Browse Tag: Anthocyanins

9 สุดยอดประโยชน์ต่อสุขภาพจากแครนเบอร์รี่

Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ผลไม้ชนิดแรกๆ ที่เราจะนึกถึงก็คงจะเป็นพวก สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เป็นอย่างแรกเลยใช่ไหมล่ะคะ นอกจากนี้แล้วยังมีราสเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่จะมาพูดถึงวันนี้คือผลไม้ที่มีชื่อว่า “แครนเบอร์รี่” (Cranberry) ค่ะ ขึ้นชื่อว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ก็จัดว่าเป็นสุดยอดอาหารที่ดีต่อสุขภาพอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ด้วยผลไม้ตระกูลนี้จะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่โดดเด่นกันไปในแต่ละชนิด ไม่เพียงแค่รสชาติที่อร่อยเท่านั้นคนที่รักสุขภาพจะทราบกันเป็นอย่างดีและเลือกที่จะนำมารับประทานและประกอบอาหารกันอยู่เสมอ จากหัวข้อเกี่ยวกับผลไม้แครนเบอร์รี่ที่จะนำข้อมูลมาแบ่งกันในวันนี้ เนื่องจากเราไม่ค่อยจะคุ้นหูกันเท่าไหร่และอาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักกันว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ยังมีอีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยอย่าง แครนเบอร์รี่ อยู่นะ ใครที่คุ้นหูผ่านตากันมาบ้างแต่ยังไม่รู้จักมากนักรวมถึงคนที่ยังไม่รู้จักเลยมันคืออะไรกันนะ จึงหวังว่าข้อมูลของผลไม้ชนิดนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นอีกตัวเลือกของผลไม้เพื่อสุขภาพอีกหนึ่งชนิดนะคะ

ผลไม้ที่มีชื่อว่า แครนเบอร์รี่ มาจากไหนนะ

เรามาเริ่มเกริ่นและทำความเข้าใจความเป็นมาของผลไม้ชนิดนี้กันก่อนเลยค่ะ แครนเบอร์รี (Cranberries) เป็นผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเบอร์รี่โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon ผลไม้แครนเบอร์รี่ถือกำเนิดขึ้นในแถบทางเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดาโดยจะมีมากกว่าแครนเบอร์รี่ที่เกิดตามธรรมชาติในทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วทวีปยุโรปค่ะ มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรีที่มีผลสุกแล้วเป็นสีแดงสดอยู่ในลักษณะเป็นพวง ผิวของผลแครนเบอร์รี่จะลื่นและมันวาว รสชาติเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอม ซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียนิยมนำมาปรุงอาหารและจัดเตรียมคล้ายกับวันสำคัญตามประเพณีของชาวอเมริกัน โดยนำมาอบแห้งและเติมรสชาติให้มีความหวานจากน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเมเปิ้ล พบว่าสมัยอาณานิคมชาวอาณานิคมได้เริ่มนำผลไม้แครนเบอร์รี่ส่งออกกลับบ้านกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ค่ะ แครนเบอร์รี่จะสามารถเก็บได้เป็นปีถ้าเรานำไปเก็บในรูปแบบแช่แข็ง ต้นแครนเบอร์รี่จะเริ่มสุกงอมเป็นสีแดงฉ่ำมากพร้อมเก็บในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเก็บโดยการแช่แข็งและนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานกันได้ตลอดทั้งปีค่ะ

 

แครนเบอร์รี่มีประโยชน์อะไรบ้าง

Source: Flickr (click image for link)

ส่วนใหญ่ในช่วงวันคริสมาสต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะนิยมนำมาแครนเบอร์รี่มาตกแต่งตามต้นคริสมาสต์ให้มีสีแดงสดใสสวยงาม ไม่เพียงแค่นั้นยังนิยมนำมาประกอบอาหารหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มรวมถึงเป็นอาหารว่างด้วย ก่อนอื่นเรามาดูคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ที่ชื่อว่าแครนเบอร์รี่ว่ามีอะไรบ้างค่ะ

