HealthGossip

สารพฤกษเคมี

9 สุดยอดประโยชน์ต่อสุขภาพจากแครนเบอร์รี่

ถ้าพูดถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ผลไม้ชนิดแรกๆ ที่เราจะนึกถึงก็คงจะเป็นพวก สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เป็นอย่างแรกเลยใช่ไหมล่ะคะ นอกจากนี้แล้วยังมีราสเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่จะมาพูดถึงวันนี้คือผลไม้ที่มีชื่อว่า “แครนเบอร์รี่” (Cranberry) ค่ะ ขึ้นชื่อว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ก็จัดว่าเป็นสุดยอดอาหารที่ดีต่อสุขภาพอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ด้วยผลไม้ตระกูลนี้จะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่โดดเด่นกันไปในแต่ละชนิด ไม่เพียงแค่รสชาติที่อร่อยเท่านั้นคนที่รักสุขภาพจะทราบกันเป็นอย่างดีและเลือกที่จะนำมารับประทานและประกอบอาหารกันอยู่เสมอ จากหัวข้อเกี่ยวกับผลไม้แครนเบอร์รี่ที่จะนำข้อมูลมาแบ่งกันในวันนี้ เนื่องจากเราไม่ค่อยจะคุ้นหูกันเท่าไหร่และอาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักกันว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ยังมีอีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยอย่าง แครนเบอร์รี่ อยู่นะ ใครที่คุ้นหูผ่านตากันมาบ้างแต่ยังไม่รู้จักมากนักรวมถึงคนที่ยังไม่รู้จักเลยมันคืออะไรกันนะ จึงหวังว่าข้อมูลของผลไม้ชนิดนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นอีกตัวเลือกของผลไม้เพื่อสุขภาพอีกหนึ่งชนิดนะคะ ผลไม้ที่มีชื่อว่า แครนเบอร์รี่ มาจากไหนนะ เรามาเริ่มเกริ่นและทำความเข้าใจความเป็นมาของผลไม้ชนิดนี้กันก่อนเลยค่ะ แครนเบอร์รี (Cranberries) เป็นผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเบอร์รี่โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon ผลไม้แครนเบอร์รี่ถือกำเนิดขึ้นในแถบทางเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดาโดยจะมีมากกว่าแครนเบอร์รี่ที่เกิดตามธรรมชาติในทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วทวีปยุโรปค่ะ มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรีที่มีผลสุกแล้วเป็นสีแดงสดอยู่ในลักษณะเป็นพวง ผิวของผลแครนเบอร์รี่จะลื่นและมันวาว รสชาติเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอม ซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียนิยมนำมาปรุงอาหารและจัดเตรียมคล้ายกับวันสำคัญตามประเพณีของชาวอเมริกัน โดยนำมาอบแห้งและเติมรสชาติให้มีความหวานจากน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเมเปิ้ล พบว่าสมัยอาณานิคมชาวอาณานิคมได้เริ่มนำผลไม้แครนเบอร์รี่ส่งออกกลับบ้านกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ค่ะ แครนเบอร์รี่จะสามารถเก็บได้เป็นปีถ้าเรานำไปเก็บในรูปแบบแช่แข็ง ต้นแครนเบอร์รี่จะเริ่มสุกงอมเป็นสีแดงฉ่ำมากพร้อมเก็บในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเก็บโดยการแช่แข็งและนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานกันได้ตลอดทั้งปีค่ะ   แครนเบอร์รี่มีประโยชน์อะไรบ้าง ส่วนใหญ่ในช่วงวันคริสมาสต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะนิยมนำมาแครนเบอร์รี่มาตกแต่งตามต้นคริสมาสต์ให้มีสีแดงสดใสสวยงาม ไม่เพียงแค่นั้นยังนิยมนำมาประกอบอาหารหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มรวมถึงเป็นอาหารว่างด้วย ก่อนอื่นเรามาดูคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ที่ชื่อว่าแครนเบอร์รี่ว่ามีอะไรบ้างค่ะ คุณค่าทางโภชนาการของแครนเบอร์รี่ แครนเบอร์รี่ปริมาณ 1 ถ้วย 100 […]

14 ชนิดของอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง

ฟลาโวนอยด์ “Flavonoid” หรือบางครั้งเราอาจจะเรียกมันว่า  Vitamin P เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มพอลิฟีนอล ( Polyphenol ) ที่พบและเจอได้อย่างธรรมชาติในเม็ดสีของพืช ผัก ธัญพืช และผลไม้ ซึ่งสีเฉพาะทางพฤษเคมีของฟลาโวนอยด์แล้วจะเป็นสีม่วง น้ำเงินเข้มและดำ ฟลาโวนอยด์จะมีสารประกอบหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) อย่างเช่นจำพวก ฟลาโวน ( Flavone ) และคาเทชิน ( Catechin ) โดยจะสามารถป้องกันไม่ให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของเราเสื่อมหรือถูกทำลายค่ะ เราจะเข้าใจได้ว่าสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของเราจริงๆ แล้วอยู่ในรูปแบบไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) ที่มีผลต่อร่างกายเราดังนี้ค่ะ สารต้านอนุมูลอิสระ Flavonoids บางชนิดพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่ามีวิตามินซีอยู่สูงถึงห้าสิบเท่า จึงไปช่วยในการต่อต้านริ้วรอยและปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโรคอ้วนโรคเบาหวานและป้องกันโรคเรื้อรังอีกมากมาย ต้านการอักเสบ Flavonols (flavonoid ที่พบในโกโก้) ช่วยลดการอักเสบและการยึดเกาะของโมเลกุลที่ทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง Flavonoids ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะหลอดเลือดแดงที่แข็งตัวของเส้นเลือด ป้องกันการเจริญ การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากหัวหอมที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านการขยายตัวของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ การชะลอตัวหรือการหยุดยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้รับการบันทึกไว้ในการศึกษาหลายชิ้น แต่ต้องการการวิจัยเพิ่มเติม จึงจะเห็นได้ว่า สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) นอกจากจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระแล้วยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้อีกด้วยค่ะ   14 ชนิดของอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง 1.สตรอเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่นอกจากมีรสชาติอร่อยและอาจเป็นผลไม้ที่โปรดปรานของใครหลายคนแล้ว […]

15 ชนิดของอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูง

อาหารที่ส่วนใหญ่ใครหลายคนได้รับประทานกันแล้วให้ประโยชน์ต่อสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นสารที่ได้รับจากอาหารนั้นๆ โดยสารที่ว่านั้นจะเป็นสารที่เราทราบกันดีว่าเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ วันนี้เลยมีข้อมูลของอีกสารชนิดหนึ่งมาบอกกันค่ะ สารตัวนี้ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanins) ซึ่งแอนโทไซยานินเป็นกลุ่มของเม็ดสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช เม็ดสีเหล่านี้ทำให้พืชมีสีสันสดใสนั่นเองค่ะ โดยสารแอนโทไซยานินที่ว่านี้จะเป็นรงควัตถุหรือสารสี (pigment) ที่ให้สีแดง สีม่วงและสีน้ำเงิน ซึ่งมีมากกว่า 600 ชนิดของสีที่ได้แสดงการเปลี่ยนสี ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของพืชและพืชเหล่านี้ก็จะสามารถแสดงสีออกมา เช่นสีแดง สีฟ้า หรือสีม่วง แอนโทไซยานิน (anthocyanins) จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) กลุ่มพอลิฟีนอล (polyphenol) สีของแอนโทไซยานิน ดังนั้นถ้าอยู่ในสภาพที่เป็นกรดมีค่า pH ต่ำกว่า 3 (เป็นกรดสูง) จะทำให้แอนโทไซยานินมีสีแดง ในสภาพที่ค่อนข้างเป็นกลาง หรือมีค่า pH ประมาณ 7-8 แอนโทไซยานินจะมีสีม่วง และเมื่อสภาพเป็นเบสหรือมีค่า pH มากกว่า 11 (เป็นเบสสูง) แอนโทไซยานินก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน สารสกัดแอนโทไซยานินนั้นมีประโยชน์ทางด้านสุขภาพมากมายเลยล่ะค่ะ โดยสารแอนโธไซยานินมีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งและชะลอการก่อตัวของเนื้องอก อีกทั้งในสมัยก่อนสารสกัดจากแอนโธไซยานินก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาปัญหาสุขภาพมากมายรวมทั้งปัญหาทางเดินปัสสาวะนิ่วในไต […]

9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง

เคยสงสัยเรื่องคลอโรฟิลล์กันหรือเปล่าคะบางคนอาจทราบกันว่าส่วนใหญ่ในพืชนั้นจะต้องมีสารตัวนี้อยู่ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่ทราบงง่าความจริงแล้วคลอโรฟิลล์คืออะไรและคลอโรฟิลล์จะมีประโยชน์สำหรับมนุษย์เราหรือเปล่านะ วันนี้เลยอยากจะมาเขียนถึงข้อมูลของคลอโรฟิลล์บางส่วนเพื่อทำความรู้จักกับคลอโรฟิลล์ให้มากขึ้นกันค่ะ “ โดยสารคลอโรฟิลล์ ” (Chlorophyll) ที่เป็นสารสีเขียวนั้นคือเป็นประเภทสีอีกหนึ่งชนิดของพืชในกลุ่มพฤกษเคมี (Phytonutrients) นั่นเอง โดยคลอโรฟิลล์ มีหน้าที่ในการดูดซับแสงในกระบวนการสังเคราะห์แสงและสร้างพลังงานของพืชค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นความสำคัญของสารคลอโรฟิลล์คือช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ทั้งยังเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย และปกป้อง DNA จากความเสียหายที่เกิดจากเชื้อราที่เป็นพิษ เช่นอะฟลาท็อกซิน คลอโรฟิลล์สามารถพบได้ในพืชที่มีสีเขียวทั้งหมด ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงผักใบเขียวและผักอื่นๆ ที่เรารับประทานกันทั่วไปรวมถึงสาหร่ายหรือแบคทีเรียบางชนิดอีกด้วยค่ะ การเลือกรับประทานผักยังไงให้ได้คลอโรฟิลล์อย่างเต็มที่นั้นจะแบบปรุงสุกหรือแบบดิบดีล่ะ? ปริมาณคลอโรฟิลล์จะลดลงเมื่อผักสีเขียวนั้นถูกปรุงสุกหรือเกิดจากการละลายเมื่อแช่แข็งและเมื่อเริ่มเกิดการเน่าเสีย ตัวอย่างเช่นปริมาณคลอโรฟิลล์ในผักขมลดลงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หลังจากที่ละลาย และอีก 50 เปอร์เซ็นต์หลังจากการต้มหรือนึ่ง ทางที่ดีควรปรุงหรือต้มด้วยอุณหภูมิต่ำจะช่วยคงสภาพคลอโรฟิลล์ได้มากที่สุดค่ะ   9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง 1.ผักปวยเล้ง ผักปวยเล้งเป็นผักใบสีเขียวเข้มที่มากคุณค่าทางโภชนาการเลยล่ะค่ะ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารคลอโรฟิลล์สูง ผักปวยเล้งปริมาณเพียง 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 23.7 มิลลิกรัม   2.ผักชี ทราบกันหรือเปล่าคะว่าผักชีที่เรานิยมนำมาปรุงอาหารดีๆ นี่แหละค่ะเป็นแหล่งชั้นดีของคลอโรฟิลล์เลยก็ว่าได้ค่ะ ผักชีปริมาณแค่ครึ่งถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 19.0 มิลลิกรัม   3.กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีไม่ว่าจะนำมารับประทานแบบสดๆ […]

ดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้คุณประโยชน์มากที่สุด

เครื่องดื่มที่ไม่มีใครไม่รู้จักแล้วก็ยังให้ความนิยมชมชอบกันเป็นชีวิตจิตใจก็คงจะหนีไม่พ้นเครื่องดื่มที่มีชื่อว่า “ชาเขียว” (Green tea) ชาเขียว คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน […]