Browse Tag: แคนตาลูป

11 ชนิดของผลไม้ที่ช่วยระบบย่อยอาหาร

painful-2
Source: Flickr (click image for link)

“อาหารไม่ย่อย” เกิดจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้มีแก๊สในระบบย่อยและเกิดกรดเกินในกระเพาะ ทำให้เกิดอาการจุก เสียด แน่น บริเวณลิ้นปี่ ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อยก็มีอยู่มากมาย อย่างเช่น การที่เรารีบเร่งในการรับประทานอาหาร ทานในปริมาณที่มากเกินไป หรือรับประทานอาหารบางประเภทที่ทำให้ท้องอืดเกิดอาการจุกแน่นเสียด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรืออัดแก๊สบางชนิดก็จะไปทำให้นเกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร อีกทั้งยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของเราด้วย อย่างการออกกำลังกายเร็วเกินไปหลังการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง และการเกิดความเครียดจะไปมีผลกระตุ้นให้กล้ามเนื้อกระเพาะอาหารบีบรัดตัว ซึ่งเป็นการสร้างกรดในกระเพาะ นอกจากนี้การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรดในกระเพาะอาหารหลั่งมากขึ้น ดังนั้นวันนี้ทาง HealthGossip จึงนำเอาชนิดของผลไม้ที่สามารถช่วยในเรื่องของระบบย่อยอาหารมาแนะนำกันค่ะ แต่ยังไงการทานผลไม้ก็ไม่ควรที่จะเลือกทานหลังการรับประทานอาหารที่มีไขมัน เนื่องจากไขมันย่อยช้า ผลไม้จะเกิดการบูดก่อนที่จะได้ทำการย่อย และจะทำให้เกิดแก๊สขึ้นในที่สุดฉะนั้นอาจจะแย่กว่าเดิมแทนที่จะไปช่วยนั่นเองค่ะ

 

11 ชนิดของผลไม้ที่ช่วยระบบย่อยอาหาร

fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1. มะละกอ

มีสารปาปาอินช่วยย่อยโปรตีนและช่วยการดูดซึมสารอาหาร และยังเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ทั้งยังช่วยละลายไขมันและช่วยบรรเทาอาการแพ้อาหารอีกด้วยค่ะ

 

2. บลูเบอรี่

เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยกากใยและวิตามินซี ยังมีสารช่วยต้านเซลล์มะเร็ง และควรรับประทานทั้งลูก เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด

 

3. บีทรูท

บีทรูทนั้นเต็มไปด้วยกากใย โพแทสเซียมและแมกนีเซียม ช่วยในเรื่องของการย่อยอาหารและดูดซึมอาหารได้เป็นอย่างดี

 

4. กีวี่

กีวี่เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวและมีเนื้อเป็นสีเขียวที่เต็มไปด้วยกรดไลโนเลนิก วิตามินซี วิตามินอี แมกนีเซียม โพแทสเซียม กรดไขมันที่ดีหลายชนิด และเปปซินซึ่งช่วยระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

5. มะม่วงสุก

ถึงแม้ว่าทุกวันนี้จะมีมะม่วงให้กินได้ตลอดทั้งปี แต่โดยธรรมชาติมะม่วงจะออกผลในช่วงฤดูร้อน และถ้าได้กินมะม่วงสุกคาต้นล่ะก็หวานอร่อยกว่ามะม่วงนอกฤดู ถึงมะม่วงจะไม่ได้สรรพคุณช่วยย่อยโดยตรงแต่ก็มีสารเพกทินที่ทำให้อุจจาระของเรานุ่มขึ้นค่ะ

 

6. สับปะรด

สับปะรดมีเอนไซม์ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหาร ทำให้ของเสียที่เป็นโปรตีนแตกตัวเร็วขึ้น สับปะรดช่วยรักษาอาการอักเสบในทางเดินอาหารและช่วยในการทำงานของต่อมไร้ท่อค่ะ

 

7. แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่ทั้งมีวิตามินซี วิตามินเอ โฟเลท โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสสูง และยังช่วยเสริมสร้างแบคทีเรียชนิดดี ช่วยให้การย่อยอาหารและการดูดซึมให้ทำงานได้ดีอีกด้วย

 

8. อโวคาโด

อโวคาโดเป็นผลไม้ที่เต็มไปด้วยกากใย ยังร่างกายสามารถย่อยได้ง่าย และยังมีไขมันชนิดดีที่ช่วยให้การย่อยอาหารมีเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอซึ่งช่วยให้ผิวสวยอีกด้วย

 

9. กล้วย

กล้วยเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับรับประทานเวลาท้องว่าง จะช่วยฟื้นฟูประจุไฟฟ้าและโพแทสเซียมในร่างกาย และยังมีกากใยอาหารที่ช่วยการย่อยอาหาร

 

10. ส้ม

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าส้มนั้นอุดมไปด้วยวิตามินซี โพแทสเซียมและกรดโฟลิก ดังนั้นจึงช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนตัว ลดอาการอาหารไม่ย่อย บำรุงกระเพาะอาหารและม้าม และถ้าเราดื่มแบบน้ำส้มคั้นเป็นประจำจะช่วยในเรื่องของปัสสาวะได้ดี

 

11. แคนตาลูป

แคนตาลูปเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอและวิตามินซี และยังมีเอนไซม์ที่ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยต้านมะเร็งในลำไส้ และช่วยบรรเทาอาการกระวนกระวาย นอนไม่หลับได้อีกด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีอาหารที่ให้กากใยและวิตามินดีสูงที่ช่วยในเรื่องของระบบการย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นมาแนะนำค่ะ

ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารที่เต็มไปด้วยกากใยอาหารที่เหมาะกับระบบย่อยอาหาร และยังเต็มไปด้วยสารอาหารมากมาย เช่นฟอสฟอรัส วิตามินอี เซเลเนียม และสังกะสี

น้ำมันตับปลา ซึ่งเต็มไปด้วยวิตามินเอและวิตามินดี ช่วยระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยป้องกันไม่ให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหาอีกด้วย

 

www.flickr.com/photos/white_ribbons/7004688988/

www.flickr.com/photos/johndecember/16140278728/

โพแทสเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yoghurt-breakfast-1
Source: Flickr (click image for link)

โพแทสเซียม (Potassium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย รองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมนั้นเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด โซเดียมกับคลอไรด์ก็เป็นอิเล็กโตรไลต์เช่นกันค่ะ ร่างกายของเราต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โพแทสเซียมเกือบทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในเซลล์ต่างๆ โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โปแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-เบสในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูงต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโปแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโปแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%

 

เกี่ยวกับโพแทสเซียม (Potassium)

  • โพแทสเซียม เกลือแร่ชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ
  • โพแทสเซียม รักษาสมดุลของน้ำ กรด-ด่างในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต
  • โพแทสเซียม ในผู้ป่วยโรงใตเรื้อรัง จะมีประสิทธิภาพในการขับโพแทสเซียมลดลง ซึ่งทำให้เกิดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด
  • โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับโซเดียมในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ
  • ความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้
  • หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป
  • ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง
  • แหล่งที่พบโพแทสเซียมตามธรรมชาติ ได้แก่ โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ลูกพีช มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักวอเตอร์เครส ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน ถั่ว เป็นต้น
  • ศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ก็ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ
  • ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • ผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • ผู้ที่กำลังลดความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณที่สูงมากจนเกินไป
  • โพแทสเซียม ในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าปกติคือ 3.5 – 5.0 mEq/L
  • โพแทสเซียม  ในเลือดที่มีค่าต่ำคือ  < 3.5 mEq/L จะมีอาการซึม อ่อนเพลีย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ตะคริว
  • โพแทสเซียม ในเลือดที่มีค่าสูงคือ  > 5.0 mEq/L จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • โพแทสเซียมสูงในอาหารประเภท (กลุ่มผักสีเข้ม) ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม ทุเรียน กล้วย ลำไย ผลไม้แห้งต่างๆ เช่น ลูกเกด ลูกพรุน แครอท มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง คะน้า หัวปลี ผักชี มันฝรั่ง
  • โพแทสเซียมปานกลางในอาหารประเภท  สับปะรด ฝรั่ง แอปเปิ้ล เงาะ ส้ม องุ่น ลิ้นจี่ แคนตาลูป ส้มโอ มะม่วงดิบ มะเขือยาว หอมหัวใหญ่ ผักบุ้งจีน มะละกอดิบ ถั่วพู(ฝักอ่อน) พริกหวาน
  • โพแทสเซียมต่ำในอาหาร (กลุ่มผักสีซีด) ได้แก่ ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี แตงกวา
  • การจำกัดผัก-ผลไม้ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ถ้าผลเลือดอยู่ในระดับปกติ ไม่จำเป็นต้องงดผัก ผลไม้ ควรเลือกรับประทานผักผลไม้หมุนเวียนได้ตามปกติ สีเข้ม-อ่อน สลับกันไป

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากชนิดเพื่อให้ได้รับโปแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ เราควรบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอล ฯลฯ ที่มีอยู่ในอาหารด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

 

ประโยชน์ของโพแทสเซียม (Potassium)

 

โพแทสเซียมและอิเล็กโตรไลต์ชนิดอื่นๆ ช่วยในการนำกระแสประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและความดันเลือด โพแทสเซียมยังควบคุมปริมาณของเหลวภายในเซลล์ ขณะที่โซเดียมควบคุมปริมาณของเหลวภายนอกเซลล์ แร่ธาตุ 2 ชนิดนี้จึงทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย

 

โพแทสเซียมยังช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือด ไปเป็นพลังงานสะสม (ไกลโคเจน) ในกล้ามเนื้อและตับ โพแทสเซียมเป็นสารขับปัสสาวะธรรมชาติ จึงช่วยขับสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานด้วย

 

โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับ ธาตุโซเดียม ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อเสียไป ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง

 

โพแทสเซียมช่วยควบคุม Osmolality ส่วนใหญ่ของ ICF จึงมีความสำคัญในการรักษาปริมาตรของเซลล์ให้คงที่ ซึ่งมีผลต่อความสำคัญของปริมาตรน้ำในร่างกาย

 

โพแทสเซียมเป็น Cofactor ที่สำคัญในกระบวนการเมทาบอลิซึม เช่น การสังเคราะห์โปรตีน และไกลโคเจน และการทำงานของอินซูลิน เป็นต้น

 

โพแทสเซียมในอัตราส่วนของโพแทสเซียมที่อยู่ระหว่าง ICF และ ECF จะเป็นตัวกำหนดความต่างศักย์ที่ผนังเซลล์ ที่มีความสำคัญในการทำงานของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาท

 

โพแทสเซียมที่ร่างกายได้รับในแต่ละวันจะได้รับจากอาหาร และมีการขับถ่ายออกนอกร่างกายทางปัสสาวะประมาณวันละ 50-90 มิลลิโมล ส่วนที่เหลือประมาณ 5-10 มิลลิโมล จะขับถ่ายออกทางอุจจาระ และเหงื่อ

 

 

www.flickr.com/photos/california_bakery/8102163622/