Browse Tag: มัทฉะ

9 สุดยอดอาหารที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Super Foods

quinoa-rice-1ช่วงนี้เทรนด์สุขภาพมาแรง การออกกำลังกายและอาหารสุขภาพก็แรงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเหล่าดารา กินอาหารคลีน ออกกำลังกาย อัพรูปลงอินสตาแกรม แบบนี้ก็ยิ่งเป็นกระแสให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จะว่าไปแล้วใครๆก็อยากจะมีสุขภาพที่ดีพร้อมกับรูปร่างที่สวยงามกันทั้งนั้นแหละจริงไหม บางคนก็สรรค์หาอาหาร ออกแบบเมนูอาหารที่คิดว่ารับประทานไปแล้วจะช่วยให้สุขภาพดีและสามารถลดความอ้วนไปได้ด้วย วันนี้ HealthGossip จึงลองหาอาหารที่เราเรียกกันว่า Super Food มาบอกกันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นอีกแนวทางเลือกในการเลือกนำมาประกอบอาหารกันค่ะ ก่อนอื่นก็ขออธิบายคำว่า “ซูปเปอร์ฟู้ดส์” กันก่อนเลยค่ะ “ซุปเปอร์ฟู้ด” (Superfood) เป็นคำศัพท์ทางการตลาด (Marketing term) เพื่อใช้กล่าวถึงอาหารที่เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซุปเปอร์ฟู้ดไม่ใช่คำที่นักโภชนาการ (Dietitian) และนักวิทยาศาสตร์อาหาร (Nutrition scientists) นิยมใช้กัน ตามพจนานุกรมของแมคมิแลน (Macmillan dictionary) ได้ให้คำจำกัดความของซุปเปอร์ฟู้ดว่า เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและอาจจะช่วยรักษาอาการโรคบางอย่างได้ค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันดีกว่ามีอะไรบ้างนะ

 

 9 สุดยอดอาหารที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Super Food

 

  1. คีนัว (Quinoa) ธัญพืชมากประโยชน์ที่ยกให้เป็น ซูเปอร์ฟู้ด เป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ และนำมาทำเมนูสุขภาพได้มากมาย ทั้งของคาวและขนมหวาน ควินัว, กีนัว, คิน-วา เป็นพืชตระกูลข้าวชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ หน้าตาคล้ายกับธัญพืชทั่ว ๆ ไป พบมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น โบลีเวีย เปรู เอกวาดอร์ โคลัมเบีย เป็นต้น คีนัวมีประโยชน์มากจนได้รับฉายาว่า “ซูเปอร์ฟู้ด” หรือธัญพืชที่คุณค่าทางอาหารสูง สามารถใช้กินแทนข้าวได้โดยมีมีโปรตีนที่สูงกว่าข้าวทั่วไปแล้ว ยังมี แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และไขมันดีที่จำเป็นต่อร่างกาย มีไฟเบอร์มากกว่าข้าวกล้องถึง 2 เท่า เป็นแหล่งรวมกรดอะมิโน กรดเอซิด และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป และควบคุมระบบการย่อยอาหารอีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น คีนัว ยังเป็นอาหารที่เหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย คุณประโยชน์คล้าย ๆ กับข้าวสาลีและข้าวบาร์สามารถนำไปทำให้สุกด้วยวิธีการเดียวกับการหุงข้าว มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ คือ จะนิ่มแต่แอบแฝงความกรุบกรอบเล็ก ๆ นำไปปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และใช้เวลาหุงเพียงไม่กี่นาที จึงเป็นวัตถุดิบที่นิยมสำหรับคนที่รักสุขภาพมากๆเลยล่ะค่ะ
  2. เมล็ดเชีย (Chia Seeds) เมล็ดเชียมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีดำ มีสารอาหารเยอะ แต่แคลอรี่ต่ำมาก เมล็ดเชีย เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระนี้ช่วยป้องกันไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ที่สำคัญสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยไปต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ในร่างกาย นำไปสู่โรคร้ายต่างๆ มากมาย เช่น โรคมะเร็ง เมล็ดเชียมีไฟเบอร์สูง แถมยังมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เส้นใยของเมล็ดเชียสามารถดูดซับน้ำได้ถึง 10-12 เท่า ของน้ำหนักมัน ดังนั้นเมื่ออยู่ในท้องจึงเป็นเหมือนเจลที่ขยายตัว ช่วยให้รู้สึกอิ่มและคุณก็จะทานน้อยโดยอัตโนมัติ เมล็ดเชียมีโปรตีนสูงถึง 14% ของน้ำหนักมัน อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย โปรตีนนี้จะช่วยลดความอยากอาหารได้ และเมล็ดเชียมีกรดไขมันโอเมก้าสูงเช่นเดียวกับเมล็ดเฟลกซ์ จริงๆ เมล็ดเชียมีกรดไขมันโอเมก้า 3 มากกว่าปลาแซลมอนในปริมาณที่เท่ากันด้วย ถึงแม้ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนรักสุขภาพ แต่ปัจจุบันจัดเป็นซุเปอร์ฟู้ดที่ฮอตฮิตสุดๆ ก็ว่าได้ค่ะ
  3. คามู คามู (Camu Camu) ผลไม้ทรงกลม ขนาดเท่าผลพุทรา เมื่อสุกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอมม่วง โดดเด่นที่รสเปรี้ยวช่วยให้เจริญอาหาร นิยมคั้นผลคามู คามูสด ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ผสมกับน้ำผลไม้อื่นหรือผสมกับน้ำเปล่า นอกจากนี้สามารถซื้อผงคามู คามูจากร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ชง ผสมน้ำดื่ม อัตราส่วนน้ำ 1 แก้วต่อผงคามู คามู 1 ช้อนชา หรือใช้เติมลงในน้ำผักผลไม้ปั่นหรือน้ำสลัด Journal of Food Research International ระบุว่า ผลคามู คามู 100 กรัมมีปริมาณวิตามินซี 1,882-2,280 มิลลิกรัม มีสรรพคุณช่วยรักษาสุขภาพดวงตาและผิวหนัง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันโรคหวัด หอบหืด บรรเทาอาการของโรคเหงือก อ่อนเพลียเรื้อรังไปจนถึงโรคซึมเศร้า
  4. กระเทียมสีดำ (Black Garlic) กระเทียมสีดำได้รับการกล่าวขวัญถึงประโยชน์ต่อสุขภาพว่าเหนือกว่ากระเทียมทั่วไป แท้จริงคือ กระเทียมสีขาวที่ผ่านการหมักบ่ม (Fermentation) ด้วยอุณหภูมิ 65-80 เปอร์เซ็นต์ นาน 1 เดือน จนกระเทียมสีขาวเปลี่ยนเป็นสีดำ วารสาร Medicinal and Aromatic Plant Science And Biotechnology เพิ่มเติมว่า สาร SAC (S-Allyl-L cysteine) ที่พบในกระเทียมสีดำมีคุณสมบัติด้านมะเร็ง กระเทียมสีดำใช้ปรุงอาหารเหมือนกระเทียมทั่วไป และเพื่อให้กระเทียมหลั่งสารสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น สารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ควรบุ บด หรือสับกระเทียม และตั้งทิ้งไว้สักครู่ก่อนนำมาปรุงอาหาร นายแพทย์แอนดรูว์ ไวล์ (Andrew Weil) พ่อมดแห่งวงการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กระเทียมสีดำมีรสชาติหวานกว่ากระเทียมสีขาว และพบรายงานผลวิจัยที่ระบุว่า กระเทียมสีดำมีสารแอนติออกซิแดนต์และสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่ากระเทียมสีขาวหลายเท่า  นายแพทย์แอนดรูว์เห็นว่า กระเทียมสีดำมีเสน่ห์ดึงดูดนักชิมและผู้ที่ชื่นชอบอาหารแปลกใหม่ หากไม่สามารถหาซื้อได้ กินกระเทียมสีขาวก็นับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากพอ เพราะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ ลดปริมาณคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดได้
  5. มัทฉะ (Matcha) มัทฉะ คือ ชาเขียวชนิดหนึ่งมีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น ผลิตโดยนำยอดอ่อนมาอบไอน้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการหมักและนวด เมื่อแห้งจึงนำมาบดกลายเป็นผงสีเขียว เป็นชาที่กินได้ทั้งใบ จึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ใยอาหาร และ เบต้าแคโรทีน  เมื่อละลายน้ำ มัทชะจะกลายเป็นน้ำสีเขียวอ่อนสดใส นิยมชงโดยใช้ไม้ตีฟองผสมชาและน้ำร้อนให้เข้ากัน ขณะตีเสร็จใหม่ ๆ บนผิวหน้าน้ำชาจะมีฟองละเอียดสีเขียวปกคลุม ยิ่งตีนานน้ำชาจะกลายเป็นสีเขียวมรกตเข้มขึ้น สำหรับวิธีชงชาที่ถูกต้อง สมาคมผู้ฝึกสอนชาญี่ปุ่น แนะนำว่า ควรกรองชาก่อนเพื่อไม่ให้ผงชาจับตัวเป็นก้อน จากนั้นใส่มัทฉะ 2 กรัมลงในถ้วยชา รินน้ำอุณหภูมิปกติลงไปประมาณ 10 ซี.ซี. ใช้ไม้ตีน้ำมัทฉะให้เข้ากัน แล้วจึงรินน้ำเดือดลงในถ้วยชา 50 ซี.ซี. จากนั้นตีผงชาและน้ำร้อนให้เข้ากันจนเกิดฟองละเอียดเต็มบริเวณผิวด้านบน จึงยกไม้ตีชาออก ใช้จิบขณะอุ่น มัทฉะ อุดมไปด้วยสารคาเตชิน (Catechin) และวิตามินต่าง ๆ โดยสารคาเตชิน มีสารแอนติออกซิแดนท์ ต้านมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญ ต้านเชื้อไวรัสไข้หวัด ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก จึงช่วยกำจัดกลิ่นปาก ข้อมูลจากวารสาร American Physiological Society เปิดเผยว่า มัทฉะ 1 กรัม มีสารคาเตชินสูงถึง 105 มิลลิกรัม มีค่าโอแรค (ORAC) หรือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพสารแอนติออกซิแดนท์ถึง 1300 umoleTE/กรัม เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ที่มีแอนติออกซิแดนท์ประสิทธิภาพสูงชนิดอื่น เช่น ทับทิมซึ่งมีค่าโอแรค 105 และบลูเบอร์รีป่า 93 นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยวิตามิน เอ ซี และอี จึงช่วยชะลอวัย
  6. เคเฟอร์ (Kefir) นมเปรี้ยวชนิดหนึ่งผลิตจากการหมักน้ำนมวัว แพะ หรือแกะ ด้วยแบคทีเรียและยีสต์ กระบวนการหมักช่วยเปลี่ยนน้ำตาลแลคโตส (Lactose) ในนมให้กลายเป็นกรดแลคติก (Lactic acid) ทำให้มีรสเปรี้ยว เคเฟอร์มีรสชาติเปรี้ยวคล้ายโยเกิร์ต แต่มีความข้นหนืดน้อยกว่า และมีโพรไบโอติกส์ (Probictics) หรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแตกต่างกัน แนะนำให้กินสลับกับโยเกิร์ต โดยกินร่วมกับผลไม้สดเพื่อให้ร่างกายได้รับโพรไบโอติกส์หลากหลาย ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค ทั้งกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแอนติบอดี (Antibody) ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ขณะเดียวกัน ผลไม้ที่มีกากใยสูงเมื่อกินควบคู่กับเคเฟอร์ จะมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotic) ทำหน้าที่เป็นอาหารให้กับโพรไบโอติกส์ กระตุ้นให้จุลินทรีย์ชนิดดีภายในลำไส้เจริญเติบโตได้ดี และเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี อีกด้วย เคเฟอร์เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปริมาณเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ในระบบทางเดินอาหารต่ำ ส่งผลให้ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ หลังดื่มนมจึงเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน ปวดท้อง แนะนำให้ดื่มเคเฟอร์นม ช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการปั่นป่วนในระบบทางเดินอาหาร
  7. มันแกว (Jicama) เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดินเป็นรากสะสมอาหาร แต่เดิมมีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง ปัจจุบันแพร่หลายในประเทศเขตร้อน เช่น จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มันแกวเป็นพืชที่มีหัวใต้ดินซึ่งกินได้ แต่ส่วนอื่น เช่น ใบและเมล็ดเป็นพิษ มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้ ช็อก หมดสติ และหยุดหายใจ กินมันแกวสดเป็นผลไม้ กินพร้อมผักสดร่วมกับน้ำสลัด นำไปผัดกับกุ้งด้วยไฟอ่อน หรือหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าต้มเป็นแกงจืดพร้อมผักสดหลากชนิดก็อร่อย มันแกวสดมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เนื้อสัมผัสจึงฉ่ำกรอบ ให้ความสดชื่น ช่วยดับกระหาย ทั้งอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอามีน ไนอะซิน และวิตามินซี  มันแกวเพียง 1 ถ้วยตวง ให้ใยอาหารมากถึงร้อยละ 25 ของความต้องการใน 1 วันนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของ อินูลิน (Inulin) ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหาร และไม่ให้พลังงาน มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกส์ช่วยกระตุ้นให้จุลินทรีย์ชนิดดีภายในลำไส้เจริญเติบโตได้ดี ช่วยในการขับถ่าย จึงนับเป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
  8. กิมจิ (Kimchi) เป็นอาหารเกาหลี ทำจากผักหลากหลายชนิดนำมาดองหรือแช่ในน้ำเกลือเพื่อถนอมอาหารเตรียมไว้กินแทนผักสดในช่วงฤดูหนาวที่ไม่สามารถปลูกผักบางชนิดได้ นับเป็นภูมิปัญญาคนโบราณที่ทำให้มีผักกินตลอดทั้งปี โดย ผักกาดขาว หัวผักกาด หัวหอม ต้นหอม แตงกวา กระเทียม ขิง พริกแดง คือผักที่นิยมปรุงเป็นกิมจิ โดยหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ จากนั้นคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงรสที่มีกระเทียมสับ ขิง และพริกแดงป่นเป็นส่วนประกอบ นิยมกินกิมจิเป็นเครื่องเคียงในอาหารมื้อหลัก หรือปรุงเป็นอาหารหลากหลาย เช่น ข้าวผัด สตูบะหมี่ กิมจิมีรสชาติเปรี้ยวนำเพราะผ่านกระบวนการหมัก ทำให้อุดมด้วยจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น แบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส เช่นเดียวกับที่พบในนมเปรี้ยว โดยหลายการศึกษาพบว่าแบคทีเรียชนิดดีช่วยทำความสะอาดลำไส้ ป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียก่อโรค และลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ กิมจิ 1 ถ้วยตวงอุดมด้วยใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุจากผัก ที่สำคัญ ให้พลังงานเพียง 29 กิโลแคลอรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเสริมว่า นอกจากให้พลังงานต่ำ ส่วนประกอบต่าง ๆ ในกิมจิล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น พริกแดงมีสารแคปไซซิน (Capsiaicin) ช่วยเผาผลาญไขมัน พริกแดงป่นมีวิตามินซีช่วยให้ถุงน้ำดีขับคอเลสเตอรอล ส่วนกระเทียมและหัวหอมช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตรอล และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ และหลอดเลือด

สุดยอดของอาหารที่เราเรียกกันว่าเป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์ แต่ยังไงก็แล้วแต่การเลือกรับประทานอาหารที่ดีแล้วก็ต้องเลือกรับประทานให้หลากหลายกันด้วยนะคะ ยังไงก็ขอให้อาหารเหล่านี้เป็นทางเือกในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของเรานะคะ 

ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่นที่เราอาจจะยังไม่รู้

pouring-tea-1
Source: Flickr (click image for link)

บางคนถ้าพูดถึง ”ชาเขียว” แล้วล่ะก็…ต้องได้รู้จักกันทุกคนเลยแหละเนอะ บางคนนี่ถึงกับเป็นเมนูโปรดปรานกันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะอะไรอะไรก็ต้องเป็นชาเขียวไปซะหมด ก็มันทั้งหอมทั้งอร่อยนี่เนอะเป็นใครก็ต้องหลงรัก ไหนจะปัจจุบันนี้มีร้านเครื่องดื่่มชงสดประเภทกาแฟ ชา ผุดขึ้นมากมาย …. ในนามของร้าน “กาแฟสด” ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงสุด แต่ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันในระดับโลกเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสูงรองลงมาจาก “น้ำเปล่า” นั่นก็คือ “น้ำชา” ซึ่ง “ชา” นั้นเป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นหอมที่นุ่มนวลอบอวล เมื่อได้ลิ้มลองดื่มแล้วล่ะก็ทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้นมาเลยทีเดียว ด้วยเหตุผลนี้นี่เองจึงทำให้ผู้คนมากมายนิยมชมชอบที่จะดื่มชากันอย่างแพร่หลาย สำหรับใบชาที่ได้รับความนิยมดื่มกันอยู่ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาจีน ชาเขียว และชาฝรั่ง ซึ่งชาแต่ละชนิดนั้นมีกรรมวิธีในการผลิตที่แตกต่างกัน แต่หากจะถามว่าแล้วชาชนิดไหนมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุดคำตอบคือ “ชาเขียว” นั่นเอง  สมัยนี้มองไปทางไหนอะไรก็เป็นชาเขียวไปซะหมดทุกอย่าง ไม่ว่าจะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีม หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆก็จะต้องมีชาเขียวไปผสมอยู่เสมอ แต่จะมีสักกี่คนนะที่รู้จักชนิดของชาเขียว และที่เราชอบดื่มหรือรับประทานอยู่ทุกวันนี้เป็นชาเขียวชนิดไหน? แล้วชาเขียวมีกี่ชนิดกันเนี่ย วันนี้เราเลยจะมาเม้าท์เล่าสู่กันฟังสำหรับคอชาเขียวหรือคนที่กำลังสนใจกันค่ะ

 

ชาเขียว คืออะไร

ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวนั้นมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งแตกต่างกันตรงที่ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อน แต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่ว ใบชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง แต่อย่างไรก็ดีมีรายงานว่าวิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณ ครึ่งหนึ่ง แต่มีรายงานจากประเทศญี่ปุ่นว่า ถ้าเราสามารถรับประทานใบชาเขียวแห้ง 6 กรัมต่อวัน จะทำให้ร่างกายได้รับวิตามินอี และวิตามินเอถึงร้อยละ 50 และ 20 ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ตามลำดับ ในประเทศญี่ปุ่นจึงมีการผลิตชาเขียว ในรูปผงสำหรับบริโภคขึ้น ซึ่งสามารถเติมลงในอาหารหลายชนิด ตั้งแต่อาหารญี่ปุ่นจนถึงสเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ สปาเกตตี้ และสลัด

tea-leafs-1
Source: Flickr (click image for link)

 ชนิดของชาเขียวญี่ปุ่น

  • เซนฉะ (Zencha) – ตัวแทนของชาญี่ปุ่น ถ้าพูดถึงชาญี่ปุ่นหรือชาเขียวแล้ว ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง Zencha (เซนฉะ) นี้ คิดเป็นปริมาณถึง 80% ของการผลิตชาเขียวทั้งหมด และเป็นชาเขียวประเภทที่นิยมดื่มกันมากที่สุดลักษณะของชาจะมีสีเขียวสวย และรสชาติความหอมสดชื่นเป็นเอกลัษณ์ มีรสหวานน้อยๆ พร้อมกับความฝาดนิดๆ ตามสไตล์ชาแท้ๆ ที่แตกต่างกันตามแหล่งผลิตและวิธีการชง
  • เกียวกุโระ (Gyokuro) – ใบชาชั้นสูงสุดจากใบชาอ่อนในร่ม Gyokuro เป็นใบชาเขียวที่ได้จากการปลูกแบบประคบประหงม ภายในอุณหภูมิและสถานที่ในร่มเพื่อให้ได้กลิ่นและรสที่ดีที่สุด เป็นชาชั้นสูงที่สุดของชาเขียวที่ได้จากยอดอ่อนของใบชา ให้สีเขียวอ่อนที่สวยงาม และมีเอกลักษณ์ที่รสชาติหวานกลมกล่อม ซึ่งที่มาของรสชาติหวานกลมกล่อมนี้ มาจากการที่ให้ใบชาอยู่ในร่มก่อนการเก็บเกี่ยว ซึ่งการป้องกันแสงแดดนี้จะทำให้สารเธียอะนินที่มีประโยชน์ (ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย) ในใบชาเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ catechin ซึ่งเป็นที่มาของรสขมในใบชาลดลง ทำให้ได้ชาที่มีรสชาติหวานกลมกล่อมนั่นเอง
  • มัทฉะ (Matcha– ใบชาชั้นสูงสุมัทฉะ Matcha ชาเขียวอย่างดี สำหรับประกอบพิธีชงชาชาเขียวมัทฉะ ก็เป็นชาที่ได้จากการปลูกชาแบบประคบประหงมเช่นกัน โดยปกติแล้วการดื่มชาเขียวมัทฉะคือการดื่มผงมัทฉะนี้เข้าไปด้วย การผลิตมัทฉะจะนำใบชาอ่อนไปอบ และเมื่อแห้งแล้วจึงนำไปหมุนกลิ้งหรือบดเป็นผงด้วยครก ให้ผู้ดื่มได้รับสารอาหารในใบชาอย่างเต็มที่ ชาเขียวมัทฉะแท้โดยทั่วไปจะมีสีเขียวอ่อนๆ แบบนกไนติงเกล โดยที่ชนิดที่อ่อนกว่าจะให้ความหวานมากกว่าชนิดสีเข้ม ซึ่งจะให้รสฝาดของใบชา
  • โคนะฉะ (Konacha) – ใบชาแบบที่บริการในร้านซูชิทั่วไป Konacha ผลิตจากใบชาส่วนที่เหลือจากกระบวนการทำชาเขียวมัทฉะหรือ Gyokuro มักจะใช้ในร้านขายซูชิหรือซูชิหมุนทั่วๆ ไปในญี่ปุ่น และเนื่องจากว่ามีลักษณะเป็นผง จีงมีรสชาติที่เข้มข้น เทคนิคในการดื่มชาประเภทนี้ ก็คือ จะต้องรีบดื่ม อย่าแช่ทิ้งไว้นาน เพราะจะทำให้รสชาติเข้มข้นจนเกินไป หรืออาจทำให้ขม ชาประเภทนี้เป็นชาที่ไม่แพงมากจนเกินไป ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงนิยมใช้ชาประเภทนี้ในการทำอาหารบางชนิด
  • เก็นมัยฉะ (Genmaicha) – ชารสข้าวตามแบบฉบับญี่ปุ่นGenmaicha เรียกว่า ชาข้าวกล้อง หรือชาข้าวโพดก็ได้ เพราะเวลาคั่วข้าว เมล็ดข้าวจะพองโตเหมือนเมล็ดข้าวโพด เป็นชาที่นำข้าวกล้องคั่วมาผสมกับชาบันฉะ ในสมัยก่อนเป็นเครื่องดื่มของคนยากคนจน และพระ เพราะชามีราคาแพง แค่มีชาเขียวเสริมคุณค่าด้วยข้าวกล้องคั่วก็หอมอร่อยได้เหมือนกัน ชาประเภทนี้เป็นที่รู้จักกันว่า เป็นชาของผู้คนอย่างแท้จริง
  • ฟูกะมัทชิฉะ (Fukamushicha) – เป็นชาชนิดเดียวกับชาเซนฉะ แต่จะผ่านวิธีการผลิตแตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่นำไปอบนานเป็นสองเท่าของชาเซนฉะ แต่เวลาต้มชาออกมาน้ำชาจะมีสีเข้มหม่นๆ กว่าชาเซนฉะ รสชาติเข้มข้นและหวานกว่า
  • คาบุเซะชะ (Kabusecha) – เป็นชาประเภทเดียวกับชาเซนฉะ แต่ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 20 วันจะถูกปกคลุมไปด้วยตาข่าย รสชาติจะอ่อนกว่าชาเซนฉะ
  • คาวายานากิ (Kawayanagi) – เป็นชาที่ทำมาจากใบอ่อนขนาดใหญ่ของ ชาคาบุเซะชะ และ ชาเซนชะ รสชาติเบาๆ
  • บังฉะ (Bancha) – ดื่มแล้วสดชื่น เอาไว้ดื่มหลังอาหาร บังฉะทำจากชาที่จับตัวหลังจากการวางซ้อนทับกันในกระบวนการผลิตชาเซนฉะ ดื่มชาประเภทนี้แล้วทำให้รู้สึกสดชื่นในปาก วิธีการชงคือชงด้วยน้ำร้อนแบบเร็วๆ ให้รสชาติที่ค่อนข้างขมและฝาด เหมาะกับการดื่มเพื่อล้างปาก หลังทานอาหารเสร็จเพื่อเพิ่มความรู้สึกสดชื่นและยังมีฟลูโอไรด์อยู่มาก ช่วยในการลดแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งเป็นปัญหาของการเกิดกลิ่นปากได้ด้วย
  • อะราฉะ(Aracha) – เป็นชาเขียวดิบ ที่ผลิตมาจากทั้งใบและส่วนก้านของชาจากนั้นจะนำมาอบและรีดให้แห้ง เป็นชาที่ให้รสชาติเข้มข้นมาก ส่วนใหญ่ชาชนิดนี้จะนำไปผสมกับชาอื่นๆ เพื่อเพิ่มรสชาติเฉพาะตัวที่เข้มข้นขึ้น
  • ทามะเรียวกุฉะ (Tamaryokucha) – หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อ Guricha  เป็นชาที่ลักษณะใบชาแห้งหยิก เป็นคลื่นๆ เล็กน้อย มีรสฝาดน้อยมีกลิ่นหอมเบาๆ เหมือนลูกเบอร์รี่
  • คาไมริฉะ (Kamairicha ) – เป็นชาที่ผลิตมาจาก จังหวัด Nagasaki เป็นส่วนใหญ่ ชาประเภทนี้จะนำไปคั่วในกะทะกลิ้งไปกลิ้งมา มีรสหวานหอม รสชาติอ่อนโยน
  • คุคิฉะ (Kukicha) – มีอีกชื่อหนึ่งว่า Boucha  เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากลำต้นและก้านของ ชาเซนฉะ หรือ ชามัทฉะ มีใบชาผสมน้อยมาก มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วย
  • คาริกาเนะ (Karigane) – หรือ Shiraore เป็นชาที่เป็นผลพลอยได้มาจากก้านของชาเกียวโระคุ  มีรสชาติหวาน สามารถนำไปผสมกับน้ำผลไม้สำหรับเด็กๆ ได้ด้วยเช่นกัน
  • เมฉะ (Mecha) – เป็นชาที่เก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ โดยการนำเอาใบและก้านที่แยกมาจาก ชาเกียวโระคุ และชาเซนฉะมาอบและรีดรวมๆ กัน เป็นชาที่มักจะเสริฟที่ร้านซูชิเพื่อล้างรสคาวที่เพดานปาก รสชาติเข้มข้นขมฝาดพอประมาณ
  • โฮจิฉะ (Houjicha) –  เหมาะสำหรับเด็กๆ และ คนป่วย เป็นชาในช่วงเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้ายแล้ว ทำมาจากชา บันฉะ, เซนฉะ, คุคิฉะ ผสมๆ แล้วก็มีกิ่งชาผสมอยู่ด้วยจากนั้นนำไปคั่วในไฟร้อน เพื่อลดรสชาติที่ฝาดของชา เป็นชาที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยน ดื่มสบายๆ ในระหว่างหรือหลังมื้อเย็นของบ้าน สามารถทานก่อนที่จะเข้านอนก็ได้ เป็นที่โปรดปรานของผู้สูงอายุและเด็กพอตัวเลยทีเดียว
  • ฟุงมัทซึฉะ (Funmatsucha) – คือ ชาเขียวชนิดผงสำเร็จรูป พกสะดวก ชงง่าย สไตล์คนสมัยใหม่ ทำจากใบเซนฉะที่เอามาบดให้เป็นผงละเอียด จนสามารถละลายน้ำรับประทานได้ แตกต่างจากโคนะฉะ (ใบชาบดละเอียดแต่ไม่ละลายน้ำ) สามารถละลายได้ดีในน้ำเย็น หรือละลายน้ำแล้วแช่ตู้เย็นได้ทันที คนญี่ปุ่นบางคนเอามาผสมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ประกอบอาหาร ในหลายๆ รูปแบบ ไม่ต้องใช้กาชงชา จึงสะดวกมากเป็นพิเศษสำหรับการพกไปดื่มเวลาเดินทางหรือที่ออฟฟิศ ได้ประโยชน์จากใบชาอย่างเต็มที่ แต่ข้อด้อยอย่างเดียวก็คือกลิ่นหอมของใบชาอาจจะสูญเสียไปได้ง่ายกว่าชาแบบใบ

 

นอกจากชาเขียวประเภทใบชาต่างๆ เหล่านี้แล้ว ก็ยังมี ชาเขียวผงแบบสำเร็จรูป รูปแบบผงละลายน้ำเย็นได้ทันที หน้าตาจะคล้ายกับฟุงมัทซึฉะหรือชาแบบผง แต่มีกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน ตรงที่ชาเขียวผงแบบสำเร็จรูปนี้ คือการนำใบชาไปชงเป็นน้ำก่อนแล้วผ่านกรรมวิธี Spray Dry หรือ Freeze Dry ให้กลายตัวมาอยู่ในรูปแบบผง วิธีเดียวกับการทำกาแฟสำเร็จรูปนั่นเอง แต่ชาแบบผงสำเร็จรูปแตกต่างจาก (ฟุงมัทซึฉะหรือใบชาแบบผง) ตรงที่จะไม่ตกตะกอนแต่จะละลายในน้ำหมดได้ดี และชนิดของชาเขียวญี่ปุ่นที่ส่วนมากนิยมดื่มกันในหมู่ชาวญี่ปุ่นนั้น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ นั่นเอง โดยคนไทยส่วนมากจะนิยมดื่มชาเขียวมัทฉะกันซะเป็นส่วนใหญ่ ที่มีสีเขียวและกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์

 

www.flickr.com/photos/satorinihon/7452684742/

www.flickr.com/photos/satorinihon/8351607205/

ชาเขียวคืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

green-tea-powder-spoon-1
Source: Flickr (click image for link)

หลายๆคนคงไม่มีใครไม่รู้จัก “ชาเขียว” (Green tea) กันใช่ไหมล่ะคะ ถ้าพูดถึงชาเขียวเราก็จะนึกถึงกลิ่นหอมๆที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและเมื่อได้ลิ้มรสชาติแล้วก็จะรู้สึกว่าสุขภาพที่ดีนั้นเป็นยังไงเลยใช่ไหมล่ะคะ ไม่ว่าจะเข้าไปในร้านกาแฟที่ไหนก็จะต้องสั่งชาเขียวเย็น ชาเขียวนมสดปั่นตลอดเลย และสมัยนี้มองไปทางไหนอะไรอะไรก็เป็นชาเขียวไปซะหมด ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับชาเขียวก็มีวางจำหน่ายในหลากหลายรูปแบบ โดยผู้ผลิตได้คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากชาเขียวหลั่งไหลออกมาสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ถนอมผิว เครื่องสำอางต่าง ๆ สบู่ เกลืออาบน้ำ น้ำยาดับกลิ่นตัว ครีมบำรุงผิว โลชั่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไหนจะชาเขียวสำเร็จรูปที่วางขายในประเทศไทยที่เป็นแบบขวดสำเร็จรูปตามร้านสะดวกซื้อนั้น แต่เราจะทราบกันไหมคะว่านั่นไม่ใช่…ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ (ชาเขียวต้องสีมีเขียว ไม่ใช่สีน้ำตาล) คนญี่ปุ่นยังบอกเลยว่ามันคือ… น้ำหวานเพราะชาเขียวที่ประเทศญี่ปุ่นจะไม่หวาน แถมยิ่งดื่มยิ่งสุขภาพดี ไม่อย่างนั้นคนญี่ปุ่นจะดื่มชาเขียวกันแทนการดื่มน้ำเปล่ากันทำไม แถมยังดื่มกันได้ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงผู้สูงอายุกันเลยทีเดียวค่ะ และนอกจากนั้นเราก็จะเห็นในรูปแบบช็อคโกแลตที่เป็นรสชาเขียว ขนม ลูกอม ไอศกรีม ต่างๆและอะไรต่อมิอะไรก็มักจะมีส่วนผสมของชาเขียวเสมอรวมไปถึงยังเป็นส่วนผสมของอาหารอีกมากมายตามร้านอาหารต่างๆ แล้วชาเขียวก็ยังมีส่วนผสมอยู่ในเครื่องสำอางค์ ครีม โลชั่น ผลิตภัณฑ์ต่างๆอีกด้วย เชื่อกันว่าหลายคนพอจะทราบว่าชาเขียวนั้นมีประโยชน์และดีต่อสุขภาพใช่ไหมล่ะคะ และดันมีกลิ่นที่จะหอมและมีรสชาติที่อร่อยอีกด้วย เลยไม่ยากที่จะเลือกรับประทานหรือเลือกใช้กันแต่ก็เชื่ออีกเหมือนกันค่ะว่าบางคนก็ยังคงไม่ทราบเช่นกันว่าแท้จริงแล้วชาเขียวคืออะไร แบบไหนที่เรียกว่าชาเขียวและชาเขียวมีประโยชน์อย่างไร  วันนี้  HealthGossip จะนำความรู้มาเล่าสู่กันฟังและทำความเข้าใจไปด้วยกันค่ะ ว่าเจ้าชาเขียวที่ว่าเนี่ยมีดีกว่าที่คิดแน่นอน อย่างที่บอกว่า ชาเขียว ก็ต้องมีสีเขียว เชื่อว่าหลายคนคิดเหมือนกันว่า ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ชาอู่หลง ชาดำ เป็นชาคนละต้นแต่จริง ๆแล้ว มันมาจาก ต้นชาเหมือนกัน เพียงแต่ต่างกันที่ขั้นตอนการผลิตและการหมักบ่มนั่นเอง  อาจแบ่งออกได้เป็น  3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. ชาฝรั่ง (Black Tea) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ‘’ชาดำ’’ เตรียมได้จากการเอาใบชาที่เก็บได้มากองสุมไว้เพื่อให้เกิดการหมัก ขณะที่หมักอาจจะบดหรือขยี้ใบชาด้วยลูกกลิ้ง เซลล์ของใบชาจะช้ำโดยใบไม่ขาดในเซลล์ของใบชาจะมีเอนไซม์อยู่จำนวนหนึ่ง เมื่อเซลล์แตกเอนไซม์เหล่านี้จะหลั่งออกมาและทำการย่อยสารเคมีภายในตัวชา การหมักจะทำให้ปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของสารสำคัญในใบชาทำให้เกิดกลิ่นและรสขึ้น เมื่อหมักได้ที่แล้วจะนำใบชาไปตากแห้ง ใบชาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเนื่องจากสีบางชนิดที่เกิดขึ้นระหว่างการหมัก
  2. ชาจีน หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า ‘’ชาอู่ล่ง’’ เป็นชาที่ผ่านการหมักเพื่อให้เกิดออกซิเดชั่นเพียงบางส่วน
  3. ชาเขียว (green tea) เป็นชาที่นิยมดื่มกันมากในจีนและญี่ปุ่น ทำได้โดยนำใบชาสดที่ได้มาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วโดยการใช้อุณหภูมิสูงและอุณหภูมิสูงนี่แหละจะไปทำลายเอนไซม์ในใบชา เมื่อนำไปผ่านลูกกลิ้งและตากแดดให้แห้ง ชาจะไม่เปลี่ยนเป็นสีดำแต่ยังคงความเขียวสดเหมือนเดิมและมีคุณภาพเช่นเดียวกับใบชาสด เมื่อชงน้ำร้อนจะได้น้ำชาเขียวหรือเขียวอมเหลือง ไม่มีรสฝาด

 

ชาเขียว (Green Tea) คืออะไร

ชาเขียว (Green tea) คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จะต่างกันโดยชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อนแต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวแบบญี่ปุ่นจำแนกออกเป็นหลายเกรดตามคุณภาพใบชาแต่ที่รู้จักและเป็นที่นิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ

  • บันฉะ (Bancha) ใบชาแก่และคุณภาพต่ำที่สุด มักมีก้านใบติดมาด้วย เนื้อหยาบ รสค่อนข้างฝาด สีเขียวอมเหลือง เป็นชาที่ร้านอาหารญี่ปุ่นให้บริการฟรี บันฉะมีรสอ่อน สีไม่สวย จึงไม่นิยมนำมาปรุงอาหาร
  • เซ็นฉะ (Sencha) เป็นชาแก่เกรดกลางที่คนใช้ทั่วไป ประมาณ 80% ของใบชาที่เก็บเกี่ยวได้ผลิตเป็นใบชาเกรดนี้ ใบเซ็นฉะไม่มีก้านติดมาด้วย น้ำเซ็นฉะสีเขียวสด รสเข้มแต่ละเมียดละไม จับแล้วรสชายังติดที่ปลายลิ้นเป็นชาที่ชาวญี่ปุ่นเสิร์ฟรับรองแขกที่บ้าน ตามงานเลี้ยงรับรอง และตามที่ประชุมต่างๆ เซ็นฉะมีหลายเกรดตั้งแต่แบบธรรมดาแลัแบบพรีเมี่ยม ราคาก็ต่างกัน นำมาใช้ทำอาหารได้หลากหลายเพราะให้ทั้งกลิ่นและรสชาเขียวที่เข้มกว่าชนิดอื่น
  • เกียวกุโระฉะ (Gyukurocha) เป็นใบชาที่เก็บจากพุ่มต้นชาที่ดีที่สุด เนื่องจากผลผลิตน้อยราคาจึงค่อนข้างสูง น้ำชาสีเขียวอ่อนหอมหวานมาก ปกติการชงชาเขียวทั่วไปใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อมิได้ความร้อนไปทำลายรสชาติชา ชาชนิดนี้แพงเกินกว่าจะนำมาผสมใส่อาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นได้
  • มัทฉะ (Matcha) เป็นผงชาเขียว สมัยก่อนได้จากการนำใบชาชั้นดี ‘’เกียวกุโระฉะ’’ มาบดจนละเอียดเป็นผงเพื่อใช้ในพิธีชงชา มัทฉะที่ได้จะมีลักษณะข้นสีเขียวเข้ม ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำใบชา’’เซ็นฉะ’’ มาสกัดเป็นน้ำแล้วจึงพ่นโดยการฉีดผ่านไอความร้อนสูงให้ไอระเหยออกเหลือแต่ผงสีเขียวเข้มกลิ่นหอม มัทฉะเป็นชาที่นิยมใช้ใส่อาหารเพราะสะดวกในการใช้ให้สีสวยกลิ่นหอมและราคาไม่แพง มัทฉะจะมีสีเขียวสดคล้ายเขียวมะนาว ในใบชาเขียวมีสารสำคัญหลายๆชนิด คือ คาเฟอีน, แทนนิน, สารคาเทซิน, เกลือฟลูออไรด์

 

ประโยชน์จากชาเขียว

ในชาเขียวมีวิตามินมากมาย

  • วิตามินซี ช่วยลดความเครียด ต่อต้านภาวะติดเชื้อและเสริมการทำงานของระบบ
  • วิตามินบีรวม ช่วยเสริมการทำงานในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
  • วิตามินอี มีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ ชะลอความแก่
  • ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่เคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ
  • GABA  ช่วยลดระดับความดันเลือด และประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
  • แร่ธาตุ ได้แก่ โซเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส และอื่นๆ

จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า สารคาเฟอีน และ สารคาเทชินใน ชาเขียวญี่ปุ่นแท้มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มเมทาบอลิซึ่มของร่างกายนั่นก็หมายถึง การเพิ่มอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการออกซิเดชันของไขมันนั่นเอง นอกจากนี้ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ยังช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ทำงานดีมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จะทำให้การเผาผลาญดีขึ้น และเพื่อให้ได้ผลดีต้องดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ แบบปราศน้ำตาล หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ โดยในแต่ละวันไม่ควรดื่มเกิน 10 – 12 ถ้วย หรือ ชงใบชา 1-2 ช้อนชา ในน้ำร้อน ดื่มวันละ 3 ถ้วย ระหว่างมื้ออาหาร จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ดังนั้น ควรจะดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เท่านั้น ซึ่งจะผลิตออกมาในรูปแบบของ ใบชา ชาซอง มัทฉะ เพื่อให้เราได้รับสารที่มีประโยชน์อย่างเต็มที่เพียงเติมน้ำร้อน ถึงชาเขียวญี่ปุ่นแท้ จะมีสารคาเฟอีน (ซึ่งอาจจะทำให้นอนไม่หลับถ้าดื่มเยอะเกิน) แต่ยังมีสารสำคัญที่มีประโยชน์อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน วิตามินบี, วิตามินซี, วิตามินอี, สารในกลุ่ม xanthine alkaloids หรือ คาเฟอีน (caffeine) และ ธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สดชื่น คึกคัก และสารใน กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคทีชิน (catechins) ตัวนี้แหละที่สำคัญ

ชาเขียวกับความงาม สูตรน้ำแร่ชาเขียว ชั้นตอนแรกให้นำน้ำแร่มาต้มให้เดือด แล้วใส่ผงชาเขียวหรือใบชาเขียวลงไป แล้วทิ้งไว้ให้เย็น (ถ้าใช้ใบชาควรกรองเอาแต่น้ำ) เสร็จแล้วเทน้ำใส่ขวดสเปรย์ ใช้เป็นสเปรย์น้ำแร่ชาเขียว โดยนำมาใช้ฉีดหน้าได้ทุกเวลาที่ต้องการ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นและความเปล่งปลั่งให้กับผิวหน้าของคุณได้เป็นอย่างดี ส่วนอีกสูตรคือ สูตรถนอมผิวรอบดวงตาด้วยชาเขียว ขั้นตอนแรกให้ต้มชาเขียวกับน้ำเดือด แล้วนำไปแช่ในตู้เย็นให้เย็นจัด แล้วใช้สำลีชุบชาเขียวให้เปียกชุ่ม แล้วนำมาวางบริเวณเปลือกตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที วิธีนี้จะช่วยลดริ้วรอยจากความอ่อนล้าของผิวรอบดวงตา และยังช่วยลดอาการบวมของเปลือกตาและถุงใต้ตาได้ด้วย ซึ่งจะช่วยทำให้ผิวนุ่มนวลและดูสดชื่น นอกจากนี้ยังช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์  ชาเขียวยังนิยมนำมาใช้เพื่อปรุงแต่งกลิ่น สี และรสชาติของอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค โดยจัดเป็นสารให้กลิ่นรสจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากชนิดหนึ่ง ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของชาเขียวรูปของอาหาร ได้แก่ เค้ก ขนมปัง ขนมขบเคี้ยว ช็อกโกแลต ลูกอม หมากฝรั่ง ฯลฯ และยังถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่มีไขมันและน้ำมัน เพื่อป้องกันไม่ให้เหม็นหืนเร็ว จนมีการศึกษาวิจัยถึงความเป็นไปได้ที่จะนำสารสกัดจากชาเขียวมาใช้เป็นสารกันบูดสำหรับอาหารสด รวมไปถึงการนำชาเขียวมาผสมกับเส้นใยผ้า สำหรับเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น และยังมีการนำไปใช้เป็นส่วนผสมในแผ่นใยกรองอากาศสำหรับเครื่องปรับอากาศ ซึ่งก็นับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้ ในเมื่อเราทราบถึงประโยชน์อันมากมายหลายหลากของเจ้าชาเขียวที่แสนหอมหวานนี้แล้วก็อย่าลืมเลือกชาเขียวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในคนที่รักษาสุขภาพกันนะคะ

 

www.flickr.com/photos/smiteme/14763205413/