HealthGossip

Vitamins

19 ชนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน

“การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสิรฐ” หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีกับสำนวนดังกล่าว ไม่ว่ามนุษย์เราจะยาก ดี มี จน ก็อยากให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บกันทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าคนเราก็ล้วนแต่ต้องมาเผชิญกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอโดยที่ใครก็ไม่สามารถกำหนดหรือหลีกเลี่ยงกันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วสิ่งที่เราทำได้ก็มีแค่รู้จักที่จะอยู่กับมันและประคับประคองให้ดีที่สุดค่ะ ใครๆ ก็คงไม่อยากเจ็บป่วยกายกันหรอกจริงไหมคะ นอกจากป่วยกายแล้วยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจจนทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่มีความสุข ส่วนใหญ่การดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดนอกจากออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญยิ่งอีกทั้งเป็นตัวส่งผลทั้งโดยตรงและทางอ้อมค่ะ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมนอกจากจะช่วยไม่ให้ก่อโรคต่างๆ แล้วยังช่วยชะลอหรือรักษาบางโรคได้เลยทีเดียวค่ะ วันนี้เลยจะมาพูดถึงหัวข้อที่ว่า จะเลือกรับประทานผลไม้ชนิดไหนถึงจะเหมาะสมกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ขึ้นชื่อว่ามีโรคประจำตัวไม่ว่าจะโรคอะไรก็จะถูกจำกัดการรับประทานอาหารอยู่เสมอ บางคนอาจจะยังไม่ทราบหรือทราบมาบ้างแล้วว่าควรรับประทานอาหารชนิดไหนได้บ้าง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะชอบรับประทานอาหารที่ถูกห้ามเสมอด้วยข้อจำกัดของประเภทของอาหารที่ต้องควบคุมมากมาย แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงผลไม้ชนิดไหนอะไรบ้างที่คนเป็นโรคเบาหวานสามารถรับประทานได้บ้างค่ะ ซึ่งอย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานผลไม้สดๆ แทนการเลือกรับประทานแบบเป็นน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือในรูปแบบน้ำผลไม้ปั่น เนื่องจากการเลือกรับประทานผลไม้แบบสดๆ นอกจากจะได้รับเส้นใยอาหาร สารสำคัญต่างๆ รวมถึงวิตามินในผลไม้อย่างธรรมชาติโดยตรง โดยการดื่มน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือแบบน้ำผลไม้ปั่นนอกจากสารสำคัญรวมถึงวิตามินคุณค่าทางโภชนาการจะหายไปกับกระบวนการผลิตแล้ว เรากลับได้รับน้ำตาลจากน้ำเชื่อมที่ถูกเติมลงไปอีก ด้วยการถูกจำกัดการเลือกรับประทานอาหารก็ยากพอแล้ว แต่เชื่อเถอะค่ะว่าผลไม้ที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเป็นตัวช่วยได้ดีเลยทีเดียว นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังได้รับวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลยล่ะ ถึงแม้ว่าในผลไม้จะมีน้ำตาลอยู่แต่จะเห็นได้ว่าก็จะไม่ถูกให้งดทานเลยซะทีเดียว ซึ่งก็ควรเลือกรับประทานในปริมาณที่จำกัดนั่นเองค่ะ โดยในแต่ละวันอาจจะทานได้ 2 ถึง 3 มื้อ และเป็นมื้อละ 7- 8 ชิ้นคำค่ะ   19 ขนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน 1.แอปเปิ้ล แอปเปิ้ลไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ลแดง […]

9 สุดยอดประโยชน์ต่อสุขภาพจากแครนเบอร์รี่

ถ้าพูดถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ผลไม้ชนิดแรกๆ ที่เราจะนึกถึงก็คงจะเป็นพวก สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เป็นอย่างแรกเลยใช่ไหมล่ะคะ นอกจากนี้แล้วยังมีราสเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่จะมาพูดถึงวันนี้คือผลไม้ที่มีชื่อว่า “แครนเบอร์รี่” (Cranberry) ค่ะ ขึ้นชื่อว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ก็จัดว่าเป็นสุดยอดอาหารที่ดีต่อสุขภาพอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ด้วยผลไม้ตระกูลนี้จะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่โดดเด่นกันไปในแต่ละชนิด ไม่เพียงแค่รสชาติที่อร่อยเท่านั้นคนที่รักสุขภาพจะทราบกันเป็นอย่างดีและเลือกที่จะนำมารับประทานและประกอบอาหารกันอยู่เสมอ จากหัวข้อเกี่ยวกับผลไม้แครนเบอร์รี่ที่จะนำข้อมูลมาแบ่งกันในวันนี้ เนื่องจากเราไม่ค่อยจะคุ้นหูกันเท่าไหร่และอาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักกันว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ยังมีอีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยอย่าง แครนเบอร์รี่ อยู่นะ ใครที่คุ้นหูผ่านตากันมาบ้างแต่ยังไม่รู้จักมากนักรวมถึงคนที่ยังไม่รู้จักเลยมันคืออะไรกันนะ จึงหวังว่าข้อมูลของผลไม้ชนิดนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นอีกตัวเลือกของผลไม้เพื่อสุขภาพอีกหนึ่งชนิดนะคะ ผลไม้ที่มีชื่อว่า แครนเบอร์รี่ มาจากไหนนะ เรามาเริ่มเกริ่นและทำความเข้าใจความเป็นมาของผลไม้ชนิดนี้กันก่อนเลยค่ะ แครนเบอร์รี (Cranberries) เป็นผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเบอร์รี่โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon ผลไม้แครนเบอร์รี่ถือกำเนิดขึ้นในแถบทางเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดาโดยจะมีมากกว่าแครนเบอร์รี่ที่เกิดตามธรรมชาติในทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วทวีปยุโรปค่ะ มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรีที่มีผลสุกแล้วเป็นสีแดงสดอยู่ในลักษณะเป็นพวง ผิวของผลแครนเบอร์รี่จะลื่นและมันวาว รสชาติเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอม ซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียนิยมนำมาปรุงอาหารและจัดเตรียมคล้ายกับวันสำคัญตามประเพณีของชาวอเมริกัน โดยนำมาอบแห้งและเติมรสชาติให้มีความหวานจากน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเมเปิ้ล พบว่าสมัยอาณานิคมชาวอาณานิคมได้เริ่มนำผลไม้แครนเบอร์รี่ส่งออกกลับบ้านกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ค่ะ แครนเบอร์รี่จะสามารถเก็บได้เป็นปีถ้าเรานำไปเก็บในรูปแบบแช่แข็ง ต้นแครนเบอร์รี่จะเริ่มสุกงอมเป็นสีแดงฉ่ำมากพร้อมเก็บในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเก็บโดยการแช่แข็งและนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานกันได้ตลอดทั้งปีค่ะ   แครนเบอร์รี่มีประโยชน์อะไรบ้าง ส่วนใหญ่ในช่วงวันคริสมาสต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะนิยมนำมาแครนเบอร์รี่มาตกแต่งตามต้นคริสมาสต์ให้มีสีแดงสดใสสวยงาม ไม่เพียงแค่นั้นยังนิยมนำมาประกอบอาหารหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มรวมถึงเป็นอาหารว่างด้วย ก่อนอื่นเรามาดูคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ที่ชื่อว่าแครนเบอร์รี่ว่ามีอะไรบ้างค่ะ คุณค่าทางโภชนาการของแครนเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ปริมาณ 1 ถ้วย 100 […]

20 ชนิดสุดยอดของผักที่มีโปรตีนสูง

ขึ้นชื่อว่า “พืชผัก” หลายคนก็จะนึกถึงความสุขภาพดีจากวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารเป็นอย่างแน่แท้ ก็ใครจะไปนึกว่าพืชผักที่เคี้ยวกรุบกรับๆ อยู่นี่จะมีโปรตีนอยู่ได้ใช่ไหมล่ะคะ สุขภาพที่ดีที่ได้มาจากการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ถือเป็นปัจจัยหลักไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่เราควบคุมน้ำหนักหรือเพื่อรักษาสุขภาพก็ตาม แต่การทราบว่าเราควรเลือกรับประทานอาหารแบบไหนให้เหมาะสมกับความต้องการของเรายังไงนั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ คนยังไม่ค่อยทราบและเข้าใจ แต่ก็อย่างว่าสมัยนี้มีสิ่งที่เอื้ออำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าเราจะอยากรู้เรื่องอะไรแค่เราค้นหาทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถรู้ได้ไม่ยาก วันนี้มีจึงหัวข้อที่น่าสนใจอยากจะมาแนะนำเกี่ยวกับ ชนิดของผักที่มีโปรตีนสูง ซึ่งอาจจะเหมาะกับคนที่ไม่รับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์เลยอยากได้โปรตีนจากพืชมาทดแทน หรือคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักแต่ก็อยากได้โปรตีนที่ไม่ใช่จากเนื้อสัตว์ คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยถ้าใครที่กำลังมองหาตัวเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพที่สมบูรณ์เช่นกันค่ะ การรับประทานอาหารที่แตกต่างหลากหลายหมู่อาหารจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนนั่นเอง โปรตีนจากเนื้อสัตว์บางชนิดจะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายต้องการมากกว่าและครบถ้วนอย่างแน่นอน ในกรณีนี้ให้เป็นทางเลือกรับประทานทดแทนชั่วคราวต่อเหตุผลที่แตกต่างของแต่ละคนค่ะ   20 ชนิดสุดยอดของผักที่มีโปรตีนสูง                         1.ควีนัว ควีนัวได้ถูกจัดให้เป็นสุดยอดของอาหารซึ่งเป็นพืชที่มีเส้นใยอาหารสูงและแน่นอนว่ามีโปรตีนที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ ในขนาดของควีนัวสุกปริมาณ 1 ถ้วย มีปริมาณของโปรตีนอยู่มากถึง 8.14 กรัม เลยค่ะ   2.ผักปวยเล้ง ผักใบสีเขียวเข้มที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนอย่างผักปวยเล้ง ก็ยกให้เป็นอีกตัวเลือกของผักที่ให้โปรตีนถึง 2.9 กรัม เลยทีเดียว จะเลือกทานแบบสดๆ ในสลัด หรือนำมาปรุงอาหารก็อร่อยได้คุณค่าแบบไม่รู้สึกผิดหลังทานเสร็จอย่างแน่นอน […]

14 ชนิดของอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง

ฟลาโวนอยด์ “Flavonoid” หรือบางครั้งเราอาจจะเรียกมันว่า  Vitamin P เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มพอลิฟีนอล ( Polyphenol ) ที่พบและเจอได้อย่างธรรมชาติในเม็ดสีของพืช ผัก ธัญพืช และผลไม้ ซึ่งสีเฉพาะทางพฤษเคมีของฟลาโวนอยด์แล้วจะเป็นสีม่วง น้ำเงินเข้มและดำ ฟลาโวนอยด์จะมีสารประกอบหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) อย่างเช่นจำพวก ฟลาโวน ( Flavone ) และคาเทชิน ( Catechin ) โดยจะสามารถป้องกันไม่ให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของเราเสื่อมหรือถูกทำลายค่ะ เราจะเข้าใจได้ว่าสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของเราจริงๆ แล้วอยู่ในรูปแบบไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) ที่มีผลต่อร่างกายเราดังนี้ค่ะ สารต้านอนุมูลอิสระ Flavonoids บางชนิดพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่ามีวิตามินซีอยู่สูงถึงห้าสิบเท่า จึงไปช่วยในการต่อต้านริ้วรอยและปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโรคอ้วนโรคเบาหวานและป้องกันโรคเรื้อรังอีกมากมาย ต้านการอักเสบ Flavonols (flavonoid ที่พบในโกโก้) ช่วยลดการอักเสบและการยึดเกาะของโมเลกุลที่ทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง Flavonoids ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะหลอดเลือดแดงที่แข็งตัวของเส้นเลือด ป้องกันการเจริญ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากหัวหอมที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านการขยายตัวของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ การชะลอตัวหรือการหยุดยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้รับการบันทึกไว้ในการศึกษาหลายชิ้น แต่ต้องการการวิจัยเพิ่มเติม จึงจะเห็นได้ว่า สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) นอกจากจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระแล้วยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้อีกด้วยค่ะ   14 ชนิดของอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง 1.สตรอเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่นอกจากมีรสชาติอร่อยและอาจเป็นผลไม้ที่โปรดปรานของใครหลายคนแล้ว […]

14 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเคสูง

“วิตามินเค (Vitamin K)” เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน ซึ่งเราจะทราบกันดีเมื่อพูดถึงบทบาทของวิตามินเคนั้นมีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือดนั่นเองค่ะ จริงๆ แล้ววิตามินเคมีทั้งหมด 3 ชนิด และรูปแบบที่พบในธรรมชาติจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้่ค่ะ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชผักใบเขียวและสัตว์ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับและยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย วิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ นอกจากร่างกายจะได้รับวิตามินเคจากอาหารที่รับประทานแล้ว เชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของเราก็สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เองค่ะ ด้วยเหตุนี้ระดับวิตามินเคของเราจึงขึ้นอยู่กับสุขภาพของลำไส้ของเรานั่นเอง และส่วนใหญ่พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการขาดวิตามินเคนั้น ดังนี้ เกิดจากความผิดปกติของตับให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ คนที่มีความผิดปกติของท่อน้ำดี การใช้ยาปฏิชีวนะนานๆ หรือมากเกินไป เมื่อร่างกายเกิดการขาดวิตามินเคจะทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินเค ที่เรียกว่า […]

13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง

“วิตามินอี (Vitamin E)” เป็นวิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน (fat soluble vitamin) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อนๆ วิตามินอีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีหน้าที่เบื้องต้นเสมือนฟองน้ำที่คอยดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งนั่นเองค่ะ จะพบว่ามีวิตามินอีอยู่มากในพืชส่วนในสัตว์นั้นจะพบค่อนข้างน้อยมากค่ะ เพราะฉะนั้นการบริโภคผักหรือผลไม้สดจึงช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินอีให้กับร่างกายของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำนมของคุณแม่โดยเฉพาะจากคุณแม่หลังคลอด (colostrum) ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ให้วิตามินอีในปริมาณที่สูงมากเช่นกันค่ะ ดังนั้นการขาดวิตามินอีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากนอกเสียจากในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเนื่องได้วิตามินจากแม่ไม่พอ หรือคนที่มีปัญหาจากโรคของระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติจึงทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอค่ะ อาการบ่งบอกเมื่อร่างกายขาดวิตามินอี ดังนี้ ถ้าขาดมากจะทำให้เกิดโลหิตจาง มีความผิดปกติของสมอง มือสั้น เดินเซ และการได้รับวิตะมินอีมากเกินไปอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ค่ะ การเสริมและบริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินอีจะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คอเลสเตอรอลมีความสมดุล ซ่อมแซมผิวที่เสื่อมสภาพ ป้องกันผมร่วง ปรับฮอร์โมนให้มีความสมดุล กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ผู้ใหญ่ไทยกินวิตะมินอีวันละประมาณ 8-10 มิลลิกรัม และไม่ควรกินเกินวันละ 30 มิลลิกรัม หรือ 1,500 IU   13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง 1.อัลมอลด์ เมล็ดอัลมอลด์เป็นอาหารทานเล่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของวิตามินอีชั้นเยี่ยมเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยอัลมอลด์ปริมาณแค่ 1 ออนซ์ แต่มีวิตามินอีอยู่สูงถึง 7.3 มิลลิกรัม […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินดีสูง

“วิตามินดี (Vitamin D)’’ คือเซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันก็คือเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมธาตุแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสีในร่างกายของเรานั่นเอง วิตามินดีนั้นก็จะมีหลักๆ อยู่สองตัวคือ วิตามินดี 2 และวิตามินดี 3 นั่นเอง วิตามินดี 2 หรือ ergocalciferol ที่จะพบในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยทาก หนอน ยีสต์ ส่วนวิตามินดี 3 หรือ cholecalciferol จะพบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนังค่ะ ซึ่งปกติร่างกายเราจะได้รับวิตามินดีส่วนหนึ่งจากอาหาร และอีกส่วนหนึ่งจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด ซึ่งหลายคนจะทราบกันดีและเรียกวิตามินดีนี้อีกอย่างว่า “วิตามินแสงแดด” การให้ร่างกายได้รับแสงแดดที่เหมาะสมครั้งละ 5 ถีง 30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอที่จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมาใช้ได้อย่างเพียงพอโดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารเลยก็ว่าได้ นอกเสียจากพื้นที่ที่เราอยู่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ในบางคนกลัวที่จะโดนแสงแดดและโดยเฉพาะรังสี UV ในแสงอาทิตย์โดยเฉพาะในประเทศไทยบ้านเรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมมากกว่าค่ะ […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินซีสูง

“วิตามินซี (Vitamin C)” หรือมีชื่อทางเคมีที่เราคุ้นเคยกันว่า กรดแอสคอร์บิค (ascorbic acid) วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ซึ่งมีบทบาทในการรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกายและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระค่ะ โดยวิตามินซีที่ได้จากธรรมชาติหรือจากอาหารจะสลายตัวได้ค่อนข้างง่ายมาก แค่เพียงเอาผักสดล้างน้ำหรือหั่นผักก่อนล้างก็ทำให้สูญเสียวิตามินซีไปกับน้ำที่ล้างผักไปซะอย่างนั้น และในหนึ่งวันร่างกายเราได้ใช้วิตามินซีและถูกขับออกมาประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดังนั้นความต้องการของวิตามินซีในร่างกายอย่างน้อยควรเท่ากับจำนวนมิลลิกรัมที่สูญเสียไป เพราะถ้าวิตามินซีสูงเกินความต้องการของร่างกายก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะในรูปของกรดออกซาลิกและเกลือซัลเฟตของวิตามินซีค่ะ ส่วนในร่างกายของเราที่มีการเก็บวิตามินซีไว้มากก็คือ ต่อมหมวกไต รังไข่ และในตา เมื่อใดที่ร่างกายเกิดความเครียดหรือร่างกายต้องออกแรงมาก อวัยวะเหล่านี้ก็จะปล่อยวิตามินซีออกมาในกระแสเลือดค่ะ เมื่อไหร่ที่ร่างกายของเราได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอก็จะแสดงอาการดังต่อไปนี้ เลือดออกตามไรฟัน กระดูกฟันเป็นรู เลือดออกใต้ผิวหนัง ที่หนังตาและเยื่อตา บวมตามข้อ ร่างกายอ่อนเพลีย มึน ซึม เบื่ออาหาร ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ร่างกายของแต่ละคนจะมีความต้องการของวิตามินซีที่แตกต่างกันนั่นก็ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคนนั่นเอง โดยในคนที่มีสภาวะปกตินั้นร่างกายต้องการวิตามินซีปริมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน   15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิคสูง   1.ฝรั่ง ใครที่ติดภาพว่าผลไม้ที่มีสีส้มรสเปรี้ยวจะมีวิตามินซีสูงอย่างเดียว แต่ทราบไม่ว่าฝรั่งลูปสีเขียวเนื้อสีขาวนี่มีวิตามินซีที่สูงกว่าผลไม้เปรี้ยวบางชนิดซะอีกค่ะ โดยฝรั่งแค่ 1 ลูก มีวิตามินซีสูงมากถึง 125 มิลลิกรัม เลยเชียวล่ะ   2.พริกหยวกสีแดง พริกหยวกสีแดงที่เรานำมาประกอบอาหารนี่ก็เป็นแหล่งวิตามินซีสูงชั้นดีเลยค่ะ […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง

“วิตามินบี 12 ( Vitaminn B12)” หรือ โคบาลามิน Cobalamin เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งช่วยรักษาสุขภาพเส้นประสาทสมองและรับผิดชอบในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณ วิตามินบี 12 จะพบในอาหารที่มาจากสัตว์ ส่วนพืชนั้นจะไม่มีวิตามินบี 12 นอกเสียจากจะเติมระหว่างการผลิตค่ะ โดยการขาดวิตามินบี 12 ในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทซึ่งอาจทำให้เป็นอัมพาตได้ค่ะ และถึงแม้ว่าการขาดวิตามินบี 12 แบบไม่รุนแรงก็อาจทำให้การทำงานทางจิตบกพร่องและพลังงานในร่างกายต่ำ อีกทั้งวิตามินบี 12 ยังมีบทบาทในการก่อตัวของเม็ดเลือดแดง ดังนั้นการขาดโคบาลามินหรือวิตามินบี 12 สามารถนำไปสู่การผลิตเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งไม่สามารถรองรับออกซิเจนได้อย่างถูกต้อง และประโยชน์ของวิตามินบี 12 นั้นก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มพลังงาน ลดภาวะซึมเศร้า ลดความอยากน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง ลดความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง เมื่อร่างกายมีการขาดวิตามินบี 12 จะมีอาการดังนี้ –ผิวและลิ้นซีดเหลือง -ลิ้นอักเสบ, มีแผลในปาก -ชาตามปลายเท้าปลายมือ -มีปัญหาเรื่องการทรงตัว -มองไม่ชัด หงุดหงิดง่าย -ซึมเศร้า -ความจำเสื่อ -ท้องผูก -ภาวะโลหิตจาง -เหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย ปริมาณที่ควรได้รับวิตามินบี 12 ต่อวัน […]

13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง

“วิตามินบี 6 (Vitamin B6)” หรือ ไพริดอกซิน (Pyridoxine) เป็นอีกหนึ่งในตระกูลวิตามินบีและเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในน้ำ วิตามินบี 6 จะทนความร้อนได้แต่จะทนแสงสว่างไม่ได้ ในพืชวิตามินนี้มักรวมอยู่กับโปรตีนและอยู่ในรูปแอลกอฮอล์หรือไพริดอกซิน (Pyridoxine) ส่วนในสัตว์จะอยู่ในรูปของเอมีนหรือ Pyridoxamine และแอลดีไอด์ หรือ Pyridoxal แต่จะมีไพริดอกซินอยู่น้อย ร่างกายเราจะดูดซึมวิตามินบี 6 จากอาหารได้เร็วที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เมื่อเข้าไปสู่ในร่างกายก็จะเปลี่ยนเป็น Coenzyme ในรูปของ Pyridoxal Phosphate ที่เหลือจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากบริโภคและจะไม่เก็บสะสมไว้ที่ตับค่ะ วิตามินบี 6 มีบทบาทต่างๆ มากมายกว่า 100 ปฏิกิริยาในร่างกาย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ร่างกายของเราต้องการวิตามินบี 6 จากอาหาร และวิตามินบี 6 หรือ ไพริดอกซิน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่ช่วยในการสร้างกรดอะมิโน การสร้างโปรตีนและการทำงานของเซลล์นับร้อย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อสร้างไนอาซิน (วิตามิน B3) จากกรดอะมิโนทริปโตเฟนได้อีกด้วย บทบาทอื่น ๆ ของวิตามินบี 6 ได้แก่ […]