Browse Tag: UVB

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินดีสูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินดี (Vitamin D)’’ คือเซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันก็คือเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมธาตุแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสีในร่างกายของเรานั่นเอง วิตามินดีนั้นก็จะมีหลักๆ อยู่สองตัวคือ วิตามินดี 2 และวิตามินดี 3 นั่นเอง วิตามินดี 2 หรือ ergocalciferol ที่จะพบในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยทาก หนอน ยีสต์ ส่วนวิตามินดี 3 หรือ cholecalciferol จะพบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนังค่ะ ซึ่งปกติร่างกายเราจะได้รับวิตามินดีส่วนหนึ่งจากอาหาร และอีกส่วนหนึ่งจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด ซึ่งหลายคนจะทราบกันดีและเรียกวิตามินดีนี้อีกอย่างว่า “วิตามินแสงแดด” การให้ร่างกายได้รับแสงแดดที่เหมาะสมครั้งละ 5 ถีง 30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอที่จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมาใช้ได้อย่างเพียงพอโดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารเลยก็ว่าได้ นอกเสียจากพื้นที่ที่เราอยู่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ในบางคนกลัวที่จะโดนแสงแดดและโดยเฉพาะรังสี UV ในแสงอาทิตย์โดยเฉพาะในประเทศไทยบ้านเรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมมากกว่าค่ะ โดยทั่วปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ในคนปกติควรได้รับวิตามินดีอย่างน้อยวันละ 400 IU ต่อวัน (วิตามินดี 1 IU (หน่วยสากล) = 0.025 ไมโครกรัม (μg) cholecalciferol หรือ ergocalciferol) ซึ่งเราจะสังเกตุอาการที่เกิดขึ้นเพื่อเตือนว่าร่างกายของเรากำลังขาดวิตามินดี ได้แก่

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล
  • โรคภูมิต้านตนเอง
  • โรคมะเร็ง
  • กระดูกอ่อน (osteopenia)
  • ปัญหาผิวหนังทำให้เป็นแผลเปื่อยและโรคสะเก็ดเงิน
  • สมองเสื่อม

ในเด็กหากขาดวิตามินดีเรียก rickets ส่วนในผู้ใหญ่เรียก osteomalacia ค่ะ และปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการขาดวิตามินดี คือการมีไขมันในร่างกายมาก เพราะวิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ดังนั้นนั้นวิตามินดีจึงถูกเก็บอยู่กับไขมันมากกว่าที่จะถูกนำออกมาในกระแสเลือดเพื่อใช้กับกระบวนการต่างๆ ในร่างกายนั่นเองค่ะ

 

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินดีสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.น้ำมันตับปลา

น้ำมันตับปลาเป็นน้ำมันที่สกัดมาจากตับของปลาค็อด (Cod) ที่เป็นปลาทะเล มีวิตามินดีอยู่สูงและสามารถใช้แทนคนที่กำลังขาดวิตามินดีได้เป็นอย่างดีค่ะ โดยน้ำมันตับปลาปริมาณแค่เพียง 1 ช้อนชา มีวิตามินดีอยู่มากถึง 440 IU

 

2.ปลาเทราท์

ในปลาเทราท์ก็มีวิตามินดีที่สูงเช่นกัน ใครที่ชอบรับประทานปลาก็ไม่ควรที่พลาดปลาชนิดนี้ไปนะคะ ซึ่งปลาเทราท์ปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่มากถึง 646 IU

 

3.นมสด

คงจะได้ยินกันบ่อยๆ ว่าการดื่มนมจะเป็นส่วนที่ช่วยเสริมวิตามินดีด้วยเช่นกัน นมสดปริมาณเพียงแค่ 1 ถ้วย มีวิตามินดีอยู่ 98 IU

 

4.ปลาแซลมอล

ปลาทะเลสีส้มสดใสที่ไม่มีใครไม่รู้จักอย่างแน่นอนอย่างปลาแซลมอลนั้นก็มีวิตามินดีซ่อนอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ ปลาแซลมอลปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีมากถึง 400 IU

 

5.ปลาทู

ถ้าใครคิดว่าไม่ได้มีโอกาสไปหาปลาแซลมอลมารับประทานบ่อยๆ ก็ไม่ต้องห่วงค่ะเดินไปตลาดไปซื้อปลาทูมาสักเข็งก็ได้รับวิตามินดีมาไม่น้อยเช่นกัน ปลาทูปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่มากถึง 400 IU

