Browse Tag: rice

คาร์โบไฮเดรต คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

carbohydrate-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) เป็นสารชีวโมเลกุลชนิดที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดและมีความจำเป็นต่อร่างกายของเราอย่างยิ่งค่ะ ซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานที่พบในชีวิตประจำวันทั่วไปได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส  และไกลโคเจน โดยที่ส่วนใหญ่พบแป้งและเซลลูโลสในพืช ส่วนไกลโคเจนพบในเซลล์เนื้อเยื่อ น้ำไขข้อและผนังเซลล์ของสัตว์ คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน (carbon) และคำว่าไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิ่มตัวไปด้วยน้ำ โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นสารประกอบแอลดีไฮด์ (aldehyde) หรือคีโทน (ketone) ที่มีหมู่ไฮดรอกซิลเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกว่าสารประกอบโพลีไฮดรอกซีแอลดีไฮด์ (polyhydroxyaldehyde) หรือ โพลีไฮดรอกซีคีโทน (polyhydroxyketone) คาร์โบไฮเดรตมีความหลากหลายทั้งในด้านของโครงสร้างทางเคมีและบทบาททางชีวภาพอีกด้วย หน่วยที่เล็กทีสุดของคาร์โบไฮเดรตก็คือน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือโมโนแซคคาร์ไรด์ค่ะ ประเทศไทยที่อุดมไปด้วยพืชผักและพรรณไม้นานาชนิดซึ่งเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต เมื่อพืชสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสง เพื่อนำอาหารไปสร้างเป็นส่วนของลำต้น ราก ใบ ดอก ผล และเมล็ด อาหารส่วนที่เหลือจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในส่วนต่าง ๆ ในรูปของแป้งและน้ำตาล จึงกล่วไดว่าพืชเป็นแหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรต ข้าวเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งและเป็นอาหารหลักของคนไทยส่วนใหญ่

 

เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate)

ในทางเคมี คาร์โบไฮเดรตทุกประเภทประกอบด้วยอะตอมต่างๆของคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยเรียงตัวในลักษณะที่ต่างกันไป และคาร์โบไฮเดรตทุกประเภทมีบทบาทสำคัญทางโภชนาการ คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และพืชผักผลไม้ที่มีรสหวานค่ะ

carbohydrate-foods-2
Source: Flickr (click image for link)

คาร์โบไฮเดรตมี 2 ประเภทใหญ่ๆ โดยคาร์โบไฮเดรตสามารถจำแนกตามจำนวนโมเลกุลของน้ำตาลที่เชื่อมโยงกันได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.คาร์โบไฮเดรตประเภทน้ำตาลชนิดต่างๆ เราเรียกว่าเป็น ”คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว”

กลุ่มน้ำตาลชั้นเดียว (monosacharide,simple sugar) เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กที่สุด ร่างกายไม่สามารถย่อยให้เล็กลงกว่านี้ได้อีก เมื่อรับประทานเข้าและไปสามารถดูดซึมได้ทันที ได้แก่

  • กลูโคส ( มีอยู่ในธรรมชาติทั่วไป ในพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ เช่น องุ่น ข้าวโพด น้ำผึ้ง)
  • ฟรุคโทส (มีรสหวานกว่าน้ำตาลชนิดอื่น พบในเกสรดอกไม้ ผลไม้ ผัก น้ำผึ้ง กากน้ำตาล ปนอยู่ในกลูโคส ในร่างกายได้จากการย่อยน้ำตาลทราย)
  • กาแลกโทส (ไม่เกิดในรูปอิสระในธรรมชาติ ได้จากการย่อยแลกโทส หรือน้ำตาลนม ซึ่งมีอยู่ในอาหารพวกนมและผลิตผลของนมทั่วๆไป)

กลุ่มน้ำตาลสองชั้น (disaccharide, double sugar) เป็นน้ำตาลที่ได้จากการรวมน้ำตาลชั้นเดียว 2 โมเลกุล เมื่อกินน้ำตาล 2 ชั้นเข้าไป ต้องถูกย่อยโดยเอนไซม์ในทางเดินอาหารได้น้ำตาลชั้นเดียวก่อนจึงจะดูดซึมได้ คาร์โบไฮเดรตประเภทนี้ ได้แก่

  • ซูโครส (น้ำตาลทราย)
  • มอสโทส (ในเมล็ดข้าวที่งอกแล้ว)
  • แลกโทส (ในนม หรือ น้ำตาลนม)

2.คาร์โบไฮเดรตประเภทแป้ง เราเรียกว่าเป็น “คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

กลุ่มน้ำตาลหลายชั้น หรือพวกไม่ใช่น้ำตาล (Polysaccharide) เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่และซับซ้อน ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียวเป็นจำนวนมาก มารวมกัน ไม่มีรสหวาน ได้แก่

  • แป้ง (starch) พบในพืช สะสมอยู่ในเมล็ด ราก หัว ลำต้น เมล็ดเป็นแหล่งธัญพืชสำคัญ โมเลกุลของแป้งเกิดจากน้ำตาลกลูโคสต่อกันเป็นจำนวนมากในรูปที่เป็นเส้นตรง อะมิโลส (amylose) และกิ่งก้านอะมิโลเพกทิน (amylopectin) เมื่อแป้งถูกย่อยถึงขั้นสุดท้ายจะได้น้ำตาลกลูโคส
  • ไกลโคเจน (glycogen) เป็นน้ำตาลหลายชั้น พบในตับและกล้ามเนื้อสัตว์ บางทีเรียกว่า แป้งสัตว์ มีส่วนประกอบคล้ายแป้ง แต่มีกิ่งก้านมากกว่าเมื่อแตกตัวออกจะได้กลูโคสและมักไม่พบในพืช
  • เดกซ์ทริน (dextrin) ได้จากการย่อยแป้ง อาหารที่มีเดกซ์ทรินอยู่บ้าง ได้แก่ น้ำผึ้ง โดยมากปนอยู่กับคาร์โบไฮเดรตอย่างอื่น เดกซ์ทรินเมื่อแตกตัวหรือถูกย่อยต่อไปจะให้มอลโทสและท้ายที่สุดจะให้กลูโคส แป้ง เดกซ์ทริน มอลโทส กลูโคส
  • เซลลูโลส (cellulose) บางทีเรียกว่าใยหรือกาก เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์พืช มีมากในใบ ก้าน เปลือก คนไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ และเซลลูโลสเองยังช่วยป้องกันการท้องผูกค่ะ

 

 

ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรตที่มีต่อร่างกาย

 

ให้พลังงานและความร้อน หรือให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี่ และเป็นพลังงานที่จะถูกร่างกายนำมาใช้ก่อนสารอาหารประเภทไขมันและโปรตีนตามลำดับ

 

ช่วยให้ร่างกายนำสารอาหารโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กล่าวคือ ถ้าร่างกายได้ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายจะนำเอาโปรตีนมาสลายให้เกิดพลังงาน แทนร่างกายก็จะผอมลงได้

 

ใช้เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย ถ้าร่างกายรับประทานพวกคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ส่วนเกินนี้จะถูกปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย และจะถูกนำมาใช้เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน

 

ช่วยทำลายพิษและขจัดสารพิษ สารเคมีบางอย่างเมื่อเข้าไปในร่างกายโดยบังเอิญหรือติดไปกับอาหาร ตับจะกำจัดสารพิษโดยทำปฎิกิริยากับสารพวกคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นสารที่ไม่มีพิษ โดยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกายในการขจัดสารพิษในเลือด

 

ช่วยในการขับถ่าย เซลลูโลสช่วยกระตุ้นในการทำงานของลำไส้และ ป้องกันการท้องผูก แลกโทสเป็นอาหารที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดในลำไส้ของทารกการเกิดกรด ช่วยการดูดซึมของแคลเซียมทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี เดกซ์ทรินเป็นอาหารที่เหมาะแก่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียพวกนี้ใช้พลังงานจากเดกซ์ทรินในการสังเคราะห์วิตามินบีต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยให้ไขมันเผาไหม้สมบูรณ์ ไขมันในร่างกายจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ถ้ารับประทานคาร์โบไฮเดรตไม่พอ ทำให้เกิดสารที่เป็นโทษแก่ร่างกายขึ้นในเลือดและ ในปัสสาวะ (ketone bodies) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้นานๆในรายที่เป็นเบาหวานขั้นรุนแรง จะทำให้ความเป็นกรดด่างของร่างกายเปลี่ยนไป ร่างกายมีความเป็นกรดมากไปอวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติ และตายได้

