Browse Tag: phytonutrient

22 ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน

Source: Flickr (click image for link)

วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง “ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน” (Boost your metabolism) หัวข้อที่ฟังดูไม่น่าซีเรียสอะไรแต่แอบมีความสำคัญซ่อนอยู่ค่ะ ระบบที่ทำงานในทุกส่วนของร่างกายเราล้วนแต่มีความสำคัญต่อสุขภาพของเราโดยตรงเลยก็ว่าได้ รวมถึงระบบเผาผลาญในร่างกายที่เราจะมากล่าวถึงในวันนี้ด้วยค่ะ ซึ่งระบบเผาผลาญในร่างกายของเราถ้าทำงานได้ปกติหรือดีถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราในเรื่องหลักๆ เลยคือ ช่วยในเรื่องของการลดน้ำหนัก โดยใครที่มีระบบเผาผลาญในร่างกายที่ดีย่อมส่งผลให้การลดน้ำหนักนั้นง่ายขึ้นนั่นเองค่ะ ซึ่งก็แน่นอนค่ะว่าร่างกายของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราเลยนำหัวข้อนี้มาช่วยให้เป็นแนวทางอีกหนึ่งทางสำหรับใครที่กำลังมองหาวิธีต่างๆ ในการลดน้ำหนัก หรือรู้สึกว่าทำไมร่างกายถึงได้เผาผลาญช้าและเผาผลาญไม่ดี เป็นต้น ใครจะรู้ล่ะคะว่ามีอาหารมากมายหลากหลายชนิดเลยให้เราได้เลือกมาปรับและรับประทานกันค่ะ ถ้าอย่างนั้นเรามาเริ่มที่เรื่องง่ายๆ คือการดูแลและปรับการรับประทานอาหารนี้ก่อนเลยละกันค่ะ

 

 

22 ชนิดของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมัน

Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.โยเกิร์ต

โยเกิร์ตคือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมอีกชนิดหนึ่งโดยขอแนะนำโยเกิร์ตชนิด โยเกิร์ตกรีก นอกจากแคลเซียมสูง ไขมันต่ำ มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิดช่วยในเรื่องการขับถ่ายแล้ว ยังมีโปรตีนและวิตามินดีที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อช่วยยับยั้งฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่การส่งผลต่อไขมันในช่องท้อง หรือเรียกว่าลงพุงนั่นเองค่ะ

 

2.เมล็ดอัลมอลด์

เลือกรับประทานเมล็ดอัลมอลด์แค่เพียงหนึ่งกำมือ ก็สามารถช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันได้อย่างไม่น่าเชื่อค่ะ อัลมอลด์นอกจากมีโปรตีนแล้วยังมีเส้นใยอาหารที่สูงเหมาะกับการเลือกเป็นอาหารทานเล่นได้เลยค่ะ อีกทั้งยังมีกรดอะมิโน L-arginine ที่ไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันแล้วคาร์โบไฮเดรตในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ

 

3.ชาเขียว

พบว่านอกจากชาเขียวแล้วยังมีชาอีกหลายชนิดที่ช่วยในเรื่องของการเร่งเผาผลาญไขมันจากสาร catechin แต่ชาเขียวกลับเป็นตัวเลือกที่ดีกว่านอกจากมีสารคาเทชินที่สูงแล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ECGC ที่สูงมากอีกด้วย โดยสารตัวนี้จะไปช่วยเผาผลาญไขมันแล้วยังสามารถหยุดการสร้างไขมันได้อีกด้วยค้ะ

 

4.ข้าวโอ๊ต

ขึ้นชื่อว่าคาร์โบไฮเดรตหลายคนคงสงสัยว่ามันจะช่วยได้ยังไง การเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่ได้แย่เสมอไปค่ะ โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรตที่มาจากธัญพืชอย่าง ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีเส้นใหญ่อาหารสูงช่วยทำให้ชะลอการย่อยให้ช้าขึ้นจึงอิ่มได้นานและช่วยให้มีไขมันในท้องน้อยกว่าคนที่กินคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ผ่านการขัดสีในปริมาณที่เท่ากันจำพวก ข้าวขาว ขนมปังขาวค่ะ