 

6.ปลาทูน่า

ปลาทูน่าจะแบบสดๆก็ดี แบบกระป๋องก็ได้ค่ะ จะสังเกตุได้ว่าส่วนใหญ่อาหารที่มีวิตามินดีสูงจะอยู่ในจำพวกอาหารทะเลอย่าปลาทะเลค่ะ นอกจากจะมีวิตามินดีที่สูงแล้วยังเป็นแหล่งของกรดไขมันที่ดีๆ อย่างโอเมก้า 3 อยู่เช่นกัน  ปลาทูน่าปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 228 IU  

 

7.ปลาซาดีน

ปลาอีกชนิดหนึ่งคือปลาซาดีนก็เป็นแหล่งของวิตามินดีอยู่เช่นกันค่ะ ปลาซาดีนปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 164 IU

 

8.แฮม

แฮมที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเนื้อสัตว์ก็จัดอยู่ในชนิดของอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินดีค่ะ ซึ่งแฮมปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินดีอยู่ 129 IU

 

9.ไข่ปลาคาร์เวีย

ไข่ปลาโดยเฉพาะไข่ปลาคาร์เวียที่ได้จากปลาสเตอร์เจียนจะมีวิตามินอยู่ไม่น้อยเช่นกันค่ะ โดยไข่ปลาคาร์เวียปริมาณ 1 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 33 IU

 

10.ไข่ไก่

ถ้าไข่ปลาคาร์เวียจะราคาสูงและหารับประทานยากก็หันมาเลือกรับประทานไข่ไก่ที่มีอยู่ตลอดเวลาในตู้เย็นของเรากันดีกว่า โดยไข่ไก่ขนาดแค่เพียง 1 ฟองใหญ่ มีวิตามินดีอยู่ถึง 41 IU

 

11.เนื้อหมูสับ

เนื้อหมูประเภทหมูสับถือว่าเป็นอีกหนึ่งชนิดที่ได้มีวิตามินดีแอบซ่อนอยู่เช่นกัน โดยหเนื้อหมูสับปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ถึง 34 IU

 

12.เนื้อไก่

เนื้อไก่ก็มีวิตามินดีอยู่เช่นกัน แค่เพียง 1 น่องติดหนัง ก็มีวิตามินดีอยู่ถึง 15 IU

 

13.เห็ด

ใครจะรู้ว่าเห็ดก็เป็นอีกหนึ่งชนิดที่เป็นแหล่งของวิตามินดีค่ะ ซึ่งเห็ดปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินดีอยู่ 2 IU

 

14.เนื้อไก่งวง

เนื้อสัตว์อย่างไก่งวงอาจจะหารับประทานได้ไม่ง่ายหรือถ้ามีโอกาสได้รับประทานก็ขอให้ทราบไว้ว่ามีวิตามินดีอยู่เช่นกันค่ะ โดยเนื้อไก่งวงปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินดีอยู่ 10 IU

 

15.ชีส

ชีสเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากนมก็เป็นหนึ่งชนิดของอาหารที่เราสามารถเลือกหรือนำมาปรุงอาหารเพื่อเสริมวิตามินดีได้ค่ะ เพราะแค่ชีสเพียง 1 แผ่น ปริมาณ 28 กรัม มีวิตามินดีอยู่ 11 IU

 

 

