Browse Tag: เกลือ

22 ชนิดของอาหารที่ส่งผลทำให้อารมณ์ไม่ดี

Photo by Priscilla Du Preez on Unsplash

ในทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราต่างๆ อีกทั้งสภาพอากาศหรือรวมไปถึงผู้คนที่เราต้องพบเจออยู่รอบตัวเองก็ตาม เชื่อหรือไม่ว่าสิ่งเหล่านี้นั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ของเราได้ นอกจากปัจจัยต่างๆ ที่ได้กล่าวมานั้นเคยสงสัยกันไหมคะว่า “อาหาร“ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ของเราให้ไม่คงนิ่ง ทำให้เกิดการสวิงขึ้นลง เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวได้เหมือนกัน บางครั้งจนถึงกับสบสนและงุนงงกับตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเองเนี่ย วันนั้นของเดือนก็ยังไม่มา สภาพอากาศก็ดี แถมไม่มีคนกวนใจอีก ถ้าเราได้ลองคิดทบทวนดูแล้วว่าก็ไม่ได้มีปัจจัยไหนมารบกวนเรานี่นา ดังนั้นเราจึงต้องกลับมาย้อนดูตัวเองว่าการรับประทานอาหารของเราช่วงนี้เนี่ยแหละว่าเป็นยังไงบ้าง ช่วงนี้เราชอบทานอาหารแบบไหนอยู่บ่อยๆ กันนะ จะว่าไปแล้วหลายคนคงสงสัยกันล่ะสิว่าอาหารนี่สามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของเราได้ด้วยหรอ มันส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ของเรายังไง

อาหารที่เรารับประทานมันมีส่วนช่วยส่งผลกระทบทำให้อารมณ์ของเราเสียได้จริงๆ หรอ?
ซึ่งก็พบว่าในร่างกายของเราโดยรวมแล้ว ระบบย่อยอาหารมีส่วนที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพของเรานั่นเองค่ะ โดยการจับคู่ของพลังงานอาหารต่างๆ อย่างเช่น ไขมันกับโซเดียม โดยเฉพาะอาหารที่เต็มไปด้วยไขมันอิ่มตัวกับโซเดียมจะส่งผลกระทบทำให้อารมณ์ขุ่นมัวไปตลอดทั้งวันเลยล่ะค่ะ นอกจากนี้ในส่วนของแบคทีเรียตัวที่ดีและตัวที่ไม่ดีในระบบย่อยอาหารนั้นก็มีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลด้วยค่ะ แม้แต่คนในครอบครัวที่มีสายเลือดเดียวกันยังมีความแตกต่างกันไปค่ะ คือจะบอกได้ว่าจากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นอาหารที่รับประทานเข้าไปสามารถทำให้ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของเราได้นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะส่งผลแบบนั้นๆ กับทุกๆ คนได้ทั้งหมด อย่างเช่น หมอกควันในอากาศก็สามารถส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อยู่ได้ค่ะ บางครั้งอาหารที่คุณรับประทานเข้าไปอาจจะต้องใช้เวลา 1 ถึง 2 วันเพื่อย่อยให้เสร็จสิ้น เพราะฉะนั้นในช่วงเวลาที่อาหารไม่ได้ถูกการย่อยและค้างอยู่ในระบบของร่างกายช่วงนี้นี่เองก็อาจจะส่งผลกระทบต่อร่างกายและสภาวะทางอารมณ์ของเราทั้งวันเลยก็ว่าได้ค่ะ ด้วยระบบร่างกายของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งระบบลำใส้ของเราก็ไม่คงที่เช่นกันค่ะ เพราะอย่างนี้เองสิ่งที่ดูเหมือนจะกวนใจเราในวันนี้แต่พอวันถัดมาอาจจะไม่รู้สึกอะไรแล้วก็ได้ค่ะ เราสามารถทดสอบและสังเกตจากตัวเราเองได้ค่ะ โดยการเช็คความรู้สึกของเราก่อนรับประทานอาหาร ระหว่างรับประทานอาหาร และหลังจากการรับประทานอาหาร และถามตัวเองว่าอารมณ์ในแต่ละช่วงเป็นยังไงบ้างค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันเลยว่าอาหารชนิดไหนบ้างที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ทำให้อารมณ์ไม่ดี วีน เหวี่ยง หงุดหงิดง่าย ไม่สดใส เนี่ยมีอะไรบ้าง

 

Photo by Elijah O’Donnell on Unsplash

22 ชนิดของอาหารที่ส่งผลทำให้อารมณ์ไม่ดี

 

1.น้ำอัดลม

เครื่องดื่มน้ำอัดลมต่างๆ นั้นเต็มไปด้วยน้ำตาลเมื่อหลังจากที่เราดื่มเข้าไปแล้วมันสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว แล้วยังไปทำให้เกิดพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกด้วยค่ะ และที่สำคัญเลยคือยังไปส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับพลังงาน และอารมณ์ของเรานั่นเองค่ะ

