Browse Tag: important

สารอาหาร คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

eating-healthy-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ทาง HealthGossip อยากนำข้อมูลของ สารอาหาร มานำเสนอกันค่ะ เคยสงสัยหรือเปล่าคะว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการสารอาหาร ก่อนที่จะได้สารอาหารก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปก่อน อาหารก็มีหลากหลายอย่างและเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารแบบไหนถึงจะเรียกว่าอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารแบบไหนที่เราเลือกรับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ตอนนี้เราจึงควรที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของอาหารและสารอาหารกันก่อนเลยค่ะ 

อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

สารอาหาร คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน และเมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหารจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ห้พลังงาน คือ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน อาหารทั้งหมดในกลุ่มนี้จัดเป็นสารอาหารหลักที่จำเป็นต่อร่างกาย และร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) คาร์โไฮเดรตเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับโปรตีนและไขมัน โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ซึ่งเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic linkage) ทำให้โมเลกุลใหญ่ขึ้น เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่หลากหลายชนิดกันค่ะ คาร์โบไฮเดรตบางชนิดเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไกลโคไซด์ ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้ จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน เช่น เซลลูโลส (cellulose)

โปรตีน (protein) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีในร่างกายมากเป็นสองรองจากน้ำ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน เช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โดยโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลลอรี่ (calorie) หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (amino acid) แบ่งเป็น กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย (essential amino acid) และกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย (non essential amino acid) โปรตีนมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างสารควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น ฮอร์โมนและเอนไซม์ สร้างภูมิคุ้มกันโรค รักษาดุลยภาพของสารต่างๆ ในร่างกาย

ไขมัน (fat) เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งให้พลังงานสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน โดยไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 แคลลอรี่ (calorie) ไขมันเกิดจากการรวมตัวของกลีเซอรอล และโมเลกุลของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล เป็นไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride)

 

2.กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน

กลุ่มสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน คือ สารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ ได้แก่ เกลือแร่ และวิตามินต่างๆ

วิตามิน (Vitamin) แบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่

  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม

เกลือแร่(Mineral) ร่างกายมีเกลือแร่ 4% ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • แร่ธาตุหลัก (Macro minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณมาก เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันมากว่า 100 mg ขึ้นไป ได้แก่ แคลเซียม (Calcium), ฟอสฟอรัส (Phosphorous), โพแทสเซียม (Potassium), แมกเนเซียม (Magnesium), โซเดียม (Sodium), กำมะถัน (Sulphor) และคลอไรด์ (Chloride) ซึ่งในร่างกายของเราจะพบแร่ธาตุแคลเซียมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และโซเดียม
  • แร่ธาตุรอง (Trace minerals) คือแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายมีความต้องการในหนึ่งวันในปริมาณน้อยกว่า 100 mg ต่อวัน แต่ถึงแม้ร่างกายจะต้องการแร่ธาตุประเภทนี้ในปริมาณน้อยก็ใช่ว่าจะไม่มีความสำคัญ ซึ่งแร่ธาตุในกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็ก (Iron), สังกะสี (Zinc), ซีลีเนียม (Selenium), แมงกานิส (Manganese), ทองแดง (Copper), ไอโอดีน (Iodine), โครเมียม (Chromium), โคบอลท์ (Cobalt), ฟลูออไรด์ (Fluoride), โมลิบดินัม (molybdenum) และ วานาเดียม (Vanadium)

 

 

www.flickr.com/photos/electrolux-design-lab/14921194033/

www.flickr.com/photos/arselectronica/14063329988/

Omega 3 คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

salmon-salad-1
Source: Flickr (click image for link)

