Browse Tag: Keratin

เคราติน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

beautiful-lady-1
Source: Flickr (click image for link)

ความงามกับผู้หญิงเป็นของคู่กันเสมอ เพื่อให้ตัวเองดูดีและสุขภาพดีนั้นต้องมาจากภายในไปสู่ภายนอกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเพียงแต่ดูแลภายนอกอย่างเดียวบางทีก็ไม่เห็นผลได่เต็มที่ ทุกสิ่งทุกอย่างมักมีที่มาที่ไปเสมอ อย่างเช่นการที่เราอายุมากขึ้นผิวหนังก็จะไม่ยืดหยุ่นได้ดีเหมือนครั้งที่ยังอายุน้อย อีกทั้งจะให้ร่างกายสามารถสู้ทนเหมือนเมื่อก่อนก็คงจะยากถ้าหากเราไม่ดูแล เหมือนอย่างวันนี้ที่เราเห็นว่าการดูแลสุขภาพเส้นผมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สาวๆ หลายคนกังวลใจเนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งมีการตกแต่งเส้นผมด้วยสารเคมีต่างๆ ไหนจะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เราทำเกือบทุกวัน ทำให้เส้นผมเราโดนความร้อนจากการเป่า ไดร์ หนีบอีก ยังรวมไปถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการบำรุงของเส้นผม ปัจจัยหลายอย่างมากมายที่สามารถทำให้เส้นผมของเราอ่อนแอ เพราะอย่างนี้จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายด้วยเช่นกันที่พร้อมใจกันมาให้ทดลองกันนำมาดูแลได้ง่ายดายมากขึ้น อย่างเช่น Keratin หรือ เคราตินที่สาวๆ คงจะคุ้นหูกันดีว่าด้วยช่วยเราในเรื่องของเส้นผม ดังนั้นวันนี้ทาง HealthGossip จึงอยากให้มาทำความเข้าใจและรู้จักกับเคราตินกันให้มากขึ้น ว่ามันคืออะไร มีในส่วนไหนในร่างกายเราหรืออะไรยังไง ไปไขข้อข้องใจและหาคำตอบไปพร้อมๆกันเนอะ

เคราติน (Keratin) คืออะไร

dry-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

“เคราติน” ที่เราเข้าใจและเคยได้ยินมาจากคำแนะนำของช่างทำผมร้านประจำ ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญในการล็อคความสวยงามของเส้นผม และให้ความเปล่งประกายของเส้นผมของเราใช่ไหมล่ะคะ จริงๆ แล้วเคราติน (Keratin) คือ เส้นใยผิวหนังชนิดหนึ่งที่อยู่ที่บริเวณหนังกำพร้าของคนเรา เป็นเซลล์ที่ผิวหนังสร้างขึ้นจากเซลเยื่อบุผิวหนังและอัดแน่นเป็นแผ่นบางใสในชั้นนอกสุดเรียกว่า หนังขี้ไคล เคราตินจะช่วยป้องกันการดูดซึมของสารต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต และป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวหนัง เคราตินที่มีโครงสร้างประกอบมาจากโปรตีนเส้นใย ทั้งยังเป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวหนังอย่างที่กล่าวมาข้างต้น โดยทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โปรตีนชนิดนี้เป็นส่วนประกอบหลักของเส้นผมถึงร้อยละ 90 รองลงมาคือเส้นขนและเล็บมีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ บริเวณผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อกระจกตาและเลนส์ตา คุณสมบัติของเคราตินคือสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับชั้นเซลล์ผิวหนังและเป็นแหล่ะความชุ่มชื้นของเส้นผม เส้นขนและเล็บ รวมถึงเป็นแหล่งอาหารที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ เจริญเติบโตได้ปกติด้วย

