HealthGossip

HDL

ไขมันทรานส์ (Trans Fat) คืออะไร

ไขมันทรานส์ (Trans fat) ไขมันทรานส์ (Trans fat) เป็นไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งพบได้ไม่บ่อยในธรรมชาติ แต่สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากกระบวนการแปรรูปกรดไขมันไม่อิ่มตัวให้กลายเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสูง ตัวอย่างเช่น การทำน้ำมันพืช จะมีการเติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืช เรียกว่า กระบวนการไฮโดรจีเนชั่น (hydrogenation) เช่น น้ำมันถั่วเหลือง หรือแม้กระทั่งการแปรรูปให้มีลักษณะเป็นกึ่งของแข็ง เช่น มาร์การีนหรือเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม เป็นต้น โดยวัตถุดิบเหล่านี้จะมีชื่อบนฉลากอาหาร คือ กรดไขมันชนิดทรานส์ หรือ hydrogenated oil หรือ partially hydrogenated oil “ไขมันทรานส์” คือ ไขมันที่ผ่านกระบวนการเพิ่มอะตอมไฮโดรเจนเข้าไปในโมเลกุล ทำให้คุณสมบัติของไขมันเปลี่ยนแปลงไป โดยจะแข็งตัวมีทรงมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมเสีย เหม็นหืนช้าลง ดังนั้นจึงทำให้ไขมันทรานส์สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข ทนความร้อนได้สูงและมีรสชาติใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า​ บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่างๆ จึงมักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เพื่อประโยชน์ในด้านการลดต้นทุนการผลิตลง เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟูดที่ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียมและวิปปิ้งครีม เป็นต้น ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารจึงนิยมนำาใช้ผสมในอาหารและขนมค่ะ   […]

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ ภาวะการขาดโครเมียม จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high […]

9 เหตุผลที่ควรหลีกเลี่ยงไกลห่างจากน้ำตาล

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารไทย รสชาติอร่อยคืออาหารที่มีรสชาติครบรส นั่นก็คือรสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด โดยเฉพาะอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นเปรี้ยวจัด หวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ล้วนแต่อร่อยทั้งนั้น รสชาติจืดชืดน่ะหรอแล้วมันจะไปมีรสชาติอร่อยอะไรล่ะ จริงไหมคะ? แต่ทว่าอาหารรสจัดที่กล่าวมานั้นส่วนใหญ่เราก็ไม่ได้อยากที่จะแนะนำสักเท่าไหร่ ทั้งหมดทั้งปวงก็อยากจะให้รับประทานแต่พอดี…ในบ้านเรานั้นตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาหารคาวกรรมวิธีส่วนใหญ่จะปรุงอาหารด้วยกะทิ แกงกะทิต่างๆ ส่วนอาหารหวานก็นิยมกะทิเช่นกันและขนมหวานในบ้านเราต่างๆนั้นก็จะมีรสชาติที่หวานจับใจ จนกระทั่งปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆเริ่มพัฒนาขึ้นมากมีขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบมากมายให้เลือกเกลื่อนเต็มบ้านเต็มเมืองไปหมด แค่ตื่นตอนเช้าเดินไปซื้อกาแฟ หรือเดินออกมาจากปากซอยก็จะมีขนมให้เลือกหลากหลายง่ายดายเหลือเกิน และส่วนผสมส่วนใหญ่ก็คือน้ำตาลทั้งนั้น แม้แต่เครื่องดื่มที่เคลมกันว่า healthy เหลือเกินวางเรียงรายให้จับจ่ายในร้านสะดวกซื้อ ส่วนผสมหลักก็ยังเป็นน้ำตาลอยู่ดี ไม่ต้องพูดถึงการเติมน้ำตาลเพื่อปรุงอาหารจานเดียวเลยค่ะ อาหารบางอย่างถูกปรุงมาเรียบร้อยแล้วแต่เราก็ยังปรุงเพิ่มอยู่เสมอ แล้วเราทราบกันหรือไม่คะว่า ‘’น้ำตาล’’ หรือ ‘’sugar’’ ที่เรารู้จักกันดีเนี่ย มันไม่มีประโยชน์อื่นใดๆเลย นอกจากให้พลังงาน (Empty Calorie) เนื่องจากน้ำตาลจัดเป็นอาหารที่อยู่ในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ซับซ้อน คือให้แต่พลังงานเท่านั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการใดๆทั้งสิ้นนั่นเองค่ะ โดยที่น้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 แคลอรี่ เพราะฉะนั้น น้ำตาล  1 ช้อนชา ก็จะให้พลังงานโดยประมาณ 15 แคลอรี่ค่ะ โดยที่องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า […]