“โอเมก้า 3” (Omega 3) คืออะไรกันนะ สาวๆหลายคนรวมไปถึงคนที่รักสุขภาพนั้นต่างก็ให้ความสนอกสนใจเกี่ยวกับอาหารที่มีโอเมก้า 3 กันเยอะพอสมควร แต่เราจะรู้ดีแค่ไหนกันนะว่าเจ้าโอเมก้า 3 มันมีบทบาทและความสำคัญอย่างไร ดีต่อสุขภาพของเราแค่ไหนช่วยอะไรบ้างต่อร่างกายของเรา มีอีกหลายคนเลยล่ะค่ะที่ยังไม่ค่อยรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเจ้าโอเมก้า 3 กันมากนักรู้ก็แค่ว่ามันคือกรดไขมันอย่างหนึ่งและมีประโยชน์ แต่ไม่ใช่แค่มีประโยชน์เท่านั้นนะคะมันยังมีความสำคัญอย่างที่ร่างกายของเรานั้นในขนาดที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ถ้าเรารู้จักกับเจ้าโอเมก้า 3 กันสักนิดเราก็จะได้ทั้งความรู้ สุขภาพที่ดีและความสวยเพิ่มขึ้นอีกค่ะ อยากรู้แล้วล่ะสิว่าทำให้สวยขึ้นได้ด้วยหรอแล้วจะได้ยังไงกันนั้น วันนี้ HealthGossip มีคำตอบค่ะและอาจจะทำให้สาวๆมีความเข้าใจกับเจ้าโอเมก้า 3 มากขึ้นอีกด้วยนะคะ และหลังจากนี้เวลาเดินไป supermarket จะได้เลือกชนิดของอาหารที่มีส่วนผสมของโอเมก้า 3 ได้ถูกและสร้างสรรค์เมนูสุขภาพให้แก่ตนเองและคนที่เรารักได้รับประทานกันค่ะ….. งั้นก่อนอื่นเลยเรามารู้จักกับ ไขมัน กันก่อนเลยค่ะ ทราบกันหรือไม่ว่าไขมันที่มีอยู่ในอาหารนั้นมีส่วนประกอบของกรดไขมัน (fatty acid) มีธาตุคาร์บอน ธาตุไฮโดรเจน และธาตุออกซิเจน เรียงจับกันในลักษณะต่างๆ สามารถแบ่งตามโครงสร้างทางเคมี ได้ดังนี้  

ไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) คือไขมันที่มีโครงสร้างคาร์บอนเรียงจับกันครบไขมันชนิดนี้ร่างกายสามารถสร้างได้เองถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกิดการอุดตันของเส้นเลือดเป็นต้นเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด

ไขมันไม่อิ่มตัว (Unsatuarated fatty acid) คือไขมันที่ธาตุคาร์บอนยังมี เหลือสามารถจับกับธาตุไฮโดรเจนได้ แบ่งออกเป็น  

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว(Monounsaturated fatty acid) ได้แก่ กรดโอเลอิก (Oleic acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายสามารถสร้างได้เอง แต่ถ้ารับประทานเข้าไปมากก็ไม่ทำให้เกิดโรคหัวใจและมีแนวโน้มที่จะช่วยลดไขมันในเลือดด้วย
  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหลายตำแหน่ง(Polyunsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เองจำเป็นต้องรับจากอาหาร ไขมันที่สำคัญคือ Omega-3 (Alpha-linolenic acid) และ Omega-6 (linolenic acid)และในหมู่ไขมันในอาหารมีไขมันที่เป็นมิตรต่อสุขภาพนั้นช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจจะเป็นไขมันที่อยู่ในกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวนั่นเองค่ะ

ทำไมถึงเรียกว่าโอเมก้า 3 ล่ะ ? เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ที่มีพันธะคู่ (Double Bond) ของอะตอมคาร์บอน (C = C) ที่เริ่มจากอะตอมของคาร์บอนตัวที่สามจากปลายคาร์บอน คือ ปลายของกรดคาร์บอกซิลิก (COOH) ส่วนที่เป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่ และส่วนที่เป็นหางของห่วงโซ่คือ ปลายของ “อัลฟา” และ methyl (-CH3) โดยพันธะคู่แรกจะอยู่ที่ตำแหน่งของคาร์บอนตัวที่ 3 นับจากปลายโมเลกุลด้านที่มีกลุ่มเมธิล (methyl group) เข้าไป ส่วนพันธะคู่ต่อไปจะอยู่ตรงตำแหน่งคาร์บอนถัดไปครั้งละ 3 ตำแหน่ง อย่างไรก็ตามระบบการตั้งชื่อสารเคมีตามมาตรฐาน (IUPAC) จะเริ่มจากจุดปลายของคาร์บอกซิล