www.flickr.com/photos/healthgauge/7474848656

www.flickr.com/photos/laurelguido/4829050957

Vitamin D คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

milk-eggs-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “วิตามินดี” (Vitamin D) ถ้าพูดถึงวิตามินดีหลายๆคนจะนึกถึงแคลเซียมกันใช่ไหมล่ะคะ แต่เอะแล้วแคลเซียมเกี่ยวอะไรด้วยล่ะ ก็เพราะว่าวิตามินดีและแคลเซียมมีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพของกระดูกและฟันของเรา และในบางทีเราก็จะรู้จักกับวิตามินดีในนามของ “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากจะสามารถสร้างขึ้นได้ในร่างกายหลังจากถูกแสงแดด การให้ร่างกายได้รับแสงแดดที่เหมาะสมครั้งละ 5-30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอที่จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมาใช้ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งหมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหาร ยกเว้นก็ต่อเมื่อได้รับแสงอาทิตย์น้อยเกินไป ซึ่งมักไม่เป็นปัญหาในเด็ก แต่เนื่องจากรังสี UV ในแสงอาทิตย์โดยเฉพาะในประเทศไทยบ้านเรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมมากว่า วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์เนื่องจากจะช่วยในการสร้างแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน และยังช่วยให้ร่างกายคงระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในระดับที่เพียงพอนั่นเองค่ะ แต่นอกจากนี้แล้ว วิตามินดียังมีความสำคัญและบทบาทต่อสุขภาพอื่นๆของเราอีกด้วยค่ะ เพราะฉะนั้น HealthGossip เลยไม่รอช้าที่จะนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เราได้เรียนรู้และรู้จักกับวิตามินดีกันให้มากขึ้นค่ะ วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันมีอยู่ด้วยกันสองฟอมร์คือ Ergocalciferol พบในยีสต์ และ Cholecalciferol พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง ส่วนในน้ำนมจะพบได้ทั้งสองฟอมร์

 

เกี่ยวกับวิตามินดี หรือ Cholecalciferol

  • วิตามินดี คือเซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสีในมนุษย์
  • วิตามินดี มีหลักๆอยู่สองตัวคือ วิตามินดี 2 หรือ ergocalciferol พบในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พวกหอยทาก หนอน ยีสต์ และวิตามินดี 3 หรือ cholecalciferol พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง
  • เราได้วิตามินดีส่วนหนึ่งจากอาหาร อีกส่วนหนึ่งจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด
  • วิตามินดีที่เราได้รับไม่ว่าจากอาหารหรือจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังร่างกายยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีอวัยวะที่เปลี่ยนคือ ที่ตับเมื่อเปลี่ยนแล้วจะได้วิตามินดีที่เรียกว่า calcidiol และ ที่ไตเมื่อวิตามินเปลี่ยนแล้วจะได้วิตามินที่เรียกว่า calcitriol
  • วิตามินดีทำหน้าที่ร่วมกับแคลเซี่ยมในการสร้างกระดูกและฟัน และช่วยเร่งการดูดซึมแคลเซี่ยมในลำไส้
  • อาการของคนที่ขาดวิตามินดี คือกระดูกและฟันอ่อนแรง หักง่าย นอนไม่หลับในเด็กหากขาดวิตามินดี เรียก rickets ส่วนในผู้ใหญ่เรียก osteomalacia
  • การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี)
  • เราได้วิตามินเอจาก อาหาร แสงแดด และอาหารเสริม
  • อาหารหลายประเภทรวมทั้งนมได้ใส่วิตามินดีในอาหารและนมดังกล่าว คนปกติควรจะได้รับวิตามินดีอย่างน้อยวันละ 400 IU ต่อวัน
  • แหล่งของอาหารตามธรรมชาติที่อุดมไปด้วยวิตามินดี ได้แก่ ปลาที่มีมัน เห็ดตากแห้ง และไข่แดง และยังพบในอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น นม และนมถั่วเหลืองก็มีการเติมวิตามินดีในอาหาร
  • การถูกแดดช่วง 10.00น – 15.00น วันละ 5-30 นาที โดยให้แสงแดดถูกที่หน้า หรือแขน หรือลำตัวสัปดาห์ละสองวันก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี
  • งานวิจัยแสดงชี้ให้เห็นว่าคนที่มีผิวสีเข้มจะมีระดับวิตามินดีต่ำกว่าคนที่มีผิวที่ขาวกว่า หากต้องการดูดซึมวิตามินดีในปริมาณที่เท่ากัน คนอเมริกันผิวดำจะต้องโดนแสงแดดมากกว่าคนผิวขาวทั่วไปถึง 10 เท่า
  • ผู้ที่ได้รับวิตามินดีเสริมในปริมาณมากที่สุด สามารถลดน้ำหนักลงได้มากที่สุด และไขมันที่ลดลงมากก็คือไขมันบริเวณช่องท้องที่จัดว่าเป็นไขมันอันตรายนั่นเอง
  • ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการขาดวิตามินดี คือการมีไขมันในร่างกายมาก เพราะวิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ฉะนั้นวิตามินดีจึงถูกเก็บอยู่กับไขมันมากกว่าที่จะถูกนำออกมาในกระแสเลือดเพื่อใช้กับกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของวิตามินดี

วิตามินดี ช่วยให้อายุยืนยาว งานวิจัยล่าสุดเผยว่าวิตามินดี สามารถช่วยลดการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็ง โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผลจากวิเคราะห์การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 18 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่รับประทานวิตามินดี ในปริมาณระหว่าง 400–830-IU เป็นประจำทุกวันช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรควิถีชีวิต

 

วิตามินดี ช่วยในการชะลอวัยของผิวพรรณ มีการศึกษาพบว่าระดับวิตามินดีต่ำเกี่ยวข้องกับการบวมหรือความหย่อนยาน การมีรูขุมขนขยาย และการเกิดซีสต์บนผิวหนัง ดังนั้น วิตามินดีจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างผิวหนังและกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง และควบคุมให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามวัย

 

วิตามินดี ช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับวิตามินดี ในร่างกายที่เพียงพอช่วยทำให้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบดี ขึ้น พบว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำเสี่ยงที่จะเกิดการตีบของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นถึง 80% โดยผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า อาจมาจากว่าวิตามินดีช่วยลดการอักเสบของเซลล์ และช่วยลดระดับความดันโลหิต

 

วิตามินดี ช่วยรักษาระดับความดันเลือด วิตามินดีช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดเป็นไปด้วยดี โดยงานศึกษาแสดงให้เห็นว่าหากเราได้รับวิตามินดี เพียงพอ (เช่น ไม่ขาดวิตามินชนิดนี้) จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูง

 

วิตามินดี ช่วยปกป้องกระดูก วิตามินดีและแคลเซียม ช่วยปกป้องกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกผุ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกผุด้วย

 

วิตามินดี ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง วิตามินดีทำหน้าที่เหมือนสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ช่วยเพิ่มเกราะป้องกันให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เซลล์เปลี่ยนรูปเป็นเซลล์เนื้อร้าย และพบว่าสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งแล้ว ผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีสูงมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ได้

 

วิตามินดี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย การศึกษาที่มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายสูงที่สุดจะป่วยน้อยครั้งกว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำมากถึง 2 เท่า ด้วยเหตุผลที่ว่าวิตามินดีจะช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวผลิตโปรตีนที่เป็นตัวฆ่าเชื้อโรค

 

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาท เนื่องจากวิตามินดีจะเป็นตัวปรับแคลเซียมในสมอง เพิ่มประสิทธิภาพของการส่งต่อข้อมูลต่างๆ ในระบบประสาท

 

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า เป็นเพราะวิตามินดีช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้รู้สึกดี ขณะที่การขาดเซโรโทนิน ส่งผลให้เกิดความเครียดได้

 

วิตามินดี ช่วยลดไมเกรน มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำมีความสัมพันธ์กับไมเกรนและอาการปวดเรื้อรัง เนื่องจากวิตามินดีมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดเกร็งและคลายตัวตามปกติ

 

สาเหตุของการขาดวิตามิน

  • คนที่ถูกแสงแดดน้อย เช่นคนสูงอายุ คนป่วย
  • คนที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอ ดื่มนมไม่เพียงพอ
  • hypoparathyroidism
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการดูซึมไขมัน
  • ผู้ที่มีผิวสีคล้ำซึ่งจะทำให้ผิวหนังผลิตวิตามินดีลดลง

อันตรายจากการขาดวิตามินดี

ปกติเราสามารถสร้างวิตามินดีได้จากใต้ผิวหนังเมื่อได้รับรังสีไวโอเลตในแสงแดด ทั้งนี้ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันคือประมาณ 5 ไมโครกรัม / วัน อย่างไรก็แล้วแต่ถ้าหากได้รับวิตามินดีมากหรือน้อยเกินไปก็เป็นอันตรายเช่นกันค่ะ

โรคกระดูกอ่อน ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต การขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เนื่องจากวิตามินดีทำงานร่วมกับแคลเซียมในการช่วยควบคุมระดับแค ลเซียมในร่างกาย เมื่อขาดแคลเซียม จึงทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย อีกทั้งยังทำให้กระดูกตามส่วนต่างๆในร่างกายผิดรูป โค้งงอ และขาโก่ง อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่ได้อีกด้วย

ท้องเสีย นอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อย กระวนกระวาย กล้ามเนื้อกระตุก เป็นหวัดบ่อย กล้ามเนื้ออ่อนแอ ขาดความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง และความต้านทานโรคลดน้อยลง

อันตรายจากการได้รับวิตามินดีมากเกินไป

ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง โดยปกติร่างกายของเราสามารถกำจัดวิตามินดีที่สร้างจากแสงแดดออก ไปจากร่างกายตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากกินวิตามินดีเสริมมากเกินไปก็อาจอันตรายได้เช่น ถ้ากินวิตามินดีวันละ 25-50 ไมโครกรัมติดต่อกันนาน 6 เดือนอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และอ่อนเพลียได้

เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เนื่องจากวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมฟอสฟอรัสและแคลเซียมจาสิกลำไส้ไปสร้างกระดูกและฟัน การขาดวิตามินดีจึงมีผลโดยตรงที่ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในร่างกายไม่สมดุลทำให้มีแคลเซียมสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ในเนื้อเยื่อ เลือด ตับ ไต ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆตามมาได้

 

www.flickr.com/photos/lbrummphoto/4562104663/

Coenzyme Q10 คืออะไร มีความสำคัญแค่ไหน

girl-with-sun
Source: Flickr (click image for link)

Hello สวัสดีค่ะ..  วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “โคเอ็นไซม์ คิวเท็น ” (Coenzyme Q10) กันค่ะ หลายคนคงสงสัยกันจังว่ามันคืออะไรกันนะ ทำไมชอบเห็นบ๊อยบ่อยในผลิตภัณฑ์ต่างๆ และมันช่วยในเรื่องอะไรกันแน่นะ ทำไมถึงเห็นคนเค้าซื้อกันจัง เราก็มีอารมณ์แบบเออๆลองซื้อดูมั่งซิ เห็นเค้าบอกว่าดี บอกว่าช่วยเรื่องผิวพรรณ!!  พูดถึงเรื่องแบบนี้ไม่ได้หรอกนะ อย่าให้ได้ยินเชียว เพราะถ้าได้ยินถึงหูแล้วล่ะก็…เป็นอันต้องรีบไปหา ไปซื้อกันเลยทีเดียวใช่ไหมล่ะคะ ในบ้านเรา เราก็จะเห็นกันอยู่ในหลายรูปแบบเลยทีเดียวค่ะ บ้างก็มีอยู่ในรูปแบบยาบำรุงหรืออาหารเสริม บ้างก็แชมพู เครื่องดื่ม ครีม สกินแคร์ต่างๆ แล้วอย่างนี้ถ้ามีใครมาถามเราว่ามันคืออะไร ช่วยในเรื่องอะไรบ้าง เราก็ดันตอบเค้าไม่ได้..เพราะตัวเราเองก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเหมือนกันอ่ะเนอะ ไม่เป็นไรค่ะ คำถามนั้นเรามีคำตอบให้เรียบร้อย เพราะฉะนั้นวันนี้ HealthGossip จึงไปหาข้อมูลคลายความสงสัยกันค่ะ ถ้าอย่างนั้นตอนนี้เดี๋ยวเรามาทำความรู้จักกับเจ้าตัวนี้ไปด้วยกันว่าที่จริงแล้วมันคืออะไรกันนะและช่วยอะไรเราบ้างค่ะ

 

โคเอ็นไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) คืออะไร

Coenzyme Q 10  หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Ubiquinone เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นสารที่มีบทบาทในการเพิ่มพลังงานให้แก่เซลล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกาย เป็นสารสำคัญในการสังเคราะห์ Adenosinetriphosphate (ATP) ซึ่งเปรียบได้กับขุมพลังงานของเซลล์ทั่วร่างกายเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยปกป้องเซลล์จากการทำลายโดยอนุมูลอิสระและยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้าย Coenzyme Q10 เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อร่างกาย Coenzyme Q10 พบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตในร่างกายโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย ซึ่งไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) นี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (AdenosineTriphosphate ) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ Coenzyme Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย(Mitocondrial) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง ส่วนอวัยวะอื่นๆก็พบ Coenzyme Q10 เช่นกันแต่พบค่อนข้างน้อยเนื่องจากอวัยวะดังกล่าวต้องการพลังงานน้อยจึงมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) น้อยตามไปด้วย ถัาระดับของ Coenzyme Q10 ลดลง ร่างกายจะไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ เลยทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย ระบบภูมิคุัมกันเสื่อมสภาพตามมาได้

 

โคเอ็นไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) มาจากไหน

Coenzyme Q10 ตามธรรมชาตินั้น เกิดขึ้นเองภายในเซลล์ของอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูงเช่น หัวใจ ตับ ไต และยังพบที่เซลล์อื่นๆอีก เช่น ที่ผิวหนังโดยที่ชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้แต่จะมีจำนวนลดลงเมื่อมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับจากการรับประทานอาหารจำพวกปลาที่มีไขมันมาก เช่น น้ำมันปลา ปลาทะเลน้ำลึก ปลาทู ปลาซาบะ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน เนื้อสัตว์ประเภทไก่ ไข่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ตับ ไต หัวใจ ถั่ว เมล็ดธัญพืชที่ไม่ขัดขาวผลไม้เปลือกแข็งผักเช่น บร๊อคโคลี่ ปวยเล้ง  อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม น้ำมันถั่วเหลือง ผัก รำข้าว ซีเรียล

 

ทำไมโคเอ็นไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) ถึงดีต่อร่างกายของเราล่ะ

คุณสมบัติเด่นของ Coenzyme Q10 เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง คือสามารถชะลอความแก่ได้โดยที่ Coenzyme Q10 สามารถสร้างพลังงานให้กับผิวเพื่อในการแบ่งเซลล์ ทำให้ริ้วรอยต่างๆสามารถลดลงและเลือนหายไป นอกเหนือจากคุณสมบัติในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และชะลอความแก่ได้แล้วนั้น   Coenzyme Q10 ยังมีคุณสมบัติต่างๆเช่นในการทำงานของหัวใจดีขึ้น ช่วยเสริมเกราะภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นป้องกันและรักษาโรคเหงือกความดันเลือดสูง คลอเรสเตอรอลสูง และ Coenzyme Q10 นั้นยังมีประโยชน์อีกมากมายดังนี้

  1. โคเอนไซม์คิวเทนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต มีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างพลังงาน ดังนั้นจึงมีการนำ โคเอนไซม์ Q10 มาใช้เป็นเครื่องสำอางค์สำหรับลดการเกิดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด (Photo aging) กล่าวคือ รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จะทำให้เกิดการผลิตอนุมูลอิสระ อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ก็จะทำอันตรายต่อไขมัน โปรตีน และสารพันธุกรรมในเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย หมองคล้ำได้ มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของ โคเอนไซม์ Q10 ว่าสามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง โดยให้กลุ่มทดลองใช้ครีมที่มีส่วนผสมของโคเอนไซม์ Q10 อยู่ 0.3% ทารอบดวงตาเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าความลึกของริ้วรอยลดลงถึง 27% เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของโคเอนไซม์Q10 อยู่ ดังนั้นโคเอนไซม์ Q10 จึงมีส่วนช่วยลดริ้วรอยและชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังได้เป็นอย่างดี และโคเอนไซม์ Q10 ยังเป็นสารสำคัญในการสร้างพลังงานให้กับเซลล์ผิว ช่วยให้เซลล์ผิวแข็งแรง นอกจากนี้โคเอนไซม์ Q10 ยังช่วยเพิ่มการสังเคราะห์คอลลาเจนในเซลล์ผิวทำให้ผิวแน่น ยืดหยุ่นได้ดี ช่วยให้แผลหายได้เร็วขึ้น
  2. มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะถ้าหากร่างกายขาด Coenzyme Q10 เซลล์ในร่างจะหยุดทำงานทันที!!
  3. มีบทบาทสำคัญในการช่วยลดริ้วรอย และชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
  4. Coenzyme Q10 มีคุณสมบัติคล้ายกับวิตามินอี ช่วยเสริมการทำงานของหัวใจ เพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  5. โรคเกี่ยวกับเหงือก เหงือกทำหน้าที่ในการยึดและพยุงฟันให้คงอยู่ในช่องปาก โรคเหงือกที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อยเกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ถูกปล่อยให้สะสมอยู่บนตัวฟัน ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ จากการวิจัยพบว่าการรับ โคเอนไซม์ Q10 เข้าไปในร่างกายจะช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวมรวมถึงอาการฟันโยก (Periodontitis) ได้ และช่วยรักษาโรคเหงือก ชะลอความผิดปกติและการดำเนินของโรคพาร์กินสันได้
  6. สำหรับผู้สูงอายุหลายๆคนแล้วการรับประทานโคคิว10 จะทำให้ร่างกายรู้สึกเหมือนมีพลังขึ้นมาทันที โรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ในร่างกายเช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์คินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทที่พบได้มากที่สุด การได้รับโคเอนไซม์ Q10 เข้าไปในร่างกายสามารถช่วยป้องกันโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ในร่างกายได้เนื่องจากใน โคเอนไซม์ Q10 มี ฟีนีลอะลานิน(Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย ทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำและระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น  และเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของโคเอนไซม์ Q10 ซึ่งสามารถช่วยปกป้องการทำลายของอนุมูลอิสระในสมองได้ จากการศึกษาพบว่าการให้โคเอนไซม์ Q10 เป็นอาหารเสริมช่วยชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อระบบประสาทและสมองได้
  7. เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เพราะโคคิว10 จะไปช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ดีกว่ายาแผนปัจจุบัน ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินไป Q10 จะยับยั้งไม่ให้โคเลสเตอรอลจับเป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด ใช้ในการรักษาโรคหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (Congestive heart failure) ทั้งนี้เนื่องจากความรุนแรงของโรคผู้ป่วยโรคหัวใจดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการขาดโคเอนไซม์ Q10 ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจได้รับโคเอนไซม์ Q10 จึงทำให้หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น เคยมีการศึกษาในผู้ป่วยโรคหัวใจมากกว่า 2,500 คนแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มหนึ่งได้รับโคเอนไซม์ Q10 อีกกลุ่มหนึ่งให้ยาหลอกเป็นเวลา 12 เดือน ผลปรากฏว่า 80%ของผู้ป่วยที่ได้รับโคเอนไซม์ Q10 ทุกวันๆละ 100 มิลลิกรัมมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน ส่วนประเทศญี่ปุ่นมีการทำวิจัยไว้ถึง 25 ชิ้น พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 70 มีอาการดีขึ้นจากโรคหัวใจ โดยมีการศึกษาครั้งหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Therapeutics พบว่าการใช้โคเอนไซม์ Q10 เป็นอาหารเสริมทำให้หัวใจสูบฉีดโลหิตได้มากกว่า 15.7 เปอร์เซ็นต์ และทำให้การออกกำลังกายได้นานขึ้น 25.4 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักมีอาการขาดโคเอนไซม์ Q10 ร่วมด้วย ดังนั้นการรับประทานโคเอนไซม์ Q10 อาจจะช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้น
  8. เชื่อว่าสามารถช่วยรักษาและป้องกันโรคมะเร็งได้ เนื่องคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของโคเอนไซม์ Q10 ทำให้สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็งได้ ยังมีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงว่าโคเอนไซม์ Q10 ให้ผลดีต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งมีงานวิจัยพบว่าในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับโคเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด และผู้ที่ได้รับยากลุ่ม Statin ผู้ป่วยดังกล่าวควรจะรับประทานโคเอนไซม์ Q10 เพราะยากลุ่มดังกล่าวส่งผลต่อการยับยั้งสร้างโคเอนไซม์ Q10ในร่างกาย

Coenzyme Q10 กับความสวยความงาม

ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง (Anti-aging/Skin care)