คุณค่าทางโภชนาการของแครนเบอร์รี่

แครนเบอร์รี่ปริมาณ 1 ถ้วย 100 กรัม มีปริมาณแคลอรี่ 46 กิโลแคลอรี่

                                                                                                  ค่าเปอร์เซ็นต์ต่อวัน

ไขมันทั้งหมด 0.1 กรัม                                                                         0%

ไขมันอิ่มตัว 0 กรัม                                                                                 0%

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.1 กรัม

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0 กรัม

โคเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม                                                                   0%

โซเดียม 2 มิลลิกรัม                                                                              0%

โพแทสเซียม 85 มิลลิกรัม                                                                   2%

คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 12 กรัม                                                           4%

                  ใยอาหาร 5 กรัม                                                                 18%

                   น้ำตาล 4 กรัม

โปรตีน 0.4 กรัม                                                                                    0%

วิตามินเอ                                                                                                1%

วิตามินซี                                                                                               22%

แคลเซียม                                                                                              0%

เหล็ก                                                                                                      1%

วิตามินดี                                                                                                 0%

วิตามินบี 6                                                                                              6%

วิตามินบี 12                                                                                           12%

แมกนีเซียม                                                                                            1%

 

9 สุดยอดประโยชน์ทางด้านสุขภาพจากแครนเบอร์รี่

 

1.แครนเบอร์รี่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระและสารพฤษเคมี จำพวก oligomeric proanthocyanidins, anthocyanidin flavonoids (ซึ่งให้สีแดงสดใส), cyanidin, peonidin และ quercetin ที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่ส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ โดยความเข้มของ anthocyanidin ในแครนเบอร์รี่จะไปช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ

 

2.น้ำแครนเบอร์รี่ขึ้นชื่อในด้านประสิทธิภาพของการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs) แครนเบอร์รี่ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลาหลายปีในการรักษาป้องกันไม่ให้เกิดโรค UTIs พบว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูงที่เรียกว่า proanthocyanidins จะไปช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากการติดเชื้อจากกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะค่ะ

 

3.แครนเบอร์รี่ยังช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านมเนื่องจากสารโพลีฟีนอลที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

 

4.จากคุณค่าทางโภชนาการจะเห็นได้เด่นชัดว่าค่าเส้นใยในแครนเบอร์รี่สูงมากจึงช่วยในเรื่องของการขับถ่ายและดีท๊อกซ์ อีกทั้งยังมีวิตามินซีกับวิตามินอี (อัลฟาโทโคฟีรอ) ที่อยู่ในรูปแบบของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพต่อสุขภาพร่างกายเราค่ะ

 

5.แผลอักเสบ แครนเบอร์รี่แสดงให้เห็นว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะเยื่อบุผนังของผนังลำไส้ของเรา

 

6.สุขภาพฟัน ขณะเดียวกันสาร phytonutrients ในแครนเบอร์รี่ชนิดเดียวกับที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการ UTIs กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพฟันของเราโดยป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เกาะติดกับฟันของเรา โดยผลการต้านการอักเสบของ phytonutrients เหล่านี้ยังสามารถช่วยในการลดการอักเสบข้างในและรอบๆเหงือกของเรา ซึ่งจะไปช่วยลดความเสี่ยงของโรค periodontal ด้วยค่ะ

 

7.การเลือกรับประทานแครนเบอร์รี่แบบสดๆ จะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด รองลงมาจะเป็นแครนเบอร์รี่แบบแห้ง และมีน้อยในรูปแบบของน้ำแครนเบอร์รี่ที่บรรจุขวดค่ะ และควรเลือกแบบน้ำแครนเบอร์รี่ 100 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

8.ลดน้ำหนัก น้ำแครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยกรดอินทรีย์ซึ่งมีผลต่อการสะสมของไขมันในร่างกายเรา ดังนั้นจึงเป็นส่งผลที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักและต้องการควบคุมน้ำหนักค่ะ

 

9.รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหารมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Helicobacter pylori หรือ H. pylori จุลินทรีย์นี้จะไปโจมตีชั้นป้องกันของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งเป็นส่วนแรกของลำไส้ และนำไปสู่การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ดังนั้นอาหารที่อุดมไปด้วยสาร flavonoids เป็นกลุ่มที่มีแอนโธไซยานิน flavonols และ proanthocyanidins อย่างแครนเบอร์รี่จะไปช่วยลดความเสี่ยงของความผิดปกติของกระเพาะรวมถึงแผลในกระเพาะอาหารด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ H. pylori ค่ะ

 

เนื่องจากแครนเบอร์รี่และน้ำผลไม้แครนเบอร์รี่มีกรดออกซาลิกและยังสามารถเพิ่มความสามารถในการต้านการแข็งตัวของยาบางชนิด ผู้ที่มีปัญหาทางเดินปัสสาวะและผู้ที่รับประทาน warfarin ควรจำกัดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ด้วยค่ะ อย่างไรก็ตามการบริโภคแครนเบอร์รี่ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีฟรุกโตสซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณถ้าเผลอรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปค่ะ

 

www.flickr.com/photos/christiandembowski/10843772895/

www.flickr.com/photos/andy_m/37436221/

14 ชนิดของอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง

Source: Flickr (click image for link)

ฟลาโวนอยด์ “Flavonoid” หรือบางครั้งเราอาจจะเรียกมันว่า  Vitamin P เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มพอลิฟีนอล ( Polyphenol ) ที่พบและเจอได้อย่างธรรมชาติในเม็ดสีของพืช ผัก ธัญพืช และผลไม้ ซึ่งสีเฉพาะทางพฤษเคมีของฟลาโวนอยด์แล้วจะเป็นสีม่วง น้ำเงินเข้มและดำ ฟลาโวนอยด์จะมีสารประกอบหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) อย่างเช่นจำพวก ฟลาโวน ( Flavone ) และคาเทชิน ( Catechin ) โดยจะสามารถป้องกันไม่ให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของเราเสื่อมหรือถูกทำลายค่ะ เราจะเข้าใจได้ว่าสารฟลาโวนอยด์ที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายของเราจริงๆ แล้วอยู่ในรูปแบบไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoid) ที่มีผลต่อร่างกายเราดังนี้ค่ะ

  • สารต้านอนุมูลอิสระ
    Flavonoids บางชนิดพบว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่ามีวิตามินซีอยู่สูงถึงห้าสิบเท่า จึงไปช่วยในการต่อต้านริ้วรอยและปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระที่ช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจโรคอ้วนโรคเบาหวานและป้องกันโรคเรื้อรังอีกมากมาย
  • ต้านการอักเสบ
    Flavonols (flavonoid ที่พบในโกโก้) ช่วยลดการอักเสบและการยึดเกาะของโมเลกุลที่ทำให้เกิดคราบจุลินทรีย์ในหลอดเลือดแดง Flavonoids ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจโดยเฉพาะหลอดเลือดแดงที่แข็งตัวของเส้นเลือด
  • ป้องกันการเจริญ
    การศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากหัวหอมที่อุดมด้วยฟลาโวนอยด์มีฤทธิ์ต้านการขยายตัวของเซลล์มะเร็งตับและมะเร็งลำไส้ใหญ่ การชะลอตัวหรือการหยุดยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งได้รับการบันทึกไว้ในการศึกษาหลายชิ้น แต่ต้องการการวิจัยเพิ่มเติม

จึงจะเห็นได้ว่า สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) นอกจากจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระแล้วยังช่วยกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นได้อีกด้วยค่ะ

 

14 ชนิดของอาหารที่มีฟลาโวนอยด์สูง

Source: Flickr (click image for link)

1.สตรอเบอร์รี่

สตรอเบอร์รี่เป็นผลไม้ที่นอกจากมีรสชาติอร่อยและอาจเป็นผลไม้ที่โปรดปรานของใครหลายคนแล้ว สตรอเบอร์รี่ยังมีวิตามินซีและคุณค่าทางโภชนาการสูงอีกด้วยค่ะ

 

2.พริกหยวกสีแดง

พริกหยวกสีแดงสดใสนี้มีปริมาณวิตามินซีถึงสามเท่าขของน้ำส้มคั้น และก็ไม่มีน้ำตาลอรกด้วยค่ะ การรับประทานพริกหยวกแบบสดๆ เป็นวิธีที่ดีและง่ายโดยร่างกายของเราจะได้รับ bioflavonoids อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

 

3.กระเทียม

โชคดีที่บ้านเราประกอบอาหารส่วนใหญ่ด้วยกระเทียม เนื่องจากกระเทียมถือเป็น  superfood ในเรื่องของการต้านการอักเสบที่ยอดเยี่ยม กระเทียมยังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระและเป็นแหล่งที่ดีของ bioflavonoids เช่นกันค่ะ

 

4.กะหล่ำปี
พืชผักอย่างกะหล่ำปลี ก็เป็นอีกทางเลือกในการนำมาประกอบอาหารรับประทานเพื่อให้ได้รับสารไบโอฟลาโวนอยด์ที่ดี

 

5.ส้ม

ส้มเป็นผลไม้ตระกูลกรดซิตริก ที่เป็นแหล่งของวิตามินซีที่ยอดเยี่ยม โดยสาร bioflavonoids ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีจะดอยู่เปลือกของส้ม ดังนั้นแทนที่จะซื้อน้ำส้มแบบเป็นกล่องพลาเจอไรส์มาดื่ม การรับประทานแบบสดๆ จากผลจะได้รับสารไบโอฟลาโวนอยด์ที่เข้มข้นมากกว่าค่ะ

 

6.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทั้งหลายนั้นจะมีความเข้มข้นสูงของสารฟลาโวนอยด์ โดยเฉพาะผลเบอร์รี่สีแดง สีน้ำเงินและสีม่วง จะพบว่าผลเบอร์รี่ที่มีสีเข้มขึ้นก็จะมีแนวโน้มที่จะมีค่าฟลาโวนอยด์สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

 

7.มะนาว

มะนาวก็จัดเป็นผลไม้ตระกูลกรดซิติกเช่นเดียวกับส้ม เพราะฉะนั้นการรับประทานสดๆ จากผลจะได้รับประโยชน์โดยตรงรวมถึงวิตามินต่างๆ อีกด้วยค่ะ

 

8.ชาเขียว

ชาเขียวเป็นที่รู้จักกันกันอยู่แล้วในเรื่องของสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี จากสาร catechin ที่มีอยู่ในชานั่นเองค่ะ

 

9.บล็อคโคลี่
บล็อคโคลี่เป็นผักที่หลายคนโปรดปรานซึ่งนั้นก็มาถูกทางแล้วค่ะ ใครจะรู้ล่ะคะว่าผักที่มีสีเขียวเข้มอย่างบล็อคโคลี่จะมีวิตามินซีที่สูงและคุณค่าทางโภชนาการที่มากล้นแล้ว ยังเป็นแหล่งชั้นยอดของไบโอฟลาโวนอยด์อีกด้วยค่ะ

 

10.ผักปวยเล้ง
ผักปวยเล้งใบสีเขียวเข้มเป็นผักที่อุดมไปด้วยไบโอฟลาโวนอยด์ที่สูงค่ะ ไม่ว่าจะนำมาปั่นแล้วดื่มแบบสมูทตี้หรือนำประกอบอาหารก็ดีทั้งนั้นค่ะ

 

11.แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและหารับประทานได้ง่ายทั่วไป อีกทั้งควรที่จะรับประทานทั้งลูกพร้อมเปลือกเพื่อที่จะได้รับสารฟลาโวนอยด์ที่สมบูรณ์ค่ะ

 

12.ถั่ว

พืชตระกูลถั่วนอกจากมีโปรตีนสูงแล้วยังมีสารฟลาโวนอยด์อยู่สูงอีกด้วยค่ะ

 

13.มะม่วง

ผลไม้ในเขตร้อนในบ้านเราที่พอจะหารับประทานได้ง่ายและราคาไม่แพงก็จะเป็นมะม่วงแสนอร่อยนั่นเอง มะม่วงนอกจากรสชาติอร่อยถูกปากแล้วยังเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารไบโอฟลาโวนอยด์อีกด้วยนะคะ

 

14.มะละกอ

มะละกอไม่ว่าจะกินแบบสุกหรือดิบก็ถือได้ว่าเป็นเมนูหลักของบ้านเราเลยค่ะ มีประโยชน์และหามารับประทานไม่ยากแบบนี้ก็เลือกรับประทานได้ตามสะดวกเลยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/chiotsrun/4752190466/

www.flickr.com/photos/30478819@N08/37437108442/

15 ชนิดของอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูง

Source: Flickr (click image for link)

อาหารที่ส่วนใหญ่ใครหลายคนได้รับประทานกันแล้วให้ประโยชน์ต่อสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็นสารที่ได้รับจากอาหารนั้นๆ โดยสารที่ว่านั้นจะเป็นสารที่เราทราบกันดีว่าเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ วันนี้เลยมีข้อมูลของอีกสารชนิดหนึ่งมาบอกกันค่ะ สารตัวนี้ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanins) ซึ่งแอนโทไซยานินเป็นกลุ่มของเม็ดสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในพืช เม็ดสีเหล่านี้ทำให้พืชมีสีสันสดใสนั่นเองค่ะ โดยสารแอนโทไซยานินที่ว่านี้จะเป็นรงควัตถุหรือสารสี (pigment) ที่ให้สีแดง สีม่วงและสีน้ำเงิน ซึ่งมีมากกว่า 600 ชนิดของสีที่ได้แสดงการเปลี่ยนสี ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับค่า pH ของพืชและพืชเหล่านี้ก็จะสามารถแสดงสีออกมา เช่นสีแดง สีฟ้า หรือสีม่วง แอนโทไซยานิน (anthocyanins) จัดอยู่ในกลุ่มสารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) กลุ่มพอลิฟีนอล (polyphenol) สีของแอนโทไซยานิน ดังนั้นถ้าอยู่ในสภาพที่เป็นกรดมีค่า pH ต่ำกว่า 3 (เป็นกรดสูง) จะทำให้แอนโทไซยานินมีสีแดง ในสภาพที่ค่อนข้างเป็นกลาง หรือมีค่า pH ประมาณ 7-8 แอนโทไซยานินจะมีสีม่วง และเมื่อสภาพเป็นเบสหรือมีค่า pH มากกว่า 11 (เป็นเบสสูง) แอนโทไซยานินก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน สารสกัดแอนโทไซยานินนั้นมีประโยชน์ทางด้านสุขภาพมากมายเลยล่ะค่ะ โดยสารแอนโธไซยานินมีสมบัติเป็นโภชนะเภสัช (nutraceutical) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ ช่วยลดการเติบโตของเซลล์มะเร็งและชะลอการก่อตัวของเนื้องอก อีกทั้งในสมัยก่อนสารสกัดจากแอนโธไซยานินก็ได้ถูกนำมาใช้เพื่อรักษาปัญหาสุขภาพมากมายรวมทั้งปัญหาทางเดินปัสสาวะนิ่วในไต โรคตับ ความดันโลหิตสูง โรคบิด ปัญหาโรคหวัดไข้หวัดใหญ่และโรคอุจจาระร่วงด้วยค่ะ

