Browse Tag: ไมเกรน

แคลเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

milk-and-cookies-1
Source: Flickr (click image for link)

Calcium (แคลเซียม) เรามักจะคุ้นหูหรือได้ยินกันบ่อยๆ ถ้าพูดถึงแคลเซียมคนเราก็จะนึกถึงนมขึ้นมาทันที และพอพูดถึงนมก็จะนึกถึงกระดูกและฟัน เพราะในนมมีแคลเซียมและแคลเซียมก็ไปเสริมสร้างให้กระดูกและฟันของเราให้แข็งแรง ทำไมเราถึงต้องดื่มน้ำนมตั้งแต่อ้อนแต่ออกจนกระทั่งแก่ตัวลงแล้วยังต้องคอยดื่มนมกันอีกล่ะ วันนี้ HealthGossip จึงอยากนำข้อมูลเหล่านี้มาเสนอและให้พวกเรามาทำความรู้จักกับแคลเซียมกันให้มากขึ้น “แคลเซียม” เป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต กระดูก ฟัน เส้นผม และผิวหนัง ต่างก็เป็นส่วนของร่างกายที่ไม่สามารถปราศจากแคลเซียมได้ แม้เป็นที่ทราบกันดีว่า แคลเซียมมีผลกระทบต่อสุขภาพฟัน แต่คุณทราบหรือไม่ว่า แคลเซียมนั้นมีบทบาทสำคัญในการควบคุมความดันเลือดสูง (hypertension) และการควบคุมน้ำหนักตัวด้วยเช่นกัน เป็นที่เชื่อกันว่า แคลเซียม ตลอดจน เกลือแร่ชนิดจำเป็น เช่น แมกนีเซียม และโปแตสเซียม เป็นสิ่งจำเป็นต่อความสำเร็จของการบริโภคตามแบบ DASH (หรือ แนวทางการบริโภคเพื่อหยุดความดันเลือดสูง)

 

เกี่ยวกับแคลเซียม (Calcium)

  • แคลเซียม เป็นธาตุเกลือแร่ที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยในร่างกายคน 50 กิโลกรัม จะมีแคลเซียมอยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน
  • แคลเซียม เป็นแหล่งประกอบของฟันและกระดูกมากที่สุดของแคลเซียมที่มีอยู่ทั้งหมดในร่างกาย คิดเป็นประมาณ 99%
  • แคลเซียม มีหน้าที่สำคัญก็คือ การสร้างกระดูก ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน
  • แคลเซียม ไม่ได้เป็นเพียงตัวเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย
  • แคลเซียม ที่อยู่ในเนื้อเยื่อ ส่วนมากจะอยู่ในรูปของเกลือแคลเซียมฟอสเฟต ส่วนเซลล์ประสาท เนื้อเยื่อร่างกาย เลือด และของเหลวอื่นๆ ในร่างกาย ประกอบด้วยแคลเซียมที่เหลือ
  • แคลเซียม ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุดไหลได้
  • แคลเซียม สามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และ มะเร็งลำไส้
  • แคลเซียม จะเริ่มจากเมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหารก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D
  • แคลเซียม ปกติแล้วร่างกายจะดูดซึมได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ
  • แคลเซียม ที่มีระดับปกติก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดย แคลเซียม ส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและ แคลเซียม ที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูกเปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน
  • แคลเซียม ในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียมรับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสมแคลเซียมในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป
  • แคลเซียม ถ้าร่างกายได้รับไม่พอเพียงต่อความพยายามรักษาระดับแคลเซียม ให้ปกตินั้น จำต้องละลาย แคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้ แคลเซียมในกระดูกค่อยๆลดลง สุดท้ายแคลเซียมหรือเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ก็ลดลงจนไม่พอใช้นั่นเอง
  • แคลเซียม พบมากในนมและผลิตภัณฑ์จากนม แต่ก็พบได้ในอาหารทั่วๆ ไป ดังนี้ อาหารที่พบ (เทียบเป็น % โดยน้ำหนัก) กุ้งแห้งตัวเล็ก 2.31%, กะปิ 1.56%, มะขามฝักสด 0.43%, ยอดแค 0.40%, ยอดสะเดา 0.35%, คะน้า 0.25%, เต้าหู้เหลือง 0.16%, นมสด 0.12%
  • แคลเซียม ที่เป็นอาหารเสริมจะมีจำหน่ายอยู่ทั่วไปและราคาไม่แพง โดยมักจะอยู่ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมกลูโคเนต แคลเซียมซิเตรด แคลเซียมซิเตรดมาเลต แคลเซียมแลคเตต และแคลเซียมฟอสเฟต
  • แคลเซียม ที่เป็นอาหารเสริมเหล่านี้ก็จะขึ้นกับว่าในแต่ละแบบจะให้แคลเซียมแก่ร่างกายเท่าไร เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุแคลเซียม ประมาณ 40% แคลเซียมกลูโคเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 9% ทั้งนี้ยังขึ้นกับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายด้วย มีการค้นพบว่าแร่ธาตุ แคลเซียม ที่ได้จากแคลเซียมซิเตรดจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าที่ได้จากคอร์บอเนต
  • แคลเซียม ลดอาการโรคกระเพราะ หากรับประทาน แคลเซียม ในรูปของแคลเซียมคาร์บอเนตซึ่งเป็นรูปแบบของยาลดกรดตัวหนึ่ง จึงไปช่วยลดอาการ โรคกระเพราะลงได้
  • แคลเซียม โรคนอนไม่หลับ มีหลายๆ คนที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอันเนื่องมาจากมีระดับ แคลเซียม ในเลือดต่ำ ดังนั้นการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยลดอาการนี้ได้ดี
  • แคลเซียม ป้องกันอาการ ไมเกรน เนื่องการรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม จะช่วยให้ระบบหลอดเลือดและสมองมีการทำงานดีขึ้น จึงช่วยลดอาการ ไมเกรน ลงได้
  • แคลเซียม ทุกชนิดไม่ควรทานพร้อมยาประเภทอื่นเพราะทำให้การดูดซึมยานั้นๆน้อยลง และไม่ควรทานหลังอาหารที่มีผักมากๆ เนื่องจากทำให้การดูดซึมน้อยลงและอาจจับกับผักทำให้อืดแน่นท้อง
  • เมื่อทานแคลเซียม ควรรับประทานอาหารที่มีความสมดุลย์ของโปรตีนเพื่อลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดภาวะนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  • การดูดซึมแคลเซียม ยังขึ้นกับภาวะความปกติของระดับวิตามินดีในร่างกาย ถ้ามีภาวะขาดวิตามินดี ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อย เมื่อดูดซึมแล้วร่างกายก็ไม่สามารถนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างกระดูกได้ดี การดูดซึมแคลเซียมยังขึ้นกับภาวะความปกติของระดับวิตามินดีในร่างกาย ถ้ามีภาวะขาดวิตามินดี ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมได้น้อย เมื่อดูดซึมแล้วร่างกายก็ไม่สามารถนำแคลเซียมไปใช้ในการสร้างกระดูกได้ดี