 

ช่วยรักษาสภาพสภาวะน้ำตาลในเลือดให้คงที่ คือ 70-100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ทำงานปกติ ซึ่งคนปกติระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติเป็นอาการของโรคเบาหวาน ถ้าต่ำผิดปกติทำให้เกิดอาการชักหรือช็อกหรือหมดสติ ดังนั้นถ้าน้ำตาลไปเลี้ยงสมองไม่พอจะทำให้เกิดอาการช็อก หรือหมดสติได้ ระดับน้ำตาลในเลือดยังช่วยควบคุมการบริโภคอาหารของมนุษย์ ถ้าระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแดงสูงกว่าในเส้นเลือดดำมากแสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายใช้ประโยชน์ได้อยู่เป็นจำนวนมาก (vailable หรือ utilization) จะรู้สึกอิ่ม แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแดงต่ำเกือบเท่าเส้นเลือดดำ แสดงว่ามีคาร์โบไฮเดรตที่ใช้ได้น้อยหรือเก็บไว้น้อยในร่างกาย จะทำให้รู้สึกหิว (hunger)

 

 

www.flickr.com/photos/omnia_mutantur/17581308424/

www.flickr.com/photos/arepb/3084304765/

15 ชนิดของอาหารที่ช่วยลดความเครียด

serious-1
Source: Flickr (click image for link)

ภาวะความเครียด ที่ไม่ว่าจะเกิดจากการคิดเรื่องเล็กๆ คิดเล็กคิดน้อยจนไปถึงคิดเยอะคิดมาก พอคิดเยอะก็จะเกิดอาการตึงเครียดกับการค้นหาทางออกให้เจอ สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เราเกิดความเครียดได้โดยไม่รู้สึกตัว ไหนจะจากการทำงาน รถติด หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงยังสามารถทำให้เราเกิดอาการแปรปรวน ส่วนใหญ่คนเราก็จะหาวิธีแก้ความเครียดหรือหาอะไรทำให้ตัวเราเองรู้สึกผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้น และส่วนมากวิธีที่ถูกเลือกก็คงเป็น ’’การกิน’’ หลายคนมีความสุขในการรับประทานพอมีอาการเครียดก็จะไปหาอาหารอร่อยๆ หรือของหวานๆทานกัน แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าปัญหาที่ตามมาก็คือน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง วันนี้เราเลยไปหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารอะไรบ้างที่เรารับประทานไปแล้วจะช่วยทำให้ลดความเครียดลงได้ เผื่อบางคนที่ยังไม่ทราบจะได้เลือกรับประทานได้ถูก ความเครียดที่เกิดจากปัญหาต่างๆ บางทีก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะควบคุมมัน เมื่อเกิดความเครียดร่างกายยังมีปฏิกิริยาตอบสนอง อย่างการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น สมองทำงานมากขึ้น ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ตับหลั่งกลูโคสออกมาใช้เป็นพลังงานมากขึ้น มีการเพิ่มการแข็งตัวของเลือด และฮอร์โมนคอร์ทิซอล (Cortisol Hormone) จะหลั่งออกมาเพื่อลดอาการอักเสบของแผล ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เมื่อฮอร์โมนคอร์ทิซอลถูกหลั่งออกมาเมื่อมีความเครียด เซโรโทนินฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกดีนั้นจะลดลง เป็นฮอร์โมนที่ผลิตมาจากแป้งและน้ำตาล ทำให้ร่างกายมีความอยากอาหารประเภทแป้งและน้ำตาลที่ให้พลังงานมาก เช่น ข้าว ขนมปัง ช็อกโกแลต ซึ่งจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน บางคนเน้นแป้งก็จะกินแต่ขนมปัง ข้าว บางคนชอบความหวานก็จะเน้นไปที่ช็อกโกแลตหรือลูกอมเป็นต้น และนี่จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเวลาเราเครียดแล้วถึงอยากรับประทานอาหารนั่นเอง เพราะฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพกายของเราแล้ว ยังดีต่อสุขภาพจิตใจของเราอีกด้วยค่ะ

 

15 ชนิดของอาหารที่ช่วยลดความเครียด

fruits-salad-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ (ช่วยผ่อนคลายความเครียด)

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทุกชนิด นอกจากรสชาติอร่อยและมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Blackberries, Strawberries, Cranberries, Raspberries และ Blueberries ซี่งบลูเบอร์รี่นั้นเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินซีช่วยคลายความเครียดลงได้ นอกจากนี้ยังมีไฟเบอร์ช่วยป้องกันเซลล์ถูกทำลาย และป้องกันร่างกายจากผลกระทบของความเครียดอีกด้วย อยากที่ทราบกันดีว่าผลไม้กลุ่มนี้อุดมไปด้วยสาร antioxidants และวิตามินซีที่สูง และสาร antioxidants เหล่านี้จะไปช่วยลดความเครียดได้ค่ะ เวลาที่รู้สึกเครียดๆ อาจจะเลือกทานผลไม้พวกนี้เป็นของว่าง หรือจะนำมาปั่นเป็นสมูทตี้ปั่นก็อร่อยดีเหมือนกันค่ะ ควรมีติดตู้เย็นไว้นะเนี่ย

 

2.กล้วยหอม (ช่วยลดความเครียด)

เมื่อร่างกายหลั่งสารซีโรโทนินออกมาในสมอง เราจึงต้องการอาหารจำพวกที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว แป้ง และน้ำตาล เพื่อที่ร่างกายจะนำไปสร้างซีโรโทนินมากขึ้น ทำให้เรารู้สึกสงบเยือกเย็น ลดภาวะวิตกกังวล และบางคนก็มีปฏิกิริยามากถึงขั้นง่วงซึมได้ ดังนั้นเมื่อเรารับประทานอาหารกลางวันจนรู้สึกง่วงนอนก็เพราะเหตุผลเดียวกันนี่เอง การเกิดสารซีโรไทนิน ไม่ได้เกิดจากสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเท่านั้น ยังมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า ทริปโตแฟน ที่ร่างกายสามารถนำไปสร้างเป็นซีโรโทนินได้ ซึ่งกรดอะมิโนชนิดนี้ หาได้ในผลไม้จำพวกกล้วยหอม ที่อุดมไปด้วยทริปโตแฟนจำนวนมหาศาล ช่วยลดอารมณ์ซึมเศร้าและความเครียดได้เป็นอย่างดี แถมยังไม่อ้วนอีกด้วยค่ะ

 

3.Dark Chocolate (ช่วยให้อารมณ์ดี)

ใน Dark Chocolate มีสาร flavonols ซึ่งมีประโยชน์ต่อความดันโลหิตสูง และช่วยเรื่องสมอง นอกจากนั้นยังช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเครียดด้วยค่ะ อีกทั้งยังมีสารคาเฟอีนในช็อกโกแลตที่ช่วยให้เรารู้สึกมีความสุข โดยจะเป็นตัวกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสาร เอ็นดอร์ฟิน (endorphin) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ “สารแห่งความสุข” สารดังกล่าวนี้พบได้หลังจากรับประทานดาร์กช็อกโกแลตเข้าไป ในการเลือกดาร์กชอคโกแลตควรดูที่เปอร์เซ็นต์ของโกโก้ ควรที่จะมีเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าส่วนประกอบอื่นๆ ทางที่ดีควรจะ 70% ขึ้นไปค่ะ อย่าลืมว่ายังไงก็ยังมีแคลอรี่ที่สูงอยู่เหมือนกัน ยังไงในหนึ่งแท่งก็หักแบ่งมาทานสักคำสองคำนะคะ

 

4.ปลา (ลดอาการซึมเศร้าและวิตก)

มีปลาหลายชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามินบีที่สำคัญในการต่อต้านความเครียด ทั้งวิตามินบี  6 และวิตามินบี 12 โดยเฉพาะวิตามินบี 12 ยังช่วยให้สมองหลั่งสารแห่งความสุขอีกด้วย และเมื่อไรก็ตามที่ร่างกายขาดบี 12 จะทำให้รู้สึกซึมเศร้าหดหู่ขึ้นมาได้ กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่พบมากในปลาทะเลทุกชนิดในกลุ่มปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน และปลาแม็คเคอเรล สามารถรักษาผู้ป่วยโรคอารมณ์เศร้าในเด็กได้ ในมื้ออาหารเลยอยากแนะนำให้รับประทานปลาทูน่า ปลาแซลมอน หรือปลาแมคเคอเรลจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ช่วยลดอารมณ์เศร้าในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ด้วย ดังนั้นเราจึงควรรับประทานปลาเป็นประจำ จะช่วยให้ร่างกายมีสารอาหารที่หลั่งลดความเครียดได้ทันท่วงทีค่ะ

 

5.นมถั่วเหลือง (ช่วยเพิ่มสมาธิและความกระฉับกระเฉง)

นอกจากสารซีโรโทนินที่ช่วยลดความเครียดแล้ว ยังมีสารอีกตัวคือ โดไทโรซีน (tyrosine) ซึ่งเป็นสารที่ส่งผลต่ออารมณ์ของบุคคลให้มีความตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิ ไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ รอบตัว ซึ่งสารนี้จำเป็นจะต้องใช้สารอาหารอย่างโปรตีนที่พบมากอย่างในถั่วเหลือง จะไปช่วยให้สมองมีความกระฉับกระเฉงตื่นตัวมากขึ้นค่ะ

 

6.อัลมอลด์ (ช่วยให้อารมณ์ดีและรู้สึกผ่อนคลาย)

อัลมอนด์นั้นช่วยคลายเครียดได้ดีค่ะ เนื่องจากอุดมด้วยวิตามินบีและวิตามินอีสูงอีกทั้งยังมีแมกนีเซียมที่ช่วยสร้างเซโรโทนินทำให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลายจิตใจสงบ ส่วนวิตามินอีจะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เกี่ยวเนื่องกับความเครียดและโรคหัวใจ อีกทั้งยังมีแร่ธาตุสังกะสีที่จะไปช่วยในการบรรเทาความเครียดเช่นกัน อย่างไรก็ตามอัลมอนด์ยังคงให้แคลอรี่ที่สูงอาจจะไปทำให้อ้วนได้ค่ะ จึงควรบริโภคแต่พอควรสักหนึ่งกำมือก็เพียงพอแล้วค่ะ

 

7.อะโวคาโด (ช่วยลดระดับความเครียด)

Avocados เป็นผลไม้ที่มีวิตามิน B สูง ซึ่งจะช่วยทำให้ลดระดับความเครียดในร่างกายได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยบำรุงระบบประสาทและเซลล์สมองอีกด้วย แถมยังมีไขมันไม่อิ่มตัวชนิด (monounsaturated fats) ที่ช่วยเรื่องหัวใจอีกด้วย เมนูนี้อาจจะมีแคลอรีสูงสักหน่อย อาจเลือกทานเล่นหรือทานเป็นสลัดกับผักสด แต่ถ้าใครอยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนักก็อย่าได้ทานเยอะเกินไปค่ะ

 

8.ธัญพืช (ช่วยผ่อนคลายและจิตใจสงบ)

การที่เราจะเลือกรับประทานข้าวขาวหรือขนมปังขาวแต่มาเลือกรับประทานเป็นข้าวกล้องแทน หรือจะเป็นขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาว นอกจากจะทำให้ไม่อ้วนแล้ว ยังเต็มไปด้วยวิตามินบี เกลือแร่ เช่น แมกนีเซียม โพแทสเซียม และแคลเซียม โปรตีนและไฟเบอร์ ซึ่งช่วยทำให้ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจสงบลงค่ะ

 

9.ส้ม (รู้สึกสดชื่นและผ่อนคลาย)

อย่างที่ทราบกันดีว่าผลส้มนั้นมีวิตามินซีสูง ซึ่งวิตามินซีจะสามารถช่วยลดระดับฮอร์โมน cortisol และระดับความดันโลหิตได้ เมื่อรู้สึกว่าช่วงไหนรู้สึกเครียดๆสมองตื้อๆ คิดอะไรไม่ค่อยออกแล้วล่ะก็ควรนั่งพักสบายๆ หยุดคิดเรื่องทุกเรื่องและดื่มน้ำส้มคั้นสักแก้วหรือส้มสักผลสองผล ไฟเบอร์และวิตามินซีจะช่วยให้รู้สึกสดชื่นมีชีวิตชีวาได้อีกครั้งค่ะ

 

10.สาหร่าย (ต่อต้านความเครียด)

สาหร่ายมีคุณสมบัติในการต่อต้านความเครียด อุดมไปด้วยแมกนีเซียม กรดแพนโทเธนิค และวิตามินบี 2 โดยกรดแพนโทเธนิคจะช่วยเปลี่ยนคอเลสเตอรอลเป็นฮอร์โมนสำหรับต่อต้านความเครียด ป้องกันอาการอ่อนเพลีย สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค

 

11.นม (ช่วยผ่อนคลายและจิตใจสงบ)

นมอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เกี่ยวกับความเครียด และยังประกอบด้วยทริปโตเฟนที่ช่วยทำให้จิตใจสงบ ดื่มนมอุ่น ๆ ก่อนนอนสักแก้ว ช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายค่ะ

 

12.ผักปวยเล้ง (ช่วยให้อารมณ์คงที่)

สีที่เขียวเข้มของผักปวยเล้งเต็มไปด้วย Folate และวิตามิน B ซึ่งจะสามารถช่วยเรื่องอารมณ์ และการทำงานของเส้นประสาทด้วย นอกจากนี้ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือดอีกด้วยค่ะ

 

13.ซีเรียล (ช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า)

อาหารเช้าซีเรียลเต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี กรดโฟลิก วิตามินซี และไฟเบอร์ ที่ช่วยจัดการกับความเครียดให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้น

 

14.เนื้อวัว (ช่วยผ่อนคลายลดความกังวล)

ในเนื้อวัวมีธาตุเหล็ก วิตามินบี และสังกะสี ช่วยลดความกังวลใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อและประสาทคลายตัว แต่เนื้อวัวก็มีไขมันอิ่มตัวที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจและโรคอื่น ๆ เช่นกัน ดังนั้นจึงควรเลือกรับประทานส่วนที่มีไขมันน้อย เช่น เนื้อสันนอก เนื้อสันใน สะโพกนอก

 

15.บล็อคโคลี (ช่วยบรรเทาความเครียด)

ในบล็อคโคลีมีทั้งวิตามินบี 12 กรดโฟลิก ที่ช่วยส่งเสริมการผลิตเซโรโทนิน สารเคมีที่ทำให้อารมณ์ดีซึ่งร่างกายผลิตขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ ช่วยบรรเทาความเครียดวิตกกังวล ความกลัวและความเศร้าได้

 

 

www.flickr.com/photos/pocait/3772377632/

www.flickr.com/photos/angelalarose/3770495997/

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yeast-1
Source: Flickr (click image for link)

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ภาวะการขาดโครเมียม

จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง

การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น

การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

 

เกี่ยวกับโครเมียม หรือ Chromium

  • โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
  • โครเมียม ในร่างกายของคนเรามีอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม และปริมาณนี้ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น
  • โครเมียม เกี่ยวข้องกับเมตาบอริซึม ของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะการใช้กลูโคสในร่างกาย
  • โครเมียม มีผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก คือ มันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
  • โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด
  • โครเมียม เมื่อขาดจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โครเมียม วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast)
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมในธรรมชาติ พบมากใน น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ เนื้อไก่ บริวเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ตับ ไข่แดง เห็ด เนยแข็ง กากน้ำตาล และในข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง
  • โครเมียม ช่วยการเจริญเติบโต
  • โครเมียม ช่วยป้องกันพิษจากตะกั่ว
  • โครเมียม ป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • โครเมียม ทำงานเป็นเกราะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงเฉียบพลัน
  • โครเมียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • โครเมียม ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้
  • โครเมียม ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  • โครเมียม เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน
  • โครเมียม ทั้งหมดที่รับประทาน ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสาวะและอุจจาระบางส่วน

 

ประโยชน์ของโครเมียม หรือ Chromium

 

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ คลอเรสเตอรอลทั้งหมด

 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญน้ำตาล โครเมียมทำหน้าที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน โดยเป็นส่วนประกอบของ glucose tolerance factor ซึ่งมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินต่อตัวรับอินซูลิน (insulin receptor)

 

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก โครเมียมพิกโคลิเนต จะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียมจำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)

 

ปริมาณของโครเมียมที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปริมาณที่แนะนำ ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

(ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 

www.flickr.com/photos/cgc/4755952861/