 

2.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อะไรที่ขึ้นสูงสุดก็จะลงต่ำสุดได้เช่นกัน ในขณะที่ใครหลายคนคงคิดว่าดื่มแอลกอฮอล์นั้นทำให้มีความสุขซึ่งแอลกอฮอล์อาจจะทำให้เกิดความสุขขึ้นขีดสุดได้จริงค่ะแต่ก็เป็นความสุขแบบชั่วคราวเท่านั้น หลังจากนั้นก็จะทำให้อารมณ์แปรปรวนอย่างรวดเร็วเลยล่ะค่ะ

 

3.มังการีน

มาการีนมีไขมันอิ่มตัวแปรรูปจำนวนมากซึ่งแตกต่างจากไขมันในตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพจำพวก น้ำมันมะกอก ถั่ว หรืออโวคาโดค่ะ โดยการบริโภคมาการีนอาจทำให้ความไม่สมดุลของน้ำตาลในเลือดนำไปสู่อารมณ์ที่แปรปรวนอย่างรวดเร็ว และน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

4.กาแฟ

กาแฟถือเป็นดาบสองคมที่จะให้ดีต่อสุขภาพได้ก็ต่อเมื่อดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ถ้าหากดื่มมากเกินไปก็สามารถส่งผลเสียได้เช่นกันค่ะ รู้หรือไม่ว่ากาแฟก็อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของตัวเองได้ไม่น้อยเลยทีเดียวล่ะค่ะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เราดื่ม เมื่อเราดื่มกาแฟร่างกายของเราจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด เราจะได้รับพลังงานขึ้นสูงปรี๊ดซึ่งส่งผลไปยังการทำงานทางร่างกาย ความรู้สึก และจิตใจ หลังจากถึงจุดที่พลังงานลดต่ำลงนั้นเราจะรู้สึกหมดแรงทั้งจิตใจและร่างกาย และนั่นเองที่สามารถนำไปสู่ความผิดปกติเรื้อรังมากขึ้น เช่น ความเหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า ความวิตกกังวล และอื่นๆ นั่นเองค่ะ

 

5.ไข่ขาว

ไม่คิดว่าไข่ขาวจะอยู่ในอาหารที่ทำให้เราอารมณ์บูดได้เลยนะเนี่ย เนื่องจากคนส่วนใหญ่เลือกกินแต่ไข่ขาว และไข่ทั้งฟองจะเต็มไปด้วยสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการจำพวกโปรตีน วิตามินบี และโคลีน ที่ช่วยบำรุงสมองและทำให้อารมณ์ของเราสมดุลคงที่ ถ้าเลือกรับประทานแบบไม่ปรุงแต่งก็อาจจะดีต่อสุขภาพได้ค่ะ ไข่ขาวสามารถทำให้คุณอารมณ์ไม่ดีได้ เนื่องจากไข่ขาวอย่างเดียวถึงแม้จะมีกรดอะมิโนมากมายแต่อย่าลืมว่าสารอาหารที่สำคัญนั้นก็มีอยู่ในไข่แดงด้วย แม้ว่าไข่ขาวจะมีโปรตีนของไข่เกือบทั้งหมดในขณะเดียวกันไข่แดงก็สามารถพบสารอาหารโปรตีนได้มากเช่นกันรวมถึง โคลีน (สารอาหารหลักที่สำคัญสำหรับการทำงานของตับการพัฒนาสมองและอื่น ๆ อีกมากมาย) และวิตามินบี สารอาหารเหล่านี้แหละจะช่วยบำรุงสมองให้แข็งแรงและช่วยให้อารมณ์ของเราคงที่ ดังนั้นจึงควรกินไข่ทั้งลูกดีกว่าถึงแม้พลังงานจะเยอะขึ้นมานิดเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน อารมณ์ดีไปทั้งวันค่ะ

 

6.เครื่องดื่มประเภท Cocktail

น้ำผลไม้ที่ผสมกับแอลกอฮอล์จนเป็นเครื่องดื่ม Cocktail ต่างๆ นั้นเต็มไปด้วยน้ำตาลเลยล่ะค่ะ ซึ่งระดับปริมาณของน้ำตาลนั้นสูงพอๆ กันกับน้ำอัดลมกันเลยทีเดียว น้ำตาลจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดไปทำให้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในที่สุดก็จบลงที่จุดต่ำสุดค่ะ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด และหดหู่ ไม่สดใส

 

7.ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป

ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่เราชอบรับประทานกัน อย่างจำพวก แฮม โบโลญญา ฮ็อทดอกหรือไก่งวงนั้น ซึ่งก็อาจจะมีไนเตรทที่จะไปเปลี่ยนเป็นพลังงานให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น สารกันบูด สี และสารเติมแต่งทั้งหลายนั้น จะไปทำให้อารมณ์ของเราแปรปรวน ทำให้บวมน้ำ และเกิดอาการท้องอืด ปวดหัวอีกด้วยค่ะ

