที่อีกส่วนหนึ่งของทองแดง ทำให้เส้นผมดกดำและผิวหนังดูมีผิวพรรณดีขึ้น
  • ทองแดง มีหน้าที่ส่งเสริมการทำงานของวิตามิน C ให้ดีขึ้นด้วย
  • ทองแดง ช่วยในการสร้างโปรตีน
  • ทองแดง ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ
  • ทองแดง แหล่งอาหารที่พบธาตุทองแดง พบใน ตับ หอยนางรม อาหารทะเล ผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ดพืช ถั่วที่ยังไม่ขัดสี ผลไม้แห้ง มะม่วง ลูกพรุน กล้วย เห็ด มันแกว หัวบีท นม เนื้อวัว ไข่ มันฮ่อ เมล็ดงา เมล็ดทานตะวัน เมล็ดถั่วลันเตา ถั่วอัลมอนด์ บริวเวอร์ยีสต์ เลซิติน โมลาส( MOLASSES )หรือน้ำเหลืองอ้อย น้ำดื่ม ผักใบเขียว และผลไม้สดโดยเฉพาะผลไม้ที่ปลูกในดินซึ่งมีธาตุทองแดง
  • ทองแดง สามารถพบทองแดงได้ในน้ำประปาอีกด้วย
  • ทองแดง การปรุงอาหารด้วยกระทะทองแดงเองก็จะมีทองแดงปนออกมา
  • ทองแดง มักพบว่าอาหารที่มีเหล็กจะมีทองแดงด้วย
  • ทองแดง ส่วนใหญ่ร่างกายมักไม่ขาดทองแดงค่ะ เพราะในอาหารที่รับประทานแต่ละวันจะได้รับทองแดงถึง 2000 ไมโครกรัมขึ้นไป
  • ทองแดง อาจจะพบการขาดทองแดงในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดที่น้ำหนักต่ำกว่า 1500 กรัม
  • ทองแดง พบว่าเด็กที่ขาดธาตุทองแดงมาจากการเลี้ยงด้วยนมวัวเพียงอย่างเดียวไม่ให้นมมารดา
  • ทองแดง ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันก็คือประมาณ 1000 ไมโครกรัม

 

 

ประโยชน์ของทองแดง หรือ copper

 

มีความสำคัญต่อเมแทบอลิซึมของธาตุเหล็ก โดยที่ทองแดงในพลาสมาที่อยู่ในรูปของ เซรูโรพลาสมิน (Ceruloplasmin) จะเปลี่ยนเหล็กจาก เหล็กเฟอรัสไปเป็นเหล็กเฟอริค แล้วเหล็กเฟอริคจะรวมตัวกับอะโพทรานส์เฟอริน (Apotransferrin) กลายเป็น ทรานส์เฟอร์ริน (Transferrin) ซึ่งทำหน้าที่ขนถ่ายเหล็กในร่างกาย

 

เป็นส่วนหนึ่งของน้ำย่อยไทโรซีเนส (Tyrosinase) ซึ่งจำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลง ไทโรซีนไปเป็นเมลานิน(Melanin) ซึ่งเป็นสีคล้ำของผมและผิวคน เป็นส่วนประกอบในน้ำย่อยไซโตโครม ซี ออกซิเดส (Cytochrome C Oxidase) น้ำย่อยแคแทเลส (Catalase) ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบหายใจ และการปล่อยพลังงานในเซลล์

 

เป็นสิ่งจำเป็นในการเผาผลาญโปรตีนและผลิต RNA (RIBONUCLEIC ACID) ซึ่งควบคุมการสร้างเซลล์ต่างๆ ให้เป็นไปอย่างปรกติและถูกต้อง และมีความสำคัญเกี่ยวกับระบบโครงสร้างเนื้อเยื่อ รวมทั้งการผลิต ฟอสโฟไลปิด (PHOSPHOLIPID) เป็นสารสำคัญในการสร้างแผ่นหุ้มรอบเส้นประสาท

 

ช่วยในการใช้กรดอะมิโนและไทโรซีน ( โปรตีน ) ให้มีประสิทธิผล และช่วยในการเกิดสีของผม และสีของผิวหนัง

 

ทองแดงและวิตามินซีจะร่วมมือกันในการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายที่ช่วยบำรุงรักษาผิวหนังและทำให้ผิว หนังเกิดความยืดหยุ่น

 

ช่วยในขบวนการสร้างเนื้อหนังขึ้นใหม่ในรายที่เป็นแผล

 

ช่วยในการสร้างฮีโมโกลบินและเม็ดโลหิตแดง

 

เป็นตัวสำคัญในการสร้างกระดูกให้เป็นไปตามปรกติ และรักษาให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

ปริมาณของทองแดงที่ร่างกายควรได้รับ

องค์กรที่เกี่ยวข้องด้านอาหารของสหรัฐอเมริกา (Institute of Medicine) ได้แนะนำปริมาณทองแดงที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันดังนี้

เด็กแรกเกิด – 6 เดือน                               200   ไมโครกรัม/วัน (Micrograms/mcg)

อายุ 7 – 12 เดือน                                     220   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 1 – 3 ปี                                             340   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 4 – 8 ปี                                             440   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 9 – 13 ปี                                           700   ไมโครกรัม/วัน

อายุ 14-18 ปี                                           890   ไมโครกรัม/วัน

อายุตั้งแต่ 19 ปีขึ้นไป                               900   ไมโครกรัม/วัน

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8453560535/

  • 1
  • 2