Browse Tag: sea food

แมงกานีส คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-vegetable-1
Source: Flickr (click image for link)

มงกานีส (Manganese) เป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายไม่แพ้แร่ธาตุตัวอื่นๆค่ะ และที่สำคัญก็คือร่างกายของเราไม่สามารถขาดได้ด้วยเช่นกัน จะพบมากในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ แมงกานีสจะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมโดยประโยชน์หลักๆของแร่ธาตุชนิดนี้ก็คือ จะไปช่วยในเรื่องของการตอบสนองของกล้ามเนื้อการยืดตัวหดตัวดี ช่วยทำให้ไม่ปวดหลังและทำให้ร่างกายสดชื่นมีความจำที่ดีและอื่นๆอีกมากมาย แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันในกระดูกและกระดูกอ่อน แมงกานีสจะมีส่วนที่คล้ายกับแมกนีเซียม คือ สารอาหารชนิดนี้จะมีการสูญเสียระหว่างกระบวนการดัดแปลงทางอาหาร เช่น เมื่อธัญพืชถูกเปลี่ยนเป็นแป้งขัดขาวจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับแมงกานีสต่ำในระดับเพียงแค่ 25% ของกลุ่มทดสอบที่มีการควบคุมการได้รับสารอาหารนั่นเอง

 

เกี่ยวกับแมงกานีส หรือ Manganese

  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคนเราและไม่สามารถขาดได้
  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง
  • แมงกานีส พบมาในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจ
  • แมงกานีส ส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วขับออกทางอุจจาระ
  • แมงกานีส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด คือ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย
  • แมงกานีส ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมเพราะอย่างนี้ในคนที่ร่างกายขาดแมงกานีส จะทำให้หลงลืมได้ง่าย ความจำจะสั้นกว่าคนปกติ
  • แมงกานีส แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก พืชผัก ผลไม้และเมล็ดผลไม้(เปลือกแข็ง)
  • แมงกานีส  พบมากในผักใบเขียว ธัญพืช ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หัวบีต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม เนย ไข่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ตับสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ มะพร้าว คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด ข้าวเจ้า แห้ว แครอท หัวปลี เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน องุ่น มะกอก ส้ม เชอรี่ แอปเปิ้ล อะโวคาโด แอพริคอท มะตูม มะขวิด กระจับ
  • แมงกานีส ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และกระดูกพร้อมทั้งรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
  • แมงกานีส กระตุ้นให้ตับเก็บน้ำตาลในรูปของ Glycogen
  • แมงกานีส มีความสำคัญในการผลิตน้ำนมในผู้หญิงตั้งครรภ์ และการสร้างยูเรียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัสสาวะ
  • แมงกานีส เป็นตัวสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์ทางเคมีของต่อมไทรอยด์ขับไทรอกซินและช่วยในการใช้โคลีน
  • แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมัน และ คอเลสเตอรอล
  • แมงกานีส ช่วยให้ความจำดีขึ้น ลดอาการหงุดหงิดง่าย
  • แมงกานีส ถ้าได้รับประทานแมงกานีสอย่างพอเพียงโรคลมบ้าหมูก็สามารถมีอาการดีขึ้นได้
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยและนำสารอาหารมาใช้ให้เป็นประโยชน์
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อการสร้างไทรอกซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของต่อมไทรอยด์

 

 

ประโยชน์ของแมงกานีส (Manganese)

 

แมงกานีสช่วยควบคุมการทำงานของเอนไซม์ คือช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย และช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่จำเป็นต่อกระบวนการนำไบโอติน วิตามินบี1 และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งแมงกานีสมีความจำเป็นต่อโครงสร้างของกระดูก

 

ช่วยในการทำงานของอินซูลิน โดยการขาดแมงกานีสจะทำให้อินซูลินลดประสิทธิภาพน้อยลง

 

แมงกานีสช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต คือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ให้ทำงานตามปกติและช่วยขับฮอร์โมนเพศสำหรับวัยเจริญพันธ์ุ

 

ช่วยเรื่องการทำงานของสมองระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ โดยจะไปควบคุมสุขภาพและการทำงานของสมองระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิการสั่งงาน่่และมีความสัมพันธ์กัและมีส่วนช่วยในกระบวนการตอบสนองของกล้ามเนื้อด้วยค่ะ

 

 

ปริมาณของแมงกานีสที่ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน

โดยสถาบันวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำปริมาณแมงกานีสที่ควรได้รับต่อวันคือประมาณ 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน

หากร่างกายมีแมงกานีสไม่เพียงพอ คนที่ร่างกายขาดแมงกานีสจะทำให้หลงลืมได้ง่ายความจำจะสั้นกว่าคนปกติ นอกจากนั้นยังมีอาการปวดหลังและข้อกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วกว่าคนที่ร่างกายไม่ขาดแมงกานีส

หากร่างกายได้รับแมงกานีสมากเกินไป ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับเข้ามาจากทางของการสัมผัสมากกว่าที่จะได้จากการรับประทานอาหาร เพราะฉะนั้นหากเราได้สัมผัสไม่ว่าจะจากการสูดดมหรือ ทำอะไรที่เกี่ยวกับแมงกานีสโดยตรงก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับแมงกานีสที่มากเกินไปหรือมีอาการจากการได้รับมากเกินไป และถ้าเกิดว่าแมงกานีสมีอยู่ในร่างกายมาเกินไปจากการที่เราสัมผัสโดยตรงก็อาจจะทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท และมีอาการสั่นคล้ายกับโรคพาร์กินสันหรือโรคสันนิบาตนั่นเองค่ะ

 

www.flickr.com/photos/chodhound/5540012574/

ไอโอดีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

seafood-1
Source: Flickr (click image for link)

ไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน ถ้าพูดถึงไอโอดีนหรือสารไอโอดีนก็คงจะนึกถึงความเค็ม หรือเกลือกันใช่ไหมล่ะคะ ไอโอดีนเป็นอีกตัวหนึ่งที่อยู่ในหมู่เกลือแร่หรือแร่ธาตุ บางคนก็อย่าได้คิดว่าแร่ธาตุตัวนี้จะไม่สำคัญนะคะ เพราะถ้าเราขาดมันขึ้นมาล่ะก็…ไม่เป็นผลดีแน่ๆค่ะ เอาล่ะ วันนี้จะมาบอกให้เราเข้าใจเกลือแร่ตัวนี้กันว่ามันคืออะไรและมีความสำคัญอย่างไรค่ะ ไอโอดีนหรือสารไอโอดีน นั้นเป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย เช่นอยู่ในทะเล และแน่นอนว่าเราคงจะไม่มานั่งดื่มน้ำทะเลเพื่อให้ได้สารไอโอดีนกันหรอกจริงไหม มันก็ต้องอยู่ในอาหารทะเลที่เรารับประทานกันทุกวันนี่ล่ะค่ะ ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่าคนที่อยู่แถบภาคเหนือและอีสานจะเป็นโรคคอพอกและเอ๋อ ปัญญาอ่อนกันเป็นส่วนมากเนื่องจากเป็นที่ราบสูงอยู่ห่างไกลจากทะเล จึงไม่มีโอกาสได้รับประทานอาหารทะเลบ่อยๆ ไอโอดีนจะพบมากในสัตว์และพืชในทะเลเนื่องจากมีสารไอโอดีนอยู่สูง ซึ่งสารไอโอดีนนี้เป็นธาตุที่จําเป็นต่อร่างกายถึงแม้ว่าจะต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากความสําคัญของไอโอดีนต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์ซึ่งต่อมธัยรอยด์นั้นจําเป็นต้องใช้ไอโอดีนเพื่อสร้างฮอร์โมน ชื่อว่า “ธัยรอกซิน” ซึ่งฮอร์โมนนี้จําเป็นสําหรับควบคุมการทําหน้าที่และเสริมสร้างการเจริญเติบโตตามปกติของสมองประสาทและเนื้อเยื่อของร่างกาย

ภาวะขาดไอโอดีน

  1. ภาวะขาดไอโอดีนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลก ประมาณว่าประชากรกว่าพันล้านคน โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาประสบปัญหานี้ นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดภาวะปัญญาอ่อน ในประเทศไทยภาวะขาดไอโอดีนพบในที่ห่างไกลทะเล ในหมู่บ้านยากจนในแถบถิ่นภูเขา บางแห่งเกิดคอพอกจากภาวะขาดไอโอดีนกันเกือบทั้งหมู่บ้าน การแก้ไขปัญหาภาวะขาดไอโอดีนยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ และสังคม จากการวิเคราะห์ดินที่จังหวัดแพร่ ซึ่งเป็นถิ่นของโรคเมื่อเทียบกับดินที่กรุงเทพ พบว่ามีไอโอดีนน้อยกว่าถึง 7 เท่า
  2. การกำหนดความรุนแรงของภาวะขาดไอโอดีน จะถือว่าขาดเล็กน้อยเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 50-100 ไมโครกรัมต่อวัน สำหรับขาดปานกลางเมื่อผู้นั้นได้รับไอโอดีนระหว่าง 25-50 ไมโครกรัม และจะถือว่าขาดรุนแรงเมื่อได้รับไอโอดีนน้อยกว่า 25 ไมโครกรัมต่อวัน

 

เกี่ยวกับไอโอดีน (iodine) หรือ สารไอโอดีน

  • ไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่จะมีปริมาณน้อย
  • ไอโอดีน เป็นสารที่พบมากในเนื้อสัตว์และพืชในทะเล เช่น  อาหารทะเล สาหร่ายทะเล นอกจากนี้ยังได้สารไอโอดีนจากเกลือทะเลอีกด้วย
  • ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบที่จําเป็นในการผลิตฮอร์โมนของต่อมธัยรอยด์
  • ไอโอดีน ต่อมไทรอยด์นำไอโอดีนเป็นส่วนสำคัญในการสังเคราะห์ฮอร์โมน
  • ไอโอดีน ความต้องการไอโอดีนที่แนะนำต่อวันคือ 150 ไมโครกรัมต่อวันในผู้ใหญ่ และ 200 ไมโครกรัมต่อวัน ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และให้นมบุตร
  • ไอโอดีน ในเกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม คือ เกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง
  • ไอโอดีน ผลจากการขาดสารไอโอดีน หญิงแท้งง่าย ชายเซ็กส์เสื่อม เด็กพิการแต่กำเนิด ในผู้ใหญ่ คอพอก เอ๋อ ปัญญาอ่อน
  • ไอโอดีน เป็นธาตุที่ระเหยเป็นไอได้ เมื่อไอโอดีน จากทะเลระเหยมาพร้อมกับน้ำเป็นเมฆและฝนตกลงสู่พื้นดิน พื้นดินจะกลับมีไอโอดีนอีกครั้ง
  • ไอโอดีน กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น
  • ไอโอดีน เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีปัญหาไทรอยด์มักมีไอคิวต่ำกว่า 85
  • ไอโอดีน แม้ว่าร่างกายต้องการสารไอโอดีนเพียงแค่ 150 ไมโครกรัมเท่านั้น แต่ก็ขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว เพราะร่างกายไม่สามารถสะสมไว้ได้

 

 

ประโยชน์ของไอโอดีน (iodine)

 

ช่วยในการทำงาน และเจริญเติบโตของต่อมไทรอยด์  และเป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ผลิตโดยต่อมไทรอยด์ มีหน้าที่ควบคุมอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย การทำงานของต่อมธัยรอยด์มีผลต่อสภาพจิตใจ สภาพของผม ผิวหนัง เล็บ และ ฟัน ของร่างกาย การเปลี่ยนของแคโรทีนเป็นวิตามินเอ การสังเคราะห์ โปรตีน โดย ไรโบโซม และการดูดซึมน้ำตาลจากลำไส้เล็กทั้งหมดนี้จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อการผลิตไทรอกซิน เป็นไปตามปกติ การสังเคราะห์โคเลสเตอรอลถูกกระตุ้นโดยระดับของไทรอกซิน

 

ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และกระตุ้นอัตราการเผาผลาญ โดยช่วยร่างกายเผาผลาญไขมันที่มาก

 

กระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น

 

ช่วยให้ร่างกายผลิตพลังงานได้ตามปกติ

 

เพิ่มการเคลื่อนย้ายแคลเซียม และฟอสฟอรัสจากกระดูก

 

ช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะและควบคุมการกระจายของน้ำตามอวัยวะต่างๆ

 

กระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น

 

ควบคุมประสาท ให้มีกำลังคล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง ตลอดถึงการพูด ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพของต่อมไทรอยด์

 

 

ปริมาณของไอโอดีนที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

หากขาดสารไอโอดีน จะมีภาวะผิดปกติแตกต่างกันไป เช่น ช่วงทารกในครรภ์ถึงแรกเกิดจะทำให้เกิดการแท้งหรือตายก่อนกำหนดได้ง่าย หรือหากไม่ตาย คลอดออกมาทารกก็จะพิการแต่กำเนิด คือ หูหนวก ขาแข็ง กระตุก ตาเหล่ รูปร่างแคระแกร็น และสติปัญญาเสื่อมจนถึงปัญญาอ่อน หรือที่เรียกว่าเป็นเอ๋อ ส่วนวัยเด็กถึงวัยรุ่นร่างกายจะเจริญเติบโตช้า สติปัญญาด้อยลงกว่าคนปกติและมีอาการคอพอก ขณะที่วัยผู้ใหญ่จะมีอาการคอพอก เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น สมรรถนะในการทำงานลดลง ร่างกายและจิตใจเสื่อมถอย หากเป็นเพศชายจะมีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ สำหรับผู้หญิงประจำเดือนอาจมาไม่ปกติ

ในร่างกายปกติ ระดับของไอโอดีนในเลือดจะมีค่าประมาณ 8-15 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร และจับกับพลาสม่าโปรตีนอยู่ประมาณ 6-8 ไมโครกรัม/100 มิลลิลิตร ข้อกำหนดสารอาหารควรรับประทานไอโอดีนให้ได้วันละ 150 ไมโครกรัมต่อวัน แต่ถ้ารับประทานเพียงวันละ 50 ไมโครกรัม ก็สามารถที่จะป้องกันโรคคอพอกได้แล้ว

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายที่จะให้มีเกลือเสริมไอโอดีนจำหน่ายและกระจายทั่วประเทศ โดยที่เกลือต้องมีไอโอดีนอย่างน้อย 30 พีพีเอ็ม ซึ่งหมายถึง เกลือล้านส่วนจะมีไอโอดีนอยู่ 30 ส่วน ถ้าแปรผลในรูปของน้ำหนัก หมายถึงเกลือหนัก 1 กรัม มีไอโอดีนอยู่ 30 ไมโครกรัมนั่นเอง ดังนั้น ถ้าวันหนึ่งเรารับประทานเกลือ(เสริมไอโอดีน)โดยเฉลี่ย 2 กรัมจะได้รับไอโอดีนวันละ 60 ไมโครกรัม ซึ่งพอเพียงที่จะป้องกันการเกิดโรคจากการขาดไอโอดีนหรือโรคคอพอกได้

 

www.flickr.com/photos/nanophoto69/5015992000/