 

8.ขนมกรุบกรอบ

ขนมกรุบกริบต่างๆ ตามร้านสะดวกซื้อนอกจากให้พลังงานที่สูงแล้วในส่วนประกอบส่วนใหญ่ก็จะมีโซเดียมและไขมันอิ่มตัว ซึ่งนั่นจะสามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์ สภาพจิตใจและอารมณ์แปรปรวนไม่คงที่ค่ะ

 

9.ผลไม้อบแห้ง

ปัญหาของการเลือกกินผลไม้อบแห้ง คือผลไม้อบแห้งจะสูญเสียปริมาณน้ำไปแล้วในกระบวนการอบแห้ง ดังนั้นจึงง่ายต่อการกิน กินเพลิน กินไปซะเยอะ และนั่นจึงเป็นเหตุที่เรายังรับน้ำตาลจากมันมากเกินไปอีกด้วย และบางครั้งยังมีสารกันบูดเพิ่มมาอีกด้วย ถึงแม้ผลไม้อบแห้งจะมีเส้นใยอาหารจากตัวผลไม้อบแห้งเองที่จะไปช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ก็ตาม แต่มันอาจทำให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวนถ้าเรากินมากเกินไป

 

10.ซีเรียล

ซีเรียลที่ซื้อจากร้านค้าส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมที่ผ่านการแปรรูปและมีคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีสูง ซึ่งการรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีแล้วเข้าไปในร่างกายของเราซึ่งมันเป็นเหมือนการนำน้ำตาลเข้าไปในกระแสเลือดของเราอย่างรวดเร็วเลยล่ะค่ะ จึงทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน และก็มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าอีกด้วยค่ะ

 

11.อาหารกระป๋อง

นอกจากระดับโซเดียมที่เราๆ ก็รู้ดีกันอยู่ว่าถ้าพูดถึงอาหารกระป๋องจะต้องนึกถึงเป็นอันดับแรกและสารเคมี BPA ที่มีอยู่ในอาหารกระป๋องนั้นเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางอารมณ์จำนวนมาก เช่นภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลค่ะ

 

12.เฟรนซ์ฟราย

มันฝรั่งทอดแสนอร่อยที่เราเรียกกันว่า เฟรนซ์ฟรายนั้นนอกจากเต็มไปด้วยคาร์โบไฮเดรต แล้วยังเต็มไปด้วยไขมันที่อิ่มตัวและเกลือในปริมาณที่สูง สิ่งนี้สามารถทำลายอารมณ์ของเราได้ แรกๆ อาจจะรู้สึกดีและตื่นตัว แต่สุดท้ายก็จะจบลงด้วยการปล่อยให้ความรู้สึกเฉื่อยชา เหนื่อยล้า และหม่นหมองนั่นเองค่ะ

 

13.เค้ก

ขนมจำพวกเค้กต่างๆ จะมีส่วนประกอบของน้ำตาลทรายขาวที่อุตสาหกรรมนิยมนำมาผลิตพวกน้ำอัดลม อีกทั้งขนมเค้กยังมีส่วนประกอบของน้ำมันที่เป็นไขมันอิ่มตัวจำนวนมาก ซึ่งทั้งหมดนี้หลังจากที่เรารับประทานเข้าเป็นจะทำให้รู้สึกหนักๆ ง่วง ซึมเศร้าและมีอารมณ์แปรปรวนได้ง่ายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขนมเค้กควรที่จะทำให้เรารู้สึกมีความสุขเมื่อได้รับประทานแต่กลับเป็นว่ามันไม่ใช่อย่างที่เราคิดเลยค่ะ

 

14.คุกกี้

คุกกี้ ก็จัดอยู่ในหมวดขนมอบเช่นเดียวกับขนมเค้กค่ะ ไม่ว่าจะเป็นส่วนประกอบที่มีน้ำตาลทรายขาวและน้ำมันที่เป็นไขมันอิ่มตัวจำนวนมากเช่นเดียวกัน และก็ควรเป็นอีกหนึ่งชนิดของอาหารที่ทำให้อารมณ์ของเราไม่คงที่ค่ะ

 

15.น้ำเชื่อม Agave

น้ำเชื่อม Agave เป็นสารความหวานที่ถูกคิดค้นทำขึ้นมาเพื่อให้มีความหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ฟังดูขัดแย้งนะคะแต่ทราบหรือไม่ว่าในส่วนส่วนผสมนั้นกลับมีฟรุกโตสมากเกินไป ซึ่งสิ่งนี้แหละจะเพิ่มความเสี่ยงของการเผาผลาญพลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการหดตัวของสมองและความไม่มั่นคงทางอารมณ์นั่นเองค่ะ

 

