yellow

ขมิ้นชัน คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร
ขมิ้น “Tumeric” เป็นหัวข้อที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ แต่ทว่าคนไทยเราอาจจะรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วกับขมิ้นที่เราใช้เป็นสมุนไพรในการนำมาขัดผิว พอกผิว รวมถึงการนำไปประกอบอาหารประเภทเครื่องแกงเผ็ดร้อนแกงกะหรี่ ซึ่งจะทำให้แกงนั้น ๆ เกิดลักษณะและสีเฉพาะที่ออกสีเหลืองๆ ส้มๆ โดยขมิ้นมาจากพืช Curcuma longa ซึ่งเติบโตในอินเดียและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น ๆ รากแห้งของพืช Curcuma longa เป็นผงขมิ้นสีเหลืองที่โดดเด่นโดยมีสารเคมีหลายชนิดที่พบในขมิ้นหรือที่เรียกว่า curcuminoids ซึ่งสารที่อยู่ในขมิ้นนั่นก็คือ curcumin นั่นเองค่ะ มาถึงตรงนี้เราเลยจะมาพูดถึงเกี่ยวกับสารตัวนี้ที่อยู่ในขมิ้นที่เราเรียกกันว่า “ขมิ้นชัน” ค่ะ อยู่ที่บ้านเราหลายๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยให้ความสนใจเกี่ยวกับการรับประทานขมิ้นชันเพื่อสุขภาพกันมากนัก แต่ทราบกันหรือไม่คะว่าขมิ้นชันที่ต่างประเทศอย่างประเทศสหรัฐอเมริกานั้นนำมาทำเป็นยาอาหารเสริมรับประทานและสามารถหาเจอง่ายๆ ตามร้านขายยาทั่วไปกันเลยทีเดียว และนี่แหล่ะค่ะที่ทำให้เกิดความสนใจและอยากจะนำข้อมูลมานำเสนอให้ทราบกันว่า ขมิ้นชัน นั้นมันมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อสุขภาพของเรา ไปดูข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมและทำความเข้าใจกันมากขึ้นกับขมิ้นชันกันเลยค่ะ ประโยชน์ของขมิ้นชัน (Tumeric) ด้านโภชนาการขั้นพื้นฐานของขมิ้นมีคุณค่าต่อวันอยู่ที่ 26% ในแมงกานีสและธาตุเหล็กอยู่ที่ 16% นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหาร วิตามินบี 6 โพแทสเซียม รวมถึงเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินซีและแมกนีเซียมอีกด้วยค่ะ ใครจะรู้กันล่ะคะว่าขมิ้นชันจะนำมาเป็นยารักษาและให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเราไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ซึ่งสารที่ได้จากขมิ้นชันเรียกว่า curcuminoids และสารสำคัญที่สุดก็คือ curcumin โดย curcumin เป็นสารออกฤทธิ์หลักในขมิ้น […]

15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง
“เบต้าแคโรทีน’’ (Beta-carotene) เป็นสารแคโรทีนอยด์ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มของสารสีในพืชผักที่เรียกว่า สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากปัจจัยต่างๆ จริงๆ แล้วเบต้าแคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของโปรวิตามินเอ (Pro-vitamin A) ที่จัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งเป็นสารประกอบตามธรรมชาติที่พบในผักผลไม้สีสดใส โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสารสีเหลือง ส้ม และเขียวค่ะ สารเบต้าแคโรทีนในพืชจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้อย่างรวดเร็วเมื่อร่างกายเราต้องการค่ะ แต่ถ้าร่างกายยังมีวิตามินเอเหลืออยู่เพียงพอ เบต้าแคโรทีนก็จะไปทำหน้าที่ยับยั้งอนุมูลอิสระ สร้างภูมิต้านทาน ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจรวมถึงโรคหัวใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด การมีระดับวิตามินเอในระดับปกติเป็นกุญแจสำคัญต่อการมองเห็นที่ดีรวมถึงมีภูมิคุ้มกันและสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ อย่างไรก็ตามเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองค่ะจึงต้องได้รับมาจากอาหาร ซึ่งร่างกายเราต้องการสารเบต้าแคโรทีนวันละ 15 มิลลิกรัม ดังนั้นเราไปดูแหล่งอาหารที่ดีของเบต้าแคโรทีนกันดีกว่าว่ามีอะไรกันบ้าง 15 ชนิดของอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนสูง 1.มันหวาน มันหวานที่มีเนื้อข้างในสีส้ม รสชาติหวานมันนี้จัดเป็นแหล่งของเบค้าแคโรทีนเลยค่ะ ซึ่งมันหวานปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 11.5 มิลลิกรัม 2.แครอท ขึ้นชื่อว่าแครอทใครๆ ก็คงทราบว่าเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างแน่นอนใช่ไหมล่ะคะ โดยแครอทปริมาณ 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนอยู่ถึง 8.3 มิลลิกรัม […]

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร
วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานโรค […]