kidney

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง
ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารที่ขึ้นชื่อว่าคนไทยนิยมชมชอบที่จะรับประทานเป็นประจำ นั่นก็คงไม่พ้นอาหารรสจัด หลักๆจะเป็นอาหารที่เป็นรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และอีกชนิดที่ดันบังเอิญเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทยนั่นก็คือรสชาติเค็ม ซึ่งปกติแล้วในอาหารอย่างเดียวก็มีโซเดียมอยู่แล้ว และเมื่อเรานำมาปรุงเป็นอาหารยิ่งจะเพิ่มโซเดียมเข้าไปอีก อีกทั้งคนไทยก็รับประทานรสชาติแบบนี้จนเคยชินคิดว่านั่นคือรสชาติปกติ แถมยังบอกว่ากลมกล่อมซะอีกถ้าไม่ได้ปรุงนี่สิรสชาติยิ่งจะจืดชืดไม่อร่อยไปซะอย่างนั้น กลับกลายเป็นว่าเราได้ชินและคุ้นเคยกับรสชาตินั้นไปซะแล้ว พอได้ลดปริมาณการปรุงรสลงก็จะกลายเป็นว่าไม่อร่อยและจืดชืด แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารที่มีรสเค็มจะต้องมีโซเดียมสูงซะอย่างเดียมอาหารบางอย่างที่รสชาติไม่เค็มกลับให้โซเดียวสูงก็มีนะจ๊ะแบบนั้นเขาเรียกกันว่าโซเดียมแฝงนั่นเอง ทำให้เราได้รับโซเดียมมาเต็มๆแบบไม่รู้ตัว โซเดียมที่เราบริโภคกันเป็นประจำก็คือโซเดียมที่อยู่ในรูปของ”เกลือแกง” (เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างคือโซเดียมและคลอไรด์) และก็ได้พบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรสโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 7 กรัม ซึ่งนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ได้นำพาโรคต่างๆ มาสู่คนไทยโดยไม่รู้ตัว โดยส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น หัวใจหรือไต ถึงแม้ว่าโซเดียม (Sodium) จะเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ได้จัดว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้งาน โดยการทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก อีกทั้งยังใช้รักษาสภาพความเป็นกรดด่างของร่างกายอีกด้วย 12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง โดยปริมาณที่ร่างกายควรได้รับโซเดียมต่อวันคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน (เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา) 1.เครื่องปรุงรสที่ให้รสเค็ม สิ่งที่ทำให้นึกถึงเป็นอันดับแรกถ้าพูดถึงโซเดียม ก็เป็นเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ทำให้เกิดรสเค็มอย่างเช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ ซอสหอยนางรม […]