16.น้ำผลไม้สำเร็จรูป

น้ำผลไม้สำเร็จรูปในตู้เย็นที่เราชอบซื้อมากักตุนไว้บ่อยๆ นั้นเต็มไปด้วยน้ำตาลเลยล่ะค่ะ ซึ่งระดับปริมาณของน้ำตาลนั้นสูงพอๆ กันกับน้ำอัดลมกันเลยทีเดียว น้ำตาลจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดไปทำให้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและในที่สุดก็จบลงที่จุดต่ำสุดค่ะ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด และหดหู่ ไม่สดใส คิดว่าจะช่วยให้สดชื่นสดใสกลับไม่ใช่นะเนี่ย

 

17.ถั่วเคลือบเกลือและผงปรุงรส

เมล็ดถั่วส่วนใหญ่ที่เราซื้อมาจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปจะมีโซเดียมที่สูงจากการเคลือบด้วยเกลือ และสารเติมแต่งอาหารที่เรียกว่าผงชูรสซึ่งเป็นสารแต่งกลิ่น รส ที่ส่งผลต่ออารมณ์ที่ห่อเหี่ยว อ่อนแออ่อนเพลีย และมีอารมณ์แปรปรวนหรือปวดหัวได้ค่ะ

 

18.ข้าวสาลี

การรับประทานข้าวสาลีสามารถทำให้สภาวะอารมณ์ที่อ่อนไหวและหงุดหงิดง่ายค่ะ เนื่องจากกลูเตนจากข้าวสาลีเป็นสาเหตุหลักต่ออารมณ์ นอกเหนือจากความเสียหายที่เกิดกับลำไส้จากการสัมผัสกับกลูเตน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในปริมาณที่มาก) โดยเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความขุ่นมัวของสภาพจิตใจรวมไปถึงปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบอื่นๆ ที่ไม่พึงประสงค์อีกด้วยค่ะ

 

19.ขนมปังเบเกิล Bagle

ขนมปัง Bagle เป็นแป้งขัดขาวและเป็น simple carbohydrates ค่ะ ซึ่งร่างกายสามารถเปลี่ยนรูปเป็นน้ำตาลและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว จึงไปส่งผลต่อการโฟกัส ความตื่นตัว ของร่างกายและทำให้อารมณ์เกิดการแปรปรวนอย่างรวดเร็วค่ะ ซึ่งขนมปังเบเกิลนั้นทำมาจากธัญพืชสีขาวซึ่งไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างมากถ้าหากเราเลือกที่จะทานเบเกิลแบบเปล่าๆ ซึ่งพบว่าการทานขนมปังเบเกิลควบคู่ไปกับโปรตีน (เช่นเนยถั่ว) จะช่วยในเรื่องของระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าค่ะ

 

20.ผักและผลไม้ที่ไม่ปลอดสารพิษ

เราจะเรียกผักที่ปลอดสารพิษว่า ผัก ผลไม้ ออแกนิกค่ะ ด้วยกรรมวิธีขั้นตอนตั้งแต่เริ่มการปลูก การดูแล ทั้งดินและอาหารของพืชผักต่างๆ ทุกอย่างต้องปลอดสารพิษและผ่านมาตรฐานอีกด้วย ส่วนผักและผลไม้ที่ไม่ใช่ออร์แกนิกนั้นมักจะใช้สารเคมีต่างๆ มากมายในขั้นตอนการปลูกเช่น สารกำจัดศัตรูพืชที่มักฉีดพ่นในผลไม้และผักที่ไม่ได้เป็นสารอินทรีย์ อาจทำให้คุณได้รับนิวโรทอกซินในปริมาณที่เป็นพิษต่อร่างกาย (พิษที่สามารถทำหน้าที่ในระบบประสาท) และส่งผลกระทบต่ออารมณ์ และสุขภาพจิตของเราค่ะ

 

21.อาหารสำเร็จรูป

เราคงทราบกันดีนะคะว่าอาหารแปรรูปนอกจากมีผลต่อรอบเอวของเราแล้ว เนื่องจากว่าส่วนใหญ่มีน้ำตาลทรายอยู่ในปริมาณที่สูง ไขมันอิ่มตัว สารกันบูด และสารเติมแต่งจำนวนมาก เพื่อที่จะคงสภาพของอาหารไว้ให้ได้นานและคงรสชาติให้อร่อยค่ะ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะไปรบกวนการทำงานของสภาพจิตใจและอารมณ์ของเราทำให้เรารู้สึกห่อเหี่ยว ไม่สดใส เหนื่อยล้า และวิตกกังวลค่ะ

 