 

5.พริก

พริกเม็ดสีแดงๆ มีรสเผ็ดร้อนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะนี้ มีสารที่เรียกว่า แคปไซซิน เป็นสารประกอบที่จะทำให้เกิดความเผ็ดร้อน ช่วยไปเร่งการเผาผลาญแคลอรี่ได้เป็นอย่างดีเชียวค่ะ

 

6.ปลาแซลมอล

จะเห็นได้ว่าการเผาผลาญไขมันที่ดีโดยการสร้างกล้ามเนื้อด้วยโปรตีนทำให้กล้ามเนื้อมากขึ้นเท่ากับว่าการเผาผลาญไขมันก็มากขึ้นเช่นกันค่ะ และโปรตีนจำพวกเนื้อปลานี่แหละเป็นแหล่งชั้นยอดอย่าง ปลาแซลมอล โดนเฉพาะปลาแซลมอลที่เกิดเองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยต้านการอักเสบและช่วยเผาผลาญไขมันค่ะ

 

7.เนื้อไก่งวง

เนื้อไก่งวงเป็นเนื้อสัตว์ชนิดที่มีโปรตีนสูงและไขมันต่ำ และที่สำคัญเมื่อเรารับประทานเข้าไประหว่างทำการย่อยยังไปช่วยเพิ่มระบบการเผาผลาญแคลอรี่ของเราไปในตัวอีกด้วยค่ะ

 

8.ดาร์คช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตเป็นของหวานที่หลายคนชอบและกลัวที่จะรับประทานในตอนที่เรากำลังลดควบคุมน้ำหนัก แต่ไม่ใช่กับดาร์คช็อกโกแลตค่ะเนื่องจากพบว่าจุลินทรีย์ในลำไส้ของคนเราได้ทำการบ่มช็อกโกแลตในกระเพาะอาหาร จนไปเพิ่มการผลิตสารประกอบโพลีฟีนอลิกในกระเพาะอาหาร รวมทั้งบิวทิล และกรดไขมันที่จะช่วยกระตุ้นร่างกายให้ไปเร่งการเผาผลาญไขมันและยับยั้งยีนส์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบค่ะ

 

9.ควีนัว

เมล็ดควีนัว (Quinoa) เป็นพืชที่ได้ถูกยกให้เป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์โดยมีส่วนประกอบจากโปรตีนที่สมบูรณ์ ซึ่งหมายความว่ามีโซ่สมบูรณ์ของกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและยังไปลดไขมันอีกด้วย พบว่าร่างกายที่ได้รับโปรตีนจากพืชมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดโรค metabolic syndrome (ที่เป็นกลุ่มของคอเลสเตอรอลสูง น้ำตาลในเลือดสูง และโรคอ้วน) นอกจากนี้ควีนัวยังมีกรดอะมิโนไลซีนสูง ซึ่งไปช่วยในการเผาผลาญไขมันและบำรุงกระดูก ทำให้ผิวหนังแข็งแรงขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

10.ถั่วดำ

ธัญพืชอย่างเมล็ดถั่วดำจัดเป็นแหล่งของแป้งชนิดที่ดีค่ะ ถั่วดำเป็นแป้งที่ทำให้ย่อยช้ามีเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำจึงเป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียที่ดีในลำใส้ของเรา ทำให้เกิดการผลิตสารเคมีบิวเรท ซึ่งจะไปช่วยกระตุ้นให้ร่างกายเร่งการเผาผลาญไขมัน และช่วยลดไขมันได้ดีด้วยค่ะ

 

11.ลูกพรุน

ลูกพรุนเป็นผลไม้ที่มีสีเฉพาะคือ สีแดง ที่เกิดจากปริมาณสารต้านอนุมูอิสระที่เรียกว่า ฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอนโธไซยานินซึ่งทำให้การทำงานของยีนที่เก็บไขมันได้ดีขึ้น ช่วยเร่งการเผาผลาญในการลดน้ำหนักได้ดีนักแลค่ะ

 

12.ไข่

ไข่จัดเป็นหนึ่งในอาหารที่เป็นแหล่งที่ดีที่สุดของโคลีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการเผาผลาญไขมัน โดยจะไปช่วยยับยั้งยีนส์ที่รับผิดชอบในการจัดเก็บไขมันหน้าท้องค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นไข่ยังเป็นแหล่งโปรตีนชั้นยอดที่สามารถกำหนดอัตราการเผาผลาญไขมันได้ตลอดทั้งวันเมื่อเราเลือกทานเป็นอาหารเช้า ไม่ว่าจะเลือกรับประทานในรูปแบบไหนก็มีประโยชน์ทั้งนั้นค่ะ

 

13.ผักปวยเล้ง

ด้วยใบสีเขียวเข้มของผักปวยเล้งมีสารอาหารที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานจำพวก วิตามินเอ ธาตุเหล็ก และโฟเลต นอกจากนี้ยังช่วยลดความอยากอาหารและยังช่วยลดปริมาณแคลอรี่รวมทั้งยังไปกระตุ้นให้ร่างกายเริ่มเผาผลาญไขมันด้วยสารประกอบธรรมชาติที่เรียกว่า thylakoids

 

14.อบเชย

อบเชยเป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดที่คนไทยนิยมนำมาประกอบอาหารและต่างชาตินิยมปรุงในขนม ของหวาน หรือแม้แต่เครื่องดื่ม ด้วยอบเชยเป็นสมุนไพรที่จัดอยู่ในกลุ่มของเครื่องเทศรสเผ็ดร้อนนี้ จึงเป็นตัวเร่งการเผาผลาญให้กับร่างกายเราเป็นอย่างดีค่ะ ด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ได้จากอบเชยที่เรียกว่า โพลีฟีนอล ไปช่วยปรับสมดุลระดับอินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ และยังสามารถลดไขมันในช่องท้องได้อีกด้วยค่ะ

 

15.เกรฟฟรุท

เกรฟฟรุทเป็นผลไม้ตระกูลเดียวกันกับส้มและมีลักษณะคล้ายกันค่ะ มีรชชาติเปรี้ยวอมหวานที่คุณเพิ่มโดยมีความสามารถในการเร่งการเผาผลาญไขมันของร่างกาย ช่วยลดความอยากของอาหารและลดไขมันด้วยค่ะ

 

16.เนยถั่ว

ส่วนใหญ่แล้วเนยถั่วจะนิยมนำมาเป็นเครื่องปรุงรสทาในแซนด์วิช หรือบนขนมปัง เนยถั่วเต็มไปด้วยสารอาหารที่ทำให้หน้าท้องเราแบนราบ คือไปช่วยลดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ลดคอเลสเตอรอล และเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดีจากพืชอีกด้วยค่ะ พบว่าเมื่อโปรตีนเกิดการย่อยและเมื่อมันถูกย่อยสลายลงในกรดอะมิโนของร่างกาย โดยกรดอะมิโนหนึ่งในนั้นคือ phenylalanine จะไปกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยลดความอยากอาหารและทำให้เร่งการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน และช่วยในการลดน้ำหนักค่ะ

 

17.กระเทียม

กระเทียมเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารไทยทั้งแบบสุกและสด ถึงแม้บางคนอาจจะไม่ชอบเมื่อรับประทานไปแล้วทำให้ลมหายใจไม่หอมสดชื่นเท่าที่ควร แต่ถ้าคุณรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์จากกระเทียม คุณจะลืมเหตุผลนั้นไปโดยปริยายเลยล่ะค่ะ เพราะว่ากระเทียมจัดเป็นอาหารหรือตัวช่วยในการเร่งการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว อีกทั้งยังสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการสร้างไขมัน (lipids) หรือโมเลกุลของไขมันในเลือดนั่นเองค่ะ

 

