Browse Tag: whole grain

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินบี 1” (Vitamin B1) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไธอะมีน (Thiamine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ (water soluble vitamine) ซึ่งจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนที่อยู่ในสารละลายมีฤทธิ์เป็นด่างหรือเป็นกลาง และสามารถทนได้ถึง 120 องศาเซลเซียสถ้าอยู่ในสารละลายที่เป็นกรดค่ะ โดยร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมินได้เพราฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารและจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร ในส่วนของหน้าที่สำคัญในการทำงานของไธอะมีนที่มีต่อร่างกายของเราคือ จะไปช่วยร่างกายของเราให้เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงาน โดยการเร่งการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักรวมถึงโปรตีนและไขมันอีกด้วยค่ะ เนื่องด้วยร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมีนได้นอกเสียจากได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้นอีกทั้งยังถูกนำไปใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในบางคนจึงไม่เกิดอาการขาดวิตามินบี 1 ได้ง่ายอาจจะเพราะได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ เมื่อร่างกายเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะทำให้เป็น โรคเหน็บชา ได้ง่ายและก็เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่ม ทุกอายุ เด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา (Infantile beriberi) จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศที่รับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีเป็นอาหารหลัก โดยที่ไม่ได้รับอาหารอย่างอื่นที่มีวิตามินบี 1 มาเสริมเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ เมื่อร่างกายของเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะมีสัญญาณเตือนว่าเรามีอาการขาดวิตามินบี 1 โดยที่เราจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อยล้าง่าย เริ่มเบื่ออาหารการกิน นอนก็ไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์แปรปรวน สมองมึนงงความคิดสับสนวกวนจากการเสื่อมสภากของระบบประสาท หากขาดรุนแรงก็อาจจะทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชาตามปลายมือปลายเท้า รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นอัมพาตและโรคหัวใจวายได้ และการขาดหรือได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ค่ะ

  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 น้อยหรือไม่มีเลย
  • รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไปจนไปทำให้ร่างกายต้องใช้ วิตามินบี 1 ไปเยอะในการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรตจนทำให้ร่างกายขาด
  • วิตามินบี 1 สามารถถูกทำลายได้จากความร้อนที่เกิดจากการประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนนานเกินไป
  • วิตามินบี 1 จะถูกทำลายและถูกขัดขวางในการดูดซึมเมื่อดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 (Vitamin B1) สูง

Source: Flickr (click image for link)

1.เนื้อหมู

ในเนื้อสัตว์ก็มีวิตามินบี 1 หรือไธอะมีนซึ่งจะมีเยอะมากในเนื้อหมูล้วนๆ ยิ่งเลือกรับประทานส่วนที่มีไขมันน้อยยิ่งได้ไธอมีนสูงและได้ประโยชน์ต่อสุขภาพอีกด้วย ซึ่งเนื้อหมูปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 1.12 มิลลิกรัม

 

2.ปลาเทราท์

เนื้อปลาที่มีวิตามินบี 1 หรือไธอะมีนอยู่มากจะเป็นปลาเทราท์ ถ้าใครไม่ทานเนื้อสัตว์ใหญ่ก็เลือกรับประทานปลาแทนได้ค่ะ เนื้อปลาเทราท์ปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.43 มิลลิกรัม

 

3.ข้าวกล้อง

วิตามินบี 1 หรือไธอะมีนจะมีเยอะอยู่ในธัญพืชประเภทข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี แต่บ้านเรานิยมรับประทานข้าวขาวกันซะมากกว่าจึงได้รับวิตามินบี 1 น้อย ลองเปลี่ยนมาทานข้าวกล้องกันดูค่ะ ซึ่งข้าวกล้องปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.55 มิลลิกรัม

 

4.เมล็ดทานตะวัน

ธัญพืชตรกูลถั่วมีไธอะมีนอยู่สูงด้วยกันหลายชนิดและเมล็ดทานตะวันเป็นอีกหนึ่งในธัญพืชตระกูลถั่วที่มีไธอะมีนอยู่สูง เมล็ดทานตะวันปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 1.48 มิลลิกรัม

 

5.แมคคาเดเมีย

แมคคาเดเมียเป็นถั่วเมล็ดกลมๆ สีขาวนวล รสชาติกลมกล่อมเหมาะกับเป็นอาหารว่างทานเล่นเพลินๆ แต่หารู้ไม่ว่าแมคคาเดเมียปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.71 มิลลิกรัม

 

6.ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาสีเขียมลูกกลมกลิ้งก็เป็นอีกตัวเลือกสำหรับคนที่กำลังมองหาอาหารชนิดที่มีไธอะมีนสูงค่ะ ถั่วลันเตาปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.386 มิลลิกรัม

 

7.ขนมปังโฮลวีท

ขนมปังชนิดโฮลวีทนอกจากจะมีประโยชน์ในด้านไฟเบอร์สูงแล้วยังมีวิตามินบี 1 อยู่สูงด้วยเช่นกัน ขนมปังโฮลวีทปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.47 มิลลิกรัม

 

8.งาดำ

งาทุกชนิดมีประโยชน์และไธอะมีนอยู่สูงเช่นกันโดยเฉพาะงาดำ ซึ่งงาดำปริมาณ 2 ช้อนโต๊ะ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.142 มิลลิกรัม

 

9.สควอช

ผลสควอชเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับฟักทองและก็มีลักษณะรสชาติคล้ายกับฟักทองด้วยเช่นกันค่ะ สควอชปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.17 มิลลิกรัม

 

10.หน่อไม้ฝรั่ง

พืชผักอย่างหน่อไม้ฝรั่งก็ถือเป็นแหล่งไธอะมีนด้วยเหมือนกันค่ หน่อไม้ฝรั่งปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.19 มิลลิกรัม

 

11.ถั่วแระ

ถั่วแระถือเป็นอาหารทานเล่นของชาวญี่ปุ่นที่อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย และรสชาติของถั่วแระก็ถูกปากคนไทยบ้านเราอยู่ไม่น้อย ซึ่งถั่วแระปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.40 มิลลิกรัม

 

12.ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีนสูงและสารอาหารมากมายรวมถึวิตามิบี 1 ด้วยค่ะ ถั่วเหลืองดิบปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.73 มิลลิกรัม

 

13.ข้าวเหนียวดำ

บ้านเรามีข้าวหลากหลายประเภทให้เลือกรับประทานถือว่าโชคดีค่ะ และข้าวเหนียวดำถือว่ามีประโยชน์สูงโดยเฉพาะเป็นแหล่งวิตามินบี 1 โดยข้าวเหนียวดำปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.55 มิลลิกรัม

 

14.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้งเป็นพืชที่ประโยชน์ล้นเหลือจริงๆค่ะ ไม่น่าเชื่อว่าผักปวยเล้งก็จัดอยู่ในผักที่ให้ไธอมีนสูงเช่นกัน โดยผักปวยเล้งปริมาณ 1 ช่อ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.265 มิลลิกรัม

 

15.ถั่วพิตาชิโอ

ใครที่ชอบกินถั่วเป็นของว่างทานเล่นนี้ถือว่ามาถูกทางค่ะ พืชตระกูลถั่วนี้ถือว่าเป็นแหล่งไธอะมีนเลยทีเดียว ถั่วพิตาชิโอปริมาณ 1 ออนซ์ มีวิตามินบี 1 อยู่ประมาณ 0.247 มิลลิกรัม

 

 

 

www.flickr.com/photos/sierravalleygirl/1603076490/

www.flickr.com/photos/97513256@N06/9042013683/

10 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุแมงกานีสสูง

Source: Flickr (click image for link)

แร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่มีชื่อว่า “แมงกานีส” เป็นแร่ธาตุที่มีอยู่ในร่างกายของเราโดยเป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายซึ่งไม่แพ้กับแร่ธาตุตัวอื่นๆ เลยค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นแร่ธาตุที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืมไปคิดว่าร่างกายต้องการแค่เพียงเล็กน้อย แต่ถึงอย่างนั้นร่างกายของเรากลับไม่สามารถขาดได้เลยค่ะ ถ้าร่างกายได้รับแมงกานีสเพียงพอจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายด้วยค่ะ โดย แมงกานีส จะพบมากในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ โดยประโยชน์หลักๆของแร่ธาตุชนิดนี้ก็คือจะไปช่วยในเรื่องของการตอบสนองของกล้ามเนื้อการยืดตัวหดตัวดี ช่วยทำให้ไม่ปวดหลังและทำให้ร่างกายสดชื่นมีความจำที่ดีและอื่นๆอีกมากมาย แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันในกระดูกและกระดูกอ่อน แมงกานีสจะมีส่วนที่คล้ายกับแมกนีเซียมคือ สารอาหารชนิดนี้จะมีการสูญเสียระหว่างกระบวนการดัดแปลงทางอาหาร เช่น เมื่อธัญพืชถูกเปลี่ยนเป็นแป้งขัดขาวจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับแมงกานีสต่ำในระดับเพียงแค่ 25% ของกลุ่มทดสอบที่มีการควบคุมการได้รับสารอาหารนั่นเอง โดยสถาบันวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกาได้แนะนำปริมาณแมงกานีสที่ควรได้รับต่อวันคือประมาณ 2-5 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

โดยอาการเมื่อขาดแร่ธาตุแมงกานีส จะมีดังนี้ค่ะ

1.ทำให้เสียการทรงตัว เดินเซ

2.เลือดแข็งตัวช้า

3.มีปัญหาในด้านการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต

4.มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก กระดูกอาจจะผิดรูป

5.ถ้าขาดมากอาจจะถึงขั้น ชัก หูหนวก หรือตาบอด

สำหรับอาการของการได้รับแมงกานีสมากเกินไปส่วนใหญ่จะจากการสัมผัสมากกว่าจากการที่ได้รับจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท มีอาการคล้ายกับโรคพาร์กินสันหรือโรคสันนิบาต ค่ะ

 

10 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุแมงกานีสสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.หอยแมลงภู่

ในอาหารจำพวกซีฟู้ดส์หรืออาหารทะเลถือว่ามีแร่ธาตุแมงกานีสที่สูงโดยเฉพาะหอยแมลงภู่ค่ะ โดยแมลงภู่ที่ได้ทำการปรุงสุกปริมาณ 85 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ถึง 5.8 มิลลิกรัม ค่ะ

 

2.ข้าวกล้อง

ธัญพืชก็เป็นอาหารอีกหนึ่งชนิดที่มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่สูงเช่นกันค่ะ และเมื่อเปรียบเทียบกับธัญพืชชนิดอื่นๆ ข้าวกล้อง หรือ Brown Rice ที่ทำการหุงสุข 1 ถ้วย ปริมาณ 195 กรัม จะมีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ประมาณ 2.1 มิลลิกรัม

 

3.ฮาเซลนัท

เมล็ดฮาเซลนัท ปริมาณ 56 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ประมาณ 3.1 มิลลิกรัม ซึ่งเมล็ดฮาเซลนัทที่ทั่วไปเราจะเห็นกันในรูปแบบที่ผสมในช็อกโกแลต จะไม่ค่อยทานเล่นนกันแบบเป็นเม็ดๆ เท่าไหร่

 

4.ขนมปังโฮลวีท

ขนมปังที่ผ่านการขัดสีจะทำให้แมงกานีสหลุดหายไปด้วย เพราะฉะนั้นขนมปังอย่างขนมปังโฮลวีทจึงมีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่สูงค่ะ โดยขนมปังโฮลวีท 1 แผ่น ปริมาณ 28 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ประมาณ 0.7 มิลลิกรัม

 

5.เต้าหู้

เต้าหู้ที่ทำจากถั่วเหลืองหรือเต้าหู้สีเหลืองนั้นเป็นแหล่งของแร่ธาตุแมงกานีสชั้นดี โดยเต้าหู้ครึ่งถ้วย ปริมาณ 126 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม

 

6.ปลากระพง

ในปลาบางชนิดก็มีแร่ธาตุแมงกานีสค่ะ เช่น ปลาเทราท์ แต่ปลากระพงจะมีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่สูกว่า ซึ่งปลากระพงปรุงสุกปริมาณ 85 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ประมาณ 1.0 มิลลิกรัม ค่ะ

 

7.เมล็ดฟักทอง    

เมล็ดฟักทองทานเล่นๆ เคี้ยวเพลินๆ เคี้ยวไปเคี้ยวมาก็ได้รับแร่ธาตุแมงกานีสมาด้วย โดยเมล็ดฟักทอง 1 ถ้วย ปริมาณ 129 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ 5.9 มิลลิกรัม ค่ะ

 

8.ชาดำ

ใครที่ชอบดื่มชาดำซึ่งในชาดำก็มีแร่ธาตุแมงกานีสติดอันดับด้วยค่ะ โดยการดื่มชาดำ 1 ถ้วย ปริมาณ 237 กรัม จะมีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ประมาณ 0.5 มิลลิกรัม

 

9.ผักขม

ใบสีเขียวเข้มอย่างผักขมที่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพของเรานี้ยังให้แร่ธาตุแมงกานีสที่สูงเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งใบของผักขมสุก 1 ถ้วย ปริมาณ 180 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ประมาณ 1.7 มิลลิกรัม

 

10.ถั่วลิมา

ถั่วแทบทุกชนิดถือว่ามีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่สูงโดยเฉพาะ ถั่วลิมา ที่มีเมล็ดเป็นสีเขียว ซึ่งถั่วลิมา 1 ถ้วย ปริมาณ 170 กรัม มีแร่ธาตุแมงกานีสอยู่ถึง 2.1 มิลลิกรัมเลยที่เดียวค่ะ

 

 

อ้างอิง : ค่าแร่ธาตุแมงกานีสในอาหารจาก www.healthaliciousness.com

www.flickr.com/photos/nwongpr/29463086292/

www.flickr.com/photos/kagen33/30280659296/

19 สุดยอดอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

oats-meal-1
Source: Flickr (click image for link)

ไฟเบอร์ (Fiber) หรือ เส้นกากใยที่เรารู้จักในอาหารจำพวกผักและผลไม้ ทำไมวันนี้เราจึงยกหัวข้อเรื่องอาหารที่มีไฟเบอร์สูงมานำเสนอกัน เนื่องจากสมัยนี้ในบางคนหรือส่วนใหญ่ไม่ชอบรับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้กันมากนัก จึงทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาต่างๆ นาๆ จากที่สังเกตุได้ก่อนง่ายๆ เลยคือเรื่องของระบบขับถ่ายที่ส่งผลกระทบให้ขับถ่ายลำบาก ไม่ค่อยขับถ่ายเป็นเวลาบางคนเป็นเดือนก็ยังไม่ขับถ่ายเลย ใครจะคิดว่าเจ้าไฟเบอร์ที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งธรรมดาไม่ได้พิเศษอะไรแต่ถ้าเมื่อไหร่ร่างกายเราไม่มีมันแล้วล่ะก็ อาจจะสามารถส่งผลที่แย่ในหลายๆ ด้านได้ บางคนอาจจะรับประทานอาหารเสริมที่มีไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบแทน เนื่องจากไม่มีเวลาหรือไม่ชอบทานผักและผลไม้ แต่ทราบหรือไม่คะว่าการมีผักและผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารในแต่ละมื้อแต่ละวันนั้นนอกจากจะช่วยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนแล้ว ในผักผลไม้เหล่านั้นยังมีวิตามินเกลือแร่ที่ร่างกายได้รับโดยตรงแล้วนั้นไม่ได้แค่ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายอย่างเดียวแต่ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ระบบต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย อย่างเช่น ไปช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ค่ะ โดยผู้หญิงเราควรได้รับไฟเบอร์อย่างน้อย 25 กรัมต่อวัน ส่วนผู้ชายนั้นอยู่ที่ 35-40 กรัม แต่คนทั่วไปจะกินกันแค่ 15 กรัมเท่านั้น (ไม่นับอาหารที่มีการใส่ไฟเบอร์เสริม) และทีนี้จะทราบกันได้อย่างไรว่าอาหาร ผักและผลไม้ประเภทไหนยังไงถึงจะมีไฟเบอร์ที่เยอะและพอต่อร่างกายของเราในแต่ละวัน ไม่ต้องกังวลค่ะวันนี้มีข้อมูลมาให้เรียบร้อย บางประเภทบางอย่างก็ใกล้ตัวหาทานได้ง่ายทั่วไปค่ะ

 

19 สุดยอดอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

 

1.ข้าวกล้อง

เริ่มต้นด้วยอาหารหลักของคนไทยบ้านเรานั่นก็คือข้าวนั่นเอง แต่ส่วนใหญ่คนไทยจะคุ้นเคยการรับประทานข้าวขาวข้าวที่ผ่านการขัดสีซะมากกว่า แต่ทราบหรือไม่คะว่าข้าวกล้องสีน้ำตาลอ่อนๆ นี้แหละประโยชน์เพียบ ข้าวกล้องมีกากใยอาหารสูงถึง 3.5 กรัม/ถ้วย และการกินข้าวขาวนั้นอาจจะทำให้ความเสี่ยงเป็นเบาหวานประเภทสองสูง แต่กลับกันการกินข้าวกล้องกลับจะช่วยให้ลดความเสี่ยงได้ของการเป็นเบาหวานได้เสียอีกแน่ะ เนื่องจากเส้นใยนี้เองจะไปช่วยซับเอาน้ำมันและน้ำตาลที่กินเข้าไปล้นเกินนั้นขับทิ้งออกเป็นกากอุจจาระ ทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักและช่วยควบคุมระดับไขมันกับระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป และเมื่อมีกากอุจจาระมากขึ้น ก็ทำให้การขับถ่ายดีขึ้นช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วยค่ะ

