Vitamins
16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 5 สูง
“วิตามินบี 5” (Vitamin B5) หรือ Pantothenic Acid (กรดแพนโทเทนิก) เป็นอีกหนึ่งชนิดของวิตามินบีและก็เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้จากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ วิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะถูกทำลายได้ง่ายมากจากความร้อน กรด และด่าง เช่น กรดน้ำส้มหรือด่างที่เป็นโซดาทำขนมที่เราเรียกกันว่า Baking Soda ค่ะ ในส่วนของหน้าที่ที่สำคัญของวิตามินบี 5 ที่มีต่อร่างกายของเราก็จะคล้ายๆ กับวิตามินบีตัวอื่นๆ โดยจะมีบทบาทในการเผาผลาญพลังงาน คือจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ต่อปฏิกิริยาเคมีที่ก่อให้เกิดพลังงาน และนอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์ไขมัน ฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตในการบรรเทาอาการเครียดและสารสื่อประสาทในสมอง รวมทั้งช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ ที่มีผลในการเจริญเติบโตของร่างกายด้วยค่ะ โดยปกติแล้ววิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะมีอยู่ทั่วไปในอาหารจึงไม่ค่อยพบการขาดวิตามินบี 5 นัก ถ้าจะขาดก็คงเป็นคนที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือขาดสารอาหารอย่างรุนแรงนั่นเองค่ะ โดยอาการเมื่อขาดวิตามินบี 5 มีดังนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ชาที่มือและเท้า เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่เท้าหรือที่เรียกว่า “Burning Feet Syndrome” ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ […]
15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 3 สูง
“วิตามินบี 3” (Vitamin B3) หรือ Niacin, Nicotinic Acid, Niacina Mide เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโคเอนไซม์ที่ช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารรวมถึงการผลิตฮอร์โมนทางเพศและสุขภาพผิวหนังของเราด้วยค่ะ ร่างกายของเราสามารถสร้างวิตามินบี 3 เองได้โดยใช้กรดอะมิโนทริปโตเฟน แต่ถ้าเมื่อไหร่ร่างกายของเราขาดวิตามินบี 1, 2 และ 6 ไปก็จะทำให้ไม่สามารถสร้างวิตามินบี 3 จากทริปโตเฟนได้ วิตามินบี 3 เป็นวิตามินที่ทนสภาวะความร้อนได้ดีและเกิดการสูญเสียประสิทธิภาพน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นจากการปรุงอาหารหรือจากการเก็บรักษา การขาดไนอะซินหรือวิตามินบี 3 จะนำไปสู่โรคที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ทางผิวหนัง และระบบทางประสาท ทางด้านผิวหนัง อาการทางด้านผิวหนังเมื่อเราขาดไนอะซิน ผิวหนังจะอักเสบหรือผิวบอบบางทำให้ไวต่อการสัมผัสแสงแดดจนเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง อาจมีผื่นดำ ตกสะเก็ด ผิวลอก นำไปสู่โรคเพลลากรา (Pellagra) คือการเป็นผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรง ทางด้านระบบทางเดินอาหาร อาการช่วงแรกจะมีอาการแสบร้อนคอ เบื่ออาหาร ท้องอืดแน่นท้องอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียนและอาจจะถ่ายอุจาระมีเลือดออก ทางด้านระบบประสาท เป็นโรคจิตเภทความจำเลอะเลือน สับสนวุ่นวาย นำไปสู่โรคซึมเศร้า มีความพิการทางสมองทำให้ผู้ป่วยซึม มือเกร็ง ส่วนใหญ่คนที่ขาดไนอะซินหรือวิตามินบี 3 เนื่องจากรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี […]
14 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 2 สูง
“วิตามินบี 2 (Vitamin B2)” หรือ Riboflavin เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เป็นวิตามินที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยช่วยให้ร่างกายเราใช้ประโยชน์จากวิตามินบีชนิดอื่นๆ ได้ และช่วยให้ร่างกายของเราได้ใช้พลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป นอกจากนี้ยังอาจช่วยปกป้องเซลล์ที่เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต adrenal gland ซึ่งโดยทั่วไปคนเรามักจะขาดไรโบฟลาวินเหมือนกันกับไธอะมีน(วิตามินบี1) และเมื่อเราขาดวิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวินไปจะเห็นได้ชัดจากการเกิดแผลเปื่อยที่มุมปาก ที่เราเรียกกันว่า “ปากนกกระจอก” (angular stomatitis) แพ้แสง มองแสงจ้าไม่ได้ ตาจะมองไม่ชัด คันตา ซีด ริมฝีปากแดง ปวดแสบในปากและลิ้น ร่องจมูกและเปลือกตาจะมีการอักเสบ มีขุย บางทีอาจจะปวดหัวไมเกรน การขาด Riboflavin จะมีผลต่อการสร้างคอลลาเจนที่จำเป็นต่อเส้นผมและผิวหนังของเราค่ะ เนื่องจาก Riboflavin มีบทบาทในการรักษาระดับคอลลาเจน เลยมีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนังและเส้นผม คอลลาเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาโครงสร้างและป้องกันริ้วรอยบนผิวหนัง การขาดสาร Riboflavin อาจจะส่งผลให้การรักษาบาดแผลช้าลงด้วยค่ะ ดังนั้นการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 จะสามารถช่วยให้คุณในการเอาชนะปัญหาสุขภาพมากมาย รวมถึงสามารถปรับปรุงการทำงานของเซลล์ที่เกิดจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระอีกด้วย ดังนั้นเราควรได้รับวิตามินบี 2 ให้เหมาะสมต่อวันคือ 1.7 มิลลิกรัมต่อวัน […]
15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง
“วิตามินบี 1” (Vitamin B1) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไธอะมีน (Thiamine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ (water soluble vitamine) ซึ่งจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนที่อยู่ในสารละลายมีฤทธิ์เป็นด่างหรือเป็นกลาง และสามารถทนได้ถึง 120 องศาเซลเซียสถ้าอยู่ในสารละลายที่เป็นกรดค่ะ โดยร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมินได้เพราฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารและจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร ในส่วนของหน้าที่สำคัญในการทำงานของไธอะมีนที่มีต่อร่างกายของเราคือ จะไปช่วยร่างกายของเราให้เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงาน โดยการเร่งการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักรวมถึงโปรตีนและไขมันอีกด้วยค่ะ เนื่องด้วยร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมีนได้นอกเสียจากได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้นอีกทั้งยังถูกนำไปใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในบางคนจึงไม่เกิดอาการขาดวิตามินบี 1 ได้ง่ายอาจจะเพราะได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ เมื่อร่างกายเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะทำให้เป็น โรคเหน็บชา ได้ง่ายและก็เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่ม ทุกอายุ เด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา (Infantile beriberi) จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศที่รับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีเป็นอาหารหลัก