Browse Tag: ธรรมชาติ

15 ชนิดของอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูง

Source: Flickr (click image for link)

อาหารที่ส่วนใหญ่ใครหลายคนได้รับประทานกันแล้วให้ประโยชน์ต่อสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นสารที่ได้รับจากอาหารนั้นๆ โดยสารที่ว่านั้นจะเป็นสารที่เราทราบกันดีว่าเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ วันนี้เลยมีข้อมูลของอีกสารชนิดหนึ่งมาบอกกันค่ะ สารตัวนี้ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanins) ซึ่งแอนโทไซยานินเป็นกลุ่มของเม็ดสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช เม็ดสีเหล่านี้ทำให้พืชมีสีสันสดใสนั่นเองค่ะ โดยสารแอนโทไซยานินที่ว่านี้จะเป็นรงควัตถุหรือสารสี (pigment) ที่ให้สีแดง สีม่วงและสีน้ำเงิน ซึ่งมีมากกว่า 600 ชนิดของสีที่ได้แสดงการเปลี่ยนสี ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของพืชและพืชเหล่านี้ก็จะสามารถแสดงสีออกมา เช่นสีแดง สีฟ้า หรือสีม่วง แอนโทไซยานิน (anthocyanins) จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) กลุ่มพอลิฟีนอล (polyphenol) สีของแอนโทไซยานิน ดังนั้นถ้าอยู่ในสภาพที่เป็นกรดมีค่า pH ต่ำกว่า 3 (เป็นกรดสูง) จะทำให้แอนโทไซยานินมีสีแดง ในสภาพที่ค่อนข้างเป็นกลาง หรือมีค่า pH ประมาณ 7-8 แอนโทไซยานินจะมีสีม่วง และเมื่อสภาพเป็นเบสหรือมีค่า pH มากกว่า 11 (เป็นเบสสูง) แอนโทไซยานินก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน สารสกัดแอนโทไซยานินนั้นมีประโยชน์ทางด้านสุขภาพมากมายเลยล่ะค่ะ โดยสารแอนโธไซยานินมีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งและชะลอการก่อตัวของเนื้องอก อีกทั้งในสมัยก่อนสารสกัดจากแอนโธไซยานินก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาปัญหาสุขภาพมากมายรวมทั้งปัญหาทางเดินปัสสาวะนิ่วในไต โรคตับ ความดันโลหิตสูง โรคบิด ปัญหาโรคหวัดไข้หวัดใหญ่และโรคอุจจาระร่วงด้วยค่ะ

U.S. Department of Agriculture ไม่มีปริมาณแอนโธไซยานินที่แนะนำในชีวิตประจำวันที่คุณควรรับ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการอื่น ๆ ได้กล่าวว่าอย่างไรก็ตามคำแนะนำที่เหมาะสมในการรับสารแอนโธไซยานิน คือประมาณ 12.5 กรัมต่อวัน ทั้งนี้เราเลยได้หาข้อมูลชนิดของอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินไว้ให้ดังต่อไปนี้ค่ะ

 

15 ชนิดของอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ข้าวโพดสีม่วง

ข้าวโพดสีม่วงหรือข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง จะมีสารแอนโทไซยานินอยู่สูงมากขนาดที่ใครหลายคนคิดว่าสามารถต้านมะเร็งได้ โดยข้าวโพดสีม่วงปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโทไซยานินอยู่มากถึง 1,642 มิลลิกรัม

 

2.โช๊คเบอร์รี่

ผลไม้ที่มีชื่อเรียกว่า โช๊คเบอร์รี่ มีผลสีดำออกม่วงเข้มจัดเป็นแหล่งของสารแอนโธไซยานินชั้นดีเลยล่ะค่ะ โช๊คเบอร์รี่ปริมาณแค่เพียง 100 กรัม ก็มีสารแอนโธไซยานินมากมายถึง 2,147 มิลลิกรัม

 

3.อัลเดอร์เบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อีกหนึ่งชนิดที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกันแต่มีสารแอนโธไซยานินอยู่เปี่ยมล้นนัก นั่นก็คือผลอัลเดอร์เบอร์รี่ (Elderberries) ที่มีปริมาณ 100 กรัมก็ให้สารแอนโธไซยานินมากถึง 1,993 มิลลิกรัม

 

4.ราสเบอร์รี่สีดำ

ผลราสเบอร์รี่สีดำพบว่าเมื่อรับประทานทุกวัน สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากถึงร้อยละ 45 เลยทีเดียวค่ะ ราสเบอร์รี่สีดำปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินมากถึง 845 มิลลิกรัม

 

5.มะเขือม่วง

มะเขือสีม่วงจัดอยู่ในอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูงมากชนิดหนึ่งค่ะ ซึ่งมะเขือม่วงปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 750 มิลลิกรัม

 

6.แบล็คเคอร์แรนท์

แบล็คเคอร์แรนท์เป็นผลไม้ตระกูลราสเบอร์รี่ และมีสารแอนโธไซยานินไม่น้อยเลยค่ะ แบล็คเคอร์แรนท์ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินถึง 533 มิลลิกรัม

 

7.บลูเบอร์รี่

ผลไม้แสนอร่อยที่เต็มไปด้วยคุณค่าและโประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างบลูเบอร์รี่ ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 529 มิลลิกรัม

 

8.Marion Blackberry

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Marion Blackberry จัดเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินอยู่สูง ซึ่ง Marion Blackberry ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 433 มิลลิกรัม

 

9.แบล็คเบอร์รี่

ผลแบล็คเบอร์รี่จะไม่ติดอันดับก็คงจะไม่ได้ นอกจากอร่อยแล้วยังดีต่อสุขภาพอย่างนี้ แบล็คเบอร์รี่ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินมากถึง 353 มิลลิกรัม

 

10.เกรฟฟรุ็ท

เกรฟฟรุ๊ทเป็นผลไม้ที่มีลักษณะคล้ายส้มแต่ข้างในมีสีแดง โดยเกรฟฟรุ็ทปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 200 มิลลิกรัม

 

11.องุ่นม่วง

ผลองุ่นสีม่วงจัดเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินไม่น้อยเลยล่ะค่ะ องุ่นม่วงปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณสารแอนโธไซยานินอยู่ 192 มิลลิกรัม

 

12.เชอร์รี่หวาน

เชอร์รี่หวานนอกจากรสชาติอร่อยแล้วยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เชอร์รี่หวานปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินถึง 177 มิลลิกรัม

 

13.ราสเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อีกหนึ่งชนิดอย่างราสเบอร์รี่ที่สีสดใสสีแดง มีรสชาติเปรี้ยวก็เต็มเปี่ยมไปด้วยสารแอนโธไซยานิน โดยราสเบอร์รี่ปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณสารแอนโธไซยานินอยู่มากถึง 116 มิลลิกรัม

 

14.ผลแรดิช

ผลแรดิชมีลักษณะลูกกลมๆ สีแดงสด สามารถนำมารับประทานได้แบบสดๆ ก็จะได้รับสารแอนโทไซยานินไม่น้อยเลยล่ะค่ะ เพียงรับประทานผลแรดิชขนาด 100 กรัม ก็จะได้รับสารแอนโธไซยานินปริมาณ 116 มิลลิกรัม

 

15.กะหล่ำปลีสีแดง

ผลกะหล่ำปลีสีแดงเป็นอีกหนึ่งพืชผักชนิดที่มีสารแอนโทไซยานินอยู่สูง โดยกะหล่ำปลีสีแดงขนาด 100 กรัม จะมีปริมาณสารแอนโธไซยานินอยู่ 113 มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/wendynelsonphoto/7246093876/

www.flickr.com/photos/calliope/1223972901/

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

Source: Flickr (click image for link)

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) จะเป็นที่รู้จักและนิยมเลือกมารับประทานกันในแวดวงคนที่รักสุขภาพโดยเฉพาะในต่างประเทศ ร้านค้าที่เรียกว่าซูปเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศที่ไปทางไหนอาหารทุกอย่างเกือบทุกชนิดที่จะต้องมีอาหารประเภทออร์แกนิก และราคาก็จะแตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิกซึ่งอาหารที่เป็นออร์แกนิกจะมีราคาที่สูงกว่า และคนต่างประเทศค่อนข้างจริงจังที่จะเลือกซื้อหรือหยิบอาหารที่เป็นออร์แกนิกอยู่เสมอๆ ในบางคนถึงกับสงสัยว่าทำไมราคาถึงได้ต่างกันขนาดนี้นะในเมื่อชนิดของอาหารก็เป็นชนิดเดียวกันรูปร่างหน้าตาของอาหารก็เหมือนกัน ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่เป็นอาหารออร์แกนิก ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันด้วยที่เป็นออร์แกนิกอย่างเช่น เครื่องปรุงอาหาร เป็นต้น นี่จึงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้เขียนได้คลายความสงสัยเลยจึงอยากนำเอาข้อมูลมาแบ่งปันกันค่ะ ว่าแล้วอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้มันคืออะไรกัน ทำไมถึงเป็นที่นิยมกันมากนักในพวกคนที่รักสุขภาพ ถ้าจะพูดไปสมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น และบางคนที่ยังไม่ทราบว่าอาหารออร์แกนิกคืออะไรอย่างแน่ชัดแต่เห็นคนอื่นบอกดีก็กินตามกันไป และก็เป็นเรื่องปกติซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใดค่ะ แค่อย่างน้อยอยากให้ตัวเราเองทราบข้อมูลที่แท้จริงไว้ซึ่งบางทีอาจจะสามารถนำข้อมูลไปบอกต่อคนอื่นๆ ได้อีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วเราไปดูข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารออร์แกนิก กันเลยค่ะ

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารเกษตรอินทรีย์ หรือ อาหารอินทรีย์ นั่นก็หมายความว่าอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้คืออาหารที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตจากทางเกษตรโดยที่ไร้หรือปลอดสารเคมีทุกชนิดคือไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีรวมถึงวัตถุสังเคราะห์ต่างๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงไม่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมจากเมล็ดพันธุ์อีกด้วยค่ะ ซึ่งก็รวมไปถึงกระบวรการผลิตก็จะต้องไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดพืชด้วย และก่อนที่จะเริ่มการปลูกก็จะต้องเตรียมหน้าดินด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าทุกกระบวนการและขั้นตอนการผลิตนั้นจะต้องไม่มีหรือปลอดสารปนเปื้อนทั้งสิ้นไม่ว่าจะจากมนุษย์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม และจะไม่มีการฉายรังสีหรือเพิ่มเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ลงไปในอาหารอีกด้วย แม้กระทั่งในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์จะต้องเลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารที่มีสุขอนามัย ถ้าอาหารที่มาจากการทำปสุสัตว์ก็จะต้องไม่มีการใช้สารปฎิชีวภาพ ไม่ใช้สารที่เร่งฮอร์โมนด้วย จากการตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมอาหารออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตราประทับว่าออร์แกนิก (Organic) ถึงได้มีราคาที่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ก็เนื่องจากสินค้าออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสัดส่วนของส่วนผสมและวัตถุดิบที่เกิดจากการเพาะปลูกด้วยกระบวนการออร์แกนิก โดยการควบคุมและการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกมีราคาสูงกว่าทั่วไป ก็เพราะว่ามีต้นทุนการผลิตที่สูงและมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมคุณภาพนั่นเองค่ะซึ่งมีอะไรบ้างนั้นกว่าจะมาเป็นอาหารประเภทออร์แกนิกได้นั้นต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนของอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

  • ส่วนประกอบทุกอย่างต้องมาจากธรรมชาติ

ส่วนประกอบทุกอย่างในการที่จะประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกนั้นจะต้องมาจากธรรมชาติทั้งหมด นั่นก็คือในขั้นตอนกระบวนการเพาะปลูกพืชและผักนั้นจะไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่าจะต้องเป็นพืชผักที่ปลอดสารพิษจากสารเคมีซึ่งจะใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการเพาะปลูกเท่านั้นค่ะ และรวมไปถึงเนื้อสัตว์ก็ต้องมาจากสัตว์ที่จะต้องถูกทำการเลี้ยงดูให้เติบโตสมบูรณ์อย่างอิสระตามธรรมชาติรวมถึงได้รับอาหารจากธรรมชาติ และจะไม่มีการใช้สารเร่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเร่งเนื้อ เร่งไข่ จะไม่มีการขุนหรือให้อาหารสังเคราะห์ใดๆ ต่อสัตว์ทั้งนั้นที่เป็นการทำให้สัตว์เหล่านั้นโตเร็วขึ้นเหมือนกับที่ในวงการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทำกัน ถึงจะเรียกได้ว่าผลผลิตเหล่านี้เป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติ 100% ไม่มีสารพิษเจือปนค่ะ

  • ขั้นตอนขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี

หากในอาหารมีส่วนประกอบจากการใช้สารเคมีร่วมด้วยนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นออร์แกนิก ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีในที่นี้หมายถึง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี สารกระตุ้นหรือสารเร่งการเจริญเติบโต โดยตามหลักมาตรฐานขององค์กรออร์แกนิกจะระบุรูปแบบอาหารออร์แกนิกไว้ 3 ระดับ คือ

1.100% Organic (ธรรมชาติ 100%)

2.Organic (ธรรมชาติ 95% ขึ้นไป ใช้สารสังเคราะห์เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น)

3.Made with Organic Ingredient (ธรรมชาติ 70% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ไม่ถือว่าเป็น Organic)

ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์ถูกนำออกมาจำหน่ายนั้น ต้องมีป้ายบ่งบอกเปอร์เซ็นต์ลักษณะนี้ ซึ่งในต่างประเทศอย่างอเมริกา แคนาดา ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารออร์แกนิกค่อนข้างสูง โดยจะเป็น Organic 100% ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้วเรายังไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็เริ่มมีผู้บริโภคในกลุ่มคนรักสุขภาพหันมารับประทาน Organic Food มากขึ้น เพราะพิษภัยของสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม ทำให้ร่างกายของเรากลายเป็นแหล่งสะสมสารพิษและส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น Organic Food จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขภาพของตัวเอง

  • กระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม

นอกจากส่วนผสมและขั้นตอนกระบวนการของการประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกจะต้องปลอดสารพิษไร้สารเคมี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพแล้วยังคำนึงถึงในขั้นตอนกระบวนการผลิตที่จะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยพยายามลดมลพิษที่จะให้โทษต่อธรรมชาติ ซึ่งคงจะทราบกันดีว่าการใช้สารเคมีเช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี จะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในดิน น้ำ และอากาศ ดังนั้นวิธีการปลูกแบบธรรมชาติแบบนี้จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ คือ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั่นเองค่ะ

 

จะทราบได้อย่างไรว่าอาหารประเภทไหนเป็น “ออร์แกนิก”

Source: Flickr (click image for link)

ในส่วนของประเภทของอาหารออร์แกนิกที่พบว่ามีวางจำหน่ายมากที่สุดคือ ผักสด ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากธัญพืช เครื่องดื่ม เครื่องปรุงอาหาร และในรูปของขนมต่าง ๆ (เกือบ 58% ของสินค้าออร์แกนิกที่วางจำหน่ายเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าไม่นับรวมกับผักผลไม้สดที่ส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศ สัดส่วนของสินค้าออร์แกนิกที่นำเข้าจากต่างประเทศจะสูงถึง 85%)

หลายคนอยากที่จะหันมาเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกกันมากขึ้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั่นเอง หรือใครที่กำลังอยากที่จะเริ่มต้นในการเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกอาจจะเกิดความสงสัยว่าต้องดูยังไงนะถึงจะรู้ว่าสินค้าหรืออาหารแบบไหนที่เป็นอาหารและสินค้าประเภทออร์แกนิก หรือแค่ติดป้ายว่าออร์แกนิก (Organic) ก็ใช่เลยหรือเปล่า? โดยเกือบ 91% ของสินค้าออร์แกนิกจะได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีเพียง 9% เท่านั้นที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นสินค้าออร์แกนิกแต่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งในสินค้าที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานนั้นจะใช้ตราที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศ โดยตรารับรองการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้มากที่สุดคือ ตรารับรองของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA)  

โดย U.S. Department of Agriculture ตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดคำว่า “Organic” ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับสินค้าเกษตรและสัตว์น้ำที่จับได้จากแหล่งธรรมชาติที่มาจากการเพาะเลี้ยงและอาหารสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและที่ผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์เกษตรที่นำมาใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องปรุง (Ingredient) ที่ได้รับการผลิตและการจัดการเป็นไปตามกฎระเบียบ USDA ที่กำหนดไว้ว่าแล้วเท่านั้น แต่จะมีเพียงส่วนน้อยที่ใช้เพียงมาตรฐานของประเทศไทย Organic Thailand หรือสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ค่ะ

 

https://www.flickr.com/photos/84906483@N08/7784187292/ 

https://www.flickr.com/photos/williamismael/5539135518/