22.เมล็ดธัญพืชสำเร็จรูป

เมล็ดธัญพืชสำเร็จรูปที่เราจะเห็นได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไปก็จะเป็นจำพวก เมล็ดทานตะวัน เมล็ดแตงโม เมล็ดฟักทองเป็นต้น การรับประทานเมล็ดธัญพืชพวกนี้แบบดิบหรือคั่วด้วยตัวเองจะได้รับประโยชน์มากกว่าการรับประทานแบบสำเร็จรูปค่ะ เนื่องจากขั้นตอนของการผลิตจะมีการเคลือบและมักถูกเคลือบด้วยสารกันบูดที่เรียกว่าโพแทสเซียมโบรเมตซึ่งป้องกันไอโอดีนไม่ให้ถูกดูดซึมจากต่อมไทรอยด์ และจิตแพทย์มักจะตรวจสอบระดับไทรอยด์ของผู้ป่วยรักษาอาการซึมเศร้า พวกมันมักจะถูกเติมด้วยโซเดียมและสารปรุงแต่งอาหารนั่นเองค่ะ

 

เป็นยังไงกันบ้างล่ะคะ เมื่อเห็นอย่างนี้แล้วพอจะทราบและเข้าใจกันบ้างหรือเปล่าว่า ที่จริงแล้วอาหารก็มีส่วนทำให้อารมณ์ของเราแย่ หงุดหงิดง่าย สวิงเหวี่ยงได้ ดังนั้นเราจึงหวังว่า ข้อมูลที่เราได้นำเสนอในครั้งนี้จะสามารถช่วยให้ใครหลายๆ คนหันมาใส่ใจการเลือกรับประทานอาหารกันมากขึ้นนะคะ ไม่ใช่แค่ช่วยเรื่องสุขภาพร่างกายของเราเท่านั้นแต่ยังช่วยในเรื่องของสภาพจิตใจของเราอีกด้วยค่ะ ถ้าสภาพจิตใจดีก็สามารถส่งผลให้สุขภาพร่างกายเราดีไปด้วยนะคะ “สวยจากภายในสู่ภายนอก” ไงคะ

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงรสชาติของอาหารที่ขึ้นชื่อว่าคนไทยนิยมชมชอบที่จะรับประทานเป็นประจำ นั่นก็คงไม่พ้นอาหารรสจัด หลักๆจะเป็นอาหารที่เป็นรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด และอีกชนิดที่ดันบังเอิญเป็นส่วนประกอบหลักของอาหารไทยนั่นก็คือรสชาติเค็ม ซึ่งปกติแล้วในอาหารอย่างเดียวก็มีโซเดียมอยู่แล้ว และเมื่อเรานำมาปรุงเป็นอาหารยิ่งจะเพิ่มโซเดียมเข้าไปอีก อีกทั้งคนไทยก็รับประทานรสชาติแบบนี้จนเคยชินคิดว่านั่นคือรสชาติปกติ แถมยังบอกว่ากลมกล่อมซะอีกถ้าไม่ได้ปรุงนี่สิรสชาติยิ่งจะจืดชืดไม่อร่อยไปซะอย่างนั้น กลับกลายเป็นว่าเราได้ชินและคุ้นเคยกับรสชาตินั้นไปซะแล้ว พอได้ลดปริมาณการปรุงรสลงก็จะกลายเป็นว่าไม่อร่อยและจืดชืด แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารที่มีรสเค็มจะต้องมีโซเดียมสูงซะอย่างเดียมอาหารบางอย่างที่รสชาติไม่เค็มกลับให้โซเดียวสูงก็มีนะจ๊ะแบบนั้นเขาเรียกกันว่าโซเดียมแฝงนั่นเอง ทำให้เราได้รับโซเดียมมาเต็มๆแบบไม่รู้ตัว โซเดียมที่เราบริโภคกันเป็นประจำก็คือโซเดียมที่อยู่ในรูปของ”เกลือแกง” (เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างคือโซเดียมและคลอไรด์) และก็ได้พบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรสโดยเฉลี่ยวันละประมาณ 7 กรัม ซึ่งนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ได้นำพาโรคต่างๆ มาสู่คนไทยโดยไม่รู้ตัว โดยส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น หัวใจหรือไต ถึงแม้ว่าโซเดียม (Sodium) จะเป็นเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ได้จัดว่าเป็นสารอาหารที่ร่างกายจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้งาน โดยการทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติหรือช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อรวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจ ตลอดจนการดูดซึมสารอาหารบางอย่างในไตและลำไส้เล็ก อีกทั้งยังใช้รักษาสภาพความเป็นกรดด่างของร่างกายอีกด้วย

 

12 ชนิดของอาหารโซเดียมสูงที่ควรหลีกเลี่ยง

โดยปริมาณที่ร่างกายควรได้รับโซเดียมต่อวันคือ ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน  (เทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือน้ำปลา 4-5 ช้อนชา) 

 

1.เครื่องปรุงรสที่ให้รสเค็ม

สิ่งที่ทำให้นึกถึงเป็นอันดับแรกถ้าพูดถึงโซเดียม ก็เป็นเครื่องปรุงรสต่างๆ ที่ทำให้เกิดรสเค็มอย่างเช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ้วขาว ซีอิ้วดำ ซอสหอยนางรม เป็นแน่แท้ จะสังเกตุได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท ผัด แกง ทอด เผา ยำ ต้ม ตุ๋น ล้วนแต่ปรุงรสด้วยน้ำปลาโรยด้วยเกลือกันทั้งนั้น ซึ่งในคนที่จำกัดปริมาณโซเดียมนั้นต้องระวังและเบามือในการปรุงด้วยนะคะ

 

2.ซอสปรุงรสที่ให้รสชาติเปรี้ยว หวาน

รู้หรือเปล่าล่ะว่าบางที่ซอสที่ไม่จำเป็นต้องมีรสเค็มเท่านั้นที่จะให้โซเดียมสูง แต่ซอสจำพวก ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มสุกี้ พวกนี้ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อย ใครที่เวลารับประทานอาหารและขาดไม่ได้โดยชอบที่จะต้องปรุงรสด้วยซอสจำพวกนี้ก็ให้รู้ไว้สักนิดว่านั่นก็มีโซเดียมนะ

 

3.น้ำผลไม้สำเร็จรูป

ส่วนน้ำผลไม้ไม่ว่าจะเป็นแบบบรรจุกล่อง ขวด หรือกระป๋อง ส่วนใหญ่ล้วนแต่มีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย และนั่นจึงเป็นเหตุทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้มีโซเดียมสูง ถ้าหากต้องการดื่มน้ำผลไม้เป็นไปได้ก็ควรดื่มน้ำผลไม้สดจะดีกว่าเนอะ ได้ทั้งกากใยและวิตามิน

 

4.อาหารกึ่งสำเร็จรูป

อาหารกึ่งสำเร็จรูปถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่คนไทยนิยมรับประทานกันบ่อย ด้วยความที่สะดวกและรสชาติอร่อย ไม่ว่าจะเป็น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่างๆ หรือคัพโจ้กทุกแบบทุกชนิดล้วนแต่เป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงทั้งสิ้น

 

5.ขนมเบเกอรี่

ขนมเบเกอรี่ที่ว่านี้ไม่ว่าจะเป็น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง แพนเค้ก แปลกใจล่ะสิ่ กินอยู่ทุกวันทุกวี่ซะด้วย ซึ่งขนมของหวานทั้งหลายเหล่านี้ได้มีการเติม Baking Powder หรือ Baking Soda เข้าไป ที่เราเรียกกันว่า ผงฟู และผงฟูนั้นมีส่วนผสมของโซเดียมไบคาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ

 

6.เนื้อแดง

ปกติแล้วโซเดียมจะแทรกและแซมอยู่ในเนื้อสัตว์อยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และจะมีมากในเนื้อแดงจำพวกเนื้อวัว เนื้อหมู ดังนั้นการเลือกรับประทานเนื้อสัตว์ก็เป็นสิ่งสำคัญของคนที่จำกัดปริมาณการทานโซเดียม

 

7.อาหารกระป๋อง

อาหารที่แปรรูปอย่างอาหารกระป๋องจำพวก ปลากระป๋อง หมูกระป๋อง หรือแม้แต่ผลไม้กระป๋อง ซึ่งอาหารเหล่าได้นี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูดเข้าไป และนั่นจึงทำให้มีโซเดียมในปริมาณที่สูงและควรระมัดระวังในการเลือกประทานค่ะ

 

8.อาหารหมักดอง

ถือเป็นของโปรดใครหลายคนไม่ว่าจะเป็น ผักดอง ผลไม้ดอง ปลาร้า กะปิ ปลาส้ม แหนม แฮม หรือใส้กรอก ล้วนแต่เป็นการถนอมอาหารแปรรูปแบบดองเค็มทั้งนั้น รสชาติอาจจะแซ่บนัวแต่ถ้าเผลอทานแบบไม่กลัวก็อาจจะเจ็บไตเอาได้นะคะ

 

9.ผงปรุงรส

ผงปรุงรสชาติที่เราทราบกันดีในชื่อที่เราเรียกกันว่าผงนัว รสอร่อยแบบนัวๆ อย่างผงชูรส ซุปก้อน ผงปรุงรสแบบสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ถึงแม้ว่าผงชูรสเป็นสารปรุงรสที่ไม่มีรสเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณร้อยละ 15 ของส่วนประกอบ

 

10.อาหารตากแห้ง

การถนอมอาหารชนิดตากแห้งก็ถือว่าเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างหนึ่งและควรที่จะหลีกเลี่ยงไม่แพ้กับชนิดอื่นๆ เลยอย่างเช่น ปลาแห้ง เนื้อตากแห้งต่างๆ เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง ปลาเค็ม เป็นต้น

 

11.เครื่องดื่มเกลือแร่

เครื่องดื่มหรือน้ำดื่มที่เรียกว่า น้ำดื่มเกลือแร่ต่างๆ ที่เราเห็นตามร้านค้านั้นทราบหรือไม่ว่าได้มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วยนั่นเองค่ะ รวมถึงเครื่องดื่มเกลือแร่แบบสปร์ตดริ้งค์ด้วยที่ต้องเติมโซเดียมเข้าไป ก็เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือทดแทนเกลือแร่สำหรับผู้ที่สูญเสียเหงื่อมากนั่นเอง

 

12.ขนมกรุบกรอบ

ขนมที่เป็นอาหารว่างทานเล่นเพลิดเพลินอุราจำพวก มันฝรั่งทอดกรอบ ขนมกรุบกรอบที่บรรจุแบบถุง ซอง ที่หลายคนเสพติดเป็นต้องซื้อมาติดห้องไว้ตลอดๆ ขนมจำพวกนี้อาจจะอร่อยแต่ก็มีโซเดียมอยู่ไม่น้อยเลย

 

 

www.flickr.com/photos/jolives/3017953556

โซเดียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

himalayan-salt-1
Source: Flickr (click image for link)

โซเดียม (Sodium) เป็นอีกหนึ่งเกลือแร่หรือแร่ธาตุที่ใครๆก็น่าจะรู้จักกันในรูปของรสชาติความเค็มจากเครื่องปรุงติดบ้านของเราจำพวกน้ำปลา เกลือ หรือเครื่องปรุงอาหารรสชาติต่างๆ แต่ความเป็นจริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่พบได้ทั้งในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันในหลายรูปแบบ และเป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่ที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น การควบคุมความดันกระแสเลือด การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวที่อยู่ภายในร่างกาย โดยมีหน้าที่ควบคู่ไปกับโพแทสเซียมและคลอไรด์ หรือพูดง่ายๆเลยว่า โซเดียมก็คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยโซเดียมจะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเหลวในร่างกาย รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย) ตลอดจนการดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไตและลำไส้เล็กค่ะ โดยโซเดียมในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’ โดยที่เกลือมีส่วนประกอบอยู่ 2 อย่างก็คือ โซเดียมกับคลอไรด์และก็น้ำปลา ซึ่งรสชาตินั้นจะต้องมีความเค็มอย่างแน่นอน และจากการสำรวจพบว่าคนไทยกินเกลือที่มีอยู่ในอาหารและเครื่องปรุงรส โดยเฉลี่ยอยู่ที่วันละประมาณ 7 กรัมค่ะ

 

เกี่ยวกับโซเดียม หรือ Sodium

 

  • โซเดียม คือ เกลือแร่ (สารอาหาร) ชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย
  • โซเดียม เป็นเกลือแร่ที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีความจำเป็นเกี่ยวกับของเหลวภายในร่างกาย
  • โซเดียม เป็นแร่ธาตุที่ทำงานร่วมกับโปตัสเซียมและคลอไรด์ที่ของเหลวภายนอกเซลล์ เพื่อควบคุมดุลยภาพของแรงออสโมติคและปริมาตรของของเหลว
  • โซเดียม ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ (รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย)
  • โซเดียม ในรูปแบบที่เราบริโภคกันเป็นประจำ ก็จะเป็นโซเดียมที่อยู่ในรูปแบบของ ‘’เกลือแกง’’
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมสูงคือพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ
  • โซเดียม จากอาหารธรรมชาติที่มีโซเดียมต่ำ ได้แก่ ผลไม้ทุกชนิด ผัก เนื้อปลา ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง ซึ่งปริมาณโซเดียมจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายโดยไม่จำเป็นต้อง เรียกหาเครื่องปรุงรสใดๆ เลย
  • โซเดียม จากอาหารแปรรูปหรือการถนอมอาหาร ได้แก่ อาหารกระป๋องทุกชนิด อาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง เนื้อเค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักดอง ผลไม้ดอง เป็นต้น
  • โซเดียม จากเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรสที่มีรสเค็ม (เช่น ซีอิ๊วขาว เต้าเจี้ยว น้ำบูดู กะปิ ปลาร้า ปลาเจ่า เต้าหู้ยี้ รวมทั้งซอสหอยนางรม) ซอสปรุงรสที่ไม่มีรสเค็มหรือเค็มน้อย เช่น ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก น้ำจิ้มต่างๆ
  • โซเดียม ในผงชูรสถึงแม้ไม่มีรสชาติเค็ม แต่ก็มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยประมาณร้อยละ 15
  • โซเดียม ในอาหารกระป๋องและอาหารกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งอาหารเหล่านี้มีการเติมเกลือหรือสารกันบูด ซึ่งมีโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก
  • โซเดียม จากขนมต่างๆ ที่มีการเติมผงฟู ซึ่งผงฟูที่ใช้ในการทำขนมเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (โซเดียมไบคาร์บอเนต) เช่น ขนมเค้ก คุกกี้ แพนเค้ก ขนมปัง
  • โซเดียม ในน้ำฝนเป็นน้ำที่ปราศจากโซเดียม
  • โซเดียม มีปนอยู่ในน้ำบาดาลและน้ำประปาอยู่บ้าง ในจำนวนไม่มากนัก
  • โซเดียม ในเครื่องดื่มเกลือแร่ยี่ห้อต่างๆ มีการเติมสารประกอบของโซเดียมลงไปด้วย เพราะมีจุดประสงค์จะให้เป็นเครื่องดื่มสำหรับนักกีฬาหรือผู้ที่สูญเสียเหงื่อมาก
  • โซเดียม ในน้ำผลไม้บรรจุกล่องขวดหรือกระป๋อง มักจะมีการเติมสารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต) ลงไปด้วย ทำให้น้ำผลไม้เหล่านี้ มีโซเดียมสูง
  • โซเดียม เป็นส่วนประกอบของเกลือ ซึ่งเกลือ 1 กรัม จะมีโซเดียมประมาณ  400 กรัม
  • โซเดียม ที่ร่างกายคนเรามีความต้องการ ประมาณ 2400 มิลลิกรัมต่อวัน
  • โซเดียม ที่เกินความต้องการ ไตจะขับออกทางปัสสาวะและจะออกทางเหงื่อเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่าโซเดียม ที่ขับออกทางปัสสาวะจะเป็นตัวชี้ระดับของโซเดียมในร่างกาย
  • โซเดียม เกี่ยวข้องกับการซึมผ่านของสารและการดูดซึมสารอาหารเข้าเซลล์
  • โซเดียม ช่วยฟอกคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายและช่วยในการย่อย
  • โซเดียม จำเป็นสำหรับการผลิตกรดไฮโดรคลอริคในกระเพาะอาหารและช่วยระบบการย่อยอาหาร
  • โซเดียม ช่วยในการขนส่งกลูโคสผ่านเยื่อเซลล์
  • โซเดียม กระตุ้นประสาทให้ทำงาน และเป็นตัวเก็บเกลือแร่อื่นๆให้อยู่ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของโซเดียม (Sodium)