โดยที่ไม่ได้รับอาหารอย่างอื่นที่มีวิตามินบี 1 มาเสริมเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ เมื่อร่างกายของเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะมีสัญญาณเตือนว่าเรามีอาการขาดวิตามินบี 1 โดยที่เราจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อยล้าง่าย เริ่มเบื่ออาหารการกิน นอนก็ไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์แปรปรวน สมองมึนงงความคิดสับสนวกวนจากการเสื่อมสภากของระบบประสาท หากขาดรุนแรงก็อาจจะทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชาตามปลายมือปลายเท้า รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นอัมพาตและโรคหัวใจวายได้ และการขาดหรือได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ค่ะ […]
16 สุดยอดผลไม้ที่ช่วยให้ผิวสวยสุขภาพดี
ขึ้นชื่อเรื่องความสวยความงามสำหรับผู้หญิงย่อมเป็นของคู่กันเสมอค่ะ โดยเฉพาะเรื่องของผิวพรรณแล้วคงไม่มีใครที่ไม่อยากมีผิวสวยอย่างแน่นอน ผิวสวยในที่นี้คือมีผิวที่เนียนสวยไม่พอต้องมีผิวที่สุขภาพดีอีกด้วยค่ะ หลายคนคิดว่าการมีผิวที่สวยคือผิวขาวใสปิ้งแต่เมื่อมองย้อนกลับมาดูธรรมชาติบ้านเราแล้วถ้าไม่ได้จากกรรมพันธุ์มาก็คงจะยากไปหน่อยนึง ด้วยแสงอาทิตย์ที่จัดจ้านพ่วงมาด้วยแสง UV ที่ร้อนแรงและผสมกับอนุมูลอิสระรอบกายที่ประทุประทังให้ผิวของเรายิ่งย่ำแย่ ถึงแม้ผิวเราอาจจะไม่ขาวเรืองแสงเหมือนใครๆ แต่เราสามารถทำให้ผิวเราเนียนสวยและมีสุขภาพดีจากภายในได้ค่ะ ก็ด้วยจากการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องรวมถึงการดื่มน้ำให้เป็นประจำ ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงๆก็ทาปกป้องผิวกายเราสักนิดก่อนที่จะออกจากบ้าน ทราบหรือเปล่าคะว่าหลายคนไม่ยอมทานผลไม้เลยอาจจะเนื่องด้วยไม่ชอบหรือไม่มีเวลา แต่อาหารประเภทผลไม้นี่แหละเป็นสุดยอดของอาหารผิวชั้นดี ในประเทศไทยนั้นมีผลไม้หลายอย่างในแต่ฤดูและมีตลอดทั้งปี อย่ารีรอหรือขี้เกียจที่จะกินผลไม้ให้ติดเป็นนิสัยกันเลยค่ะ ผลไม้ที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ จะส่งผลโดยตรงต่อการทำให้ผิวเรามีสุขภาพดีทั้งยังส่งเสริมสารอาหารบางตัวรวมทั้งกลไกบางอย่างให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นี่แหละที่เราเรียกกันว่า สารต่อต้านอนุมูลอิสระ จากธรรมชาติค่ะ 16 สุดยอดผลไม้ที่ช่วยให้ผิวสวยสุขภาพดี 1.แอปเปิ้ล แอปเปิ้ล เป็นผลไม้ที่ถือเรียกได้ว่าเป็นสุดยอดผลไม้เลยก็ว่าได้ค่ะไม่ว่าจะสีไหนล้วนแต่มีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น ในผลแอปเปิ้ลนั้นนอกจากมีวิตามินหลากหลายแล้วยังมีสารสำคัญอย่างแพคตินที่ช่วยทำให้เล็บมีความแข็งแรง อีกทั้งยังอุดมไปด้วยกรดมาลิกซึ่งเป็นชนิดของกรดผลไม้ที่เป็นที่รู้จักกันในโลกสุขภาพที่เรียกกันว่า alpha hydroxyl acid กรดมาลิกเป็นกรดที่อ่อนกว่ากรดอื่นๆ ที่นิยมใช้ในกลุ่มรักษาความงามเช่นเดียวกับกรดไกลโคลิก และ salicylic กรดมาลิกช่วยให้ผิวดูสุขภาพดีกระชับและดูอ่อนเยาว์ขึ้นโดยการต่ออายุเซลล์ผิวโดยไม่ทำลายชั้นผิวหนังนั่นเองค่ะ อีกทั้งปริมาณเส้นใยที่สูงในผลแอปเปิ้ลยังสามารถช่วยในการทำความสะอาดลำไส้ใหญ่และส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้ให้เป็นปกติอีกด้วยค่ะ 2.มะนาว พูดถึงผลไม้ประเภทกรดรสเปรั้ยวจี๊ดอย่างมะนาวในด้านของการช่วยในเรื่องความสวยความงามได้อย่างไร ซึ่งมะนาวจะไปช่วยเพิ่มความขาวกระจ่างใสให้แก่ผิวอีกทั้งยังช่วยลบเลือนการเกิดริ้วรอยจากรอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวรวมถึงความหมองคล้ำของผิวที่ทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ และมะนาวยังสามารถทำความสะอาดผิวได้อย่างล้ำลึกโดยทำลายสิ่งสกปรกที่ไปอุดตันรูขุมขนต่างๆ ได้อีกด้วยค่ะ 3.อะโวคาโด อะโวคาโดเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากจนเป็นที่กล่าวถึงในด้านสุขภาพว่าเป็นสุดยอดอาหาร (Super Foods) และมักจะนำมาใช้ทำมายองเนสแบบมังสวิรัติหรือแบบเจนั่นเองค่ะ นอกจากรสชาติที่อร่อยถูกปากใครหลายคนแล้ว การเลือกรับประทานอะโวคาโดจะให้ประโยชน์ที่น่ามหัศจรรย์ต่อผิวพรรณโดยตรง เนื่องจากอะโวคาโดมีไบโอตินหรือที่เรียกว่าวิตามินบี […]
16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง
วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน 2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม […]
15 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง
“โพแทสเซียม (Potassium)’’ แร่ธาตุหรือเกลือแร่อีกตัวที่มีบทบาทและหน้าที่สำคัญต่อสุขภาพรวมถึงร่างกายของคนเราค่ะ โพแทสเซียมนั้นเป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกายรองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด ดังนั้นร่างกายของคนเราจึงต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โดยโพแทสเซียมมีบทบาทสำคัญในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายของเราให้เป็นปกติ อย่างเช่น แร่ธาตุโพแทสเซียมมีการช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลย์ของกรดและเบสในร่างกาย ควบคุมความดันของโลหิตรวมถึงป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) อีกทั้งโพแทสเซียมยังช่วยระบบประสาทและกล้ามเนื้ออีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะหน้าที่เกี่ยวกับการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไปค่ะ โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าปกติ คือ 3.5 – 5.0 mEq/L โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าต่ำ คือ < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว โพแทสเซียมในเลือดที่มีค่าสูง คือ > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ บางครั้งถ้าเรารู้สึกว่าร่างกายขาดโพแทสเซียมอยู่ วิธีการเติมโพแทสเซียมที่ง่ายก็คือการทราบว่าเราควรจะรับประทานอาหารชนิดไหน ดังนั้นเราอาจจะเริ่มโดยการปรับเรื่องของการรับประทานอาหารเป็นอันดับแรกค่ะ 15 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุโพแทสเซียมสูง […]
เมล็ดแฟลกซ์คืออะไร มีคุณค่าและประโยชน์อย่างไร
“เมล็ดแฟลกซ์” (Flaxseed) ในบางคนถึงกับเรียกมันว่าเป็นหนึ่งในพืชหรืออาหารจากพืชที่มีคุณค่าและประสิทธิภาพมากที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ ด้วยคุณค่าและคุณประโยชน์ในตัวของเมล็ดแฟลกซ์ ที่เมื่อคุณได้ทราบแล้วคงต้องคิดใหม่หรืออาจนำมาเป็นเมนูเพื่อสุขภาพอีกหนึ่งชนิดไว้ในตัวเลือกเป็นอย่างแน่นอนค่ะ เมล็ดแฟลกซ์ยังเป็นเมล็ดพืชที่แปลกใหม่ทั้งยังไม่เป็นที่นิยมหรือรู้จักกันมากนักในประเทศไทย ในคนที่รักสุขภาพหรือชอบค้นหาอาหารเพื่อสุขภาพมารับประทานอยู่เสมอๆ อาจจะทราบกันดีค่ะ จากข้อมูลของเมล็ดแฟลกซ์ทำให้ตระหนักได้ว่าไม่นำมาบอกกล่าวเล่าสู่กันฟังเห็นทีจะไม่ได้แล้วค่ะ ก็เนื่องจากประโยชน์ของเมล็ดพืชตัวนี้ไม่ธรรมดาจริงๆ อยากให้ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือเป็นความรู้เกี่ยวกับสุขภาพที่ใครหลายคนอาจกำลังสงสัยหรือกำลังหาข้อมูลนี้อยู่ก็เท่านั้นเองค่ะ เมล็ดแฟลกซ์ (Flaxseed) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า เมล็ดลินิน (Linseed) ซึ่ง เป็นพืชในตระกูล Linum usitatissimum เป็นเมล็ดของต้นปอป่านที่ได้มาจากต้นลินิน โดยได้ทำการนำเอาส่วนที่เป็นเส้นใยลำต้นมาใช้ในการทอผ้าลินินค่ะ โดยลักษณะของเมล็ดลินินนั้นจะมีความคล้ายกันกับงาเพียงแต่ว่ามีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น รวมถึงประโยชน์และรสชาตินั้นก็ยังมีความคล้ายกันกับงาอีกด้วยเช่นกัน ส่วนลักษณะของเมล็ดแฟลกซ์นั้นจะมีขนาดเล็กและมีสีออกน้ำตาล น้ำตาลเข้ม หรือสีทองค่ะ เมล็ดแฟลกซ์นั้นเติบโตในภูมิประเทศที่มีอากาศเย็น โดยถิ่นกำเนิดของพืชชนิดนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบบริเวณภาคตะวันออก ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเอเชียตะวันตกและในประเทศอินเดีย เมล็ดแฟลกซ์มีประวัติที่ยาวนานอีกทั้งยังได้รับการบริโภคเป็นอาหารมายาวนานถึงประมาณ 6,000 ปีได้แล้วค่ะ ด้วยสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่ล้นทะลักของเจ้าเมล็ดพืชชนิดนี้ จึงมีความเป็นไปได้อย่างมากที่อาจจะถูกยกให้เป็นสุดยอดของอาหารหรือซูปเปอร์ฟู้ดส์ (Super Foods) ระดับโลกค่ะ ซึ่งเมล็ดแฟลกซ์ถือเป็นแหล่งที่มาของพืชที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดที่เรียกว่า alpha-linolenic acid (ALA) อีกทั้งเมล็ดแฟลกซ์ยังถูกจัดอันดับอาหารที่ยกให้เป็นแหล่งที่มาของสารสำคัญอย่าง ลิกแนน (Lignans) ซึ่งมีมากถึง 7 เท่าเมื่อเทียบกับอาหารประเภทเดียวกันอย่างเช่น งาดำ เป็นต้น โดยประโยชน์ของเมล็ดแฟลกซ์สามารถที่จะช่วยปรับระบบการย่อยอาหาร ทำให้คุณมีผิวพรรณที่สดใส ลดระดับคอเลสเตอรอล […]
12 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง
แร่ธาตุสังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่ม (Trace Minerals) ซึ่งมีชื่อที่เราเรียกอีกอย่างหนึ่งที่และคุ้นหูกันและชอบเรียกกันว่า ซิงค์ (Zinc) โดยร้อยละ 90 ของสังกะสีที่มีในร่างกายจะอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ และอีกร้อยละ 10 นั้นจะไปอยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด ส่วนร้อยละ 80 นั้นอยู่ในเม็ดเลือดแดงและร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเหลืองค่ะ สังกะสีมีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ คือเป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงานแต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจจะพูดได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการสังกะสีเป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้นสังกะสีจึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะส่วนในร่างกายของเราค่ะ ดูเหมือนจะเป็นแร่ธาตุตัวเล็กๆ และอาจจะไม่สำคัญที่จะใส่ใจมากนัก เลยกลายเป็นเหตุให้ต้องละเลยไปจนกลายเป็นขาดแร่ธาตุตัวนี้ไปเองจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ร่างกายจึงได้รับแร่ธาตุสังกะสิไม่เพียงพอหรืออีกขณะร่างกายก็อาจจะได้รับมากเกินไป จนทำให้กลไกในร่างกายแปรปรวนถึงขั้นเป็นเหตุให้เจ็บป่วย ด้วยความใส่ใจในร่างกายตัวเองอยู่เสมอๆจนเล็งเห็นว่าถึงจะเป็นแค่แร่ธาตุก็เหอะ แร่ธาตุก็ไม่ได้มีแค่ตัวเดียวที่เราควรรู้เพราะฉะนั้นจึงอยากจะเก็บข้อมูลและมาเสนอให้คนที่ใส่ใจหรือไม่ทันได้สังเกตุการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของเรากำลังขาดหรือเกินต่อแร่ธาตุตัวนี้หรือตัวไหนๆอยู่ก็เป็นได้ หวังว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้นหาและกำลังต้องการทราบอยู่นะคะ เราเคยได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับธาตุสังกะสีไปในหัวข้อ สังกะสี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร ไปส่วนหนึ่งแล้วนะคะ และจะขอนำเอาข้อมูลบางส่วนมาใส่ในหัวข้อนี้อีกทีค่ะ โดยถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้ การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดงต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง […]
15 ชนิดของอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง
อาหารการกินทุกชนิดล้วนแต่มีส่วนประกอบของธาตุต่างๆ แซมๆหรือแอบซ่อนอยู่ ซึ่งอาหารบางอย่างบางชนิดหลายคนก็อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีแร่ธาตุนี้อยู่ด้วยซ้ำไป ดังนั้นในบางครั้งเราอาจจะไม่ได้รับสารอาหารนั้นๆ เพียงพอเนื่องจากไม่ได้ทานเพราะความไม่ชอบส่วนตัวหรืออาจจะไม่คิดว่าจะมีแร่ธาตุตัวนี้อยู่ในอาหารนั้นๆ หรือบางคนพยายามจะเลี่ยงแร่ธาตุบางตัวเพราะคุณหมอสั่งมาว่าเนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ไม่ควรได้รับแร่ธาตุตัวนี้เกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน หรือจำกัดปริมาณการรับประทานนั่นเอง และบางทีเผลอไปรับประทานอาหารบางชนิดเข้าเพราะไม่ทราบว่ามีแร่ธาตุตัวที่ห้ามนั้นผสมอยู่ ไปหาคุณหมอทีต้องได้ซักประวัติการรับประทานอาหารกันยาวๆ เลยทีเดียว บ้านเราถือว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเลยก็ว่าได้ อยากจะทานอะไรหาได้ไม่ยากและก็ง่ายที่จะถูกใจและถูกปากเวลารับประทาน หรือเรียกง่ายๆ ว่าทานง่ายนั่นแหละค่ะ แต่ด้วยความที่เป็นคนทานง่ายทานไม่เลือกก็ใช่ว่าจะดี บางทีมีโรคเยอะกว่าคนที่เลือกทานเสียอีกแต่ก็ไม่เสมอไปค่ะ หลายคนที่เลือกรับประทาน (เฉพาะอาหารที่ชอบ)มาตรวจร่างกายทีโรคนั่นโรคนี่มาเป็นแพคเก็จบวกของแถมมาอีก ทางที่ดีการที่เราได้รับรู้ว่าร่างกายเราเป็นอย่างไร อาหารชนิดไหนประเภทไหนที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของตัวเองนั่นแหละค่ะ หัวข้อที่เราจะนำมาแบ่งปันกันวันนี้ก็คือ อาหารชนิดไหนบ้างนะที่มีฟอสฟอรัสสูง ฟอสฟอรัสเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม มีหน้าที่เป็นโครงสร้างของกระดูกและฟันเป็นหลักๆ ค่ะ โดยหน้าที่อื่นๆ ของฟอสฟอรัสต่อร่างกายของคนเราก็จำพวกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท กระตุ้นการหดตัวคลายตัวของกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย เป็นต้น โดยกลไกลการทำงานของฟอสฟอรัสเมื่อเข้าสู่ร่างกาย ฟอสฟอรัสในอาหารนั้นจะถูกดูดซึมไปหมดในรูปแบบของ free phosphate และปริมาณการถูกดูดซึมจะมีความแตกต่างกันจากปริมาณของธาตุเหล็ก แมกนีเซียมรวมทั้งสารอื่นๆ ด้วย ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นสารที่ไม่ละลายและถูกขับออกทางอุจจาระ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสในอาหารที่ไม่ถูกดูดซึม ส่วนการควบคุมระดับของฟอสฟอรัสนั้นจะทำโดยการขับออกทางไตมากกว่าในรูปแบบของการดูดซึม อาการของการขาดฟอสฟอรัสและการมีมากเกินไป ระดับฟอสฟอรัสต่ำในเลือด จะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง ระดับฟอสฟอรัสสูงในเลือด จะมีอาการคันตามผิวหนัง หลอดเลือดแดงแข็ง มีก้อนแคลเซียมเกาะตามเนื้อเยื่อ ภาวะต่อมพาราไทรอยด์โต กระดูกบางและเปราะ […]