โดยสารสำคัญเด่นๆ ในตัวมีอยู่ 2 ตัว คือ Eicosopentaenoic (EPA) และ Docosahexaenoic (DHA) แต่ความจริงแล้วกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นมีอยู่สามชนิดที่สำคัญ คือ

– กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha linolenic acid : ALA)

– กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenic acid : EPA)

– กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid : DHA)

โดย EPA และ DHA ส่วนใหญ่พบในปลาบางชนิด ส่วน ALA (alpha-linolenic acid) จะพบได้ในแหล่งของพืช เช่นถั่วและเมล็ดพืชค่ะ

 

โอเมก้า 3 คืออะไรนะ ? ทำความเข้าใจกันก่อนนะคะว่าร่างกายของเราเนี่ยต้องการสารพัดสารอาหารและสารเคมีเลยล่ะค่ะ เพราะอะไรน่ะหรอก็เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องนั่นเอง และในขณะที่สารเคมีบางอย่างก็เป็นคุณแก่ร่างกายของเราส่วนบางอย่างก็เป็นโทษซึ่งเราก็จะต้องหลีกเลี่ยงที่จะรับเข้ามาสู่ร่างกาย คือกำลังจะบอกว่าไขมันก็เช่นเดียวกันค่ะมีทั้งไขมันชนิดที่ดีและก็ชนิดที่ไม่ดีไม่พอแถมยังสร้างปัญหาให้ร่างกายเราอีกแหน่ะ แล้วรู้ไหมคะว่าร่างกายเราก็ไม่ได้อัศจรรย์พันแปดขนาดที่จะสามารถสร้างสารอาหารที่จำเป็นทั้งหมดได้เองรวมทั้งกรดไขมันที่จำเป็นบางตัวด้วยยังต้องอาศัยการได้รับจากภายนอกอีก ไม่ว่าจะด้วยการทานอาหารหรือการรับประทานในรูปแบบของยาที่สกัดมาแล้ว เพราะงั้นร่างกายของคนเราก็ต้องการกรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acid) 2 ชนิด แล้วกรดไขมันกลุ่ม Omega-3 เป็นหนึ่งในกรดไขมันที่ร่างกายมนุษย์ขาดไม่ได้ สารสำคัญที่อยู่ในกลุ่ม Omega 3 แบ่งเป็น 2 ชนิดที่เด่นๆ เลย  คือ  EPA (Eicosapantaenoic acid) และ DHA (Docosahexanoic acid) ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้เราจึงต้องการจากที่อื่นเพื่อเสริมให้กับร่างกายของเราได้รับเพียงพอนั่นเอง

โอเมก้า 3 มาจากไหน ? ในเมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างโอเมก้า 3 ได้เองอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอเราก็ต้องหาแหล่งของไขมันชนิดนี้ที่ได้จากปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาแม็คเคอเรล ปลาทูน่า หรือปลาน้ำจืดบางชนิดสำหรับคนที่แพ้อาหารทะเลแต่ยังคงต้องการโปรตีนจากเนื้อสัตว์ หรือปลาทะเลนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องนำเข้าและบางทีอาจจะไม่สดอีก แล้วรู้ไหมละคะว่าสำหรับประเทศไทยเรานั้นยังมีปลาน้ำจืด ที่มีโอเมก้า 3 สูงและหาทานได้ง่ายทั่วไปอย่างเช่น ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาดุก เป็นต้น  นอกจากนั้นก็ยังสามารถพบโอเมก้า 3 ได้ในเมล็ดวอลนัท บรอคโคลี่ ดอกกะหล่ำ เต้าหู้ ผักขม กุ้ง หอยแครง ปลาเฮริง ถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนในจำพวกพืชหรือผ้กที่มีใบสีเขียวเข้มส่วนใหญ่ก็จะมีกรด ALA ซึ่่งในขณะที่อาหารประเภทเนื้อสัตว์โดยเฉพาะเนื้อปลาจะมีกรด EPA และ DHA ที่นำไปใช้ได้โดยตรง

 

โอเมก้า 3 มีประโยชน์ยังไง ?

จุดเด่นของ Omega-3 มีคุณสมบัติป้องกันและรักษา การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเหมาะสมจะทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติและร่างกายของเรานั้นจำเป็นต้องมีระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีอย่างเหมาะสม กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นแต่ไม่สามารถสร้างเองได้ภายในร่างกาย ดังนั้นจำเป็นต้องรับจากการบริโภคอาหารเท่านั้น และแทบทุกระบบการทำงานภายในร่างกาย จำเป็นที่จะต้องใช้ประโยชน์จากกรดไขมันจำเป็นทั้งนั้น อาทิเช่น

  • ระบบหลอดเลือดหัวใจ(ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน และ โรคอัมพาต)
  • ระบบประสาท(ช่วยเพิ่มความจำ)
  • สายตา(ช่วยในการมองเห็น)
  • ระบบภูมิคุ้มกัน(ลดอาการภูมิแพ้)
  • ระบบไหลเวียนโลหิต
  • ระบบสืบพันธุ์
  • ระบบข้อกระดูก

นอกจากนี้แล้วกรดไขมัน Omega-3 ยังมีคุณสมบัติ ต่อต้านการอักเสบ(ช่วยบรรเทาอาการข้ออักเสบ) และที่สำคัญที่สุด กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยให้ผิวเปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าไปสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวพรรณแลดูอ่อนเยาว์และสดใส ทั้งนี้หากมีการรัปทานร่วมกับ วิตามินเอ ดี และอี จะยิ่งช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็น สิวหัวขาวและหัวดำ

โอเมก้า 3 มีประโยชน์ต่อสตรีมีครรภ์ กรดไขมันโอเมก้า-3 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DHA มีความสำคัญในการพัฒนาและการทำหน้าที่ของระบบประสาท ระบบสายตา และระบบสมอง ของทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากคลอดแล้ว ดังนั้น มารดาของทารกที่เสริมกรดไขมันโอเมก้า 3 จะเป็นทางเดียวที่จะทำให้ ทารกในครรภ์ได้รับกรดไขมันจำเป็นไปด้วย (ทั้งนี้ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ โดยควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง)

โอเมก้า 3 มีประโยชน์สำหรับเด็ก น้ำมันปลาโอเมก้า 3 มีประโยชน์อย่างมากมายในการช่วยการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น ช่วยพัฒนาการทำงานของสมองและจิตใจ เพิ่มสมาธิ ความจำระยะสั้นและ ทักษะในการอ่าน นอกเหนือจากนี้ ยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่เด็กๆ ควรจะได้รับปริมาณโอเมก้า 3 ในระดับสมดุลกับอาหารของพวกเขา

โอเมก้า 3 กับความสวยความงาม ผิวสวยหน้าใส สมองสดใส หัวใจแข็งแรง อย่างที่เราทราบกันดีนะคะว่าโอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ไม่สามารถสร้างเองได้ภายในร่างกายต้องรับจากอาหารเท่านั้น แทบทุกระบบภายในร่างกายของเราจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากกรดไขมันจำเป็นเหล่านี้ ในส่วนของความสวยความงามนั้นกรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยให้ผิวเปล่งประกายและสุขภาพดีขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งในการใช้สร้างเยื่อหุ้มเซลล์ช่วยคงความชุ่มชื้นและแข็งแรง ช่วยกระตุ้นการผลิตคอลลาเจนและเส้นใยอีลาสติน จึงส่งผลให้ผิวดูอ่อนเยาว์และสดใสรวมไปถึงเส้นผมที่แห้งแตกปลาย ในขณะที่ EPA ที่อยู่ในปลานั้นจะช่วยปกป้องการเกิดสิว ไม่ว่าจะเป็นสิวหัวขาวและหัวดำค่ะ เห็นอย่างนี้แล้วสาวๆไม่ควรมองข้ามอาหารที่มีโอเมก้า 3 กันนะคะ

 

จะเห็นได้ว่า โอเมก้า 3 มีความสำคัญต่อสุขภาพของเรามากมายเลยนะคะ หลายคนพอได้ยินว่าเป็น ไขมัน ก็กลัวแทบไม่อยากแตะ แต่อย่าลืมนะคะว่าไขมันมีทั้งตัวที่ดีและตัวที่ไม่ดีและไขมันก็ยังคงมีความจำเป็นต่อร่างกายเราอยู่ดีค่ะ และหว้งว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เราเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพกันได้มากขี้นและเมื่อสุขภาพภายในของเรานัันดีแล้วนั้นมันก็ส่งผลให้สุขภาพภายนอกของเราสวยสดใสตามมาอีกด้วยค่ะ 

www.flickr.com/photos/jeffchristiansen/4822568694/

6 เหตุผล ทำไมอาหารมื้อเช้าจึงมีความสำคัญ

breakfast-1 “อาหารเช้าสำคัญ” มากนะรู้ยัง? อาหารมื้อเช้า มีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “Breakfast” แปลแบบตรง ๆ โดยนำคำว่า “Break” ที่แปลว่า “หยุด”  กับคำว่า “Fast” ที่แปลว่า “การอดอาหาร” มารวมกัน ดังนั้น Breakfast จึงหมายความว่า “การหยุดการอดอาหาร” คนเรามักจะรับประทานอาหารเย็นเวลา 6 โมงเย็น ถึง 3 ทุ่มโดยประมาณการเป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นก็มักจะเป็นการทำกิจกรรมเบา ๆ พักผ่อนสมอง ก่อนที่จะล้มตัวลงนอนหลับ อาหารมื้อดึกกว่านี้จึงจัดเป็นโทษต่อร่างกายเพราะแทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนและซ่อมแซมความเหนื่อยล้าที่เกิดขึ้นมาตลอดวันแต่กลับต้องมาเสียเวลาและพลังงานเพื่อย่อยอาหารนับรวมแล้วร่างกายต้องอดอาหารกว่าจะถึงเช้าวันใหม่เป็นเวลาประมาณ 10-12 ชั่วโมง ร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยเซลล์จำนวนมหาศาล ซึ่งทุกส่วนประกอบย่อย ๆ เล็ก ๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหล่านั้นล้วนต้องการน้ำตาลกลูโคสที่ได้จากกระบวนการเผาผลาญอาหารมาใช้เพื่อเป็นพลังงานให้การทำงานของอวัยวะทุกส่วนเป็นไปอย่างปกติ ซึ่งระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดนั้นจะสูงสุดในช่วงระยะเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ต่อจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของตับและบรรดาฮอร์โมนเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด (counteregulatory hormone) ที่จะมาช่วยกันรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้ต่ำเกินไปจนเซลล์เกิดความเสียหาย รวมทั้งต้องเพียงพอต่อการทำงานของ 2 อวัยวะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการมีชีวิตมนุษย์ซึ่งก็คือสมองและหัวใจ  รู้อย่างนี้แล้ว วันนี้คุณทานอาหารเช้ากันหรือยังคะ? บางคนก็เร่งรีบในการทำภาระกิจตอนเช้าเพื่อต้องรีบไปให้ถึงที่ทำงาน นอนดึกตื่นสายบ้างจนต้องข้ามอาหารเช้ามาทานบ่ายซะงั้น บ้างก็ต้องการลดหุ่นโดยการงดรับประทานอาหารเช้า หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่หารู้ไม่ว่าคุณกำลังทำร้ายตัวเองโดยไม่รู้ตัวเลยล่ะค่ะ การข้ามหรืองดอาหารเช้าไปถือว่าทำสิ่งที่ผิดพลาดอย่างรุนแรงเลยด้วย เมื่อก่อนก็เคยทำค่ะแต่เหตุผลของเราคือตอนเช้าๆมันไม่มีความรู้สึกหิวหรืออยากกินอะไรเลย เคยเป็นไหมคะ? และด้วยความที่ไม่รู้ว่ามันไม่ดีต่อสุขภาพของเราอย่างแรง และเป็นการทำร้ายตัวเองโดยตรงเลยด้วย จนต้องมารู้สึกกับตัวเองว่าเวลาไปเรียนหรือจะทำงานแล้วสมองมันตื้อๆ ไม่สดใสปรอดโปร่งเอาซะเลย และบางคนก็คงคิดล่ะสิว่าถ้าข้ามอาหารเช้าไปมื้อนึงแล้วคงไม่เป็นไรหรอกแถมยังจะช่วยลดน้ำหนักลงเสียอีก แต่คิดผิดถนัดเลยแหละค่ะ มันจะไปหนักอาหารมื้ออื่นโดยเฉพาะเจ้าอาหารมื้อเย็นนี่ตัวดีเลยจัดหนักจัดเต็ม นอกจากน้ำหนักไม่ลดแล้วเจ้ากรรมดันเพิ่มน้ำหนักเราขึันเสียอีกแหน่ะ!

