Browse Tag: phytochemical

9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง

Source: Flickr (click image for link)

เคยสงสัยเรื่องคลอโรฟิลล์กันหรือเปล่าคะบางคนอาจทราบกันว่าส่วนใหญ่ในพืชนั้นจะต้องมีสารตัวนี้อยู่ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่ทราบงง่าความจริงแล้วคลอโรฟิลล์คืออะไรและคลอโรฟิลล์จะมีประโยชน์สำหรับมนุษย์เราหรือเปล่านะ วันนี้เลยอยากจะมาเขียนถึงข้อมูลของคลอโรฟิลล์บางส่วนเพื่อทำความรู้จักกับคลอโรฟิลล์ให้มากขึ้นกันค่ะ “ โดยสารคลอโรฟิลล์ ” (Chlorophyll) ที่เป็นสารสีเขียวนั้นคือเป็นประเภทสีอีกหนึ่งชนิดของพืชในกลุ่มพฤกษเคมี (Phytonutrients) นั่นเอง โดยคลอโรฟิลล์ มีหน้าที่ในการดูดซับแสงในกระบวนการสังเคราะห์แสงและสร้างพลังงานของพืชค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นความสำคัญของสารคลอโรฟิลล์คือช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ทั้งยังเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย และปกป้อง DNA จากความเสียหายที่เกิดจากเชื้อราที่เป็นพิษ เช่นอะฟลาท็อกซิน คลอโรฟิลล์สามารถพบได้ในพืชที่มีสีเขียวทั้งหมด ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงผักใบเขียวและผักอื่นๆ ที่เรารับประทานกันทั่วไปรวมถึงสาหร่ายหรือแบคทีเรียบางชนิดอีกด้วยค่ะ การเลือกรับประทานผักยังไงให้ได้คลอโรฟิลล์อย่างเต็มที่นั้นจะแบบปรุงสุกหรือแบบดิบดีล่ะ? ปริมาณคลอโรฟิลล์จะลดลงเมื่อผักสีเขียวนั้นถูกปรุงสุกหรือเกิดจากการละลายเมื่อแช่แข็งและเมื่อเริ่มเกิดการเน่าเสีย ตัวอย่างเช่นปริมาณคลอโรฟิลล์ในผักขมลดลงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หลังจากที่ละลาย และอีก 50 เปอร์เซ็นต์หลังจากการต้มหรือนึ่ง ทางที่ดีควรปรุงหรือต้มด้วยอุณหภูมิต่ำจะช่วยคงสภาพคลอโรฟิลล์ได้มากที่สุดค่ะ

 

9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้งเป็นผักใบสีเขียวเข้มที่มากคุณค่าทางโภชนาการเลยล่ะค่ะ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารคลอโรฟิลล์สูง ผักปวยเล้งปริมาณเพียง 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 23.7 มิลลิกรัม

 

2.ผักชี

ทราบกันหรือเปล่าคะว่าผักชีที่เรานิยมนำมาปรุงอาหารดีๆ นี่แหละค่ะเป็นแหล่งชั้นดีของคลอโรฟิลล์เลยก็ว่าได้ค่ะ ผักชีปริมาณแค่ครึ่งถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 19.0 มิลลิกรัม

 

3.กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลีไม่ว่าจะนำมารับประทานแบบสดๆ หรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดแล้วยังเต็มไปด้วยสารคลอโรฟิลล์ไม่น้อยเลยค่ะ กะหล่ำปลีปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่ถึง 4.1 มิลลิกรัม

 

4.ถั่วแขก

ถั่วแขกมีลักษณะคล้ายกับถั่วฝักยาวแต่ขนาดสั้นกว่าและมีกลิ่นต่างกันค่ะ ถั่วแขกปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 8.3 มิลลิกรัม

 

5.ผักวอเตอร์เครส

ผักวอเตอร์เครสหรือคนไทยเราเรียกกันว่าผักสลัดน้ำที่มีลักษณะคล้ายผักสลัดจัดเป็นพืชสีเขียวเข้มและให้คลอโรฟิลล์สูงมากเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งผักวอเตอร์เครสแค่ปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 15.6 มิลลิกรัม

 

6.ผักอลูกูร่า ร็อคเก็ต

เป็นพืชตระกูลกะหล่ำและนิยมนำมาทำสลัดและประกอบอาหารต่าง ๆ ใบของผักชนิดนี้จะมีลักษณะกลม โค้งมน ผักอลูกูร่า ร็อคเก็ตปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 8.2 มิลลิกรัม

 

7.กระเทียมต้น

เป็นพืชผักชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอมและกระเทียม ส่วนใหญ่นำมาปรุงอาหารประเภทผัดหรือทำซุปค่ะ กระเทียมต้นปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 7.7 มิลลิกรัม

 

8.ผักสลัดเอ็นไดว์

ผักสลัดเอ็นไดว์ (Endive) มีลักษณะคล้ายๆ ผักสลัดจำพวก กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค แต่มีลักษณะใบหยิก ผักสลัดเอ็นไดว์ปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 5.2 มิลลิกรัม

 

9.ถั่วลันเตาหวาน

ในถั่วลันเตาฝักเล็กๆ สีเขียวสดใสจึงทำให้เป็นหนึ่งในแหล่งของอาหารที่ให้คลอโรฟิลล์สูง โดยถั่วลันเตาหวานปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 4.8 มิลลิกรัม

 

www.flickr.com/photos/jasonp80/7072939569/

www.flickr.com/photos/141397992@N02/27360755456/

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

antioxidant-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ

โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้
  • เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

การผสมผสานของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ชนิดต่างๆหลากชนิดจะให้คุณภาพการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว สมัยนี้คนไทยเราส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้กันมากนักหรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งผักและผลไม้นั้นถือว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อรับประทานไม่เพียงพอก็อาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ต่ำ ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้นั่นเองค่ะ

ประเภทของสารพฤกษเคมี มีดังนี้

สารพฤกษเคมีที่ถูกค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์แล้วนั้นมีมากกว่า 25,000 ชนิด ทั้งยังไม่มีการศึกษาค้นพบอีกเป็นจำนวนมากค่ะ ด้วยสารพฤกษเคมีนั้นมีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจำแนกสารพฤกษเคมีคร่าวๆ ที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้ค่ะ

1.แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)  

2.กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate), ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate))

3.โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)

4.ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)

5.ซาโปนินส์ (Saponins)

6.เฟนโนลิก (Phenolics), สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)

7.ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)

8.ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)

 

healthy-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ที่พบในผักและผลไม้ นั้นมีอะไรบ้าง

เมล็ดองุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ บลอคโคลี่ กระเทียม ส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก ข้าวโพด ผักปวยเล้ง ผักโขม มิกซ์เบอร์รี่ แครอท ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ธัญพืช ถั่วต่างๆ พริก ผักตำลึง มะกอก เป็นต้น

 

ประโยชน์ของสารพฤกษเคมี

– ทำให้พืชผักมีสี กลิ่น และรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะ

– มีฤทธิ์ทางชีวภาพอาจต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้

– ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA

– เป็นกลไกลที่สำคัญในการลดการเกิดมะเร็งได้

– ทำให้ร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

– ช่วยกำจัดสารพิษ

– ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

 

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8455814259/

www.flickr.com/photos/143951935@N07/27976911001/