 

2.ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ต เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ดีมีเบต้ากลูแคนไฟเบอร์ชนิดพิเศษ จัดเป็นเมนูอาหารเช้าที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีไฟเบอร์ทั้งแบบละลายน้ำ (ที่ช่วยลดความดันโลหิต) และไฟเบอร์แบบไม่ละลายน้ำ (ที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานตามปกติ) นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอย่างดี

 

3.ข้าวโพด

ข้าวโพดแสนอร่อยสำหรับใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง ขาว หรือม่วงล้วนแต่มีประโยชน์จากไฟเบอร์ทั้งนั้น โดยที่ข้าวโพด 1 ฝัก (หรือประมาณครึ่งถ้วย) จะมีไฟเบอร์ประมาณ 2 กรัม หรือจะกินเป็นแบบป๊อปคอร์นแทนก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ใส่เนย น้ำตาล หรือเกลือมากเกินไป ป๊อปคอร์นจะให้ไฟเบอร์ประมาณ 3.5 กรัม ต่อปริมาณสามถ้วย

 

4.ข้าวบาร์เลย์

ข้าวบาร์เลย์ที่เรารู้จักกันส่วนใหญ่จากวัตถุดิบของเบียร์หรือวิสกี้ แต่ข้าวบาร์เลย์ก็เหมาะกับโยเกิร์ตหรือน้ำเต้าหู้เหมือนกัน ข้าวบาร์เลย์มีปริมาณไฟเบอร์ที่สูงที่สุดในบรรดาเมล็ดข้าวทั้งหมด ข้าวบาร์เลย์ที่สุกแล้วอุดมไปด้วยไฟเบอร์ 6 กรัมต่อถ้วย เพราะฉะนั้นตัวเลือกนี้คงควรจะต้องมีไว้ในดวงใจซะแล้ว

 

5.เมล็ดเจีย

เมล็ดเจียจัดเป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์หรือสุดยอดอาหารและมีประโยชน์ มากคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างยิ่ง เป็นธัญพืชที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่อุดมด้วยไฟเบอร์สูงที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด จึงมีคุณสมบัติช่วยต้านโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ เมล็ดเจียที่เห็นว่าเป็นเมล็ดเล็กๆอย่างนี้ แต่ทราบหรือเปล่าว่าอัดแน่นเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหารไว้ข้างในได้แก่ โปรตีน พลังงาน น้ำ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ซิงก์ โซเดียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 ถึงบี 3 และบี 6 ตลอดจนโฟเลต กรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว เป็นต้น ที่สำคัญในเมล็ดเจียนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นตัวช่วยลดน้ำหนักได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย เพียงแค่ทานเมล็ดเจียเพียง 1 ออนซ์ หรือประมาณสองช้อนโต๊ะ ถือว่ามีไฟเบอร์ที่สูงถึง 9.8 กรัมเลยทีเดียว

 

6.ถั่วชนิดต่างๆ

ธัญพืชตระกูลถั่วก็เป็นอาหารอีกชนิดที่ให้ไฟเบอร์สูง อย่างเช่น ถั่วขาว ถั่วดำ และถั่วแดง

ถั่วขาว นอกเหนือจากไฟเบอร์ โปรตีน และธาตุเหล็กแล้ว ถั่วขาวยังเป็นหนึ่งในแหล่งโพแทสเซียมตามธรรมชาติที่ดีที่สุด

ถั่วดำ ในหนึ่งถ้วยจะให้ไฟเบอร์กับโปรตีนมากถึง 15 กรัม สีที่เข้มของมันยังบ่งบอกว่ามีฟลาวานอยด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มากอีกด้วย

ถั่วแดง ลองหุงถั่วแดงกับข้าวแล้วคุณจะรู้ว่าความอร่อยแบบง่าย ๆ มีจริง แม้จะหาได้ง่าย แต่ถั่วแดงก็ให้สารอาหารที่จำเป็นคือ ไฟเบอร์ โปรตีน และธาตุเหล็ก

 

7.อะโวคาโด

อะโวคาโดถือเป็นอีกหนึ่งสุดยอดอาหารที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพ ถือเป็นตัวหลักๆ ที่สาวรักสุขภาพต้องเลือกนำมาปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นสลัดหรือกินสดๆ เนื้อครีมของอะโวคาโดเป็นแหล่งของใยอาหาร แค่ตวัดเนื้ออะโวคาโดมาเพียงแค่ 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้นก็ให้ไฟเบอร์มากถึง 2 กรัม และในอะโวคาโดหนึ่งผลอาจให้ไฟเบอร์ถึง 10 กรัม แถมด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่สูง ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วยแน่ะ

 

8.ลูกแพร์

ถ้าพูดถึงผลไม้ที่ให้ไฟเบอร์สูงลูกแพร์เป็นเป็นตัวเลือกแรกที่ควรเลือก ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่ย่อยง่ายและมีเส้นใยอาหารสูงโดยเฉพาะบริเวณเปลือก ดังนั้นจึงควรเลือกที่จะกินทั้งเปลือก โดยลูกแพร์ขนาดกลางหนึ่งลูกมีไฟเบอร์สูงถึง 5.5 กรัม การที่ผลไม้มีไฟเบอร์สูงก็ยิ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องของการขับถ่ายแล้วยังช่วยในการลดน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

9.แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลไม่ว่าจะสีไหนล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งนั้นสามารถเลือกทานได้ตามใจชอบประโยชน์ส่วนใหญ่ของแอปเปิ้ลนั้นจะแทรกอยู่ในผิวของเปลือกแอปเปิ้ล เพราะฉะนั้นควรจะรับประทานทั้งลูกไม่ควรที่จะปอกเปลือกออก โดยแอปเปิ้ลผลขนาดกลางจะให้ไฟเบอร์ถึง 4.4 กรัม เลยทีเดียวค่ะ นอกจากไฟเบอร์ที่สูงแล้วแอปเปิ้ลยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายเช่น วิตามินซี และสารในกลุ่มของฟลาโวนอยด์ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบในแอปเปิ้ลค่ะ

 

9.สาลี่

เช่นเดียวกับผลไม้อื่น ๆ ที่มีเปลือกกินได้ สาลี่ และลูกแพรจะมีสารอาหารและไฟเบอร์สูงสุดเมื่อกินพร้อมเปลือกโดยผลขนาดกลางอาจให้ไฟเบอร์ถึง 5.5 กรัม

 

10.ราสเบอร์รี่

ราสเบอร์รี่ส่วนใหญ่เราจะเห็นและนึกถึงผลสีแดงๆ แต่จริงๆแล้วราสเบอร์รี่นั้นมีสีดำด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสีแดงหรือดำก็มีสารอาหารอยู่มากมายไม่ต่างกัน ราสเบอร์รี่นอกเหนือจากจะให้ไฟเบอร์ปริมาณที่สูงมากถึงประมาณ 1 ถ้วยจะให้ไฟเบอร์ 1 ใน 3 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีในปริมาณสูงและสารต้านอนุมูลอิสระมากมายอีกด้วย

 

11.ผักคะน้า

ผักคะน้าใบสีเขียวที่ทุกบ้านต้องทราบและรู้จักกันดี ไม่ว่าใครก็ชอบที่จะซื้อคะน้ามาติดตู้เย็นเพื่อประกอบอาหารถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีค่ะ โดยในใบคะน้าดิบ 2 ถ้วย มีปริมาณไฟเบอร์ถึง 4-8 กรัม อีกทั้งยังมีวิตามินซี เกลือแร่ และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย

 

12.กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาวเป็นพืชเมืองหนาวที่อยู่ในตระกูลกะหล่ำ ส่วนที่เรานำมาใช้บริโภคนั้นก็คือ หัวขนาดเล็กคล้ายกะหล่ำปลี  ซึ่งกะหล่ำที่ปรุงสุกต่อถ้วยนั้นมีไฟเบอร์อยู่ถึง 4.1 กรัม โดยนอกจากจะสามารถช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหารแล้วยังช่วยลดคอเลสเตอรอลอีกด้วย

 

13.ขนมปังโฮลวีท

ขนมปังโฮลวีทถือว่าได้เป็นสุดยอดอาหารที่น่าจะได้เห็นเป็นอันดับต้นๆ ของหลายๆอันดับของอาหารที่มีประโยชน์ แน่นอนว่าการเลือกขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาวย่อมเป็นทางเลือกที่ดีเนื่องจากขนมปังสีขาวได้ถูกขัดเอาจมูกและธัญพืชออกไปหมดแล้วหรือเรียกอีกอย่างว่า ขนมปังขัดขาว จึงทำให้ไม่เหลือสารอาหารกับไฟเบอร์ การเปลี่ยนจากขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีทนั้นก็เพื่อที่จะช่วยเรื่องของปริมาณไฟเบอร์ในระยะยาวได้มากทีเดียวค่ะ

 

14.มะเดื่อ

ทราบหรือไม่ว่ามะเดื่อแห้งเพียงครึ่งถ้วยนั้นมีเส้นใยที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำอยู่ถึง 7.3 กรัม ด้วยเส้นใยที่มีในมะเดื่ออยากมากล้นเมื่อรับประทานเข้าไปจะช่วยให้เราอิ่มนานขึ้น ซึ่งยังเหมาะสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่อีกด้วย

 

15.อัลมอนด์

อัลมอนด์เมล็ดธัญพืชมากคุณค่าและมีสารอาหารที่มีประโยชน์เต็มเปี่ยม นอกจากรสชาติที่อร่อยเคี้ยวเพลินแล้วยังเต็มไปด้วยไฟเบอร์และกรดไขมัที่ดีและโปรตีน โดยอัลมอนด์ปริมาณ ¼ ถ้วย จะให้ไฟเบอร์ประมาณ 4.5 กรัม แต่ด้วยแคลอรี่ที่สูงจึงต้องระมัดระวังในการรับประทานสักนิดค่ะ

 

16.ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาถือเป็นอาหารช่วยแก้ท้องผูกด้วยเส้นใยอาหารที่สูงถึง 5 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม และยังเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีวิตามิน B2 โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไขมันต่ำ นอกจากไฟเบอร์ที่จะช่วยในเรื่องของท้องผูกแล้วยังช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นอีกด้วย

 

17.บล็อคโคลี่

บล็อคโคลี่เป็นหนึ่งในตระกูลผักกะหล่ำปลี ซึ่งผักตระกูลนี้อุดมไปด้วยสารอาหารและมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่คุณสมบัติต้านโรคมะเร็ง อีกทั้งวิตามินซีที่สูงมากที่มีในบล็อคโคลี่บล็อคโคลี่หนึ่งถ้วยตวงให้วิตามินซีสูงกว่าส้มหนึ่งผลถึง 2 เท่า และบล็อคโคลี่ต้ม 1 ถ้วยจะมีไฟเบอร์ประมาณ 5.1 กรัม

 

18.ถั่วแระ

ถั่วแระฝักเล็กๆ มีสีเขียวๆหรือเหลืองอ่อนๆ ที่เรามักนิยมนำมาต้มทั้งฝักเพื่อรับประทานเล่นหรือจะประกอบอาหารก็แล้วแต่ โดยถั่วแระครึ่งถ้วยจะให้โปรตีนถึง 11 กรัม และไฟเบอร์อีก 9 กรัมค่ะ

 

19.อาร์ติโชก

อาร์ติโชกเป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ โดยเฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร  แต่ปัจจุบันหาทานได้ง่ายเพราะเป็นผักเมืองหนาวในโครงการหลวง ซึ่งเริ่มทดลองปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อาร์ติโชกเป็นผักที่มีแคลอรีต่ำและมีไฟเบอร์สูง โดยอาร์ติโชกที่สุกขนาดกลางจะมีไฟเบอร์ที่สูงถึง 10.3 กรัม อีกทั้งยังมีสารอาหารมากมายหลายอย่าง เช่น วิตามินซี วิตามินเค โฟเลต แมกนีเซียมและโพแทสเซียมค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/tinytall/7023093877/

คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีเและชนิดที่ไม่ดี

bread-1
Source: Flickr (click image for link)

“คาร์โบไฮเดรต” เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของเรา ถ้าพูดถึงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในกลุ่มของคนที่กำลังลดน้ำหนักอยู่ก็คงจะคิดว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม และถ้าอยู่ในกลุ่มของคนที่รักสุขภาพนั้นอาจจะให้ความสนใจในการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และจะให้ข้ามหมู่ใดหมู่นึงก็คงจะยาก แล้วทราบกันหรือปล่าวล่ะคะว่าคาร์โบไฮเดรตนั้นมีอยู่ 2 กลุ่ม ซึ่งก็มีกลุ่มที่ควรรับประทานและกลุ่มที่ไม่ควรรับประทาน หรือเรียกง่ายๆว่ากลุ่มที่ดีและไม่ดี วันนี้เลยอยากให้มาทำความเข้าใจกันหน่อยว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่สามารถเลือกรับประทานได้ แม้เราจะอยู่ในช่วงที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่ก็ตามแถมยังดีต่อสุขภาพของเรานั้นมีอยู่จริงค่ะ ดังนั้นวันนี้เลยนำข้อมูลมาแชร์และอยากให้ทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันค่ะ แล้วเมื่อเราเข้าใจมากขึ้นก็จะได้เลือกและปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การรับประทานของเรา อย่างไรก็ดีการรับประทานอาหารที่ครบและหลากหลายนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพเรามากกว่าค่ะ เพราะงั้นเราไปทำความเข้าใจกับชนิดของ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต กันเลยค่ะ

 

คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีและคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี

carbohydrate-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งคาร์โบไฮเดรตออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามโครงสร้างทางเคมีก็คือ “คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว” และ ‘’คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน’’ ดังนี้

 

1.คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrates) หรือ คาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย

คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว มีโครงสร้างทางเคมีเป็นน้ำตาล 1-2 โมเลกุล เป็นคาร์โบไฮเดรตพื้นฐาน เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะมีการย่อยเพียงเล็กน้อยหรือบางชนิดร่างกายเราก็สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและนำไปใช้ได้เลยทันทีและจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างฉับพลัน ทำให้รู้สึกมีพลังงานขึ้นทันที

ได้แก่จำพวก น้ำตาลชนิดต่างๆที่รับประทานทั่วไป อาทิ น้ำตาลทราย (น้ำตาลซูโครส) ที่ใช้ในการประกอบอาหารต่างๆ น้ำตาลแลคโตสที่พบในนม น้ำตาลฟรุกโตสที่พบในผลไม้ ผักต่างๆ และน้ำผึ้ง น้ำตาลมอลโตสที่พบในเมล็ดพืชที่งอก รวมถึงพวกแป้งขัดขาว ข้าวขาว ขนมปังขาว

ในส่วนของน้ำตาลนั้นก็คือพลังงานของร่างกาย แต่เมื่อมีพลังงานเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากเกินไปพลังงานส่วนเกินก็จะถูกแปรรูปเป็นไขมันเพื่อสะสมเป็นพลังงานสำรอง ทำให้มีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้น และเมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไปตับอ่อนก็จะผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ แต่ถ้าเราทานแป้งขัดขาวมากจนเป็นนิสัยตับอ่อนก็จะทำงานมากขึ้น เมื่อถึงจุดที่ฮอร์โมนอินซูลินถูกผลิตออกมามากจนเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วและทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าเดิม หากเป็นมากอาจหน้ามืดเป็นลมซึ่งเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเป็นเบาหวานนั่นก็คือการผลิตฮอร์โมนอินซูลินบกพร่องค่ะ

 

2.คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrates) หรือ คาร์โบไฮเดรตย่อยยาก

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีโครงสร้างทางเคมีที่ยาวกว่าตั้งแต่ 3-4 โมเลกุลต่อกันจนถึงต่อกันยาวมาก

ได้แก่จำพวก แป้งไม่ขัดขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังธัญพืช(โฮลวีต) เมล็ดพืช ธัญพืชเผือก มัน ข้าวโอ๊ต ถั่ว ผักสีเขียวและเหลือง มันหวาน และผักที่มีแป้งสูง ได้แก่ ผักหัวต่างๆ ผลไม้

ความแตกต่างของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนกับคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวนั้นก็คือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะค่อยๆ ถูกย่อย คือร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ผนังเซลล์ลำไส้เล็กและเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป เนื่องจากในแป้งไม่ขัดขาวยังมีคุณค่าอย่างอื่นอีกเช่นวิตามิน แร่ธาตุบางชนิดรวมถึงเส้นใยอาหาร ดังนั้นร่างกายจึงค่อยๆ ดูดซึมสารอาหารจากแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี ในกระบวนการเปลี่ยนจากแป้งเป็นน้ำตาลจึงช้ากว่าแป้งขัดขาว ทำให้ร่างกายได้พลังงานต่อเนื่องยาวนาน และระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มคงที่สม่ำเสมอทำให้มีพลังงานต่อเนื่อง ไม่หิวบ่อย อีกทั้งเส้นใยอาหารยังช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารและขับถ่ายและยังได้รับวิตามินแร่ธาตุอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/j0annie/15363793976/
www.flickr.com/photos/141735806@N08/27955435632/