ผิวหนังมีหน้าที่ในการป้องกันสารพิษเชื้อโรคและรังสีอัลต้าไวโอเลต (Ultraviolet) จากแสงอาทิตย์ โดยรังสีอัลตร้าไวโอเลตนี้มี 2 ชนิด คือ UVA และ UVB แต่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดริ้วรอยจะเป็นรังสี UVA โดย UVA สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ และจะเริ่มต้นในการสร้างอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งอนุมูลอิสระนี้เป็นผลิตผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการออกซิเดชั่น (Oxidation) อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ก็จะทำอันตรายต่อไขมัน โปรตีน และสารพันธุกรรม(DNA) ในเซลล์ผิวหนังรวมถึงทำให้เกิดการทำลายของคอลลาเจน(Collagen)และโครงสร้างอื่นๆของผิวหนัง สูญเสียความยืดหยุ่นขาดความกระชับเกิดริ้วรอยและความหมองคล้ำ CoQ10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) โดยจะไปป้องกันไม่ให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่จะทำให้อนุมูลอิสระซึ่งจะทำอันตรายต่อผิวหนัง  นอกจากนี้ CoQ10 พบมากที่ผิวหนังชั้นนอก(Epidermis)มากกว่าที่ผิวหนังชั้นใน(Dermis) ซึ่งเป็นผิวหนังชั้นที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากรังสี UVA จึงเป็นข้อดีอีกประการที่จะช่วยขจัดอนุมูลอิสระ(FreeRadical) ซึ่งเป็นสาเหตุของริ้วรอยและความหมองคล้ำนอกจากหน้าที่ในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระของผิวแล้ว Coenzyme Q10 คิวเท็นเปรียบเสมือนแหล่งผลิตพลังงานให้กับเซลล์ผิวหนัง หากเซลล์ผิวหนังได้รับพลังงานไม่เพียงพอก็จะทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติก็จะทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัยอันควร มีงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลของ CoQ10 ต่อการลดริ้วรอยมากมายว่าสามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง เช่นการศึกษาของ Gerson Unna พบว่าภายหลังที่กลุ่มทดลองได้รับ CoQ10 ในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ริ้วรอยลดลงกว่า 27% และเมื่อได้รับ CoQ10 ต่อไปเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ริ้วรอยลดลงกว่า 43%

 

ปริมาณของโคเอนไซม์ คิวเทนที่แนะนำ

  • การรับประทาน Coenzyme Q 10 เป็นอาหารเสริมควรบริโภคในปริมาณ 30-50 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะหากกินมากเกินไปจะเกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นคัน ปวดหัว ท้องเสีย เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มึนงง หงุดหงิด กระสับกระส่าย ตาแพ้แสง อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว โคเอนไซม์คิวเทนในรูปของอาหารเสริม เป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมัน ควรเลือกที่อยู่ในรูปของน้ำมันซึ่งจะดูดซึมได้ดีมาก โดยในรูปเจลที่อยู่ในรูปของน้ำมันถั่วเหลือง จะดูดซึมได้ง่ายและดีที่สุด ( ทานง่ายด้วย) และควรรับประทานแคปซูลขนาด 30 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด ได้ถึงวันละ 3 เวลา ทั้งนี้ควรเก็บให้พ้นแสง ควรเก็บไว้ในอุณภูมิปกติหรือเย็น (ห้ามแช่แข็ง)
  • สำหรับผู้ที่รับประทานยาลดระดับคอเลสเตอรอลเพื่อลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ (สเตติน) จะทำให้โคคิว10 ในร่างกายลดลงได้ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากยิ่งขึ้น!! ดังนั้นควรรับประทานโคคิว10 ร่วมกับสเตตินด้วย
  • การรับประทานอาจจะต้องใช้ระยะเวลานานกว่า 2 เดือนขึ้นไป กว่าจะเห็นผล
  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับวัยผู้ใหญ่คือ 30 มิลลิกรัม แต่สำหรับผู้ที่เป็นโรคชรา หรือเป็นโรคอื่น ๆควรรับประทาน 50 – 100 มิลลิกรัมต่อวัน

ผลข้างเคียง หากกินมากเกินไปจะเกิดอาการ คลื่นไส้อาเจียน ผื่นคัน ปวดหัว ท้องเสีย เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มึนงง หงุดหงิด กระสับกระส่าย ตาแพ้แสง อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว

ข้อห้ามใช้ ผู้ที่ต้องระวังคือผู้ป่วยโรคเบาหวานน้ำตาลต่ำเพราะจะทำให้น้ำตาลลด  และคนที่เป็นโรคเลือดเพราะ Coenzyme Q 10 จะไปลดประมาณเกล็ดเลือดทำให้เลือดออกง่าย รวมถึงคนที่เป็นความดันต่ำ คนท้อง และแม่ที่ให้นมลูก

 

จะเห็นได้ว่า Coenzyme Q10 นั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา ไม่ใช่แค่ในเรื่องของผิวพรรณความสวยความงามอย่างที่เราเข้าใจกันมาตลอดเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อเรื่องของสุขภาพของเรามากมายเช่นกัน วันนี้ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว ต่อไปเราคงสามารถบอกคนอื่นได้ซะทีสินะว่ามันดีอย่างไร จบปิ้ง

 

www.flickr.com/photos/22545218@N06/14989592943/