ต่อไปนี้เราต้องจำไว้ให้ขึ้นใจเลยนะ * อาหารมื้อเช้าให้กินอย่างราชา อาหารมื้อกลางวัน ให้กินอย่างเศรษฐี อาหารมื้อเย็นให้กินอย่างยาจก หรือ อาหารมื้อเช้าบํารุงสมอง อาหารมื้อกลางวันบํารุงกําลัง อาหารมื้อเย็นบํารุงร่างกาย และเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการรับประทานอาหารมื้อเช้าคือ 7.00 – 9.00 น. เพราะเป็นช่วงเวลาที่กระเพาะอาหารของเราเริ่มทํางานนั่นเองค่ะ

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกโรงเตือนคนที่งดอาหารเช้าเพราะต้องการลดน้ำหนัก ซึ่งพบมากในกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน ว่าเป็นความเชื่อที่ผิดและก่อให้เกิดผลเสียตามมาเนื่องจากการงดอาหารเช้าจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำมีอารมณ์หงุดหงิด สมองตื้อ คิดอะไรไม่ออก เพราะสมองต้องการน้ำตาลกลูโคสหล่อเลี้ยงตลอดเวลาทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียนหรือทำงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือการทำงานจะด้อยกว่าคนที่กินอาหารเช้าช่วงสายของวันจะรู้สึกหิวและหันมากินจุบกินจิบ ส่งผลให้น้ำหนักตัวขึ้นง่ายสำหรับเด็กวัยเรียนและวัยรุ่นการได้รับอาหารเช้าที่เหมาะสมจะยิ่งมีความสำคัญเพราะอยู่ในวัยที่กำลังเจริญเติบโตจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตได้เต็มตามศักยภาพ

 

ทำไมต้องรับประทานอาหารเช้า?

1. ช่วยให้ความจำดี

มีการวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารเช้ามีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ การทำงานทำให้ระบบความจำทักษะการเรียนรู้ และอารมณ์ดีขึ้นด้วยค่ะ แต่หากใครไม่ทานอาหารเช้าจะมีสมาธิน้อยลงและสมองก็ทำงานได้ไม่เต็มที่

2. ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้

โดยคนที่รับประทานอาหารเช้าจะมีภาวะผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน หรือที่เรียกว่าภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานนั้นลดลงถึง 35-50% เลยทีเดียวค่ะ

3. ช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้

อาหารเช้าช่วยควบคุมโรคอ้วนและน้ำหนักได้เป็นอย่างดีค่ะ นั่นเพราะจากมื้อดึกจนถึงเช้าวันใหม่เราอดอาหารมานานเกือบ 12 ชั่วโมง และหากเรายิ่งไม่ทานอาหารเช้าเข้าไปอีกจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง จนไปเพิ่มแนวโน้มการรับประทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้อเที่ยงมากขึ้นและนี่ก็เป็นสาเหตุให้มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้อย่างไม่รู้ตัวอีกด้วยค่ะ

4. ลดความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจ

ผลการวิจัยจากสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2003 พบว่า การรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมออาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดสมองและโรคหัวใจได้ด้วย เพราะในตอนเช้าเลือดของเรามีความเข้มข้นสูงและทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอุดตันได้ แต่ถ้ารับประทานอาหารเช้าเข้าไปจะช่วยให้ระดับความเข้มข้นในเลือดเจือจางลงด้วยค่ะ

5. ช่วยลดโอกาสเกิดโรคนิ่ว

การไม่รับประทานอาหารนานกว่า 14 ชั่วโมงจะทำให้คอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีจับตัวกันนาน หากนาน ๆ ไปสิ่งที่จับตัวกันนั้นจะกลายเป็นก้อนนิ่ว แต่หากเราทานอาหารเช้าเข้าไปล่ะก็ มันจะไปกระตุ้นให้ตับปล่อยน้ำดีออกมาละลายคอเลสเตอรอลที่จับตัวกันอยู่ได้ค่ะ

6. ช่วยพัฒนาสมอง

สำหรับเด็ก ๆ การอดอาหารเช้าเป็นประจำ อาจทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์และยังส่งผลต่อสติปัญญา ทำให้ขาดสมาธิ ส่งผลเสียในระยะยาวอีกด้วยนะคะ

 

ผลเสียของการไม่รับประทานอาหารมื้อเช้า

  • การไม่รับประทานอาหารเช้านั้นร่างกายจะขาดสารอยู่สองตัวที่สำคัญ คือ แม็คนิเซียม และ ธาตุเหล็ก สารอาหารสองอย่างนี้จะไปเพิ่มการเผาผลานพลังงานได้ดีขึ้น เมื่อไม่มีสารสองอย่างนี้ก็ทำให้ขาดพลังงาน แม็คนิเซียม และธาตุเหล็กจะทำให้สารเคมีที่มีอยู่ในสมองทำงานได้ดี เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ทานอาหารเช้าจะทำให้เรา ขาดสมาธิ สมองเฉื่อยชา
  • ร่างกายขาดสารอาหารที่จําเป็นในการเสริมสร้างพลังงานและซ่อมแซมสิ่งที่ สึกหรอ ทําให้อวัยวะต่างๆไม่แข็งแรง
  • สมองไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ ทําให้ไอคิวต่ำ เฉื่อยชา ขาดความว่องไว ความจําไม่ดีขาดความ กระตือรือร้น
  • ถ้าไม่ได้รับประทานอาหารเช้าเป็นเวลานาน กระเพาะจะไม่แข็งแรง การขับถ่ายไม่ดี กล้ามเนื้อเหลว  ผิวเหี่ยวและคล้ำ แก่เร็ว ภูมิต้านทานลดลง ปวดหัว ปวดเข่า ความจําเสื่อม เป็นอัลไซเมอร์

 

นอกจากนั้นอาหารเช้ายังลดโรคด้วยนะจ๊ะ

การกินอาหารเช้าจะช่วยป้องกันโรคหัวใจและน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นอาการเตือนของโรคเบาหวาน นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย สำหรับคนที่จะลดหุ่นโดยการงดอาหารเช้านี่ ผิดมหันต์เลยค่ะ แต่อาหารเช้าจะไปช่วยควบคุมโรคอ้วนและน้ำหนักต่างหากล่ะคะ ก็เพราะว่าจากมื้อดึกจนถึงเช้าวันใหม่ เราอดอาหารมานานเกือบ 12 ชั่วโมง และหากเรายิ่งไม่ทานอาหารเช้าเข้าไปอีก จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง จนไปเพิ่มแนวโน้มการรับประทานอาหารที่มีพลังงานและไขมันสูงในมื้อเที่ยงมากขึ้น และนี่ก็เป็นสาเหตุให้มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วนได้อย่างไม่รู้ตัว

ถ้าต้องการให้ร่างกายได้ประโยชน์จากอาหารมื้อเช้ามากขึ้น ก็ควรพิจารณาเลือกชนิดอาหารที่มี คารโบไฮเดร์ต โปรตีน ธัญพืชไม่ขัดสี ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ อาหารทะเลให้กรดอะมิโน ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามินบี และโคลีนช่วยการทํางานเกี่ยวกับความจํา แม้ไข่จะมีคลอเลสเตอรอลสูง แต่ไข่วันละฟองในมื้ออาหารที่สมดุลนนั้น ข้อมูลการวิจยเปิดเผยว่าไม่เป็นผลเสีย อาหารแคลเซียมสูง เช่น นมโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง หรือธัญพืชเสริมแคลเซียม น้ำส้มช่วยในการเผาผลาญไขมันและลดการสะสมไขมันในร่างกาย

 

ส่วนคุณพ่อคุณแม่บางคนก็จะให้ลูกๆกินข้าวเช้าก่อนไปโรงเรียนกันใช่ไหมล่ะคะ เพราะการไม่กินอาหารเช้าจะทําให้ร่างกายขาดพลังงาน และจะมีผลต่อการเรียนรู้และความจำ ดังนั้นการกินอาหารเช้าจึงทําให้สมองทํางานได้ดีจะช่วยให้มีสมาธิในการเรียน สำหรับคนที่ไม่กินอาหารเช้าควรปรับพฤติกรรมใหม่หันมากินอาหารเช้ากันเถอะนะคะ เพื่อให้การทํางานในแต่ละวันมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทําให้การรับรู้และความจำดีขึ้นอีกด้วย เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราควรมาใส่ใจกับมื้อเช้ากันค่ะ