 

การรักษาสมดุลกรดด่าง โดยโซเดียมไบคาร์บอเนตและโซเดียมฟอสเฟต ทำหน้าที่เป็นบัฟเฟอร์ที่สำคัญของเลือด ช่วยรักษาความเป็นกรดด่างของเลือดให้คงที่ค่ะ

 

การควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยที่โซเดียมนั้นไปทำหน้าที่ร่วมกับโปตัสเซียมในการควบคุมสมดุลน้ำและสมดุลของเหลวภายในร่างกาย โดยโซเดียมในรูปแคทไออนจะรักษาความดันออสโมติคภายนอกเซลล์และโปตัสเซียมใน รูปแคทไออนรักษาความดันออสโมติคภายในเซลล์ รวมถึงช่วยรักษาให้แร่ธาตุอื่นที่มีอยู่ในเลือดละลาย เพื่อจะได้ไม่เกิดการจับเกาะตัวภายในเลือด

 

การควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ โดยโซเดียมจะไปควบคุมสมดุลระหว่างแคลเซียมและโปตัสเซียม เพื่อควบคุมหัวใจให้ทำหน้าที่ปกติและสม่ำเสมอ

 

เกี่ยวข้องกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยโซเดียมช่วยการส่งผ่านสัญญาณประสาท ( nerve impulse ) ไปยังกล้ามเนื้อเพื่อให้หดตัว

 

ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ โดยทำงานร่วมกับคลอรีน ช่วยชำระล้างคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบ ส่งเสริมสุขภาพของเลือด น้ำเหลือง ให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

 

 

ปริมาณของโซเดียมที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน

โดยจากการวิจัยทางการแพทย์และโภชนาการเรื่องปริมาณที่เหมาะสมของโซเดียมที่ควรได้รับจากอาหารในแต่ละวัน ยังผลให้องค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดปริมาณโซเดียมที่ แนะนำให้บริโภคต่อวัน (Recommended Daily Intakes : RDI) อยู่ที่น้อยกว่า 2,400 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการในบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป และเป็นปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านสุขภาพใดๆ
สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แนะนำให้บริโภคโซเดียมไม่เกินวันละ 2,400 มิลลิกรัมเช่นเดียวกัน แต่หากจะเปรียบเทียบภาวะความเสี่ยงของการได้รับโซเดียมเกินระหว่างประเทศไทย กับประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่าคนไทยเราบริโภคโซเดียมเฉลี่ยอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมคือปริมาณ 2,320 มิลลิกรัมต่อวัน ในขณะที่ชาวอเมริกันรับประทานโซเดียมจากอาหารเฉลี่ย 3,200 มิลลิกรัมต่อคนต่อวัน ดังนั้นสำหรับคนไทยที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง ควรบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการตามปกติและรสชาติที่ไม่เค็มจนเกินไป ก็เพียงพอที่จะควบคุมปริมาณโซเดียมจากอาหารในระดับที่เหมาะสมได้แล้ว

 

 

www.flickr.com/photos/julajp/5904468562/