อย่างไรก็ตาม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุเสริมที่น่าสนใจเป็นอย่างมากที่เดียวค่ะ โดยเฉพาะสำหรับสุภาพสตรีที่กลัวภาวะกระดูกพรุน หน่วยงานวิชาการส่วนใหญ่แนะนำให้ผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมเสริมอย่างน้อยวันละ 1,000 – 1,200 มก. ต่อวัน ทั้งนี้นับรวมถึงอาหารที่เรารับประทานต่อวันด้วย อาหารที่เรารับประทานมีแคลเซียมอยู่วันละประมาณ 360 กรัม ดังนั้นความต้องการแคลเซียมเสริมส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 600- 800 มก ความต้องการของแคลเซียม เบื้องต้นวัดได้จากสมดุลระหว่างปริมาณแคลเซียมที่ถูกดูดซึมจากอาหารเข้าสู่ร่างกาย และปริมาณที่สูญเสียออกจากร่างกายผ่านการขับถ่ายปกติ และจากการซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาทดแทน ในวัยผู้ใหญ่ การดูดซึมแคลเซียมโดยรวม จำเป็นต้องพอดีกับอัตราการสูญเสียออกจากร่างกายหากไม่ต้องการให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก และลดความเสี่ยงของโรคและการแตกหักของกระดูก  ในวัยเด็กและผู้ใหญ่ จำเป็นต้องมีการดูแลเพิ่มเติมให้เพียงพอต่อความต้องการการเจริญเติบโตของกระดูก ปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นในบางช่วงเวลา เช่น ในระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงให้นมบุตร และระยะมีประจำเดือนเริ่มต้น เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณ แคลเซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้

เด็กแรกเกิด – 9 ขวบ มีความสามรถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100-150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200-400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50-100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่า หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียม ให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับ แคลเซียม ในกระดูก

 

ประโยชน์ของแคลเซียม

แคลเซียม ในร่างกายเกือบทั้งหมดจะสะสมในกระดูกและฟัน ซึ่งเป็นที่ๆ มันๆ ไปช่วยทำให้เกิดความแข็งแรง อีกทั้งจะมีปริมาณ แคลเซียม จำนวนน้อยๆ ที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะมีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆ เพื่อให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ เช่น

  • แคลเซียม ทำหน้าที่เป็นตัวนำสัญญาณระหว่างเซลประสาทให้สื่อสารกันได้เป็นปกติ
  • แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อหดตัวได้เป็นปกติ ที่สำคัญคือกล้ามเนื้อหัวใจ
  • แคลเซียม ช่วยในขบวนการทำให้เลือดแข็งตัว
  • แคลเซียม ช่วยในขบวนการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

โดยส่วนใหญ่จะแนะนำให้รับประทานแคลเซียมร่วมกับ แมกนีเซียม และ วิตามินดี ซึ่งที่จริงแล้วร่างกายเราจะได้รับ วิตามินดี จากแสงแดดธรรมชาติอยู่แล้ว และยังพบในอาหารต่างๆ อีก วิตามินดีจะช่วยให้ แคลเซียม ถูกดูดซึมได้เป็นปกติ ส่วน แมกนีเซียม ซึ่งเป็นวิตามินที่สำคัญของร่างกายและอาจจถูกยับยั้งการดูดซึมจาก แคลเซียม ได้ ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน แคลเซียม คู่กับ แมกนีเซียม ไปด้วยกัน

 