18.น้ำเปล่า

น้ำเปล่าเป็นอีกตัวเลือกที่มหัศจรรย์ถึงขั้นที่หลายคนนำมาดื่มเพื่อบำบัดโรคกันเลยทีเดียวค่ะ หลายคนไม่ชอบดื่มน้ำเปล่าในแต่ละวันดื่มไม่เพียงพอต่อความต้องการร่างกายด้วยซ้ำไป แต่ทราบหรือไม่คะยิ่งคุณดื่มน้ำมากเท่าไหร่นอกจากทำให้ผิวใสเปล่งปลั่งแล้วยังไปทำให้ลดแคลอรี่ที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายลดลงง่ายขึ้นด้วย น้ำเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นและเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบเผาผลาญของร่างกายช่วยทำให้ระบบเผาผลาญของคุณทำงานได้ดียิ่งขึ้น ลองใส่เลม่อนลงไปสักเสี้ยวแล้วดื่มยิ่งช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระที่ได้จากเปลือกของเลม่อนที่ไปช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายทั้งยังช่วยในเรื่องของการขับถ่ายได้อีกด้วยค่ะ

 

19.เมล็ดฟักทอง

ก็อาจจะเป็นไปได้ที่หนึ่งในเหตุผลของระบบการเผาผลาญอาหารในร่างกายเราไม่สามารถเผาผลาญไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องจากเกิดจากระดับแมกนีเซียมในร่างกายของเรานั้นก็มีความจำเป็นต่อร่างกายเช่นกัน ซึ่งแมกนีเซียมจะไปช่วยในการผลิตและเก็บสะสมพลังงาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่ม lipolysis (กระบวนการที่ร่างกายเราได้นำเอาไขมันออกไปใช้เป็นพลังงาน)

 

20.กิมจิ

ไม่น่าเชื่อว่ากิมจิที่เป็นอาหารประเภทผักดองก็จัดเป็นอาหารที่ช่วยในการเร่งการเผาผลาญได้อีกด้วยค่ะ ด้วยส่วนประกอบที่พบในกิมจิคือเชื้อโพรไบโอติกช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายให้ดีขึ้นและยังสามารถช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

21.ขมิ้น

ขมิ้นที่ได้จัดเป็นเครื่องเทศอีกอย่างหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหาร ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ก้าวไกลได้มีการค้นคว้าวิจัยต่างๆ จนเกิดมาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เรียกว่าขมิ้นชันก็มีให้เห็นถมเถไป ด้วยความเป็นเอกลักษณ์จากสี กลิ่น และรสชาติของขมิ้นพบว่าสามารถต่อสู้กับไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากสารสำคัญที่มาจากขมิ้น เรียกว่า curcumin จัดเป็นตัวช่วยเร่งการเผาผลาญและช่วยในเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

22.ผลไม้ตระกูลเบอรร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่จำพวก สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ จะเต็มไปด้วยสารโพลีฟีนอลซึ่งจะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันและป้องกันยับยั้งไม่ให้เกิดขึ้น อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของผิวพรรณอีกด้วย โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่ที่จัดเป็นแหล่งที่มีฤทธิ์ของสาร resveratrol ที่เป็น สารต่อต้านอนุมูลอิสระ นั่นเอง

 

www.flickr.com/photos/echadwick/2691099334/

www.flickr.com/photos/aryaziai/8731999161/

9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง

Source: Flickr (click image for link)

เคยสงสัยเรื่องคลอโรฟิลล์กันหรือเปล่าคะบางคนอาจทราบกันว่าส่วนใหญ่ในพืชนั้นจะต้องมีสารตัวนี้อยู่ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่ทราบงง่าความจริงแล้วคลอโรฟิลล์คืออะไรและคลอโรฟิลล์จะมีประโยชน์สำหรับมนุษย์เราหรือเปล่านะ วันนี้เลยอยากจะมาเขียนถึงข้อมูลของคลอโรฟิลล์บางส่วนเพื่อทำความรู้จักกับคลอโรฟิลล์ให้มากขึ้นกันค่ะ “ โดยสารคลอโรฟิลล์ ” (Chlorophyll) ที่เป็นสารสีเขียวนั้นคือเป็นประเภทสีอีกหนึ่งชนิดของพืชในกลุ่มพฤกษเคมี (Phytonutrients) นั่นเอง โดยคลอโรฟิลล์ มีหน้าที่ในการดูดซับแสงในกระบวนการสังเคราะห์แสงและสร้างพลังงานของพืชค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นความสำคัญของสารคลอโรฟิลล์คือช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ทั้งยังเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย และปกป้อง DNA จากความเสียหายที่เกิดจากเชื้อราที่เป็นพิษ เช่นอะฟลาท็อกซิน คลอโรฟิลล์สามารถพบได้ในพืชที่มีสีเขียวทั้งหมด ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงผักใบเขียวและผักอื่นๆ ที่เรารับประทานกันทั่วไปรวมถึงสาหร่ายหรือแบคทีเรียบางชนิดอีกด้วยค่ะ การเลือกรับประทานผักยังไงให้ได้คลอโรฟิลล์อย่างเต็มที่นั้นจะแบบปรุงสุกหรือแบบดิบดีล่ะ? ปริมาณคลอโรฟิลล์จะลดลงเมื่อผักสีเขียวนั้นถูกปรุงสุกหรือเกิดจากการละลายเมื่อแช่แข็งและเมื่อเริ่มเกิดการเน่าเสีย ตัวอย่างเช่นปริมาณคลอโรฟิลล์ในผักขมลดลงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หลังจากที่ละลาย และอีก 50 เปอร์เซ็นต์หลังจากการต้มหรือนึ่ง ทางที่ดีควรปรุงหรือต้มด้วยอุณหภูมิต่ำจะช่วยคงสภาพคลอโรฟิลล์ได้มากที่สุดค่ะ

 

9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้งเป็นผักใบสีเขียวเข้มที่มากคุณค่าทางโภชนาการเลยล่ะค่ะ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารคลอโรฟิลล์สูง ผักปวยเล้งปริมาณเพียง 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 23.7 มิลลิกรัม

 

2.ผักชี

ทราบกันหรือเปล่าคะว่าผักชีที่เรานิยมนำมาปรุงอาหารดีๆ นี่แหละค่ะเป็นแหล่งชั้นดีของคลอโรฟิลล์เลยก็ว่าได้ค่ะ ผักชีปริมาณแค่ครึ่งถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 19.0 มิลลิกรัม

 

3.กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลีไม่ว่าจะนำมารับประทานแบบสดๆ หรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดแล้วยังเต็มไปด้วยสารคลอโรฟิลล์ไม่น้อยเลยค่ะ กะหล่ำปลีปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่ถึง 4.1 มิลลิกรัม

 

4.ถั่วแขก

ถั่วแขกมีลักษณะคล้ายกับถั่วฝักยาวแต่ขนาดสั้นกว่าและมีกลิ่นต่างกันค่ะ ถั่วแขกปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 8.3 มิลลิกรัม

 

5.ผักวอเตอร์เครส

ผักวอเตอร์เครสหรือคนไทยเราเรียกกันว่าผักสลัดน้ำที่มีลักษณะคล้ายผักสลัดจัดเป็นพืชสีเขียวเข้มและให้คลอโรฟิลล์สูงมากเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งผักวอเตอร์เครสแค่ปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 15.6 มิลลิกรัม

 

6.ผักอลูกูร่า ร็อคเก็ต

เป็นพืชตระกูลกะหล่ำและนิยมนำมาทำสลัดและประกอบอาหารต่าง ๆ ใบของผักชนิดนี้จะมีลักษณะกลม โค้งมน ผักอลูกูร่า ร็อคเก็ตปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 8.2 มิลลิกรัม

 

7.กระเทียมต้น

เป็นพืชผักชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอมและกระเทียม ส่วนใหญ่นำมาปรุงอาหารประเภทผัดหรือทำซุปค่ะ กระเทียมต้นปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 7.7 มิลลิกรัม

 

8.ผักสลัดเอ็นไดว์

ผักสลัดเอ็นไดว์ (Endive) มีลักษณะคล้ายๆ ผักสลัดจำพวก กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค แต่มีลักษณะใบหยิก ผักสลัดเอ็นไดว์ปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 5.2 มิลลิกรัม

 

9.ถั่วลันเตาหวาน

ในถั่วลันเตาฝักเล็กๆ สีเขียวสดใสจึงทำให้เป็นหนึ่งในแหล่งของอาหารที่ให้คลอโรฟิลล์สูง โดยถั่วลันเตาหวานปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 4.8 มิลลิกรัม

 

www.flickr.com/photos/jasonp80/7072939569/

www.flickr.com/photos/[email protected]/27360755456/

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

“เบต้าแคโรทีน’’ (Beta-carotene) เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มของสารสีในพืชผักที่เรียกว่า สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากปัจจัยต่างๆ จริงๆ แล้วเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของโปรวิตามินเอ (Pro-vitamin A) ที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่พบในผักผลไม้สีสดใส โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารสีเหลือง ส้ม และเขียวค่ะ สารเบต้าแคโรทีนในพืชจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้อย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายเราต้องการค่ะ แต่ถ้าร่างกายยังมีวิตามินเอเหลืออยู่เพียงพอ เบต้าแคโรทีนก็จะไปทำหน้าที่ยับยั้งอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด

การมีระดับวิตามินเอในระดับปกติเป็นกุญแจสำคัญต่อการมองเห็นที่ดีรวมถึงมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ อย่างไรก็ตามเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองค่ะจึงต้องได้รับมาจากอาหาร ซึ่งร่างกายเราต้องการสารเบต้าแคโรทีนวันละ 15 มิลลิกรัม ดังนั้นเราไปดูแหล่งอาหารที่ดีของเบต้าแคโรทีนกันดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง

 

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.มันหวาน

มันหวานที่มีเนื้อข้างในสีส้ม รสชาติหวานมันนี้จัดเป็นแหล่งของเบค้าแคโรทีนเลยค่ะ ซึ่งมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 11.5 มิลลิกรัม

 

2.แครอท

ขึ้นชื่อว่าแครอทใครๆ ก็คงทราบว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างแน่นอนใช่ไหมล่ะคะ โดยแครอทปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 8.3 มิลลิกรัม

 

3.ผักปวยเล้ง

นอกจากผักผลไม้ที่มีสีส้ม สีเหลือง จะเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนแล้ว ผักใบสีเขียวเข้มอย่างผักปวยเล้งก็ให้เบต้าแคโรทีนที่ไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ผักปวยเล้งปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 6.2 มิลลิกรัม

 

4.ผักกาดหอม

ผักกาดหอมที่เรานิยมมาทำสลัดรับประทานกันก็จัดเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอีกด้วย โดยผักกาดหอมปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 5.2 มิลลิกรัม

 

5.สควอช

ผลสควอชที่มีเนื้อสัมผัส สีและรสชาติคล้ายกับฟักทองนั้นเป็นหนึ่งในแหล่งของเบต้าแคโรทีนด้วยค่ะ สควอชปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 4.5 มิลลิกรัม

 

6.บลอคโคลี่

ผักใบเขียวเข้มอีกหนึ่งชนิดคือบลอคโคลี่ก็จัดว่ามีสารเบต้าแคโรทีนไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ซึ่งบลอคโคลี่สุกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่มากถึง 9.2 มิลลิกรัม

 

7.แคนตาลูป

ผลไม้รสชาตแสนหวานและชุ่มฉ่ำอย่างแคนตาลูป นำไปแช่เย็นแล้วมาทานเล่นในฤดูร้อนก็รับไปเต็มๆ กับเบต้าแคโรทีน แคนตาลูปปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 2 มิลลิกรัม

 

8.พริกหยวกสีแดง

พริกหยวกมีหลากหลายสีให้เลือกนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะพริกหยวกสีแดงจดว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนเลยล่ะค่ะ พริกหยวกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.6 มิลลิกรัม

 

9.เมล็ดถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาฝักสีเขียวเช้มและมีเมล็ดสีเขียวเข้มที่หลายคนนิยมนำมาปรุงอาหารเพื่อรับประทานกัน ใครจะรู้ว่ามีสารเบต้าแคโรทีนอยู่ไม่น้อยอีกด้วย เมล็ดถั่วลันเตาสุกปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.2 มิลลิกรัม

 

10.ฟักทอง

ฟักทองถือเป็นพระเอกที่ขาดไม่ได้สำหรับอาหารที่เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน โดยฟักทองบดปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 5.1 มิลลิกรัม

 

11.แอปปริคอทอบแห้ง

ผลแอปปริคอทแบบอบแห้งเป็นแหล่งชั้นดีของเบต้าแคโรทีนเช่นกันค่ะ โดยแอปปริคอทอบแห้งปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 2.1 มิลลิกรัม

 

12.มะม่วงสุก

ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่โชคดีมีผลไม้ให้รับประทานตลอดทั้งปี หนึ่งในผลไม้ที่ขึ้นชื่อก็จะเป็นอะไรไม่ได้นอกจากมะม่วงแสนหวานอมเปรี้ยวนิดๆ อย่างมะม่วงสุก โดยมะม่วงสุกหั่นปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.1 มิลลิกรัม

 

13.มะละกอสุก

นอกจากจะนำมาประกอบอาหารได้รสชาติเลิศแล้วยังสามารถเป็นผลไม้ทานเล่นได้อย่างอร่อยเชียวแหละ ด้วยไฟเบอร์ที่ช่วยเรื่องของระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดีแล้วก็ยังเต็มไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน มะละกอสุกหั่นปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 0.4 มิลลิกรัม

 

14.มะเขือเทศ

ที่จะขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นมะเขือเทศนี่แหละค่ะ อร่อยดีมีประโยชน์อย่างนี้ก็รับเบต้าแคโรทีนไปเต็มๆ เลยค่ะ มะเขือเทศปริมาณ 1 ถ้วย มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 0.8 มิลลิกรัม

 

15.ส้ม

ผลไม้ตระกูลส้มนอกจากวิตามินซีแล้วก็ยังมีเบต้าแคโรทีนด้วยเช่นกัน ส้มหนึ่งผลขนาดกลาง มีเบต้าแคโรทีนอยู่ 1.7 มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/hendry/2975907342/

www.flickr.com/photos/koadmunkee/4585625864/

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

antioxidant-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ

โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้
  • เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

การผสมผสานของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ชนิดต่างๆหลากชนิดจะให้คุณภาพการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว สมัยนี้คนไทยเราส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้กันมากนักหรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งผักและผลไม้นั้นถือว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อรับประทานไม่เพียงพอก็อาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ต่ำ ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้นั่นเองค่ะ

ประเภทของสารพฤกษเคมี มีดังนี้

สารพฤกษเคมีที่ถูกค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์แล้วนั้นมีมากกว่า 25,000 ชนิด ทั้งยังไม่มีการศึกษาค้นพบอีกเป็นจำนวนมากค่ะ ด้วยสารพฤกษเคมีนั้นมีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจำแนกสารพฤกษเคมีคร่าวๆ ที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้ค่ะ

1.แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)  

2.กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate), ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate))

3.โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)

4.ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)

5.ซาโปนินส์ (Saponins)

6.เฟนโนลิก (Phenolics), สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)

7.ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)

8.ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)

 

healthy-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ที่พบในผักและผลไม้ นั้นมีอะไรบ้าง

เมล็ดองุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ บลอคโคลี่ กระเทียม ส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก ข้าวโพด ผักปวยเล้ง ผักโขม มิกซ์เบอร์รี่ แครอท ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ธัญพืช ถั่วต่างๆ พริก ผักตำลึง มะกอก เป็นต้น

 

ประโยชน์ของสารพฤกษเคมี

– ทำให้พืชผักมีสี กลิ่น และรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะ

– มีฤทธิ์ทางชีวภาพอาจต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้

– ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA

– เป็นกลไกลที่สำคัญในการลดการเกิดมะเร็งได้

– ทำให้ร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

– ช่วยกำจัดสารพิษ

– ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

 

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8455814259/

www.flickr.com/photos/[email protected]/27976911001/