Browse Tag: cell

14 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 2 สูง

Source: Flickr (click image for link)

“วิตามินบี 2 (Vitamin B2)” หรือ Riboflavin เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เป็นวิตามินที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยช่วยให้ร่างกายเราใช้ประโยชน์จากวิตามินบีชนิดอื่นๆ ได้ และช่วยให้ร่างกายของเราได้ใช้พลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป นอกจากนี้ยังอาจช่วยปกป้องเซลล์ที่เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต adrenal gland ซึ่งโดยทั่วไปคนเรามักจะขาดไรโบฟลาวินเหมือนกันกับไธอะมีน(วิตามินบี1) และเมื่อเราขาดวิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวินไปจะเห็นได้ชัดจากการเกิดแผลเปื่อยที่มุมปาก ที่เราเรียกกันว่า “ปากนกกระจอก” (angular stomatitis)

 

  • แพ้แสง มองแสงจ้าไม่ได้ ตาจะมองไม่ชัด คันตา
  • ซีด ริมฝีปากแดง ปวดแสบในปากและลิ้น
  • ร่องจมูกและเปลือกตาจะมีการอักเสบ มีขุย
  • บางทีอาจจะปวดหัวไมเกรน

การขาด Riboflavin จะมีผลต่อการสร้างคอลลาเจนที่จำเป็นต่อเส้นผมและผิวหนังของเราค่ะ เนื่องจาก Riboflavin มีบทบาทในการรักษาระดับคอลลาเจน เลยมีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนังและเส้นผม คอลลาเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาโครงสร้างและป้องกันริ้วรอยบนผิวหนัง การขาดสาร Riboflavin อาจจะส่งผลให้การรักษาบาดแผลช้าลงด้วยค่ะ ดังนั้นการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 จะสามารถช่วยให้คุณในการเอาชนะปัญหาสุขภาพมากมาย รวมถึงสามารถปรับปรุงการทำงานของเซลล์ที่เกิดจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระอีกด้วย ดังนั้นเราควรได้รับวิตามินบี 2 ให้เหมาะสมต่อวันคือ 1.7 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งตาม RDA แนะนำคือในผู้ชายควรได้รับ 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน และสำหรับผู้หญิงควรได้รับ 1.1 มิลลิกรัมต่อวัน

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ใครหลายคนมักจะขาดไรโบฟลาวินหรือวิตามินบี 2 คือ

-การรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี2 ไม่เพียงพอหรือไม่มีเลย

-ผู้ที่กินยาคุมกำเนิด ยาแก้ซึมเศร้า ยาแก้โรคจิต จะมีโอกาสขาดวิตามินตัวนี้ได้ง่าย

-ในคนที่มีโรคประจำเช่น ท้องร่วงเรื้องรัง โรคตับ โรคพิษสุราเรื้อรัง

 

14 ชนิดของอาหารที่มี Vitamin B2 หรือ Riboflavin สูง

Source: Flickr (click image for link)

1.เนื้อลูกแกะ

คนไทยเราคงจะไม่ได้ทานเนื้อแกะบ่อยๆ หรอกใช่ไหมคะ ส่วนใหญ่จะพบเห็นตามร้านสเต็กที่จะมีเนื้อลูกแกะซึ่งในเนื้อลูกแกะจะมีไรโบฟลาวินหรือวิตามินบี 2 อยู่สูงมากค่ะ เนื้อลูกแกะปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินบี 2 อยู่ 3.9 มิลลิกรัม

 

2.ชีส

ชีสที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนมและก็แน่นอนว่าชีสต้องเป็นแหล่งของไรโบฟลาวินที่สำคัญค่ะ ซึ่งชีสปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 1.38 มิลลิกรัม

 

3.ตับวัว

เราจะพบไรโบฟลาวินได้ง่ายตามเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะตับวัวถือเป็นแหล่งที่สำคัญของไรโบฟลาวินเลยทีเดียว ตับวัวปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินบี 2 อยู่ประมาณ 2.9 มิลลิกรัม

 