เกี่ยวกับเคราติน หรือ Keratin

  • ร่างกายคนเราสามารถผลิตเคราตินเองได้
  • เคราตินธรรมชาติในร่างกายเรา จะอยู่ในรูปของเซลล์หนังกำพร้าที่เรียกว่า เคราติโนไซต์
  • เคราติน เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของผิวหนัง เส้นผม เล็บและส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • เคราติน มีกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ในลักษณะผลัดเซลล์เก่าแทนที่เซลล์ใหม่
  • เคราตินเป็นสารอาหารหลักของกระบวนการงอกใหม่ของเส้นผม เส้นขน เล็บรวมถึงเซลล์ผิวหนังและเป็นสิ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไว้ใช้งานได้เอง
  • การทำสีผม ดัด ยืดผม รวมถึงการมัดผมเป็นเวลานานๆ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เคราตินธรรมชาติละลายหายไป โดยเส้นผมจะมีสัมผัสที่หยาบกระด้างชี้ฟู ไม่สามารถแต่งเป็นทรงได้
  • เมื่อร่างกายขาดเคราตินก็จะทำให้ ผมบางลง ผมร่วง เส้นผมชี้ฟูและผมขาดเส้น
  • หากบริเวณผิวหนังขาดเคราติน ก็จะแสดงอาการผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุยหรือถ้าเป็นบริเวณเล็บ เล็บก็จะเปราะหักง่ายฉีกเป็นชั้น
  • การเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้กระตุ้นสร้างเคราตินนั้น ควรเลือกอาหารที่อยู่ในหมวดโปรตีนเป็นหลัก

 

เคราตินที่พบในอาหาร

นอกจากจะพบเคราตินในอาหารจำพวกหมวดของโปรตีนเป็นหลักแล้ว รองลงมาก็คืออาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็น เช่น กรดไขมัน โดยแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในกระบวนการสร้างเคราติน ได้แก่ ปลาแซลมอน ไข่ไก่ ถั่วเช่น อัลมอนด์ พีแคน มะม่วงหิมพานต์ วอลนัท ถั่วแดง มะม่วง สัปปะรด กีวี ลูกพืช ชีส นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต บลูเบอร์รี ราสเบอร์รี สตอเบอร์รี บร็อคโคลี ผักปวยเล้ง ผักโขม ผักคะน้า หอยนางรม เมล็ดฟักทอง และเนื้อไก่ เป็นต้น

 

 

www.flickr.com/photos/90157732@N03/26511446454/

www.flickr.com/photos/luxenography/11826052763/

กำมะถัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

dark-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

มาถึงแร่ธาตุหรือเกลือแร่อีกตัวหนึ่งที่สำคัญค่ะ นั่นก็คือ กำมะถัน หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) นั่นเอง ซึ่งเป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเองหรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด ตอนสมัยที่เราเรียนหนังสือ มีแร่ธาติมากมายที่เราต้อจดจำ ถ้าจะให้เราจำให้หมดก็คงจะยาก แร่ธาติเหล่านี้ ถีงแม้จะเป็นแร่ธาตุที่เราคิดว่ามันมีประโยชน์น้อยนิดต่อร่างกายของเรา แต่ก็ใช่ว่าจะถูกต้องทั้งหมด เพราะแร่ธาตุบางตัวก็ไม่ได้อยู่ในอาหารทุกชนิด และถึงมีในอาหารชนิดนั้นเราอาจไม่ค่อยได้รับประทานสักเท่าไหร่นัก จึงอาจจะได้รับไม่เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายของเราขับเคลื่อนได้สมบูรณ์ ในวันนี้จึงขอนำเสนอแร่ธาตุตัวนี้กัน ว่าถ้าร่างกายเราขาดไปหรือได้รับมากเกินไปจะเกิดผลอย่างไร และแร่ธาตุตัวนี้เราสามารถพบเห็นในอาหารประเภทใด เพื่อที่จะสามารถรู้และเข้าใจใช้เป็นแนวทางในการเลือกรับประทารอาหารมากขึ้น เอาล่ะ เราไปดูกันดีกว่าค่ะ

 

เกี่ยวกับ กำมะถัน หรือซัลเฟอร์ (Sulfur)

  • กำมะถัน เป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นกรด
  • กำมะถัน พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืช
  • กำมะถัน พบในมนุษย์ 0.25 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว
  • กำมะถัน แบคทีเรียในลำไส้ก็สามารถดูดซึมได้ ถ้าหากร่างกายได้รับมากเกินไปจะถูกขับออกทางปัสสาวะ และเหงื่อ
  • กำมะถัน เป็นแร่ธาตุชนิดที่รู้จักกันในชื่อ “Beauty mineral”
  • กำมะถัน จะถูกดูดซึมในรูปของกรดอะมิโน 3 ชนิด คือ เมไทโอนีน ซีสทีน และซีสเทอีน
  • กำมะถัน แร่ธาตุชนิดนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเล็บ ผม และผิวหนัง ให้มีสุขภาพดี ผมสวยเป็นเงางาม ผิวเรียบเกลี้ยงเกลาดูเปล่งปลั่ง
  • กำมะถัน มีความใกล้ชิดกับโปรตีน และนอกจากนี้ยังเป็นแร่ธาตุสังคมที่ต้องทำงานร่วมกับวิตามิน และแร่ธาตุอื่นๆ จึงจะได้ผลดี เช่น ทำหน้าที่ร่วมกับวิตามินบี1 วิตามินบี5 (กรดแพนโทเทนิก) ไบโอติน และกรดไลโนเลอิคในร่างกาย
  • กำมะถัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิตในการผลิตสาร “เคราติน”
  • กำมะถัน ยังจำเป็นต่อการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล
  • กำมะถัน จำเป็นต่อการผลิตเฮปพารินซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการแข็งตัวของเลือด
  • กำมะถัน มีบทบาทในการฟอกพิษแอลกอฮอล์ สารไซยาไนต์ที่ได้รับจากอาหาร สารพิษที่สูดดมจากอากาศรวมถึงพิษจากบุหรี่
  • กำมะถัน มีศัตรูเป็นทองแดง ถ้ามีในอาหารมากเกินไป อาจจะจับกับกำมะถันทำให้ดูดซึมได้ยากขึ้น
  • กำมะถัน มีในกรดอะมิโนบางตัวซึ่งเป็นแหล่งที่ร่างกายสามารถดูดซึมใช้ประโยชน์ได้ดี วิตามินอีช่วยป้องกันไม่ให้กำมะถันจับกับกรดอะมิโนในร่างกาย ทำให้เซลล์ทั่วร่างกายพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ทันที
  • กำมะถัน พบในอาหารพวกโปรตีน เช่น เนื้อไม่ติดมัน กุ้ง หอย ปู ปลา ถั่ว นม ตับ น้ำมันปลา  และโดยเฉพาะพบมากที่สุดใน ไข่
  • กำมะถัน พบในอาหารประเภทผลไม้ เช่น สับปะรด อะโวคาโด นอกจากนี้ยังสามารถพบ แร่ธาตุกำมะถันได้ในนำผึ้ง อีกด้วย
  • กำมะถัน พบในอาหารประเภทผัก เช่น กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ หัวไชเท้า กระเทียม สาหร่ายทะเล รำข้าว เป็นต้น

 

ประโยชน์ของ กำมะถัน หรือซัลเฟอร์ (Sulfur)

  • เป็นส่วนประกอบของเคราติน

ช่วยในการสังเคราะห์คอลลาเจน ช่วยในเรื่องผิวหนังนวลเนียน เล็บ และเส้นผมเป็นเงางาม

  • ช่วยให้การทำงานของข้อต่อ

และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • มีความสำคัญต่อการทำงานของสมอง

และสุขภาพของระบบประสาท ใช้ในกระบวนการหายใจของเนื้อเยื่อ

  • รักษาสมดุลออกซิเจน และสมดุลของร่างกายมีบทบาทในการฟอกพิษแอลกอฮอล์

สารไซยาไนต์ที่ได้รับจากอาหาร สารพิษที่สูดดมจากอากาศรวมถึงพิษจากบุหรี่

  • ทำงานร่วมกับตับเพื่อขับน้ำดี
  • ช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรีย

 

การรับประทานอาหาร จำพวกโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน พบว่าจะได้รับกำมะถันอย่างเพียงพอตามไปด้วย

ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร MSM (Methysulferfonylmethane) เป็นซัลเฟอร์หรือกำมะถัมแบบอินทรีย์ มีจำหน่ายในขนาด 1,000 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินบีรวม และยังมีโลชั่นที่ผสม MSM สำหรับแก้ปัญหาผิว

การรับประทาน MSM ร่วมกับกลูโคซามีน ซึ่งเป็นสารในกลุ่มซัลเฟอร์อีกตัวหนึ่ง จะช่วยลดอาการปวดตึงจากข้ออักเสบได้ดีมาก

สำหรับอาการภูมิแพ้ โรคติดเชื้อพยาธิ หรือต้องการฟื้นฟูร่างกายจากการออกกำลังกายอย่างรวดเร็ว แนะนำให้รับประทาน MSM ร่วมกับวิตามินซีคอมเพล็กซ์ 1,000-3,000 มิลลิกรัม พร้อมอาหาร วันละ 2-3 เวลา ในช่วงที่อาการกำเริบจะดีมาก และในครีมที่มีซัลเฟอร์เป็นส่วนประกอบ ให้รักษาปัญหาผิวหนังต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม

อาการขาด กำมะถัน จะเกิดอาการผิดปกติที่ผิวหนัง เล็บเปราะ ผมร่วง

การได้รับ กำมะถัน มากเกินไป ยังไม่พบอันตรายใดๆ จากการได้รับกำมะถันแบบอินทรีย์(MSM) แต่การได้รับกำมะถันในรูปอนินทรีย์จะเป็นพิษต่อร่างกาย

 

 www.flickr.com/photos/david_martin_foto/17083665265/

11 สุดยอดอาหารที่ทำให้ผมสวยสุขภาพดี

pretty-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

สาวหลายๆคน นอกจากรูปร่างหน้าตาที่เราต้องดูแลเป็นพิเศษแล้วนั้นเรื่องของเส้นผมหรือการมีผมที่สลวยสวยสุขภาพดีก็เป็นความใฝ่ฝันของผู้หญิงอย่างเราๆกันทั้งนั้น เพราะมันคือเสน่ห์สำคัญอย่างหนึ่งของเราเลยจริงไหมคะ บางคนมีผมที่บาง แห้ง เสีย อ่อนแอ หลุดร่วงง่าย หรือผมไม่มีน้ำหนัก เบาฟูฟ่อง หรือมีปัญหายาวช้าบ้างแหละ  แต่ถึงแม้ว่าคุณจะลงทุนไปมากมายกับผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมต่าง ๆ แชมพู คอนดิชั่นเนอร์ มาส์ก อบไอน้ำทุกสัปดาห์ ฯลฯ แต่ถ้ายังพบว่าผมยังคงแห้งและไม่มีชีวิตชีวา การดูแลเส้นผมของเราไม่ใช่แค่สรรหาผลิตภัณฑ์ต่างๆมาเพื่อบำรุงก็บำรุงได้แค่ภายนอกเท่านั้น ไม่ว่าจะใช้ราคาแพงแค่ไหนแล้วคุณจะมั่นใจได้ยังไงว่าไม่มีสารเคมีปนเปื้อน? ยังไงไม่ว่าอะไรก็ตามการที่เราบำรุงจากภายในนั้นย่อมเป็นปัจจัยที่สำคัญและเป็นพื้นฐานของความสวยสู่ภายนอกเสมอ  การเลือกรับประทานอาหารยังไงก็ยังเป็นวิธีที่ง่ายและไม่เสียเวลา เพราะฉะนั้นสเต็ปแรกเราควรทราบก่อนว่าเส้นผมของเรานั้นต้องการสารอาหารอะไรบ้าง และหลังจากนั้นเรามาปรับพฤติกรรมการกินของเรากันค่ะ

เส้นผม หมายถึง ขนที่งอกปกคลุมหนังศีรษะของมนุษย์ เป็นเคราตินที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน และแร่ธาตุ C, H, N, P และ S ผมถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เส้นผม (hair shaft) เป็นส่วนที่งอกเหนือหนังศีรษะ และรากผม (hair root) เป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้หนังศีรษะ

ริคาร์โด วิลา โนวา นักเกศาโลมาวิทยา (Trichologist) หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านเส้นผมและหนังศีรษะ จากร้าน Urban Retreat ในห้างแฮร์รอด ประเทศอังกฤษ แจงว่า การมีผมที่สุขภาพดีนั้นจะอาศัยการบำรุงจากภายนอกเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องใส่ใจในอาหารที่บริโภคเข้าไปด้วย หากคุณกินอาหารที่มีสารอาหารสำหรับเส้นผมไม่เพียงพอก็จะทำให้ผมแห้งบาง ขาดง่าย ไร้ประกาย มีภาวะผมแห้งมากหรือผมมันง่าย และหากเกิดอาการเช่นนี้ขึ้นกับเส้นผมแล้ว อาจต้องใช้เวลามากที่สุดถึง 4 ปีทีเดียว กว่าเส้นผมจะค่อย ๆ ฟื้นฟูสู่สภาพเดิม

 

กินอะไรผมถึงสวยสุขภาพดี

 

1. แซลมอน (Salmon Fish) : ผมแข็งแรงไม่ขาดร่วง
เนื่องจากปลาแซลมอน มีกรดไขมันที่จำเป็นโอเมก้า 3 (omega – 3 fatty acid) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี และยังมี วิตามิน บี 12 และธาตุเหล็กอยู่ในปริมาณมาก ประชากรของประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการเป็นผมร่วง ผมบาง ต่ำกว่าประชากรในประเทศแถบตะวันตก และต่ำสุดในเอเซีย การนิยมบริโภคปลาแซลมอนมากเป็นเหตุผลสนับสนุนสถิตินี้ส่วนหนึ่ง แม้ในปัจจุบันจะพบว่าวัยรุ่นชาวญี่ปุ่นนิยมทำแฟชั่นเกี่ยวกับทรงผมมากเป็น พิเศษทั้งการใช้สารเคมีต่างๆกับเส้นผม ทั้งยืดผม ดัดผม เปลี่ยนสีผมนานาสี ก็ยังพบว่าชาวญี่ปุ่นมีอัตราการเกิดปัญหาผมร่วง ผมบางต่ำมาก นั่นแสดงว่าอาหารการกินมีส่วนทำให้เส้นผมมีความแข็งแรงได้จริงๆ

2. ดาร์กช็อกโกแลต (Dark Chocolate) : ผมหงอกก่อนวัย

ยับยั้งได้ด้วยการกินช็อกโกแลต โดยเฉพาะดาร์กช็อกโกแลต เพราะในช็อกโกแลตมีสาร “เมลานิน” ซึ่งเป็นเม็ดสีในผิวและผม จะช่วยทำให้ผมดกดำและเป็นประกายมากขึ้น

3. ผักใบเขียว (Dark green vegetables) : ผมนุ่มสวย ไม่ต้องพึ่งครีมนวด

จำพวกบล็อกโคลี่ ผักโขม คะน้า ผักบุ้ง เป็นแหล่งของวิตามินเอ วิตามินซีและธาตุเหล็ก ซึ่งธาตุเหล็กมีส่วนช่วยสร้างไขมัน เพื่อทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นปกป้องผิว และผม เสมือนเป็นคอนดิชันเนอร์จากธรรมชาติ และป้องกันไม่ให้เส้นผมเปราะบาง 

4. ไข่ (Egg) : ผมแตกปลาย

เพราะไข่สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายรูปแบบ ได้หลายเมนู ทำง่าย กินก็ง่าย แถมอุดมไปด้วยสารอาหาร ทั้งโปรตีน ไบโอติน และวิตามินบี12 ที่ทำให้เส้นผมแข็งแรง และยังช่วยบำรุงไม่ให้เส้นผมแตกปลายนั่นเองค่ะ

5. ธัญพืช (Whole Grains) เช่น ขนมปังที่มีกาก (Whole – wheat bread), ซีเรียล (cereals) : ผมดำเงางามด้วยพืชตระกูลถั่ว

สามารถหาได้จากขนมปังโฮลวีท ซีเรียลผสมธัญพืช (นำมากินกับนมเป็นอาหารเช้า เข้าท่ามากๆ เลยจ้า^^) ธัญพืชนี้อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสุขภาพเส้นผม ได้แก่ ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินบี และ ซีลีเนียม และซีลิเนียมถือเป็นอาหารผมที่สำคัญอีกตัว ที่ช่วยเสริมสร้างเส้นผมให้แข็งแรง มีสุขภาพดี  ซึ่งสารอาหารเหล่านี้จะทำให้เส้นผมหนานุ่ม เป็นเงางามและมีสุขภาพดีด้วยค่ะ

6. หอยนางรม (Oyster) : รังแคไม่มากวนใจ

หอยนางรมนี้อุดมไปด้วยสังกะสี (แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระด้วยนะเออ) นอกจากนี้หอยนางรมยังช่วยป้องกันรังแคและการขาดร่วงของเส้นผมด้วยค่ะ ถ้าสาวๆ คนไหนไม่ได้รับประทานหอยนางรมบ่อยๆ ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ จมูกข้าว งา เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง และในเนื้อวัวหรือเนื้อแกะก็มีสังกะสีเช่นเดียวกันจ้า เพราะงั้นสามารถเลือกรับประทานอาหารข้างต้นแทนหอยนางรมได้ตามสะดวกเลยจ้า

7. นม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต, ชีส  :  เส้นผมแข็งแรง

เพราะในนมนอกจากมีแคลเซียมเป็นหลักแล้วซึ่งแคลเซียมจะช่วยบำรุงเส้นผมให้มีสุขภาพดี มีชีวิตชีวา และนมยังประกอบไปด้วย เคซีน (Casein) และเวย์ (Whey) ซึ่งเป็นสารอาหารประเภทโปรตีน มีส่วนสำคัญมากที่ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของเส้นผม และช่วยบำรุงให้เส้นผมแข็งแรง สาวๆ ห้ามละเลยการดื่มนมเด็ดขาดจ้า เพราะนอกจะหาซื้อดื่มได้ง่ายแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายและเส้นผมของเราด้วยนะเออ (ชีสกับโยเกิร์ตก็มีประโยชน์คล้ายๆ นมเหมือนกันจ้า)

8. แครอท (Carrots) : สุขภาพดี เส้นผมแข็งแรง

แครอทเป็นแหล่งรวมของวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงให้หนังศีรษะมีสุขภาพดีและแข็งแรง ช่วยให้ผมเป็นประกายเงางามและบำรุงรากผมให้แข็งแรง เพราะฉะนั้นสาวๆ คนไหนไม่ชอบแครอท งานนี้ก็ห้ามงอแงแล้วจ้า ต้องหัดกินแครอทได้แล้วนะ

9. กล้วย (Banana) : เส้นผมไม่ขาดหลุดร่วง

กล้วยเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินบี6 และแร่ซิลาก้า ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง นอกจากนี้กล้วยยังช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นส่วนช่วยทำให้หนังศีรษะแข็งแรง ป้องกันการขาดหลุดร่วงของเส้นผม ใครที่ผมร่วงเยอะๆ ต้องหันมารับประทานกล้วยกันได้แล้วน้า

10. เนื้อไก่ (Chicken meat)  : เส้นผมสีสวย

เนื้อไก่อุดมไปด้วยโปรตีนไบโอตินและธาตุเหล็ก สังกะสี  ซึ่ง ไบโอตินช่วยลดอาการผมขาดร่วง ช่วยในกระบวนการการสร้างเซลล์ใหม่ของเส้นผม ช่วยบำรุงผมให้แข็งแรง ไม่เปราะบางและขาดง่าย และยังช่วยรักษาสีของเส้นผมสำหรับคนที่ทำสีผมด้วยค่ะ

11. น้ำ (Water) : ผมแห้งขาดความชุ่มชื้น

ใครจะรู้ล่ะคะ ว่าน้ำเปล่าที่เราดื่มทุกวันนี่แหละมีประโยชน์มากมายดื่มกันง่ายๆได้ทุกวัน แค่เพียงอย่ามองข้ามกันก็พอค่ะ เพราะเส้นผมของเราขาดน้ำไม่ได้เป็นอันขาด ก็เพราะว่าเส้นผมมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 1 ใน 4 ของน้ำหนักเส้นผม ดังนั้น จึงควรดื่มน้ำประมาณ 8 – 10 แก้วต่อวัน เพื่อให้เส้นผมมีความชุ่มชื้นในระดับที่พอเหมาะ และป้องกันไม่ให้ผมแห้ง

 

การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นสิ่งที่ดีอยู่แล้วค่ะ แต่ยังไงการดูแลเส้นผมให้มีสุขภาพดีก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน แค่เราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารกันสักหน่อยแค่นี้เราก็จะมีสุขภาพผมที่ดีจากภายในแล้วใยภายนอกจะไม่ดีตามล่ะคะ หวังว่า HealthGossip มาบอกเล่ากันวันนี้จะช่วยสาวๆกันได้นะคะ

 

www.flickr.com/photos/martinaphotography/7062111723/