แคลเซียมกับโรคกระดูกพรุน  ถ้ากระดูกเราแข็งแรงก็จะช่วยป้องกันโรค กระดูกพรุน ได้หรือทำให้เป็นช้าลง ดังนั้นเราควรพยายามรับประทาน แคลเซียม ให้เพียงพอและต่อเนื่องทุกวัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายไปสะสม แคลเซียม ที่กระดูก และทำให้กระดุกแข็งแรง หากเราได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอก็จะทำให้ก็จะทำให้กระดูกบางลง และทำให้หักได้ง่าย ความสูงไม่เพิ่มขึ้นหรือเตี้ยกว่าที่ควรจะเป็น ได้มีการศึกษาพบว่าถึงแม้ว่าในอายุที่น้อยกว่า 35 ปีร่างกายมักจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพกระดูกและฟัน ทั้งนี้คนที่อายุมากกว่า 65 ปี และพยายามรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย แคลเซียม หรือรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการสูญเสียมวลกระดูกและการเกิดอาการกระดูกหักได้ อีกทั้งในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ลองรับประทาน แคลเซียม ร่วมกับ แมกนีเซียม ซึ่งจะทำให้กระดูกแข็งแรงขึ้นและลดอาการดังกล่าวได้

 

แคลเซียมกับความดันโลหิตสูง มีการศึกษาพบว่าคนที่ความดันโลหิตสูงมักจะรับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าคนปกติ และยังพบอีกว่าการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้ว แคลเซียม หรืออาหารเสริมช่วยลดความดันโลหิตลงในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เป็นเพราะ แคลเซียม ช่วยให้กล้ามเนื้อบีบตัวได้ดีและทำให้หัวใจและหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงได้

 

แคลเซียมกับมะเร็งลำไส้ใหญ่ แคลเซียม ช่วยป้องกัน มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มายาวนาน และพบว่าคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีแน้วโน้มลดลงได้เมื่อรับประทาน แคลเซียม มีการพบว่าหลังได้รับ แคลเซียม การแบ่งเซลที่ผิดปกติลดลง มันดูเหมือนว่า แคลเซียม จะไปลดผลการรบกวนของน้ำดีและกรดไขมันในลำไส้ลงที่เป็นสาเหตุของการแบ่งเซลที่ผิดปกติในลำไส้

 

แคลเซียมกับอาการปวดก่อนมีประจำเดือน มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า แคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดก่อนมีประจำเดือน และรวมทั้ง อารมณ์ที่แปรปรวน ซึมเศร้า และอื่นๆ ที่มักจะเกิดก่อนที่จะมีประจำเดือน ทั้งนี้เพราะการที่มีระดับ แคลเซียม ในร่างกายต่ำส่งผลให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติไปด้วย มีการศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้เองในผู้หญิงหลายร้อยคนให้รับประทาน แคลเซียม ขนาด 750 มิลลิกรัมครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พบว่าอาการที่เกี่ยวข้องที่มักเกิดก่อนมีประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดลดลงอย่างเห็นได้ชัด ความรุนแรงก็ลงกว่าครึ่ง

 

ดังนั้นหน้าที่สำคัญเหล่านี้ทำให้ร่างกายขาด แคลเซียม ไม่ได้เลย ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดก็จะไปดึงมาจากกระดูกแทน ส่งผลให้กระดูกไม่แข็งแรง แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่รับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าครึ่งของที่ควรจะได้รับต่อวัน ทำให้กระดูกก็จะบางลง และไม่แข็งลงเรื่อยๆ และเรามักจะทราบว่าเราเป็นโรค กระดูกพรุน ก็ต่อเมื่อเกิดอาการกระดูกหักง่ายแม้กระทบเพียงเล็กน้อย สำคัญไม่น้อยเลยนะเนี้ย ^^

 

www.flickr.com/photos/lifeviaplanes/15710800066/

Vitamin D คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

milk-eggs-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องราวเกี่ยวกับ “วิตามินดี” (Vitamin D) ถ้าพูดถึงวิตามินดีหลายๆคนจะนึกถึงแคลเซียมกันใช่ไหมล่ะคะ แต่เอะแล้วแคลเซียมเกี่ยวอะไรด้วยล่ะ ก็เพราะว่าวิตามินดีและแคลเซียมมีความสำคัญอย่างมากกับสุขภาพของกระดูกและฟันของเรา และในบางทีเราก็จะรู้จักกับวิตามินดีในนามของ “วิตามินแสงแดด” เนื่องจากจะสามารถสร้างขึ้นได้ในร่างกายหลังจากถูกแสงแดด การให้ร่างกายได้รับแสงแดดที่เหมาะสมครั้งละ 5-30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอที่จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมาใช้ได้อย่างเพียงพอ ซึ่งหมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหาร ยกเว้นก็ต่อเมื่อได้รับแสงอาทิตย์น้อยเกินไป ซึ่งมักไม่เป็นปัญหาในเด็ก แต่เนื่องจากรังสี UV ในแสงอาทิตย์โดยเฉพาะในประเทศไทยบ้านเรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมมากว่า วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์เนื่องจากจะช่วยในการสร้างแคลเซียมและแมกนีเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน และยังช่วยให้ร่างกายคงระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในระดับที่เพียงพอนั่นเองค่ะ แต่นอกจากนี้แล้ว วิตามินดียังมีความสำคัญและบทบาทต่อสุขภาพอื่นๆของเราอีกด้วยค่ะ เพราะฉะนั้น HealthGossip เลยไม่รอช้าที่จะนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เราได้เรียนรู้และรู้จักกับวิตามินดีกันให้มากขึ้นค่ะ วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันมีอยู่ด้วยกันสองฟอมร์คือ Ergocalciferol พบในยีสต์ และ Cholecalciferol พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง ส่วนในน้ำนมจะพบได้ทั้งสองฟอมร์

 

เกี่ยวกับวิตามินดี หรือ Cholecalciferol

  • วิตามินดี คือเซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสีในมนุษย์
  • วิตามินดี มีหลักๆอยู่สองตัวคือ วิตามินดี 2 หรือ ergocalciferol พบในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พวกหอยทาก หนอน ยีสต์ และวิตามินดี 3 หรือ cholecalciferol พบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนัง
  • เราได้วิตามินดีส่วนหนึ่งจากอาหาร อีกส่วนหนึ่งจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด
  • วิตามินดีที่เราได้รับไม่ว่าจากอาหารหรือจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังร่างกายยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยมีอวัยวะที่เปลี่ยนคือ ที่ตับเมื่อเปลี่ยนแล้วจะได้วิตามินดีที่เรียกว่า calcidiol และ ที่ไตเมื่อวิตามินเปลี่ยนแล้วจะได้วิตามินที่เรียกว่า calcitriol
  • วิตามินดีทำหน้าที่ร่วมกับแคลเซี่ยมในการสร้างกระดูกและฟัน และช่วยเร่งการดูดซึมแคลเซี่ยมในลำไส้
  • อาการของคนที่ขาดวิตามินดี คือกระดูกและฟันอ่อนแรง หักง่าย นอนไม่หลับในเด็กหากขาดวิตามินดี เรียก rickets ส่วนในผู้ใหญ่เรียก osteomalacia
  • การสังเคราะห์วิตามินดีของผิวหนังจากคอเลสเตอรอลอาศัยการได้รับแสงแดด (โดยเฉพาะรังสียูวีบี)
  • เราได้วิตามินเอจาก อาหาร แสงแดด และอาหารเสริม
  • อาหารหลายประเภทรวมทั้งนมได้ใส่วิตามินดีในอาหารและนมดังกล่าว คนปกติควรจะได้รับวิตามินดีอย่างน้อยวันละ 400 IU ต่อวัน
  • แหล่งของอาหารตามธรรมชาติที่อุดมไปด้วยวิตามินดี ได้แก่ ปลาที่มีมัน เห็ดตากแห้ง และไข่แดง และยังพบในอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น นม และนมถั่วเหลืองก็มีการเติมวิตามินดีในอาหาร
  • การถูกแดดช่วง 10.00น – 15.00น วันละ 5-30 นาที โดยให้แสงแดดถูกที่หน้า หรือแขน หรือลำตัวสัปดาห์ละสองวันก็เพียงพอที่จะสร้างวิตามินดี
  • งานวิจัยแสดงชี้ให้เห็นว่าคนที่มีผิวสีเข้มจะมีระดับวิตามินดีต่ำกว่าคนที่มีผิวที่ขาวกว่า หากต้องการดูดซึมวิตามินดีในปริมาณที่เท่ากัน คนอเมริกันผิวดำจะต้องโดนแสงแดดมากกว่าคนผิวขาวทั่วไปถึง 10 เท่า
  • ผู้ที่ได้รับวิตามินดีเสริมในปริมาณมากที่สุด สามารถลดน้ำหนักลงได้มากที่สุด และไขมันที่ลดลงมากก็คือไขมันบริเวณช่องท้องที่จัดว่าเป็นไขมันอันตรายนั่นเอง
  • ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของการขาดวิตามินดี คือการมีไขมันในร่างกายมาก เพราะวิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ฉะนั้นวิตามินดีจึงถูกเก็บอยู่กับไขมันมากกว่าที่จะถูกนำออกมาในกระแสเลือดเพื่อใช้กับกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของวิตามินดี

วิตามินดี ช่วยให้อายุยืนยาว งานวิจัยล่าสุดเผยว่าวิตามินดี สามารถช่วยลดการตายที่เกี่ยวเนื่องกับโรคมะเร็ง โรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเอง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผลจากวิเคราะห์การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง 18 กลุ่ม แสดงให้เห็นว่าผู้ใหญ่ที่รับประทานวิตามินดี ในปริมาณระหว่าง 400–830-IU เป็นประจำทุกวันช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเนื่องจากโรควิถีชีวิต

 

วิตามินดี ช่วยในการชะลอวัยของผิวพรรณ มีการศึกษาพบว่าระดับวิตามินดีต่ำเกี่ยวข้องกับการบวมหรือความหย่อนยาน การมีรูขุมขนขยาย และการเกิดซีสต์บนผิวหนัง ดังนั้น วิตามินดีจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างผิวหนังและกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง และควบคุมให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสมตามวัย

 

วิตามินดี ช่วยให้หัวใจมีสุขภาพดี งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าระดับวิตามินดี ในร่างกายที่เพียงพอช่วยทำให้ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบดี ขึ้น พบว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำเสี่ยงที่จะเกิดการตีบของหลอดเลือดเพิ่มขึ้นถึง 80% โดยผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า อาจมาจากว่าวิตามินดีช่วยลดการอักเสบของเซลล์ และช่วยลดระดับความดันโลหิต

 

วิตามินดี ช่วยรักษาระดับความดันเลือด วิตามินดีช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดเป็นไปด้วยดี โดยงานศึกษาแสดงให้เห็นว่าหากเราได้รับวิตามินดี เพียงพอ (เช่น ไม่ขาดวิตามินชนิดนี้) จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันสูง

 

วิตามินดี ช่วยปกป้องกระดูก วิตามินดีและแคลเซียม ช่วยปกป้องกระดูกจากการเป็นโรคกระดูกผุ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกที่เกิดจากโรคกระดูกผุด้วย

 

วิตามินดี ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง วิตามินดีทำหน้าที่เหมือนสารต้านอนุมูลอิสระ คือ ช่วยเพิ่มเกราะป้องกันให้เซลล์ในร่างกายแข็งแรง ป้องกันไม่ให้เซลล์เปลี่ยนรูปเป็นเซลล์เนื้อร้าย และพบว่าสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งแล้ว ผู้ป่วยที่มีระดับวิตามินดีสูงมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคนี้ได้

 

วิตามินดี ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย การศึกษาที่มหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีในร่างกายสูงที่สุดจะป่วยน้อยครั้งกว่าผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำมากถึง 2 เท่า ด้วยเหตุผลที่ว่าวิตามินดีจะช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวผลิตโปรตีนที่เป็นตัวฆ่าเชื้อโรค

 

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงของโรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาท เนื่องจากวิตามินดีจะเป็นตัวปรับแคลเซียมในสมอง เพิ่มประสิทธิภาพของการส่งต่อข้อมูลต่างๆ ในระบบประสาท

 

วิตามินดี ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า เป็นเพราะวิตามินดีช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเซโรโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้รู้สึกดี ขณะที่การขาดเซโรโทนิน ส่งผลให้เกิดความเครียดได้

 

วิตามินดี ช่วยลดไมเกรน มีการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำมีความสัมพันธ์กับไมเกรนและอาการปวดเรื้อรัง เนื่องจากวิตามินดีมีส่วนช่วยให้หลอดเลือดเกร็งและคลายตัวตามปกติ

 

สาเหตุของการขาดวิตามิน

  • คนที่ถูกแสงแดดน้อย เช่นคนสูงอายุ คนป่วย
  • คนที่รับประทานอาหารไม่เพียงพอ ดื่มนมไม่เพียงพอ
  • hypoparathyroidism
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการดูซึมไขมัน
  • ผู้ที่มีผิวสีคล้ำซึ่งจะทำให้ผิวหนังผลิตวิตามินดีลดลง

อันตรายจากการขาดวิตามินดี

ปกติเราสามารถสร้างวิตามินดีได้จากใต้ผิวหนังเมื่อได้รับรังสีไวโอเลตในแสงแดด ทั้งนี้ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวันคือประมาณ 5 ไมโครกรัม / วัน อย่างไรก็แล้วแต่ถ้าหากได้รับวิตามินดีมากหรือน้อยเกินไปก็เป็นอันตรายเช่นกันค่ะ

โรคกระดูกอ่อน ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต การขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน เนื่องจากวิตามินดีทำงานร่วมกับแคลเซียมในการช่วยควบคุมระดับแค ลเซียมในร่างกาย เมื่อขาดแคลเซียม จึงทำให้กระดูกเปราะและหักง่าย อีกทั้งยังทำให้กระดูกตามส่วนต่างๆในร่างกายผิดรูป โค้งงอ และขาโก่ง อีกทั้งยังทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในผู้ใหญ่ได้อีกด้วย

ท้องเสีย นอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อย กระวนกระวาย กล้ามเนื้อกระตุก เป็นหวัดบ่อย กล้ามเนื้ออ่อนแอ ขาดความคล่องแคล่วกระฉับกระเฉง และความต้านทานโรคลดน้อยลง

อันตรายจากการได้รับวิตามินดีมากเกินไป

ท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง โดยปกติร่างกายของเราสามารถกำจัดวิตามินดีที่สร้างจากแสงแดดออก ไปจากร่างกายตามธรรมชาติ แต่ถ้าหากกินวิตามินดีเสริมมากเกินไปก็อาจอันตรายได้เช่น ถ้ากินวิตามินดีวันละ 25-50 ไมโครกรัมติดต่อกันนาน 6 เดือนอาจทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสียเรื้อรัง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นผิดปกติ และอ่อนเพลียได้

เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เนื่องจากวิตามินดีมีส่วนช่วยในการดูดซึมฟอสฟอรัสและแคลเซียมจาสิกลำไส้ไปสร้างกระดูกและฟัน การขาดวิตามินดีจึงมีผลโดยตรงที่ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัส ในร่างกายไม่สมดุลทำให้มีแคลเซียมสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ในเนื้อเยื่อ เลือด ตับ ไต ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคร้ายอื่นๆตามมาได้

 

www.flickr.com/photos/lbrummphoto/4562104663/

12 เหตุผลแสนมหัศจรรย์ที่เราควรหันมาดื่มน้ำเปล่า

drinking-water-1เราคงเคยรู้หรือเคยได้ยินกันมาตลอดกับการดื่ม “น้ำเปล่า” นั้นมีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะอยู่ดีมีสุขการดื่มน้ำเปล่าก็ยังเป็นส่วนสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่ดี ถึงแม้เวลาเจ็บป่วย คุณหมอหรือนักโภชนาการก็ยังคงแนะนำให้ดื่มน้ำเยอะๆอยู่บ่อยๆ ซึ่งนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งในแผนการรักษาและบำบัดอยู่เสมอแต่ก็มียกเว้นในบางเคสเท่านั้น และก็คงมีอีกหลายคนอีกนั่นแหละที่ยังไม่ทราบถึงประโยชน์ที่แท้จริงของการดื่มน้ำเปล่า ว่าทำไมถึงต้องดื่มน้ำเปล่า? และต้องดื่มในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอดี ถ้าไม่ดื่มน้ำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น? เชื่อว่าทุกคนก็คงจะรู้อยู่แล้วล่ะว่า “น้ำ” เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายซึ่งขาดไม่ได้ ในภาวะสังคมที่เร่งรีบไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือการดำรงชีวิต การไม่ดื่มน้ำหรือเข้าห้องน้ำเนื่องจากกลัวเสียเวลาจนกลายเป็นความเคยชินทำให้ร่างกายเกิดความคุ้นเคยและทำให้อวัยวะภายในเกิดอาการผิดปกติตามไปด้วย และยังมีอีกหลายคนที่ไม่ชอบดื่มน้ำกัน บ้างก็กลัวว่าดื่มน้ำมาก ๆ จะทำให้เข้าห้องน้ำบ่อย หรือเหตุผลอีกต่าง ๆ นานา แต่ขอบอกเลยว่าการที่ไม่ดื่มน้ำจะทำให้คุณพลาดประโยชน์ที่แสนจะอัศจรรย์พันแปดของการดื่มน้ำไปอย่างไม่น่าให้อภัยเลยล่ะค่ะ น้ำ คือสารอาหารที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เพราะว่า 4/5 ส่วนของน้ำหนักตัวก็คือน้ำ มนุษย์สามารถมีชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์หากขาดอาหารแต่จะอยู่ได้เพียงไม่กี่วันหากขาดน้ำ โดยน้ำทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายหลักสำหรับอาหารที่ผ่านกระบวนการย่อยในกระเพาะ แต่ยังไม่มีปริมาณที่ให้ดื่มเฉพาะเจาะจงในแต่ละวัน เพราะการสูญเสียน้ำของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไป แต่โดยทั่วไปแล้วการดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน วันละประมาณ 2 ลิตร แต่ที่จริงแล้วเวลาและปริมาณในการดื่มหรือความถี่ของการดื่มเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันค่ะ

“น้ำเปล่า” นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะในร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วยน้ำถึง 70% ซึ่งระบบภายในของร่างกายมนุษย์ ต้องใช้น้ำในการทำหน้าที่ของระบบร่างกาย เช่น ย่อยอาหาร ทำให้ระบบเลือดหมุนเวียนไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้เป็นอย่างดี ขับสารพิษออกจากร่างกาย แต่หากร่างกายของมนุษย์ได้รับน้ำเปล่าในแต่ละวันน้อยจนเกินไปก็จะส่งผลเสียให้กับร่างกาย เช่น เลือดจะมีความเข้มข้นหนืด จนทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงร่างกายไม่เพียง จะส่งผลให้เส้นเลือดตีบตัน สมองเสื่อมเพราะเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ในแต่ละวันร่างกายจะเสียน้ำวันละ 2 ลิตร จากการหายใจ ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ ทำให้ร่างกายต้องได้รับน้ำจากการดื่มน้ำเปล่าให้ได้วันละประมาณ 2-3 ลิตร ซึ่งประโยชน์จากการดื่มน้ำเปล่าจะช่วยทำให้สุขภาพผิวดูมีน้ำมีนวลผิวพรรณไม่แห้งหยาบกร้าน ป้องกันการเกิดริ้วรอยที่ผิวหน้า เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย และช่วยให้ระบบสมองทำงานได้ดีขึ้นเพราะสมองมีองค์ประกอบที่เป็นน้ำถึง 85%

ภาวะร่างกายขาดน้ำ ภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ หมายถึง ภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ร่างกายได้รับ ซึ่งถ้าหากขาดน้ำมากๆ และไม่ได้รับการทดแทนอย่างเพียงพอในเวลาที่เหมาะสม ก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียตามมาได้ หรือถ้าหากร่างกายได้รับน้ำมากเกินไปก็จะส่งผลเสียได้เหมือนกัน ปกติร่างกายเราจะสูญเสียน้ำจากทางเหงื่อ ลมหายใจ และการขับถ่าย นอกจากนี้เรายังสูญเสียเกลือแร่ออกจากร่างกายอีกด้วยในเวลาที่เราขับเหงื่อออกจากร่างกาย โดยเฉพาะในบ้านเราที่มีอากาศร้อนร่างกายก็ยิ่งต้องการน้ำมากขึ้น นอกจากนี้หากร่างกายขาดน้ำ ลำไส้ก็จะแห้ง ไม่มีน้ำที่จะให้อุจจาระออกมาได้ ของเสียก็จะสะสมอยู่ในลำไส้ ลำไส้ก็จะดูดซึมของเสียนั้นกลับเข้าร่างกายอีก เลือดเราก็จะสกปรกและข้นหนืดมากขึ้นไปอีก และหากเลือดที่เสียเมื่อเข้าไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายก็จะมีปัญหามากมายตามมา ช่องทางในการขับของเสียของร่างกายมีอยู่ ๕ ช่องทางด้วยกัน คือ ไต ขับออกมาทางปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ขับออกมาทางอุจจาระ ปอด ขับออกมาทางลมหายใจ ผิวหนัง ขับออกมาทางเหงื่อ รอบเดือน ขับออกมาทางประจำเดือน เมื่อช่องทางการขับของเสียไม่สมบูรณ์หรือถูกปิดกั้น มันก็จะพยายามหาทางออกให้ได้ เช่น ออกมาเป็นสิว ฝ้า กระ ฝี ริดสีดวง

ถ้าร่างกายขาดน้ำ สังเกตุอาการดังนี้

  • ปวดศรีษะ ปวดตุ๊บๆเหมือนปวดเกร็งตรงบริเวณขมับ บางครั้งเวลาจับจะเป็นก้อน
  • ปากแห้ง หรือบางทีผิวแห้ง
  • คอแห้ง
  • ร้อนใน เป็นแผลในปาก
  • แขนขาอ่อนแรง
  • สีปัสสาวะจะเหลืองเข้ม

 

ถ้าดื่มน้ำมากหรือน้อยไปจะเป็นอย่างไร?

ของทุกกอย่างมากไปน้อยไปไม่ดีทั้งสิ้น เช่น บางคนบอกดื่มน้ำเยอะๆแล้วดี ดื่มที 8-10 ลิตรต่อวันนั้นก็มีผลเสียเช่นกัน เพราะว่าจะทำให้สมดุลเกี่ยวกับน้ำและเกลือแร่ของร่างกายมันผิดไปจากที่ควร ซื่งอาจจะส่งผลทำให้เกิดอาการจากการที่มีเกลือแร่ต่ำได้ อย่างเช่น อาจจะมีอาการคลื่นใส้ อาเจียน เวียนศรีษะได้ เป็นต้น

สำหรับคนที่ดื่มน้ำน้อยไป ปัญหาก็คือ น้ำก็ไม่เพียงพอที่จะเอาไปใช้ในกระบวนการเผาผลานของร่างกาย เพราะฉะนั้นระบบต่างๆ ของร่างกายก็ไม่ดี รวมถึงอาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้เกิดโรคนิ่วต่างๆได้ เพราะฉะนั้นการดื่มน้ำให้เพียงพอ และเหมาะสมในแต่ละวันนั้น จะเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพ

ผลเสียเมื่อดื่มน้ำไม่เพียงพอ

หน้าร้อนไม่ควรดื่มเครื่องดื่มประเภท กาแฟ ชาหรือว่าแอลกอฮอล์ ถือว่าเป็นข้อห้ามในอากาศที่ร้อนมาก เพราะสิ่งเหล่านี้จะดึงน้ำออกไปจากร่างกาย เพราะถ้าเราดื่มกาแฟจะทำให้เราปัสสาวะบ่อย ในการปัสสาวะหนึ่งครั้งเราจะเสียน้ำไปประมาณ 200 มิลลิลิตร ดื่มกาแฟเท่าใหร่มันก็จะดึงน้ำออกไปเป็นสองเท่า ยิ่งดื่มมากยิ่งทำให้เสียน้ำมาก

การดื่มน้ำเย็นๆ ในอากาศที่ร้อนมากๆ พอดื่มเข้าไปร่างกายเราจะใช้เวลาในการปรับอุณหภูมิให้เท่ากับอุณหภูมิของร่างกายเพื่อที่จะดูดซึมเอาไปใช้ได้ดี แต่ถ้าอุณหภูมิมันปรับไม่ได้ จะทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำได้แค่บางส่วนและน้ำก็จะออกไปทางระบบทางเดินอาหารและทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายเสียน้ำ และเกิดปากแห้ง ผิวแห้ง ปัสสาวะเหลืองขึ้นได้

 

12 เหตุผลที่เราควรหันมาใส่ใจในการดื่มน้ำเปล่า

 

1. ดื่มน้ำเปล่าทำให้หน้าใส

การดื่มน้ำในปริมาณมากทำให้ผิวยืดหยุ่นและไม่แห้งกร้าน  ใบหน้าชุ่มชื่น เต่งตึงเป็นสีชมพู เพราะเลือดไหลเวียนดี Kenneth Ellner แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังบอกว่า “ภาวะร่างกายขนาดน้ำทำให้ผิวของคุณดูแห้งกร้านและมีรอยตีนกา ซึ่งสามารถแก้ให้หายได้ถ้าดื่มน้ำในปริมาณที่มากขึ้น” นอกจากนี้เพื่อผิวที่ดีขึ้นและอ่อนวัยลงให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลมและกาแฟ อีกด้วย

 

2. ดื่มน้ำช่วยลดอาการอ่อนเพลีย

สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเกิดการอ่อนเพลียก็คือภาวะขาดน้ำ ดังนั้นการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายภายในชุ่มชื้นขึ้นและลดภาวะขาดน้ำได้ ช่วยให้รู้สึกสดชื่นมีแรงขึ้นกว่าเดิม ใครที่กำลังรู้สึกอ่อนเพลียลองจิบน้ำดูนะคะ รับรองว่าช่วยได้แน่นอน

 

3. ดื่มน้ำช่วยควบคุมแคลลอรี่

การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอจะช่วยลดความหิว และส่งผลให้รับแคลอรี่จากการทานอาหารน้อยลงด้วย นอกจากนี้น้ำเปล่ายังช่วยกำจัดของเสียและไขมันจากอาหารที่ทานเข้าไป ถ้าคุณเปลี่ยนจากดื่มน้ำหวานที่ให้แคลอรี่สูงมาเป็นน้ำเปล่าธรรมดาๆได้ รับรองว่าหุ่นสวยสมใจแน่ค่ะ

 

4. ดื่มน้ำช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย

ตเป็นอวัยวะที่สำคัญในการขับสารพิษออกจากร่างกาย โดยเมื่อไตกรองสารพิษในของเหลวที่อยู่ในร่างกายแล้วก็จะถูกขับออกมาในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น เหงื่อ และปัสสาวะ การดื่มน้ำจะช่วยให้ร่างกายขับสารพิษออกมาได้ดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดการติดเชื้อในท่อปัสสาวะและนิ่วในไตได้

 

5. ดื่มน้ำช่วยรักษาอาการปวดหัว

ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ข้อมูลว่าการดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอช่วยลดอาการปวดหัวได้ แม้อาการปวดหัวจะเกิดจากหลายสาเหตุ แต่การขาดน้ำก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยเช่นกัน ดังนั้นอาการไมเกรนและปวดหลัง แท้จริงแล้วอาจมีสาเหตุมาจากภาวะขาดน้ำในร่างกายได้ ดังนั้นการดื่มน้ำอย่างเพียงพอนี่ล่ะจะสามารถช่วยลดอาการเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี

 

6. ดื่มน้ำช่วยเรื่องการทำงานของไต

ถ้าคุณดื่มน้ำเปล่าไม่เพียงพอต่อวัน น้ำปัสสาวะของคุณจะมีสีเหลืองเข้มและมีกลิ่นแรงขึ้น แต่ถ้าคุณดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอน้ำปัสสาวะจะไหลผ่านไตได้อย่างปกติ การดื่มน้ำเปล่ายังช่วยลดภาวะการติดเชื้อของไต และลดความเสี่ยงที่จะเกิดนิ่วในไตด้วย

 

7. ดื่มน้ำช่วยป้องกันมะเร็ง

มีการศึกษาหนึ่งพบว่าการดื่มน้ำมากๆ จะช่วยลดการอุบัติขึ้นของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เพราะการดื่มน้ำมากๆ จะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งการปัสสาวะบ่อยๆ จะช่วยลดการก่อตัวของสารก่อมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะได้ นอกจากนี้การดื่มน้ำอย่างเพียงพอไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำก็ยังช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านมได้อีกด้วยค่ะ 

 

8. ดื่มน้ำช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

การดื่มน้ำไม่เพียงพอเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขับถ่ายและการย่อยอาหาร การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอช่วยลดความเสี่ยงเรื่องปัญหาในระบบย่อยอาหาร เช่น กรดไหลย้อน เพราะน้ำจะช่วยเจือจางกรดในระบบย่อยอาหารของคุณ

 

9. ดื่มน้ำดีต่อสุขภาพหัวใจ

มีการศึกษาหนึ่งพบว่าปริมาณน้ำที่ดื่มนั้นมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดโดยการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการดื่มน้ำมากขึ้นทำให้ความเสี่ยงโรคหัวใจลดลง โดยจะทำให้เลือดไม่ข้น การไหลเวียนเป็นไปได้ง่าย สูบฉีดดี หัวใจจึงไม่ทำงานหนัก ไม่เมื่อยล้า ไม่เหนื่อยง่าย หัวใจเป็นปกติ มีประสิทธิภาพดีและแข็งแรง แต่การดื่มเครื่องดื่มที่มีพลังงานสูง อย่างเช่นโซดา หรือ น้ำผลไม้ จะทำให้มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจสูงขึ้นอีกด้วยค่ะ

 

10. ดื่มน้ำช่วยลดอาการแฮงค์

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และทำให้เกิดอาการแฮงค์ การดื่มน้ำหนึ่งแก้วหลังจากที่คุณจิบแอลกอฮอล์ จะช่วยลดภาวะขาดน้ำได้อีกทางหนึ่ง แถมยังช่วยให้อาการแฮงค์หลังจากดื่มแอลกอฮอล์ลดลงอีกด้วย

 

11. ดื่มน้ำช่วยปรับสมดุลอุณหภูมิของร่างกายในขณะออกกำลังกาย

การออกกำลังกายทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น และการดื่มน้ำในขณะที่ออกกำลังกายจะช่วยให้อุณหภูมิในร่างกายลดลงได้ และช่วยทดแทนของเหลวในร่างกายที่เสียไปจากการขับเหงื่อ แต่ก็ควรจะดื่มน้ำอย่างเหมาะสม โดยค่อย ๆ จิบน้ำหลังจากออกกำลังกาย ไม่ควรดื่มรวดเดียวเพราะอาจจะทำให้เกิดอาการจุกและเป็นอันตรายได้

 

12. สร้างเสริมสมองให้ทำงานดีขึ้น

การศึกษาในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ พบว่านักศึกษาที่นำน้ำเข้าไปดื่มด้วยในห้องสอบ จะทำข้อสอบได้คะแนนดีกว่า นั่นก็เป็นเพราะว่าน้ำจะช่วยทำให้สมองปลอดโปร่ง ส่งผลต่อการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะในเรื่องของความจำหรือการคิดประมวลผลต่างๆนั่นเอง

 

น้ำมีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์ ร่างกายของเราไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากน้ำได้เลย ดังคำโบราณบอกว่าขาดอาหารกินเราอยู่ได้ 7 วัน แต่ถ้าขาดน้ำเราจะอยู่ได้เพียง 3 วันเท่านั้น แต่ถ้าขาดอากาศหายใจเราจะอยู่ได้เพียงสามนาที ดังนั้นจะเห็นได้ว่าน้ำนั้นมีความสำคัญมากอีกทั้งน้ำยังนำพาสิ่งดีและไม่ดีเข้าสู่ร่างกายเราได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอย่าละเลยในการดื่มน้ำกันเลยค่ะ ถึงแม้อาจจะปวดปัสสาวะบ่อยแต่ถ้าปัสสาวะมีสีใสก็ยังดีกว่าปัสสาวะเป็นสีอื่นและมีกลิ่นนะคะ เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือนน