Browse Tag: ระดับโปรธรอมบิน

Vitamin K คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-vegetable-1
www.flickr.com/photos/calliope/130384035/

วิตามินเค (Vitamin K) เราจะรู้จักวิตามินเคกันดีในเรื่องของการทำให้เลือดแข็งตัว ซึ่งก็เป็นวิตามินอีกตัวที่ร่างกายของเราต้องการและมีความสำคัญไม่แพ้กับวิตามินตัวอื่นๆเลยล่ะค่ะ วิตามินเคเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นเกี่ยวกับเลือดในร่างกายของคนเรารวมถึงทำหน้าที่สำคัญหลายๆอย่างในร่างกาย เราอาจจะคุ้นเคยกับวิตามินซี เอ ดี และอี กันมาแล้วพอสมควร HealthGossip เลยไม่พลาดที่จะนำข้อมูลของวิตามินเคมาให้เพื่อนๆได้รู้จักกันค่ะ หากกล่าวถึงการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดุกเราก็ต้องยกให้เจ้าแคลเซียมเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการทำงานของกระดูก แต่ก่อนที่แคลเซียมที่เราได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไปนั้นจะไม่สามารถไปถึงกระดูกได้หากขาดสารลำเลียงอย่างวิตามินเคไป ก็เพราะวิตามินเคมีส่วนที่ช่วยให้การก่อตัวของกระดูกและการเรียงตัวของเนื้อกระดูกเมื่อทำงาน ร่วมกับแคลเซียมเราจึงได้กระดูกที่มีความแข็งแรงและไม่เปราะง่ายเพราะขาดวิตามินเคนั่นเอง  และนอกจากนี้หากขาดวิตามินเคในส่วนนี้อาจทำให้เกิดกระดูกงอกผิดที่ผิทางในส่วนของร่างกายของคนเราได้ และอาจเกิดก้อนหินปูนในอวัยวะต่างๆ รวมถึงอาจก่อให้เกิดหลอดเลือดอุดตันในหัวใจหรือสมองได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการแข็งตัวของเลือดหากขาดวิตามินเคเลือดจะไหลออกมาไม่หยุดต้องทำการห้ามเลือดอย่างเร่งด่วน ประโยชน์มากมายขนาดนี้แล้ว คงอยากรู้จักกับวิตามินเคกันมากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักกับวิตามินเคกันบ้างแล้วกันเนอะเพราะอย่างที่บอกว่าวิตามินตัวนี้ก็สำคัญไม่แพ้วิตามินตัวอื่นๆเหมือนกันค่ะ

 

เกี่ยวกับวิตามินเค (Vitamin K)

  • วิตามินเคเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน
  • วิตามินเค มี 3 ชนิด และรูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่
  • วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชผักใบเขียวและสัตว์
  • วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับและยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย
  • สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ
  • นอกจากร่างกายจะได้รับจากอาหารที่รับประทานแล้ว เชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของเราสามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เอง
  • ใน 1 วันร่างกายของมนุษย์ มีความต้องการ วิตามินเค มากถึง 100 ไมโครกรัม
  • วิตามินเค มีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือด
  • วิตามินเค เป็นวิตามินที่ทนต่อความเป็นกรดแต่ไม่ทนกรดแก่
  • วิตามินเคจะด่างที่ผสมแอลกอฮอล์ แสงสว่าง และสารเติมออกซิเจน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องเก็บในขวดสีน้ำตาลซึ่งทึบแสง
  • วิตามินเคพบมากในอาหารประเภทผักใบเขียว นอกจากนี้ยังพบในเนื้อสัตว์ นม เนย น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง กาแฟ และแพร์
  • วิตามินเคจากอาหารจะถูกดูดซึมในลำไส้ตอนบน โดยการช่วยเหลือของน้ำดีและน้ำย่อยจากตับอ่อนและจะถูกส่งต่อไปยังตับ
  • การใช้ยาปฎิชีวนะนานๆ เป็นปัจจัยที่กระทบกระเทือนต่อการผลิตวิตามินเคในล้ำไส้รวมทั้งการดูดซึมของวิตามินเข้าร่างกายอีกด้วย
  • ภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกะโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง

 

ประโยชน์ของวิตามินเค (Vitamin K)

วิตามินเค จำเป็นสำหรับการสร้างโปรทรอมบิน (prothrombin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ตับสร้างขึ้นและจำเป็นในการแข็งตัวของเลือด ถ้าขาดวิตามินเค ตับสร้างโปรธรอมบินไม่ได้ ระดับโปรธรอมบินที่สูงในเลือดจะชี้ให้เห็นความสามารถที่ดีในการที่เลือดจะแข็งตัว ในขณะที่ระดับโปรธรอมบินต่ำในเลือดจะทำให้อัคราการแข็งตัวของเลือดช้า โดยที่วิตามินเคจะทำหน้าที่เป็น Cofactor ในการสร้างธรอมบิน

วิตามินเค เกี่ยวข้องกับกระบวนการ ฟอสโฟริเลชัน ( phosphorylation) ในร่างกาย โดยที่ขบวนการนี้ ฟอสเฟตจะร่วมกับ กลูโคส และถูกผ่านเข้าไปในผนังเซลล์และเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนสำหรับให้ร่างกายเก็บไว้ใช้คราวจำเป็น ไกลโคเจนจะถูกเก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ ช่วยในการทำงานของตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจำเป็นในการแข็งตัวของเลือด

  • วิตามินเค ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด
  • วิตามินเค ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ
  • วิตามินเค ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด
  • วิตามินเค ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง
  • วิตามินเค ช่วยในการทำงานของตับให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

แหล่งที่พบวิตามินเค (Vitamin K)

ผักกระเฉด กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง อัลฟัลฟ่า สาหร่ายทะเล น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันตับปลา ตับหมู นมวัว เนยแข็ง โยเกิร์ต ไข่แดง น้ำเหลืองอ้อย (Molasse) น้ำมันดอกคำฝอย และพืชผักที่มีใบสีเขียวอื่น ๆ เป็นแหล่งสำคัญทั้งนั้น และทั้งนี้จะต้องไม่ลืมว่าแบคทีเรียในลำไส้เป็นตัวการสำคัญ

 

ภาวะขาดวิตามินเค

ภาวะที่ร่างกายขาด วิตามินเค คือจะมีเลือดไหลออกมา จากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ไม่วาจะเป็น ผิวหนัง ลำไส้ หรือช่องกะโหลกศีรษะ สำหรับโรคที่มักจะเกิดขึ้น หากร่างกาย ได้รับปริมาณของวิตามินเคน้อย หรืออยูในภาวะขาดวิตามินเค เช่น โรคเรื้อรังของ ระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน เป็นต้น

สำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หากคุณแม่มีภาวะขาดวิตามินเค อาจจะส่งผลทำให้ลูก เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว มีเลือดออกในช่องกะโหลก ลำไส้ หรือมีเลือดออก บริเวณผิวหนังได้ เนื่องจากเด็กทารก ยังมีปริมาณไขมันในระดับต่ำ และเชื้อโรคที่ลำไส้ของเด็กทารก ในช่วงที่เด็กอายุ 1 สัปดาห์หลังจากที่ลืมตาดูโลก ก็ยังไม่มีจึงไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เอง จึงต้องอาศัยวิตามินเคจากน้ำนมแม่อย่างเดียว

อาการที่แสดงถึงภาวะขาดวิตามินเค (Hypovitaminosis K) คือ มีเลือดออกในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องกะโหลกศีรษะ ลำไส้ หรือ ผิวหนัง โดยจะพบมากในช่วงอายุ 1 สัปดาห์แรกของทารกแรกเกิด ทั้งนี้เป็นเพราะทารกมีไขมันสะสมน้อย ตับของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ลำไส้ยังปราศจากเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์วิตามิน ประกอบกับวิตามินเคที่ผ่านมาทางรกและน้ำนมจากมารดานั้นมีปริมาณน้อย

สำหรับภาวะขาดวิตามินเคในผู้ใหญ่นั้น มักเกิดร่วมกับสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน หลังจากการผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้าง

อาการแสดงเมื่อขาดวิตามินเค

  • โลหิตไหลไม่หยุด หรือหยุดยากเวลามีบาดแผล เลือดแข็งตัวช้าหรือเลือดกำเดาออก
  • มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ในลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เลือดออกที่ตา เลือดออกหลังผ่าตัดหรืคลอดก่อนกำหนด

การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจ เวลาโปรธรอมบิน (prothrombin time ; PT) ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเคจะใช้เวลานานกว่าปกติ หรือตรวจปริมาณวิตามินเคโดยตรงด้วยวิธี HPLC

การรักษาทำได้โดยให้วิตามินเคในรูปยาฉีด 10 มิลลิกรัมครั้งเดียว ในผู้ป่วยที่โรคเรื้อรังอื่นอาจเสริมด้วยวิตามินเคในรูปยากิน 1-2 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ ในรูปยาฉีด 1-2 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์

 

ผลของการได้รับวิตามินเคมากเกินไป

ในคนตั้งครรภ์ ถ้าได้รับในขนาดที่สูง จะทำให้เกิดโรคดีซ่านในเด็กแรกคลอด และถ้าได้รับวิตามินเคเสริมเพิ่มจากอาหารที่กินอยู่แล้วจะมีผลระงับฤทธิ์ยาที่ทำให้เลือดแข็งตัว Phyothadione และ  Menaquinone ไม่เป็นพิษต่อสัตว์แม้จะให้จำนวนมาก แต่คนที่ได้รับการฉีด Phytohadione เข้าเลือด จะพบ Flushing dyspnea chest pains cardiovascularcollapse และอาจตายได้ ส่วน menadione ทำให้เกิดระคายเคืองต่อผิวหนังและทางเดินหายใจและยังทำให้เกิด hemolysis ในคนที่ขาดเอนไซม์ glucose -6-phosphate dehydrogenase การให้วิตามินเคในรูปของ menadione หรือ phytohadione จำนวนมากๆ แต่คนไข้จะเป็นโรคตับต้องระวังเพราอาจไปทำให้การทำงานของตับแย่ลงได้

 

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินเค

  • ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 65 – 80 ไมโครกรัม ต่อวัน
  • วิตามินเคในรูปแบบของอาหารเสริม มีจำหน่ายทั่วไปในรูปแบบเม็ด โดยมีขนาดประมาณ 100 ไมโครกรัม ซึ่งจะผสมอยู่ในวิตามินรวมทั่วๆไป
  • ผู้ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดี เป็นโรคตับ โรคระบบทางเดินอาหาร มีความเสียงต่อการขาดวิตามินเค
  • การรับประทานวิตามินอีปริมาณสูงมากๆ จะส่งผลต่อการดูดซึมของวิตามินเคได้
  • อาการท้องร่วงอย่างหนักอาจเป็นอาการแสดงออกของภาวะขาดวิตามินเคได้ แต่ก่อนที่จะรักษาตัวเองด้วยการรับประทานอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
  • การรับประทานผักใบเขียวเป็นประจำ เป็นวิธีป้องกันการขาดวิตามินเคได้ดีที่สุด
  • หากคุณมีเลือดกำเดาไหลบ่อยครั้ง ควรลองรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูงให้มากขึ้น หรือรับประทานอัลฟาฟาแบบเม็ดก็อาจจะช่วยได้ หากคุณกำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด พึงระลึกไว้เสมอว่า วิตามินเคอาจไปต้านฤทธิ์ของยาได้ แม้ว่าจะเป็นวิตามินเคจากอาหารธรรมชาติก็ตาม
  • ยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด อาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินเคได้ และหากคุณรับประทานยาปฏิชีวะนะที่ออกฤทธิ์กว้างเป็นเวลายาวนานและต่อเนื่อง ร่างกายอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินเคได้ ควรรับประทานอาหารที่ให้วิตามินเคเพิ่มมากขึ้น

 

www.flickr.com/photos/calliope/130384035/