Browse Tag: salt

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารที่ขึ้นชื่อว่าคนไทยนิยมชมชอบที่จะรับประทานเป็นประจำ นั่นก็คงไม่พ้นอาหารรสจัด หลักๆจะเป็นอาหารที่เป็นรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และอีกชนิดที่ดันบังเอิญเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทยนั่นก็คือรสชาติเค็ม ซึ่งปกติแล้วในอาหารอย่างเดียวก็มีโซเดียมอยู่แล้ว และเมื่อเรานำมาปรุงเป็นอาหารยิ่งจะเพิ่มโซเดียมเข้าไปอีก อีกทั้งคนไทยก็รับประทานรสชาติแบบนี้จนเคยชินคิดว่านั่นคือรสชาติปกติ แถมยังบอกว่ากลมกล่อมซะอีกถ้าไม่ได้ปรุงนี่สิรสชาติยิ่งจะจืดชืดไม่อร่อยไปซะอย่างนั้น กลับกลายเป็นว่าเราได้ชินและคุ้นเคยกับรสชาตินั้นไปซะแล้ว พอได้ลดปริมาณการปรุงรสลงก็จะกลายเป็นว่าไม่อร่อยและจืดชืด แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารที่มีรสเค็มจะต้องมีโซเดียมสูงซะอย่างเดียมอาหารบางอย่างที่รสชาติไม่เค็มกลับให้โซเดียวสูงก็มีนะจ๊ะแบบนั้นเขาเรียกกันว่าโซเดียมแฝงนั่นเอง ทำให้เราได้รับโซเดียมมาเต็มๆแบบไม่รู้ตัว โซเดียมที่เราบริโภคกันเป็นประจำก็คือโซเดียมที่อยู่ในรูปของ”เกลือแกง” (เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างคือโซเดียมและคลอไรด์) และก็ได้พบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรสโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 7 กรัม ซึ่งนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ได้นำพาโรคต่างๆ มาสู่คนไทยโดยไม่รู้ตัว โดยส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น หัวใจหรือไต ถึงแม้ว่าโซเดียม (Sodium) จะเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ได้จัดว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้งาน โดยการทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก อีกทั้งยังใช้รักษาสภาพความเป็นกรดด่างของร่างกายอีกด้วย

 

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

โดยปริมาณที่ร่างกายควรได้รับโซเดียมต่อวันคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน  (เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา) 

 

1.เครื่องปรุงรสที่ให้รสเค็ม

สิ่งที่ทำให้นึกถึงเป็นอันดับแรกถ้าพูดถึงโซเดียม ก็เป็นเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ทำให้เกิดรสเค็มอย่างเช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ ซอสหอยนางรม เป็นแน่แท้ จะสังเกตุได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท ผัด แกง ทอด เผา ยำ ต้ม ตุ๋น ล้วนแต่ปรุงรสด้วยน้ำปลาโรยด้วยเกลือกันทั้งนั้น ซึ่งในคนที่จำกัดปริมาณโซเดียมนั้นต้องระวังและเบามือในการปรุงด้วยนะคะ

 

2.ซอสปรุงรสที่ให้รสชาติเปรี้ยว หวาน

รู้หรือเปล่าล่ะว่าบางที่ซอสที่ไม่จำเป็นต้องมีรสเค็มเท่านั้นที่จะให้โซเดียมสูง แต่ซอสจำพวก ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มสุกี้ พวกนี้ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อย ใครที่เวลารับประทานอาหารและขาดไม่ได้โดยชอบที่จะต้องปรุงรสด้วยซอสจำพวกนี้ก็ให้รู้ไว้สักนิดว่านั่นก็มีโซเดียมนะ

 

3.น้ำผลไม้สำเร็จรูป

ส่วนน้ำผลไม้ไม่ว่าจะเป็นแบบบรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย และนั่นจึงเป็นเหตุทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้มีโซเดียมสูง ถ้าหากต้องการดื่มน้ำผลไม้เป็นไปได้ก็ควรดื่มน้ำผลไม้สดจะดีกว่าเนอะ ได้ทั้งกากใยและวิตามิน

 

4.อาหารกึ่งสำเร็จรูป

อาหารกึ่งสำเร็จรูปถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่คนไทยนิยมรับประทานกันบ่อย ด้วยความที่สะดวกและรสชาติอร่อย ไม่ว่าจะเป็น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่างๆ หรือคัพโจ้กทุกแบบทุกชนิดล้วนแต่เป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงทั้งสิ้น

 

5.ขนมเบเกอรี่

ขนมเบเกอรี่ที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง แพนเค้ก แปลกใจล่ะสิ่ กินอยู่ทุกวันทุกวี่ซะด้วย ซึ่งขนมของหวานทั้งหลายเหล่านี้ได้มีการเติม Baking Powder หรือ Baking Soda เข้าไป ที่เราเรียกกันว่า ผงฟู และผงฟูนั้นมีส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ

 

6.เนื้อแดง

ปกติแล้วโซเดียมจะแทรกและแซมอยู่ในเนื้อสัตว์อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และจะมีมากในเนื้อแดงจำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู ดังนั้นการเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งสำคัญของคนที่จำกัดปริมาณการทานโซเดียม

 

7.อาหารกระป๋อง

อาหารที่แปรรูปอย่างอาหารกระป๋องจำพวก ปลากระป๋อง หมูกระป๋อง หรือแม้แต่ผลไม้กระป๋อง ซึ่งอาหารเหล่าได้นี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูดเข้าไป และนั่นจึงทำให้มีโซเดียมในปริมาณที่สูงและควรระมัดระวังในการเลือกประทานค่ะ

 

8.อาหารหมักดอง

ถือเป็นของโปรดใครหลายคนไม่ว่าจะเป็น ผักดอง ผลไม้ดอง ปลาร้า กะปิ ปลาส้ม แหนม แฮม หรือใส้กรอก ล้วนแต่เป็นการถนอมอาหารแปรรูปแบบดองเค็มทั้งนั้น รสชาติอาจจะแซ่บนัวแต่ถ้าเผลอทานแบบไม่กลัวก็อาจจะเจ็บไตเอาได้นะคะ

 

9.ผงปรุงรส

ผงปรุงรสชาติที่เราทราบกันดีในชื่อที่เราเรียกกันว่าผงนัว รสอร่อยแบบนัวๆ อย่างผงชูรส ซุปก้อน ผงปรุงรสแบบสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ถึงแม้ว่าผงชูรสเป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 15 ของส่วนประกอบ

 

10.อาหารตากแห้ง

การถนอมอาหารชนิดตากแห้งก็ถือว่าเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างหนึ่งและควรที่จะหลีกเลี่ยงไม่แพ้กับชนิดอื่นๆ เลยอย่างเช่น ปลาแห้ง เนื้อตากแห้งต่างๆ เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น

 

11.เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มหรือน้ำดื่มที่เรียกว่า น้ำดื่มเกลือแร่ต่างๆ ที่เราเห็นตามร้านค้านั้นทราบหรือไม่ว่าได้มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วยนั่นเองค่ะ รวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่แบบสปร์ตดริ้งค์ด้วยที่ต้องเติมโซเดียมเข้าไป ก็เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือทดแทนเกลือแร่สำหรับผู้ที่สูญเสียเหงื่อมากนั่นเอง

 

12.ขนมกรุบกรอบ

ขนมที่เป็นอาหารว่างทานเล่นเพลิดเพลินอุราจำพวก มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมกรุบกรอบที่บรรจุแบบถุง ซอง ที่หลายคนเสพติดเป็นต้องซื้อมาติดห้องไว้ตลอดๆ ขนมจำพวกนี้อาจจะอร่อยแต่ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อยเลย

 

 

www.flickr.com/photos/jolives/3017953556

โซเดียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

himalayan-salt-1
Source: Flickr (click image for link)

โซเดียม (Sodium) เป็นอีกหนึ่งเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ใครๆก็น่าจะรู้จักกันในรูปของรสชาติความเค็มจากเครื่องปรุงติดบ้านของเราจำพวกน้ำปลา เกลือ หรือเครื่องปรุงอาหารรสชาติต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันในหลายรูปแบบ และเป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น การควบคุมความดันกระแสเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวที่อยู่ภายในร่างกาย โดยมีหน้าที่ควบคู่ไปกับโพแทสเซียมและคลอไรด์ หรือพูดง่ายๆเลยว่า โซเดียมก็คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็กค่ะ โดยโซเดียมในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’ โดยที่เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างก็คือ โซเดียมกับคลอไรด์และก็น้ำปลา ซึ่งรสชาตินั้นจะต้องมีความเค็มอย่างแน่นอน และจากการสำรวจพบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรส โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละประมาณ 7 กรัมค่ะ

 

เกี่ยวกับโซเดียม หรือ Sodium

 

  • โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
  • โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีความจำเป็นเกี่ยวกับของเหลวภายในร่างกาย
  • โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่ทำงานร่วมกับโปตัสเซียมและคลอไรด์ที่ของเหลวภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมดุลยภาพของแรงออสโมติคและปริมาตรของของเหลว
  • โซเดียม ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย)
  • โซเดียม ในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมสูงคือพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมต่ำ ได้แก่ ผลไม้ทุกชนิด ผัก เนื้อปลา ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปริมาณโซเดียมจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยไม่จำเป็นต้อง เรียกหาเครื่องปรุงรสใดๆ เลย
  • โซเดียม จากอาหารแปรรูปหรือการถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น
  • โซเดียม จากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสที่มีรสเค็ม (เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ รวมทั้งซอสหอยนางรม) ซอสปรุงรสที่ไม่มีรสเค็มหรือเค็มน้อย เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มต่างๆ
  • โซเดียม ในผงชูรสถึงแม้ไม่มีรสชาติเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 15
  • โซเดียม ในอาหารกระป๋องและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก
  • โซเดียม จากขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง
  • โซเดียม ในน้ำฝนเป็นน้ำที่ปราศจากโซเดียม
  • โซเดียม มีปนอยู่ในน้ำบาดาลและน้ำประปาอยู่บ้าง ในจำนวนไม่มากนัก
  • โซเดียม ในเครื่องดื่มเกลือแร่ยี่ห้อต่างๆ มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย เพราะมีจุดประสงค์จะให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก
  • โซเดียม ในน้ำผลไม้บรรจุกล่องขวดหรือกระป๋อง มักจะมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้ มีโซเดียมสูง
  • โซเดียม เป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ  400 กรัม
  • โซเดียม ที่ร่างกายคนเรามีความต้องการ ประมาณ 2400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • โซเดียม ที่เกินความต้องการ ไตจะขับออกทางปัสสาวะและจะออกทางเหงื่อเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่าโซเดียม ที่ขับออกทางปัสสาวะจะเป็นตัวชี้ระดับของโซเดียมในร่างกาย
  • โซเดียม เกี่ยวข้องกับการซึมผ่านของสารและการดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์
  • โซเดียม ช่วยฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายและช่วยในการย่อย
  • โซเดียม จำเป็นสำหรับการผลิตกรดไฮโดรคลอริคในกระเพาะอาหารและช่วยระบบการย่อยอาหาร
  • โซเดียม ช่วยในการขนส่งกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์
  • โซเดียม กระตุ้นประสาทให้ทำงาน และเป็นตัวเก็บเกลือแร่อื่นๆให้อยู่ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของโซเดียม (Sodium)

 

การรักษาสมดุลกรดด่าง โดยโซเดียมไบคาร์บอเนตและโซเดียมฟอสเฟต ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญของเลือด ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างของเลือดให้คงที่ค่ะ

 

การควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยที่โซเดียมนั้นไปทำหน้าที่ร่วมกับโปตัสเซียมในการควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยโซเดียมในรูปแคทไออนจะรักษาความดันออสโมติคภายนอกเซลล์และโปตัสเซียมใน รูปแคทไออนรักษาความดันออสโมติคภายในเซลล์ รวมถึงช่วยรักษาให้แร่ธาตุอื่นที่มีอยู่ในเลือดละลาย เพื่อจะได้ไม่เกิดการจับเกาะตัวภายในเลือด

 

การควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ โดยโซเดียมจะไปควบคุมสมดุลระหว่างแคลเซียมและโปตัสเซียม เพื่อควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ

 

เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยโซเดียมช่วยการส่งผ่านสัญญาณประสาท ( nerve impulse ) ไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้หดตัว

 

ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ โดยทำงานร่วมกับคลอรีน ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ ส่งเสริมสุขภาพของเลือด น้ำเหลือง ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

 

ปริมาณของโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

โดยจากการวิจัยทางการแพทย์และโภชนาการเรื่องปริมาณที่เหมาะสมของโซเดียมที่ควรได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยังผลให้องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณโซเดียมที่ แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Recommended Daily Intakes : RDI) อยู่ที่น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการในบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และเป็นปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านสุขภาพใดๆ
สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมเช่นเดียวกัน แต่หากจะเปรียบเทียบภาวะความเสี่ยงของการได้รับโซเดียมเกินระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่าคนไทยเราบริโภคโซเดียมเฉลี่ยอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมคือปริมาณ 2,320 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ชาวอเมริกันรับประทานโซเดียมจากอาหารเฉลี่ย 3,200 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ดังนั้นสำหรับคนไทยที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามปกติและรสชาติที่ไม่เค็มจนเกินไป ก็เพียงพอที่จะควบคุมปริมาณโซเดียมจากอาหารในระดับที่เหมาะสมได้แล้ว

 

 

www.flickr.com/photos/julajp/5904468562/

ไอโอดีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

seafood-1
Source: Flickr (click image for link)

ไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน ถ้าพูดถึงไอโอดีนหรือสารไอโอดีนก็คงจะนึกถึงความเค็ม หรือเกลือกันใช่ไหมล่ะคะ ไอโอดีนเป็นอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในหมู่เกลือแร่หรือแร่ธาตุ บางคนก็อย่าได้คิดว่าแร่ธาตุตัวนี้จะไม่สำคัญนะคะ เพราะถ้าเราขาดมันขึ้นมาล่ะก็…ไม่เป็นผลดีแน่ๆค่ะ เอาล่ะ วันนี้จะมาบอกให้เราเข้าใจเกลือแร่ตัวนี้กันว่ามันคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรค่ะ ไอโอดีนหรือสารไอโอดีน นั้นเป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย เช่นอยู่ในทะเล และแน่นอนว่าเราคงจะไม่มานั่งดื่มน้ำทะเลเพื่อให้ได้สารไอโอดีนกันหรอกจริงไหม มันก็ต้องอยู่ในอาหารทะเลที่เรารับประทานกันทุกวันนี่ล่ะค่ะ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าคนที่อยู่แถบภาคเหนือและอีสานจะเป็นโรคคอพอกและเอ๋อ ปัญญาอ่อนกันเป็นส่วนมากเนื่องจากเป็นที่ราบสูงอยู่ห่างไกลจากทะเล จึงไม่มีโอกาสได้รับประทานอาหารทะเลบ่อยๆ ไอโอดีนจะพบมากในสัตว์และพืชในทะเลเนื่องจากมีสารไอโอดีนอยู่สูง ซึ่งสารไอโอดีนนี้เป็นธาตุที่จําเป็นต่อร่างกายถึงแม้ว่าจะต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากความสําคัญของไอโอดีนต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ซึ่งต่อมธัยรอยด์นั้นจําเป็นต้องใช้ไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมน ชื่อว่า “ธัยรอกซิน” ซึ่งฮอร์โมนนี้จําเป็นสําหรับควบคุมการทําหน้าที่และเสริมสร้างการเจริญเติบโตตามปกติของสมองประสาทและเนื้อเยื่อของร่างกาย

ภาวะขาดไอโอดีน

  1. ภาวะขาดไอโอดีนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ประมาณว่าประชากรกว่าพันล้านคน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะปัญญาอ่อน ในประเทศไทยภาวะขาดไอโอดีนพบในที่ห่างไกลทะเล ในหมู่บ้านยากจนในแถบถิ่นภูเขา บางแห่งเกิดคอพอกจากภาวะขาดไอโอดีนกันเกือบทั้งหมู่บ้าน การแก้ไขปัญหาภาวะขาดไอโอดีนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม จากการวิเคราะห์ดินที่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นถิ่นของโรคเมื่อเทียบกับดินที่กรุงเทพ พบว่ามีไอโอดีนน้อยกว่าถึง 7 เท่า
  2. การกำหนดความรุนแรงของภาวะขาดไอโอดีน จะถือว่าขาดเล็กน้อยเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 50-100 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับขาดปานกลางเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 25-50 ไมโครกรัม และจะถือว่าขาดรุนแรงเมื่อได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 25 ไมโครกรัมต่อวัน

 

เกี่ยวกับไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน

  • ไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย
  • ไอโอดีน เป็นสารที่พบมากในเนื้อสัตว์และพืชในทะเล เช่น  อาหารทะเล สาหร่ายทะเล นอกจากนี้ยังได้สารไอโอดีนจากเกลือทะเลอีกด้วย
  • ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์
  • ไอโอดีน ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมน
  • ไอโอดีน ความต้องการไอโอดีนที่แนะนำต่อวันคือ 150 ไมโครกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ และ 200 ไมโครกรัมต่อวัน ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
  • ไอโอดีน ในเกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม คือ เกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง
  • ไอโอดีน ผลจากการขาดสารไอโอดีน หญิงแท้งง่าย ชายเซ็กส์เสื่อม เด็กพิการแต่กำเนิด ในผู้ใหญ่ คอพอก เอ๋อ ปัญญาอ่อน
  • ไอโอดีน เป็นธาตุที่ระเหยเป็นไอได้ เมื่อไอโอดีน จากทะเลระเหยมาพร้อมกับน้ำเป็นเมฆและฝนตกลงสู่พื้นดิน พื้นดินจะกลับมีไอโอดีนอีกครั้ง
  • ไอโอดีน กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น
  • ไอโอดีน เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีปัญหาไทรอยด์มักมีไอคิวต่ำกว่า 85
  • ไอโอดีน แม้ว่าร่างกายต้องการสารไอโอดีนเพียงแค่ 150 ไมโครกรัมเท่านั้น แต่ก็ขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว เพราะร่างกายไม่สามารถสะสมไว้ได้

 

 

ประโยชน์ของไอโอดีน (iodine)

 

ช่วยในการทำงาน และเจริญเติบโตของต่อมไทรอยด์  และเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย การทำงานของต่อมธัยรอยด์มีผลต่อสภาพจิตใจ สภาพของผม ผิวหนัง เล็บ และ ฟัน ของร่างกาย การเปลี่ยนของแคโรทีนเป็นวิตามินเอ การสังเคราะห์ โปรตีน โดย ไรโบโซม และการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็กทั้งหมดนี้จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อการผลิตไทรอกซิน เป็นไปตามปกติ การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลถูกกระตุ้นโดยระดับของไทรอกซิน

 

ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นอัตราการเผาผลาญ โดยช่วยร่างกายเผาผลาญไขมันที่มาก

 

กระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

 

ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานได้ตามปกติ

 

เพิ่มการเคลื่อนย้ายแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากกระดูก

 

ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆ

 

กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น

 

ควบคุมประสาท ให้มีกำลังคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตลอดถึงการพูด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพของต่อมไทรอยด์

 

 

ปริมาณของไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

หากขาดสารไอโอดีน จะมีภาวะผิดปกติแตกต่างกันไป เช่น ช่วงทารกในครรภ์ถึงแรกเกิดจะทำให้เกิดการแท้งหรือตายก่อนกำหนดได้ง่าย หรือหากไม่ตาย คลอดออกมาทารกก็จะพิการแต่กำเนิด คือ หูหนวก ขาแข็ง กระตุก ตาเหล่ รูปร่างแคระแกร็น และสติปัญญาเสื่อมจนถึงปัญญาอ่อน หรือที่เรียกว่าเป็นเอ๋อ ส่วนวัยเด็กถึงวัยรุ่นร่างกายจะเจริญเติบโตช้า สติปัญญาด้อยลงกว่าคนปกติและมีอาการคอพอก ขณะที่วัยผู้ใหญ่จะมีอาการคอพอก เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น สมรรถนะในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจเสื่อมถอย หากเป็นเพศชายจะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สำหรับผู้หญิงประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ

ในร่างกายปกติ ระดับของไอโอดีนในเลือดจะมีค่าประมาณ 8-15 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร และจับกับพลาสม่าโปรตีนอยู่ประมาณ 6-8 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร ข้อกำหนดสารอาหารควรรับประทานไอโอดีนให้ได้วันละ 150 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ถ้ารับประทานเพียงวันละ 50 ไมโครกรัม ก็สามารถที่จะป้องกันโรคคอพอกได้แล้ว

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้มีเกลือเสริมไอโอดีนจำหน่ายและกระจายทั่วประเทศ โดยที่เกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม ซึ่งหมายถึง เกลือล้านส่วนจะมีไอโอดีนอยู่ 30 ส่วน ถ้าแปรผลในรูปของน้ำหนัก หมายถึงเกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง ดังนั้น ถ้าวันหนึ่งเรารับประทานเกลือ(เสริมไอโอดีน)โดยเฉลี่ย 2 กรัมจะได้รับไอโอดีนวันละ 60 ไมโครกรัม ซึ่งพอเพียงที่จะป้องกันการเกิดโรคจากการขาดไอโอดีนหรือโรคคอพอกได้

 

www.flickr.com/photos/nanophoto69/5015992000/