4.นม

นมถือได้ว่าเป็นอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินบี 2 เลยก็ว่าได้ ใครที่ขาดวิตามินบี 2 จากการที่ไม่ชอบดื่มนมหรือแพ้ก็ควรรับประทานอาหารชนิดอื่นทดแทนได้ค่ะ โดยนมปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 0.45 มิลลิกรัม

 

5.ไข่

ไข่เป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงแล้วยังไขมันต่ำอีกต่างหาก นอกจากราคาไม่แพงแล้วยังสามารถประกอบอาหารได้หลายเมนูเชียวค่ะ ซึ่งไข่ปริมาณ 1 ฟองใหญ่เนี่ย มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 0.228 มิลลิกรัม เลยล่ะค่ะ

 

6.ปลาหมึก

ในอาหารทะเลอย่างปลาหมึกก็เป็นแหล่งไรโบฟลาวินที่สำคัญอีกเช่นเดียวกันค่ะ ซึ่งปลาหมึกปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 0.46 มิลลิกรัม

 

7.เนื้อหมู (สันนอก)

เนื้อหมูโดยเฉพาะส่วนที่เป็นสันนอกจะเป็นแหล่งของไรโบฟลาวินอยู่สูงเลยเชียวค่ะ โดยเนื้อหมู (สันนอก) ปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 2 อยู่มากถึง 0.51 มิลลิกรัม

 

8.ปลาทู

ปลาทูถือเป็นอาหารหลักของคนไทยเราเลยก็ว่าได้ นอกจากหาง่ายและราคาก็แสนจะถูกแล้วสารอาหารที่มีมากมายในปลาทูก็ถือว่ามากล้นเกินคำบรรยายเลยทีเดียวปลาทูปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 0.58 มิลลิกรัม

 

9.ผักปวยเล้ง

ผักมหัศจรรย์อย่างผักปวยเล้งก็ติดอยู่ในลิสอีกตามเคยค่ะ ซึ่งผักปวยเล้งปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 0.24 มิลลิกรัม

 

10.เมล็ดอัลมอลด์  

ถ้ามองหาอาหารทานเล่นแถมได้ปประโยชน์พ่วงมาด้วยวิตามินบี 2 สูงปรี๊ดก็นี่เลยค่ะ เมล็ดอัลมอลด์ โดยเมล็ดอัลมอลด์ ปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 1.45 มิลลิกรัม

 

11.เห็ด

เห็ดเป็นพืชที่มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการเต็มเปี่ยมและก็มีวิตามินบี 2 อยู่สูง ซึ่งเห็ดปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 2 อยู่ถึง 0.49 มิลลิกรัม

 

12.โยเกิร์ต (รสธรรมชาติ)

ถ้าในนมเป็นแหล่งของวิตามินบี 2 แล้ว ผลิตภัณฑ์อย่างโยเกิร์ตก็ต้องเป็นประโยชน์สำหรับคนที่ขาดวิตามินบี 2 อยู่อย่างแน่นอนแต่ต้องเป็นรสแบบรรมชาตินะคะ ซึ่งโยเกิร์ตปริมาณ 1 ถ้วย มีวิตามินบี 2 อยู่มากถึง 0.57 มิลลิกรัม

 

13.งา

งาเป็นธัญพืชที่เป็นแหล่งของไรโบฟลาวินชั้นดีเลยค่ะ งาปริมาณ 100 กรัม มีวิตามินบี 2 อยู่ 0.47 มิลลิกรัม

 

14.ปลาแซลมอล

ใครชอบรับประทานปลาโดยเฉพาะปลาแซลมอลก็รับไปเต็มๆ เลยค่ะ สำหรับวิตามินบี 2 ปลาแซลมอลปริมาณ 3 ออนซ์ มีวิตามินบี 2 อยู่ 0.135 มิลลิกรัม

 

 

 

www.flickr.com/photos/jmt/3365140900/

www.flickr.com/photos/ayngelina/3588190000/

วิตามิน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

many-fruits-1
Source: Flickr (click image for link)

วิตามิน (Vitamin) คืออะไร

วิตามิน (Vitamin) หรือ ไวตามิน คือ เป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย เราจะเรียกสารประกอบเคมีอินทรีย์ (หรือชุดสารประกอบที่สัมพันธ์กัน) ว่า วิตามิน ก็ต่อเมื่อสิ่งมีชีวิตไม่สามารถสังเคราะห์สารนั้นได้ในปริมาณที่เพียงพอและต้องได้รับจากอาหาร ถึงแม้ว่าร่างกายจะต้องการในปริมาณที่น้อย แต่รู้ไหมคะว่ามีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายไม่น้อยเลยค่ะ นับตั้งแต่การหายใจของเซลล์ การนำโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรท ไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อและผลิตพลังงานสำหรับการดำรงชีวิต นอกจากนั้นวิตามินยังช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง การแข็งตัวของเลือด การสร้างกระดูก การมองเห็นและการทำงานของระบบประสาท วิตามินจึงเป็นตัวจักรเล็กๆแต่มีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งร่างกายจะขาดไม่ได้ค่ะ

VITAMIN = VITA + AMIN (VITA FOR LIFE)

คำว่าวิตามินมาจากคำว่า “ ไวตา ” (vita) กับ “ เอมีน ” (amine) ซึ่งเป็นชื่ออินทรีย์สารชนิดหนึ่ง เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน จึงได้คำว่า วิตามิน ซึ่งแปลว่า สารที่จำเป็นต่อชีวิต หากเกิดการขาดวิตามินจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นนั่นเองค่ะ อย่างที่ทราบกันดีว่า วิตามินที่มีความจำเป็นต่อร่างกายนั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ก็คือ

 

  1. วิตามินที่ละลายในน้ำ (water soluble) เช่น วิตามิน C วิตามิน B-complex (B6, B12, niacin, riboflavin, floate) กรดโฟลิก ไบโอติน และอิโนซิโทล เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในน้ำจะไม่สะสมในร่างกาย ปริมาณที่เหลือใช้จะถูกขับออกทางปัสสาวะ มักจะสลายตัวด้วยความร้อน เนื่องจากละลายได้ดีในน้ำจึงทำให้สูญเสียออกไปในน้ำได้ง่าย ดังนั้นในการล้างผักหรือผลไม้ ควรที่จะล้างน้ำเร็วๆ
  2. วิตามินที่ละลายในไขมัน (fat soluble) เช่น วิตามิน A D E K มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนจากการหุงต้ม จะถูกดูดซึมร่วมกับอาหารไขมันอื่นๆเข้าสู่ร่างกาย สะสมที่ตับและเนื้อเยื่อไขมัน เนื่องจากวิตามินพวกนี้ละลายได้ในไขมัน มันจึงละลายในไขมันตามพุงและสะสมในเนื้อเยื่อไขมันทั่วร่างกาย ดังนั้นถ้ากินเข้าไปมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเกิดอันตรายได้หรือหากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะพิษจากวิตามินใด้

 

ตามธรรมเนียม คำว่า วิตามิน ไม่รวมสารอาหารสำคัญอื่น เช่น แร่ธาตุ กรดไขมันจำเป็นหรือกรดอะมิโนจำเป็น (ซึ่งร่างกายต้องการสารเหล่านี้ในปริมาณมากกว่าวิตามินมาก) หรือสารอาหารอื่นอีกมากที่ส่งเสริมสุขภาพแต่ต้องการไม่บ่อยในปัจจุบัน ระดับสากลรับรองวิตามินอย่างสากลสิบสามชนิด วิตามินจำแนกโดยกัมมันตภาพทางชีวภาพและเคมีไม่ใช่โครงสร้าง ฉะนั้นวิตามินแต่ละชนิดจึงหมายถึงสารประกอบวิตาเมอร์ (vitamer) ซึ่งล้วนแสดงกัมมันตภาพทางชีวภาพที่สัมพันธ์กับวิตามินหนึ่ง ๆ ชุดสารเคมีดังกล่าวจัดกลุ่มตามชื่อวิตามิน “ระบุทั่วไป” เรียงตามอันดับอักษร เช่น “วิตามินเอ” ซึงรวมสารประกอบเรตินัล เรตินอล และแคโรทีนอยด์ที่ทราบกันอีก 4 ชนิด วิตาเมอร์ตามนิยามสามารถเปลี่ยนเป็นรูปกัมมันต์ของวิตามินในร่างกายได้ และบางครั้งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตาเมอร์อีกชนิดหนึ่งได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า วิตามินมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ตามปกติของร่ายกาย ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นเองได้ ยกเว้นก็เพียงบางกรณีเท่านั้น วิตามินมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโต การดำรงชีวิตและการมีสุขภาพที่ดีโดยรวม วิตามินจึงมีอยู่ในอาหารจากธรรมชาติทุกชนิดในปริมาณเพียงเล็กน้อย กล่าวคือคนส่วนใหญ่รับประทานวิตามินไม่ครบตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน เนื่องจากหากร่างกายจะต้องได้รับวิตามินให้ครบก็จะต้องรับประทานผักผลไม้เป็นจำนวนมากถึงขั้นเป็นกิโลต่อวัน ร่างกายถึงจะได้รับวิตามินครบถ้วนในแต่ละวัน ซึ่งคงไม่มีใครสามารถรับประทานได้ถึงขนาดนั้น แต่ถึงจะทานได้นอกเสียจะได้รับวิตามินครบแล้วหรืออาจจะเกิน แถมยังมากับพลังงานที่มหาศาลกันเลยทีเดียวค่ะ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารเสริมประเภทวิตามินรวมก็อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของคุณสามารถรับวิตามินได้ตามความต้องการในแต่ละวันได้

 

www.flickr.com/photos/fl4y/5606461065/

สังกะสี คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

beauty-face-1
Source: Flickr (click image for link)

สังกะสี (Zinc) ถือเป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการ หรือบางคนจะนึกถึงในรูปแบบอาหารเสริมช่วยของเรื่องผิวพรรณ ในคนที่ใช้รักษาเรื่องของการเป็นสิวกันใช่ไหมล่ะคะ แต่ในส่วนของความสำคัญในเรื่องอื่นๆโดยเฉพาะการทำงานของร่างกายให้เป็นปกตินั้นก็ต่อเมื่อถ้าเราได้รับในสัดส่วนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถึงแม้ว่าสังกะสีจะเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้เลยค่ะ สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่ม (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างหนึ่งที่เราทราบกันดีว่า ซิงค์ (Zinc) ร้อยละ 90 ของสังกะสีในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยร้อยละ 80 นั้นอยู่ในเม็ดเลือดแดงและร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเหลือง สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและวิตามินอื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจจะพูดได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา

ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ไม่เพียงพอได้แก่

การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณสังกะสีต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวกไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้

อายุที่มากขึ้น ประสิทธิภาพการดูดซึมสังกะสีลดลง

หญิงในระยะตั้งครรภ์  ต้องการสังกะสีมากเป็นพิเศษ

การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสีได้

ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุสังกะสีเป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)

โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึมสังกะสีไม่ดี พบในเด็กเล็กเรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบและผิดปกติทางจิตใจ)

 

เกี่ยวกับสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

  • สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc)
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่ร่างกายของเราต้องการในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ
  • สังกะสี เป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยแต่ก็ไม่สามารถขาดได้
  • สังกะสี ร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ขึ้นเองได้
  • สังกะสี เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแต่ทำหน้าที่เป็นตัวกำกับการทำงานของร่างกาย
  • สังกะสี มีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกาย
  • สังกะสี มีส่วนในการสร้างโครงสร้างของร่างกายและการสร้างเครือข่ายของเซลล์ เช่นเดียวกับการสร้างเอนไซม์ต่างๆมากกว่า 200 ชนิด
  • สังกะสี มีส่วนสำคัญในการสมานแผล
  • สังกะสี แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก หอยนางรม เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อปู ตับวัว ตับหมูและปลายรำข้าว (Wheat germ)
  • สังกะสี หอยนางรม เป็นแหล่งสังกะสีที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก
  • สังกะสี ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป
  • สังกะสี ส่วนใหญ่ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ
  • สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่ายสังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับกรดอะมิโน
  • สังกะสี ในคนปกติจะขับถ่ายสังกะสีออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม
  • สังกะสี อาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึมสังกะสีได้ดีขึ้น
  • สังกะสี ในธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มีสังกะสีอยู่ปริมาณน้อย ส่วนผักและผลไม้แทบไม่มีปริมาณสังกะสีอยู่เลย
  • สังกะสี การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุสังกะสี
  • สังกะสี  ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาแผ้วพานร่างกายคนเรา

 

 

ประโยช์ของสังกะสี หรือ ซิงค์ (Zinc)

 

ช่วยกระตุ้นการทำงานของ T – Lymphocyte ซึ่ง T-Lymphocyte เป็นส่วนประกองที่อยู่ในเม็ดเลือดขาวสำหรับการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย มีบทบาทต่อภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

ช่วยป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุที่เรียกว่า macular degeneration นั้นพบว่าเกิดจากการขาดธาตุสังกะสี โดยสังกะสีจะไปช่วยให้เซลล์จับกับวิตามิน A ได้ดีขึ้นและเซลล์สามารถนำวิตามิน A ไปใช้ได้ดีขึ้น รวมถึงเซลล์บริเวณประสาท ซึ่งวิตามิน A เป็นวิตามินที่ช่วยบำรุงสายตา

 

ช่วยป้องกันและรักษาโรคหวัด พบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัดถ้ารีบรับประทานธาตุสังกะสี ทันที จะช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำนวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้วย

 

ช่วยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย สังกะสีจะช่วยให้แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย และยังไปช่วยควบคุมในการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายอีกทั้งยังควบคุมการทำงานของอินซูลินในร่างกายให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้การเปลี่ยนแปลงน้ำตาลในกระแสเลือดมาเป็นพลังงานได้มากยิ่งขึ้น

 

กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น คนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การให้ธาตุสังกะสี โดยจะไปช่วยสร้างกรดนิวคลีอิค ซึ่งเป็นกรดที่ช่วยสร้างเซลล์ใหม่จึงช่วยให้แผลผ่าตัดหายเร็วขึ้น รวมถึงแผลที่อักเสบเรื้อรังมานานให้หายเร็วขึ้น จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับธาตุสังกะสี

 

ช่วยเพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชายและช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมัน มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุสังกะสีวันละ 50 มก. จะทำให้ปริมาณน้ำเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้ จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี สังกะสีมาก การสร้างฮอร์โมนเพศชายก็ต้องการธาตุสังกะสีเช่นกัน  

 

ช่วยในการรักษาสิว คนที่มีปัญหาเรื่องสิว ฝ้า โดยเฉพาะเวลาที่เป็นสิวอักเสบก็จะยิ่งเป็นกังวล ไม่แปลกใจเลยทำไมหลายๆคนถึงต้องเข้าไปในร้านขายยาเพื่อจะซื้อยาที่มีส่วนผสมของธาตุสังกะสีหรือซิงค์มารับประทานกัน ด้วยคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและภูมิคุ้มกันของธาตุสังกะสีรวมถึงการควบคุมการผลิตน้ำมันบริเวณต่อมน้ำมันใต้ผิวหนังให้เป็นปกติ จึงสามารถต่อต้านแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวได้

 

ช่วยป้องกันผมร่วงรวมถึงช่วยเล็บแข็งแรงขึ้น สังกะสีจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของร่างกายของเส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและเมื่อได้ทานสังกะสีก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตามอายุนั้นใช้ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม

 

ปริมาณของสังกะสีที่ร่างกายควรได้รับ

ถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุสังกะสีเป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

  • การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน
  • ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปากและอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดงต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง
  • มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง
  • มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้
  • ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย
  • มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ               3 – 5        มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ                       10          มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ                   15          มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ          20 – 25     มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ       25 – 30     มิลลิกรัม/วัน

 

www.flickr.com/photos/58842866@N08/5388146683/