9 สุดยอดประโยชน์จากการดื่มไวน์

ไวน์ (wine) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เกิดจากการหมักขององุ่นโดยเปลี่ยนน้ำตาลจากองุ่นให้เป็นแอลกอฮอล์ เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันไม่ใช่แค่เฉพาะคนที่อยู่ในเมืองอากาศหนาวเท่านั้น แต่ยังนิยมดื่มกันไปทั่วโลก ไวน์จะมีรสชาติค่อนข้างฝาดๆ เฝื่อนๆ โดยที่ไวน์มีหลายชนิดและประเภท ส่วนใหญ่จะนิยมดื่มไวน์แดงกันในโต๊ะอาหารที่มีอาหารประเภทเนื้อแดง หรือจะดื่มเป็นไวน์ขาวกับอาหารประเภทซีฟู้ดส์ วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวของไวน์นั้นมีประโยชน์จริงหรือ ทำไมเห็นมีงานวิจัยออกมามากมายว่าดื่มไวน์แล้วจะให้ประโยชน์กับเราอย่างไรบ้างค่ะ แต่เอะ…ไวน์มันเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นี่นา จะมีประโยชน์ได้ยังไง วันนี้ HealthGossip จึงขอหยิบข้อมูลมานำเสนอให้หายคลายกังวลกันค่ะ คนที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์จะได้ไม่ต้องดีใจหาข้ออ้างในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และมาไขข้อกับเรื่องการดื่มไวน์แล้วจะได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เราได้รับมาจริงหรือไม่ เพราะถึงอย่างไรเราก็ควรทราบไว้ว่าไวน์ไม่ใช่ยา  เพราะอย่างนั้นเราไปดูกันเลยค่ะ… หลายคนสงสัยว่าไวน์จะมีประโยชน์ได้อย่างไร ทั้งๆที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เพราะว่าในไวน์แดงนั้นประกอบไปด้วยสารที่มีชื่อว่าเรสเวอราทรอล (Resveratrol), คาเทชิน (Catechin), เอพิคาเทชิน (Epicatechin) และโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) นั่นเองค่ะ ซึ่งเรสเวอราทรอล (Resveratrol) เป็นสารประกอบที่สกัดจากพืช (phytoalexin) ซึ่งจัดเป็นโพลีฟีนอล (polyphenol) ชนิดหนึ่งในกลุ่ม stilbene และสารชนิดนี้ก็จะพพบอยู่ในไวน์ขาวเช่นกันนะคะแต่จะมีอยู่ในปริมาณที่น้อยกว่าไวน์แดงเท่านั้นเองค่ะ ก็เพราะว่าในระหว่างกระบวนการผลิตไวน์นั้น ยิ่งเปลือกขององุ่นเนี่ยอยู่กับตัวองุ่นนานเท่าไหน ความเข้มข้นของเรสเวอราทรอลในไวน์ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น แต่ในส่วนของการผลิตไวน์ขาว เปลือกขององุ่นจะถูกกำจัดออกไปและเราก็จะคัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำองุ่นไปใช้ในการหมัก เพราะอย่างนั้นในไวน์ขาวจึงมีปริมาณเรสเวอราทรอลน้อยกว่าไวน์แดงนั่นเองค่ะ ส่วนโปรแอนโทไซยานิดิน (Proanthocyanidin) ที่อยู่ในเมล็ดองุ่นนั้นใครจะรู้ล่ะว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์ต้านอักเสบได้อย่างเหลือเชื่อเชียวแหละ เพราะงั้นจึงลดความเสียหายต่อดีเอ็นเอ ไหนจะช่วยกำจัดอนุมูลอิสระ และป้องกันเนื้อเยื่อสมองและตับจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆเชียวล่ะค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไวน์ก็ยังคงเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ดี ถึงจะบอกว่าไวน์นั้นดีต่อสุขภาพของเรายังไงนั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเรานั้นจะดื่มกันอย่างเมามันส์จนเมามาย เพราะฉะนั้นการดื่มเพื่อให้ได้ประโยชน์ก็ต้องขึ้นอยู่กับปริมาณที่เรานั้นควรที่ดื่มเข้าไป ถ้าดื่มมากไปก็จะสามารถสร้างความเสียหายต่อสุขภาพของเราได้เช่นกันค่ะ […]

Omega 9 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

เราได้พูดถึงโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 กันไปในกระทู้ก่อนๆกันแล้วนะคะ หลายๆคนคงได้รู้จักกันไปพอสมควร วันนี้ HealthGossip จะมาพูดถึงกรดไขมันอีกตัวที่เชื่อเลยว่าหลายคนมองข้ามไป หรือไม่ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่ค่อยจะรู้จักกับเจ้ากรดไขมันตัวนี้กันสักเท่าไหร่ นั่นก็คือเจ้า“โอเมก้า 9” นั่นเอง  คงคิดกันว่ามันมีด้วยหรอเนี่ย? นึกว่าจะมีแค่โอเมก้า 3 กับโอเมก้า 6 ซะอีก ความจริงแล้วยังมีโอเมก้า 9 ตัวหนึ่งด้วยค่ะ และเจ้าโอเมก้า 9 เนี่ยก็เป็นอีกกรดไขมันหนึ่งที่เป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเช่นกันค่ะ ถึงแม้จะไม่ถูกเรียกว่าเป็นกรดไขมันจำเป็น แต่เชื่อไหมล่ะคะว่ามันก็มีประโยชน์เช่นกัน และก็เป็นกรดไขมันที่น่าน้อยใจไม่น้อยก็เพราะมักจะไม่ได้ถูกกล่าวถึงเลย หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นกรดไขมันที่ถูกลืมไปเลยก็ว่าได้ เพราะเราคงจะคิดว่ามันเป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่ร่างกายเราสามารถสร้างได้เองก็คงไม่จำเป็นต้องใส่ใจสินะ แต่อยากจะบอกให้ทราบว่าในความเป็นจริงแล้ว เมื่อวัตถุดิบไม่ครบร่างกายก็สร้างขึ้นมาไม่ได้เหมือนกันนะจ๊ะ จึงจำเป็นที่เราจะต้องรับประทานอาหารประเภทที่มีกรดไขมันชนิดนี้เพิ่มขึ้นนั่นเอง เอาแล้วไง หลังจากนี้เมื่อเราทราบและเข้าใจบทบาทหน้าที่ของเจ้าโอเมก้า 9 แล้ว เราก็คงที่จะไม่กล้าลืมหรือให้ความสำคัญกับเจ้าตัวนี้กันแล้วใช่ไหมคะ เอาล่ะเรามาเรียนรู้และให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ของเจ้าตัวนี้กันเลยดีกว่าค่ะ   โอเมก้า 9 คืออะไร โอเมก้า 9 คือ กรดไขมันชนิดหนึ่งที่เป็นกรดไขมันแบบไม่อิ่มตัวซึ่งมีพันธะคู่ระหว่างอะตอมของคาร์บอน (C=C) คู่แรกอยู่ที่ตำแหน่งที่ 9 นับจากปลายด้านกรดไขมัน กรดไขมันชนิดโอเมก้า 9 ที่สำคัญมีสองตัวคือ กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกและในไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวต่างๆ […]

Omega 6 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

โอเมก้า 6 (Omega 6) หลายๆคนคงคุ้นหูคุ้นตากันแค่ Omega 3 มากกว่าใช่ไหมล่ะคะ แต่ไม่ทราบกันใช่ไหมล่ะว่ามีโอเมก้า 6 ด้วยเหมือนกันค่ะ โอเมก้า 6 หรือกรดไขมันโอเมก้า 6 ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก ทั้งที่จริงแล้ว กรดไขมันโอเมก้า 6 คือตัวถ่วงสมดุลของกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งร่างกายเรานั้นจะใช้ประโยชน์จากกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดด้วยกัน นั่นแหละคะเพราะฉะนั้นเราจึงไม่ควรที่จะมองข้ามเจ้าตัวโอเมก้า 6 นี้ไปและมาทำความเข้าใจกับเจ้ากรดไขมันตัวนี้ซักนิด เพราะว่ากรดไขมันทั้งสองตัวนี้มีความสำคัญและมีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยค่ะ  และเราก็อาจจะยังไม่ทราบว่าถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปอาจจะมีผลดีหรือเสียกันแน่ เจ้าโอเมก้า 6 นี้มาจากไหนกันนะ สงสัยกันใช่ไหมล่ะคะ… ร่างกายของมนุษย์อย่างเราๆไม่มีตัวใดตัวหนึ่งที่ต้องทำงานหนักเพียงคนเดียว สารอาหารที่เราได้รับก็เช่นกันดูภายนอกเราคิดว่าได้รับอย่างเดียว ชนิดเดียวก็เพียงพอแล้วแหละ แต่ความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความพอดี สมดุลกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้มาซึ่งความสมบูรณ์และเพียงพอนั่นเองค่ะ เพราะฉะนั้นวันนี้เราถึงต้องมาทำความรู้จักกับเจ้าโอเมก้า 6 กันหน่อย HealthGossip เลยไม่พลาดที่จะนำความรู้เหล่านี้มาเล่าสู่กันฟังค่ะ   โอเมก้า 6 คืออะไร กรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันชนิดที่ดีอีกชนิดหนึ่ง คือเป็นแบบไขมันห่วงโซ่ยาวที่มีอะตอมของคาร์บอนมากและมีพันธะคู่มากกว่าหนึ่งแห่งในห่วงโซ่ และมีพันธะคู่ตัวแรกอยู่ที่อะตอมของคาร์บอนตัวที่ 6 ของสายห่วงโซ่ (เลยเรียกว่าโอเมก้า 6 […]