U.S. Department of Agriculture ไม่มีปริมาณแอนโธไซยานินที่แนะนำในชีวิตประจำวันที่คุณควรรับ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการอื่น ๆ ได้กล่าวว่าอย่างไรก็ตามคำแนะนำที่เหมาะสมในการรับสารแอนโธไซยานิน คือประมาณ 12.5 กรัมต่อวัน ทั้งนี้เราเลยได้หาข้อมูลชนิดของอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินไว้ให้ดังต่อไปนี้ค่ะ

 

15 ชนิดของอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ข้าวโพดสีม่วง

ข้าวโพดสีม่วงหรือข้าวโพดข้าวเหนียวสีม่วง จะมีสารแอนโทไซยานินอยู่สูงมากขนาดที่ใครหลายคนคิดว่าสามารถต้านมะเร็งได้ โดยข้าวโพดสีม่วงปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโทไซยานินอยู่มากถึง 1,642 มิลลิกรัม

 

2.โช๊คเบอร์รี่

ผลไม้ที่มีชื่อเรียกว่า โช๊คเบอร์รี่ มีผลสีดำออกม่วงเข้มจัดเป็นแหล่งของสารแอนโธไซยานินชั้นดีเลยล่ะค่ะ โช๊คเบอร์รี่ปริมาณแค่เพียง 100 กรัม ก็มีสารแอนโธไซยานินมากมายถึง 2,147 มิลลิกรัม

 

3.อัลเดอร์เบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อีกหนึ่งชนิดที่หลายคนอาจจะไม่คุ้นหูกันแต่มีสารแอนโธไซยานินอยู่เปี่ยมล้นนัก นั่นก็คือผลอัลเดอร์เบอร์รี่ (Elderberries) ที่มีปริมาณ 100 กรัมก็ให้สารแอนโธไซยานินมากถึง 1,993 มิลลิกรัม

 

4.ราสเบอร์รี่สีดำ

ผลราสเบอร์รี่สีดำพบว่าเมื่อรับประทานทุกวัน สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้มากถึงร้อยละ 45 เลยทีเดียวค่ะ ราสเบอร์รี่สีดำปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินมากถึง 845 มิลลิกรัม

 

5.มะเขือม่วง

มะเขือสีม่วงจัดอยู่ในอาหารที่มีแอนโธไซยานินสูงมากชนิดหนึ่งค่ะ ซึ่งมะเขือม่วงปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 750 มิลลิกรัม

 

6.แบล็คเคอร์แรนท์

แบล็คเคอร์แรนท์เป็นผลไม้ตระกูลราสเบอร์รี่ และมีสารแอนโธไซยานินไม่น้อยเลยค่ะ แบล็คเคอร์แรนท์ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินถึง 533 มิลลิกรัม

 

7.บลูเบอร์รี่

ผลไม้แสนอร่อยที่เต็มไปด้วยคุณค่าและโประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างบลูเบอร์รี่ ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 529 มิลลิกรัม

 

8.Marion Blackberry

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Marion Blackberry จัดเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินอยู่สูง ซึ่ง Marion Blackberry ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 433 มิลลิกรัม

 

9.แบล็คเบอร์รี่

ผลแบล็คเบอร์รี่จะไม่ติดอันดับก็คงจะไม่ได้ นอกจากอร่อยแล้วยังดีต่อสุขภาพอย่างนี้ แบล็คเบอร์รี่ปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินมากถึง 353 มิลลิกรัม

 

10.เกรฟฟรุ็ท

เกรฟฟรุ๊ทเป็นผลไม้ที่มีลักษณะคล้ายส้มแต่ข้างในมีสีแดง โดยเกรฟฟรุ็ทปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินอยู่ถึง 200 มิลลิกรัม

 

11.องุ่นม่วง

ผลองุ่นสีม่วงจัดเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารแอนโธไซยานินไม่น้อยเลยล่ะค่ะ องุ่นม่วงปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณสารแอนโธไซยานินอยู่ 192 มิลลิกรัม

 

12.เชอร์รี่หวาน

เชอร์รี่หวานนอกจากรสชาติอร่อยแล้วยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เชอร์รี่หวานปริมาณ 100 กรัม มีสารแอนโธไซยานินถึง 177 มิลลิกรัม

 

13.ราสเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อีกหนึ่งชนิดอย่างราสเบอร์รี่ที่สีสดใสสีแดง มีรสชาติเปรี้ยวก็เต็มเปี่ยมไปด้วยสารแอนโธไซยานิน โดยราสเบอร์รี่ปริมาณ 100 กรัม มีปริมาณสารแอนโธไซยานินอยู่มากถึง 116 มิลลิกรัม

 

14.ผลแรดิช

ผลแรดิชมีลักษณะลูกกลมๆ สีแดงสด สามารถนำมารับประทานได้แบบสดๆ ก็จะได้รับสารแอนโทไซยานินไม่น้อยเลยล่ะค่ะ เพียงรับประทานผลแรดิชขนาด 100 กรัม ก็จะได้รับสารแอนโธไซยานินปริมาณ 116 มิลลิกรัม

 

15.กะหล่ำปลีสีแดง

ผลกะหล่ำปลีสีแดงเป็นอีกหนึ่งพืชผักชนิดที่มีสารแอนโทไซยานินอยู่สูง โดยกะหล่ำปลีสีแดงขนาด 100 กรัม จะมีปริมาณสารแอนโธไซยานินอยู่ 113 มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/wendynelsonphoto/7246093876/

www.flickr.com/photos/calliope/1223972901/

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

antioxidant-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้มีเรื่องราวข้อมูลที่น่าสนใจและด้วยตัวเองก็สนใจอยู่เหมือนกันมานำเสนอค่ะ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพอยู่เหมือนเดิม การดูแลสุขภาพให้ดีนั้นเป็นพื้นฐานของคนเราที่ต้องหมั่นดูแล แต่การจะรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอๆ นั้นยากยิ่งกว่าอ่ะเนอะ ถ้าพูดถึงการดูแลสุขภาพแล้วก็คงไม่พ้นเรื่องการใส่ใจเรื่องของการเลือกรับประทานอาหาร อาหารชนิดไหนอะไรที่ว่าดีเราก็ตามเพื่อสุขภาพที่ดีทั้งผลไม้เอย ผักเอย ขาดไม่ได้นั่นคือปัจจัยสำคัญที่ไม่ว่าใครๆ ก็แนะนำกัน ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะทราบกันว่าเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ในทุกๆ วันแล้ว จะทำให้สุขภาพดีไม่ว่าจะเป็นวิตามินต่างๆ แร่ธาตุมากมายที่ช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น จริงๆ แล้วแค่พวกวิตามินและแร่ธาตุในผักผลไม้เท่านั้นหรือที่ช่วยให้เราแข็งแรง เอาล่ะ วันนี้มีข้อมูลมาเล่าสู่กันฟัง อาจจะทำให้เราได้เรียนรู้และรู้จักเพิ่มขึ้น ซึ่งในผักผลไม้ที่เราเลือหรับประทานนั้นมีสารที่สำคัญอยู่นอกเหนือจากวิตามินต่างๆ นั่นเองค่ะ และสารนั้นเรียกว่า ‘’สารพฤกษเคมี’’ แล้วสารที่ว่านี้มันคืออะไรล่ะ งั้นไปดูคำตอบกันเลยค่ะ

สารพฤกษเคมี (Phytonutrients) คืออะไร

สารพฤกษเคมี Phytochemical หรือ Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) คือ สารเคมีธรรมชาติหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบเฉพาะในพืชจำพวกผักผลไม้ โดยสารกลุ่มนี้อาจเป็นสารที่ทำให้พืชผักชนิดนั้นๆ มีสี กลิ่น หรือ รสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว อีกทั้งสารแต่ละตัวมีหน้าที่ต่างกันในกลไกของพืชและเป็นต้นกำเนิดของสีของผักผลไม้นั้นๆด้วยค่ะ สารพฤกษเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสารที่ต่อต้านอนุมูลอิสระ โดยสารพฤกษเคมีหลายชนิดมีฤทธิ์ต่อต้านส่งเสริมระบบภูมคุ้มกันและต้านการอักเสบตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ สารนี้จัดเป็นสารอาหารตามธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จะต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้นค่ะ

โดยสารพฤกษเคมีสร้างประโยชน์ด้วยกลไกการออกฤทธิ์ในรูปแบบต่างๆ ดังนี้

  • ต้านออกซิเดชั่น ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ
  • ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับดีเอ็นเอ เป็นกลไกสำคัญ ที่ทำให้สารพฤกษเคมีลดการเกิดโรคมะเร็งได้
  • เพิ่มภูมิต้านทานโรค
  • ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

การผสมผสานของสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในผักและผลไม้ชนิดต่างๆหลากชนิดจะให้คุณภาพการต้านอนุมูลอิสระที่ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการได้รับสารต้านอนุมูลอิสระจากแหล่งอาหารเพียงแหล่งเดียว สมัยนี้คนไทยเราส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยรับประทานผักผลไม้กันมากนักหรือรับประทานในปริมาณที่ไม่เพียงพอในแต่ละวัน ซึ่งผักและผลไม้นั้นถือว่าเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อรับประทานไม่เพียงพอก็อาจจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ต่ำ ดังนั้นการบริโภคผักและผลไม้ในปริมาณที่เหมาะสมต่อวัน จะช่วยให้ประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระเพียงพอในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้นั่นเองค่ะ

ประเภทของสารพฤกษเคมี มีดังนี้

สารพฤกษเคมีที่ถูกค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์แล้วนั้นมีมากกว่า 25,000 ชนิด ทั้งยังไม่มีการศึกษาค้นพบอีกเป็นจำนวนมากค่ะ ด้วยสารพฤกษเคมีนั้นมีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ดังนั้นจึงจำแนกสารพฤกษเคมีคร่าวๆ ที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้ค่ะ

1.แคโรทีนอยด์ (Carotenoids)  

2.กลูโคไซโนเลท (Glucosinolate), ไอโซโธโอไซยาเนท (Isothiocynate))

3.โพลีฟินอล (Polyphenols) : ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) , แอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins) , ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)

4.ไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogens)

5.ซาโปนินส์ (Saponins)

6.เฟนโนลิก (Phenolics), สารประกอบซีสติก (Cystic Compound)

7.ไฟโตสเตอรอล (Phytosterol)

8.ซัลไฟด์ (Sulfide) และไธออล (Thiols)

 

healthy-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

Phytonutrients (ไฟโตนิวเทรียนท์ ) ที่พบในผักและผลไม้ นั้นมีอะไรบ้าง

เมล็ดองุ่น ฟักทอง มะเขือเทศ บลอคโคลี่ กระเทียม ส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก ข้าวโพด ผักปวยเล้ง ผักโขม มิกซ์เบอร์รี่ แครอท ชาเขียว เมล็ดกาแฟ ธัญพืช ถั่วต่างๆ พริก ผักตำลึง มะกอก เป็นต้น

 

ประโยชน์ของสารพฤกษเคมี

– ทำให้พืชผักมีสี กลิ่น และรสชาติที่เป็นลักษณะเฉพาะ

– มีฤทธิ์ทางชีวภาพอาจต่อต้านหรือป้องกันโรคบางชนิดได้

– ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ DNA

– เป็นกลไกลที่สำคัญในการลดการเกิดมะเร็งได้

– ทำให้ร่างกายทำงานประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ

– ช่วยกำจัดสารพิษ

– ควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ ควบคุมการออกฤทธิ์ของฮอร์โมน

 

 

www.flickr.com/photos/usdagov/8455814259/

www.flickr.com/photos/143951935@N07/27976911001/