Browse Tag: บล็อคโคลี่

19 สุดยอดอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

oats-meal-1
Source: Flickr (click image for link)

ไฟเบอร์ (Fiber) หรือ เส้นกากใยที่เรารู้จักในอาหารจำพวกผักและผลไม้ ทำไมวันนี้เราจึงยกหัวข้อเรื่องอาหารที่มีไฟเบอร์สูงมานำเสนอกัน เนื่องจากสมัยนี้ในบางคนหรือส่วนใหญ่ไม่ชอบรับประทานอาหารจำพวกผักผลไม้กันมากนัก จึงทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บตามมาต่างๆ นาๆ จากที่สังเกตุได้ก่อนง่ายๆ เลยคือเรื่องของระบบขับถ่ายที่ส่งผลกระทบให้ขับถ่ายลำบาก ไม่ค่อยขับถ่ายเป็นเวลาบางคนเป็นเดือนก็ยังไม่ขับถ่ายเลย ใครจะคิดว่าเจ้าไฟเบอร์ที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งธรรมดาไม่ได้พิเศษอะไรแต่ถ้าเมื่อไหร่ร่างกายเราไม่มีมันแล้วล่ะก็ อาจจะสามารถส่งผลที่แย่ในหลายๆ ด้านได้ บางคนอาจจะรับประทานอาหารเสริมที่มีไฟเบอร์เป็นส่วนประกอบแทน เนื่องจากไม่มีเวลาหรือไม่ชอบทานผักและผลไม้ แต่ทราบหรือไม่คะว่าการมีผักและผลไม้เป็นส่วนหนึ่งของอาหารในแต่ละมื้อแต่ละวันนั้นนอกจากจะช่วยให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนแล้ว ในผักผลไม้เหล่านั้นยังมีวิตามินเกลือแร่ที่ร่างกายได้รับโดยตรงแล้วนั้นไม่ได้แค่ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายอย่างเดียวแต่ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของผิวพรรณ ระบบต่างๆ ของร่างกายให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย อย่างเช่น ไปช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ค่ะ โดยผู้หญิงเราควรได้รับไฟเบอร์อย่างน้อย 25 กรัมต่อวัน ส่วนผู้ชายนั้นอยู่ที่ 35-40 กรัม แต่คนทั่วไปจะกินกันแค่ 15 กรัมเท่านั้น (ไม่นับอาหารที่มีการใส่ไฟเบอร์เสริม) และทีนี้จะทราบกันได้อย่างไรว่าอาหาร ผักและผลไม้ประเภทไหนยังไงถึงจะมีไฟเบอร์ที่เยอะและพอต่อร่างกายของเราในแต่ละวัน ไม่ต้องกังวลค่ะวันนี้มีข้อมูลมาให้เรียบร้อย บางประเภทบางอย่างก็ใกล้ตัวหาทานได้ง่ายทั่วไปค่ะ

 

19 สุดยอดอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

 

1.ข้าวกล้อง

เริ่มต้นด้วยอาหารหลักของคนไทยบ้านเรานั่นก็คือข้าวนั่นเอง แต่ส่วนใหญ่คนไทยจะคุ้นเคยการรับประทานข้าวขาวข้าวที่ผ่านการขัดสีซะมากกว่า แต่ทราบหรือไม่คะว่าข้าวกล้องสีน้ำตาลอ่อนๆ นี้แหละประโยชน์เพียบ ข้าวกล้องมีกากใยอาหารสูงถึง 3.5 กรัม/ถ้วย และการกินข้าวขาวนั้นอาจจะทำให้ความเสี่ยงเป็นเบาหวานประเภทสองสูง แต่กลับกันการกินข้าวกล้องกลับจะช่วยให้ลดความเสี่ยงได้ของการเป็นเบาหวานได้เสียอีกแน่ะ เนื่องจากเส้นใยนี้เองจะไปช่วยซับเอาน้ำมันและน้ำตาลที่กินเข้าไปล้นเกินนั้นขับทิ้งออกเป็นกากอุจจาระ ทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนักและช่วยควบคุมระดับไขมันกับระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป และเมื่อมีกากอุจจาระมากขึ้น ก็ทำให้การขับถ่ายดีขึ้นช่วยลดอาการท้องผูกได้อีกด้วยค่ะ

 

2.ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ต เป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ดีมีเบต้ากลูแคนไฟเบอร์ชนิดพิเศษ จัดเป็นเมนูอาหารเช้าที่ทรงคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีไฟเบอร์ทั้งแบบละลายน้ำ (ที่ช่วยลดความดันโลหิต) และไฟเบอร์แบบไม่ละลายน้ำ (ที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานตามปกติ) นอกจากนั้นยังช่วยเรื่องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเป็นอย่างดี

 

3.ข้าวโพด

ข้าวโพดแสนอร่อยสำหรับใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นสีเหลือง ขาว หรือม่วงล้วนแต่มีประโยชน์จากไฟเบอร์ทั้งนั้น โดยที่ข้าวโพด 1 ฝัก (หรือประมาณครึ่งถ้วย) จะมีไฟเบอร์ประมาณ 2 กรัม หรือจะกินเป็นแบบป๊อปคอร์นแทนก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ใส่เนย น้ำตาล หรือเกลือมากเกินไป ป๊อปคอร์นจะให้ไฟเบอร์ประมาณ 3.5 กรัม ต่อปริมาณสามถ้วย

 

4.ข้าวบาร์เลย์

ข้าวบาร์เลย์ที่เรารู้จักกันส่วนใหญ่จากวัตถุดิบของเบียร์หรือวิสกี้ แต่ข้าวบาร์เลย์ก็เหมาะกับโยเกิร์ตหรือน้ำเต้าหู้เหมือนกัน ข้าวบาร์เลย์มีปริมาณไฟเบอร์ที่สูงที่สุดในบรรดาเมล็ดข้าวทั้งหมด ข้าวบาร์เลย์ที่สุกแล้วอุดมไปด้วยไฟเบอร์ 6 กรัมต่อถ้วย เพราะฉะนั้นตัวเลือกนี้คงควรจะต้องมีไว้ในดวงใจซะแล้ว

 

5.เมล็ดเจีย

เมล็ดเจียจัดเป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์หรือสุดยอดอาหารและมีประโยชน์ มากคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างยิ่ง เป็นธัญพืชที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำแต่อุดมด้วยไฟเบอร์สูงที่ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด จึงมีคุณสมบัติช่วยต้านโรคเบาหวานประเภท 2 ได้ เมล็ดเจียที่เห็นว่าเป็นเมล็ดเล็กๆอย่างนี้ แต่ทราบหรือเปล่าว่าอัดแน่นเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหารไว้ข้างในได้แก่ โปรตีน พลังงาน น้ำ ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ซิงก์ โซเดียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 ถึงบี 3 และบี 6 ตลอดจนโฟเลต กรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว เป็นต้น ที่สำคัญในเมล็ดเจียนี้ยังได้ชื่อว่าเป็นตัวช่วยลดน้ำหนักได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย เพียงแค่ทานเมล็ดเจียเพียง 1 ออนซ์ หรือประมาณสองช้อนโต๊ะ ถือว่ามีไฟเบอร์ที่สูงถึง 9.8 กรัมเลยทีเดียว

 

6.ถั่วชนิดต่างๆ

ธัญพืชตระกูลถั่วก็เป็นอาหารอีกชนิดที่ให้ไฟเบอร์สูง อย่างเช่น ถั่วขาว ถั่วดำ และถั่วแดง

ถั่วขาว นอกเหนือจากไฟเบอร์ โปรตีน และธาตุเหล็กแล้ว ถั่วขาวยังเป็นหนึ่งในแหล่งโพแทสเซียมตามธรรมชาติที่ดีที่สุด

ถั่วดำ ในหนึ่งถ้วยจะให้ไฟเบอร์กับโปรตีนมากถึง 15 กรัม สีที่เข้มของมันยังบ่งบอกว่ามีฟลาวานอยด์ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอยู่มากอีกด้วย

ถั่วแดง ลองหุงถั่วแดงกับข้าวแล้วคุณจะรู้ว่าความอร่อยแบบง่าย ๆ มีจริง แม้จะหาได้ง่าย แต่ถั่วแดงก็ให้สารอาหารที่จำเป็นคือ ไฟเบอร์ โปรตีน และธาตุเหล็ก

 

7.อะโวคาโด

อะโวคาโดถือเป็นอีกหนึ่งสุดยอดอาหารที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพ ถือเป็นตัวหลักๆ ที่สาวรักสุขภาพต้องเลือกนำมาปรุงอาหารไม่ว่าจะเป็นสลัดหรือกินสดๆ เนื้อครีมของอะโวคาโดเป็นแหล่งของใยอาหาร แค่ตวัดเนื้ออะโวคาโดมาเพียงแค่ 2 ช้อนโต๊ะเท่านั้นก็ให้ไฟเบอร์มากถึง 2 กรัม และในอะโวคาโดหนึ่งผลอาจให้ไฟเบอร์ถึง 10 กรัม แถมด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่สูง ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคหัวใจได้อีกด้วยแน่ะ

 

8.ลูกแพร์

ถ้าพูดถึงผลไม้ที่ให้ไฟเบอร์สูงลูกแพร์เป็นเป็นตัวเลือกแรกที่ควรเลือก ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่ย่อยง่ายและมีเส้นใยอาหารสูงโดยเฉพาะบริเวณเปลือก ดังนั้นจึงควรเลือกที่จะกินทั้งเปลือก โดยลูกแพร์ขนาดกลางหนึ่งลูกมีไฟเบอร์สูงถึง 5.5 กรัม การที่ผลไม้มีไฟเบอร์สูงก็ยิ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องของการขับถ่ายแล้วยังช่วยในการลดน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

9.แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลไม่ว่าจะสีไหนล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งนั้นสามารถเลือกทานได้ตามใจชอบประโยชน์ส่วนใหญ่ของแอปเปิ้ลนั้นจะแทรกอยู่ในผิวของเปลือกแอปเปิ้ล เพราะฉะนั้นควรจะรับประทานทั้งลูกไม่ควรที่จะปอกเปลือกออก โดยแอปเปิ้ลผลขนาดกลางจะให้ไฟเบอร์ถึง 4.4 กรัม เลยทีเดียวค่ะ นอกจากไฟเบอร์ที่สูงแล้วแอปเปิ้ลยังมีสารอาหารที่มีประโยชน์มากมายเช่น วิตามินซี และสารในกลุ่มของฟลาโวนอยด์ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบในแอปเปิ้ลค่ะ

 

9.สาลี่

เช่นเดียวกับผลไม้อื่น ๆ ที่มีเปลือกกินได้ สาลี่ และลูกแพรจะมีสารอาหารและไฟเบอร์สูงสุดเมื่อกินพร้อมเปลือกโดยผลขนาดกลางอาจให้ไฟเบอร์ถึง 5.5 กรัม

 

10.ราสเบอร์รี่

ราสเบอร์รี่ส่วนใหญ่เราจะเห็นและนึกถึงผลสีแดงๆ แต่จริงๆแล้วราสเบอร์รี่นั้นมีสีดำด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสีแดงหรือดำก็มีสารอาหารอยู่มากมายไม่ต่างกัน ราสเบอร์รี่นอกเหนือจากจะให้ไฟเบอร์ปริมาณที่สูงมากถึงประมาณ 1 ถ้วยจะให้ไฟเบอร์ 1 ใน 3 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวันแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินซีในปริมาณสูงและสารต้านอนุมูลอิสระมากมายอีกด้วย

 

11.ผักคะน้า

ผักคะน้าใบสีเขียวที่ทุกบ้านต้องทราบและรู้จักกันดี ไม่ว่าใครก็ชอบที่จะซื้อคะน้ามาติดตู้เย็นเพื่อประกอบอาหารถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีค่ะ โดยในใบคะน้าดิบ 2 ถ้วย มีปริมาณไฟเบอร์ถึง 4-8 กรัม อีกทั้งยังมีวิตามินซี เกลือแร่ และอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย

 

12.กะหล่ำดาว

กะหล่ำดาวเป็นพืชเมืองหนาวที่อยู่ในตระกูลกะหล่ำ ส่วนที่เรานำมาใช้บริโภคนั้นก็คือ หัวขนาดเล็กคล้ายกะหล่ำปลี  ซึ่งกะหล่ำที่ปรุงสุกต่อถ้วยนั้นมีไฟเบอร์อยู่ถึง 4.1 กรัม โดยนอกจากจะสามารถช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหารแล้วยังช่วยลดคอเลสเตอรอลอีกด้วย

 

13.ขนมปังโฮลวีท

ขนมปังโฮลวีทถือว่าได้เป็นสุดยอดอาหารที่น่าจะได้เห็นเป็นอันดับต้นๆ ของหลายๆอันดับของอาหารที่มีประโยชน์ แน่นอนว่าการเลือกขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาวย่อมเป็นทางเลือกที่ดีเนื่องจากขนมปังสีขาวได้ถูกขัดเอาจมูกและธัญพืชออกไปหมดแล้วหรือเรียกอีกอย่างว่า ขนมปังขัดขาว จึงทำให้ไม่เหลือสารอาหารกับไฟเบอร์ การเปลี่ยนจากขนมปังขาวเป็นขนมปังโฮลวีทนั้นก็เพื่อที่จะช่วยเรื่องของปริมาณไฟเบอร์ในระยะยาวได้มากทีเดียวค่ะ

 

14.มะเดื่อ

ทราบหรือไม่ว่ามะเดื่อแห้งเพียงครึ่งถ้วยนั้นมีเส้นใยที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำอยู่ถึง 7.3 กรัม ด้วยเส้นใยที่มีในมะเดื่ออยากมากล้นเมื่อรับประทานเข้าไปจะช่วยให้เราอิ่มนานขึ้น ซึ่งยังเหมาะสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่อีกด้วย

 

15.อัลมอนด์

อัลมอนด์เมล็ดธัญพืชมากคุณค่าและมีสารอาหารที่มีประโยชน์เต็มเปี่ยม นอกจากรสชาติที่อร่อยเคี้ยวเพลินแล้วยังเต็มไปด้วยไฟเบอร์และกรดไขมัที่ดีและโปรตีน โดยอัลมอนด์ปริมาณ ¼ ถ้วย จะให้ไฟเบอร์ประมาณ 4.5 กรัม แต่ด้วยแคลอรี่ที่สูงจึงต้องระมัดระวังในการรับประทานสักนิดค่ะ

 

16.ถั่วลันเตา

ถั่วลันเตาถือเป็นอาหารช่วยแก้ท้องผูกด้วยเส้นใยอาหารที่สูงถึง 5 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม และยังเป็นพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีวิตามิน B2 โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส และไขมันต่ำ นอกจากไฟเบอร์ที่จะช่วยในเรื่องของท้องผูกแล้วยังช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นอีกด้วย

 

17.บล็อคโคลี่

บล็อคโคลี่เป็นหนึ่งในตระกูลผักกะหล่ำปลี ซึ่งผักตระกูลนี้อุดมไปด้วยสารอาหารและมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่คุณสมบัติต้านโรคมะเร็ง อีกทั้งวิตามินซีที่สูงมากที่มีในบล็อคโคลี่บล็อคโคลี่หนึ่งถ้วยตวงให้วิตามินซีสูงกว่าส้มหนึ่งผลถึง 2 เท่า และบล็อคโคลี่ต้ม 1 ถ้วยจะมีไฟเบอร์ประมาณ 5.1 กรัม

 

18.ถั่วแระ

ถั่วแระฝักเล็กๆ มีสีเขียวๆหรือเหลืองอ่อนๆ ที่เรามักนิยมนำมาต้มทั้งฝักเพื่อรับประทานเล่นหรือจะประกอบอาหารก็แล้วแต่ โดยถั่วแระครึ่งถ้วยจะให้โปรตีนถึง 11 กรัม และไฟเบอร์อีก 9 กรัมค่ะ

 

19.อาร์ติโชก

อาร์ติโชกเป็นพืชที่นิยมปลูกในต่างประเทศ โดยเฉพาะภูเขาสูงมากกว่า 1,500 เมตร  แต่ปัจจุบันหาทานได้ง่ายเพราะเป็นผักเมืองหนาวในโครงการหลวง ซึ่งเริ่มทดลองปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อาร์ติโชกเป็นผักที่มีแคลอรีต่ำและมีไฟเบอร์สูง โดยอาร์ติโชกที่สุกขนาดกลางจะมีไฟเบอร์ที่สูงถึง 10.3 กรัม อีกทั้งยังมีสารอาหารมากมายหลายอย่าง เช่น วิตามินซี วิตามินเค โฟเลต แมกนีเซียมและโพแทสเซียมค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/tinytall/7023093877/

L-Carnitine คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

steak-beef-1
Source: Flickr (click image for link)

สมัยนี้มีอาหารเสริมมากมายหลายชนิดเต็มไปหมด บางตัวก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร ช่วยเรื่องอะไรบ้าง บางทีก็อยากจะรู้อยากลองอยากที่จะกินดูบ้างแต่มันก็ยังไม่แน่ใจและยังคงลังเล ฟังคนนู้นทีคนนี้ทีบอกว่าตัวนี้ดีอย่างนั้นอย่างนี้ วันนี้ทาง HealthGossip เลยอยากจะยกอาหารเสริมตัวหนึ่งมาบอกเล่ากันเพื่อให้เรารู้จักและเข้าใจความหมายกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่อยากลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน อาหารเสริมตัวนี้ถือว่าเป็นตัวหลักที่เลือกรับประทานกันเลยทีเดียว ซึ่งเห็นบอกว่าช่วยลดความอ้วนได้ แต่จะลดได้ยังไงนั้น ก่อนอื่นเรามารู้จักทำความเข้าใจความหมายของอาหารเสริมตัวนี้กันก่อนเลยค่ะ ซึ่งอาหารเสริมตัวนี้มักคุ้นหูกันในชื่อที่เรียกกันว่า “แอลคาร์นิทีน” โดยที่ คาร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของแอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิดคือ ไลซีนและเมธไทโอนีน ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคาร์นิทีนจะลำเลียงกรดไขมันจากไซโตซอลเข้าสู่ไมโทคอนเดรียระหว่างการสลายของลิพิด (ไขมัน) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงาน คาร์นิทีนถูกใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวาง เดิมคาร์นิทีนพบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนกและมีอยู่บนฉลากวิตามินบี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers : Active form คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine

แอลคาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเราเอง โดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine) และ ถูกใช้ไปในหน้าที่ต่างๆ หลายอย่าง เช่น เข้าไปช่วยเพิ่มกระบวนการในการดึงไขมันไปใช้ โดยการขนส่งกรดไขมัน (fatty acid) เข้าไปในศูนย์กลางของการสร้างพลังงานของเซลล์ หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ แอล-คาร์นิทีนช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มาส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และเพราะกระบวนการพื้นฐานดังกล่าวของสารชนิดนี้ จึงทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้างโฆษณาเพื่อให้เห็นว่า “เมื่อกินแอล-คาร์นิทีน แล้วร่างกายเหมือนจะได้ทำงานดึงไขมันไปใช้ตลอดเวลา แม้แต่ในยามหลับ” L-Carnitine ทำหน้าที่สำคัญในระบบเมตาบอลิซึมเพื่อสร้างพลังงาน โดยผ่านกระบวนการเผาผลาญกรดไขมันที่เรียกว่า Beta-oxidation ซึ่งเกิดภายในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ของเซลล์ต่างๆ รวมไปถึงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อลาย โดยปกติ L-Carnitine จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ Acyl-Carnitine ทำหน้าที่ขนส่งกรดไขมันสายยาวเพื่อนำไปเผาผลาญภายในไมโตคอนเดรียแล้วจึงเปลี่ยนกลับมาเป็น L-Carnitine เหมือนเดิม ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่า L-Carnitine มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฏจักรของการสลายกรดไขมันในร่างกาย ขณะเดียวกันการขาด L-Carnitine นอกจากจะมีผลเสียต่อเมตาบอลิซึมของกรดไขมันแล้วยังอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาที่พบว่าการให้ L-Carnitine สามารถลดอัตราการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ (All- cause mortality, 27%) ลดภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (Ventricular arrhythmias, 65%) และลดการปวดเค้นของกล้ามเนื้อหัวใจ (Angina, 40%) แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดอุบัติการการเกิดโรคหัวใจวาย (Heart failure)

แหล่งของคาร์นิทีน จะพบมากในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากนม คาร์นิทีนจากแหล่งธรรมชาติอื่นๆ ประกอบด้วยถั่วและเมล็ดพืช (เช่น ฟักทอง ทานตะวัน งา) พืชตระกูลถั่วหรือเมล็ดถั่ว (ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วแขก, ถั่วลิสง) ผัก (อาร์ติโชค, หน่อไม้ฝรั่ง, หัวผักกาดเขียว, บร็อคโคลี่, กะหล่ำดาว, ผักคอลลาร์ด, กระเทียม, ผักกาดเขียวปลี, กระเจี๊ยบมอญ, พาสลี่ย์, คะน้า) ผลไม้ (แอปปริคอท, กล้วย) ธัญพืช (บัควีท(buckwheat), ข้าวโพด, ลูกเดือย, ข้าวโอ๊ต, รำข้าว, ข้าวไรย์, ข้าวสาลี, รำข้าวสาลี, จมูกข้าวสาลี) และอื่นๆที่เป็นอาหารสุขภาพ (ละอองเกสรดอกไม้, ยีสต์ที่ใช้หมักสุรา, carob)การดูดซึมคาร์นิทีนของร่างกาย การดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน

 

L-Carnitine กับการควบคุมหรือลดน้ำหนัก

ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายต่างระบุตรงกันว่าการใช้ L-Carnitine ช่วยส่งเสริมเมตาบอลิซึมของกรดไขมันตามกลไกที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยเฉพาะเมื่อเรามีการออกกำลังกายชนิดแอโรบิกร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะว่าการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอหรือแอโรบิก (Aerobic exercise) จะทำให้เซลล์สลายกรดไขมันไปเป็น ATP ซึ่งเป็นสารให้พลังงานหลักของเซลล์อย่างต่อเนื่อง หากเราออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30 นาที ดังนั้นหากเราต้องการควบคุมน้ำหนักจากการลดไขมันสะสม การใช้ L-Carnitine ร่วมกับการออกกำลังกายก็ย่อมจะช่วยให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยนั่นเอง การรับประทาน L-Carnitine ร่วมกับกลุ่มวิตามินพื้นฐานอย่างวิตามินบีรวม (Vitamin B-Complex) นอกจากจะช่วยควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกายให้เป็นปกติแล้ว วิตามินบีรวมยังเป็นโคเอนไซม์หลักในปฏิกริยาการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายให้เป็นพลังงานอีกด้วย

เมื่อมนุษย์เริ่มแก่ตัวลงนั้น ความเข้มข้นของคาร์นิทีนก็จะลดลงไปดวย ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญกรดไขมันในเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะจะเกิดผลกระทบต่อกระดูก จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง และเซลล์สร้างกระดูกจะทำหน้าที่เผาผลาญเพื่อซ่อมแซมมวลกระดูก ทั้งนี้ การเปลี่ยนระดับพลาสมาของเซลล์สร้างกระดูกกับการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก โดยการลดระดับพลาสมาในเซลล์สร้างกระดูกจะเป็นตัวชี้วัดในการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ซึ่งปรากฏในโรคกระดูกพรุนของผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง ซึ่งในการทดลอง การใช้คาร์นิทีนผสม หรือ propionyl-L-carnitine นั้น สามารถเพิ่มความเข้มข้นของ serum osteocalcin ในสัตว์ที่ทดลอง แต่ถ้าว่าระดับ serum osteocalcin มีแนวโน้มทำให้อายุของสัตว์ที่ทดลองนั้นสั้นลงด้วยค่ะ

 

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน โดยทั่วไป 20 ถึง 200 มิลลิกรัมคือปริมาณของคาร์นิทีนที่ควรได้รับต่อวัน ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เคร่งครัดในการทานมังสวิรัติจะรับประทานเพียง 1 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่มีประโยชน์เกิดขึ้นถ้ารับประทานคาร์นิทีนมากกว่า 2 กรัมภายในครั้งเดียว เพราะว่าร่างกายสามารถดูดซึมได้สูงสุดได้เพียง 2 กรัม

 

www.flickr.com/photos/stephen_bolen/6142919686/