Browse Tag: insulin

19 ชนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน

Source: Flickr (click image for link)

“การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสิรฐ” หลายคนคงคุ้นหูกันเป็นอย่างดีกับสำนวนดังกล่าว ไม่ว่ามนุษย์เราจะยาก ดี มี จน ก็อยากให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บกันทั้งนั้น แต่อย่าลืมว่าคนเราก็ล้วนแต่ต้องมาเผชิญกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอโดยที่ใครก็ไม่สามารถกำหนดหรือหลีกเลี่ยงกันไปได้ ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วสิ่งที่เราทำได้ก็มีแค่รู้จักที่จะอยู่กับมันและประคับประคองให้ดีที่สุดค่ะ ใครๆ ก็คงไม่อยากเจ็บป่วยกายกันหรอกจริงไหมคะ นอกจากป่วยกายแล้วยังส่งผลต่อสุขภาพจิตใจจนทำให้เราเป็นทุกข์ ไม่มีความสุข ส่วนใหญ่การดูแลสุขภาพที่ดีที่สุดนอกจากออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอแล้ว การเลือกรับประทานอาหารก็สำคัญยิ่งอีกทั้งเป็นตัวส่งผลทั้งโดยตรงและทางอ้อมค่ะ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและเหมาะสมนอกจากจะช่วยไม่ให้ก่อโรคต่างๆ แล้วยังช่วยชะลอหรือรักษาบางโรคได้เลยทีเดียวค่ะ วันนี้เลยจะมาพูดถึงหัวข้อที่ว่า จะเลือกรับประทานผลไม้ชนิดไหนถึงจะเหมาะสมกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ขึ้นชื่อว่ามีโรคประจำตัวไม่ว่าจะโรคอะไรก็จะถูกจำกัดการรับประทานอาหารอยู่เสมอ บางคนอาจจะยังไม่ทราบหรือทราบมาบ้างแล้วว่าควรรับประทานอาหารชนิดไหนได้บ้าง ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะชอบรับประทานอาหารที่ถูกห้ามเสมอด้วยข้อจำกัดของประเภทของอาหารที่ต้องควบคุมมากมาย แต่ในวันนี้เราจะพูดถึงผลไม้ชนิดไหนอะไรบ้างที่คนเป็นโรคเบาหวานสามารถรับประทานได้บ้างค่ะ ซึ่งอย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานผลไม้สดๆ แทนการเลือกรับประทานแบบเป็นน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือในรูปแบบน้ำผลไม้ปั่น เนื่องจากการเลือกรับประทานผลไม้แบบสดๆ นอกจากจะได้รับเส้นใยอาหาร สารสำคัญต่างๆ รวมถึงวิตามินในผลไม้อย่างธรรมชาติโดยตรง โดยการดื่มน้ำผลไม้สำเร็จรูปหรือแบบน้ำผลไม้ปั่นนอกจากสารสำคัญรวมถึงวิตามินคุณค่าทางโภชนาการจะหายไปกับกระบวนการผลิตแล้ว เรากลับได้รับน้ำตาลจากน้ำเชื่อมที่ถูกเติมลงไปอีก ด้วยการถูกจำกัดการเลือกรับประทานอาหารก็ยากพอแล้ว แต่เชื่อเถอะค่ะว่าผลไม้ที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเป็นตัวช่วยได้ดีเลยทีเดียว นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้วยังได้รับวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการไม่น้อยเลยล่ะ

ถึงแม้ว่าในผลไม้จะมีน้ำตาลอยู่แต่จะเห็นได้ว่าก็จะไม่ถูกให้งดทานเลยซะทีเดียว ซึ่งก็ควรเลือกรับประทานในปริมาณที่จำกัดนั่นเองค่ะ โดยในแต่ละวันอาจจะทานได้ 2 ถึง 3 มื้อ และเป็นมื้อละ 7- 8 ชิ้นคำค่ะ

 

19 ขนิดของผลไม้ที่เหมาะกับคนเป็นโรคเบาหวาน

Source: Flickr (click image for link)

1.แอปเปิ้ล

แอปเปิ้ลไม่ว่าจะเป็นแอปเปิ้ลแดง ชมพู เหลือง เขียว ถือเป็นผลไม้ชนิดแรกที่จะแนะนำให้มีติดบ้านไว้เลยก็ว่าได้ค่ะ ถือเป็นผลไม้ที่เป็นอาหารว่างอันดับแรกที่เลือกนำมารับประทาน นอกจากน้ำตาลต่ำ มีเส้นใยอาหารและวิตามินซีสูงแล้วยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอีกด้วยค่ะ

 

2.ฝรั่ง

การเลือกรับประทานฝรั่งเป็นตัวเลือกที่ดีไม่น้อยเลยค่ะ เห็นผลสีเขียวๆอย่างนี้มีน้ำตาลต่ำแต่วิตามินซีสูงปรี๊ดนะเออ แถมมาด้วยเส้นใยอาหารที่มีมากไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆ เลยทีเดียว จะว่าไปฝรั่งที่บ้านเราราคาก็แสนจะถูกแถมหาง่ายอีกด้วย

 

3.บลูเบอร์รี่

บลูเบอร์รี่เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่ขึ้นชื่อของเรื่องที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และมีส่วนช่วยการต้านการอักเสบ บูเบอร์รี่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรมีผลไม้เหล่านี้ติดบ้านไว้ค่ะ

 

4.แตงโม

หลายคนคงคิดว่าผลไม้อย่างแตงโมที่มีรสชาติหวาน สดชื่น นี้จะเหมาะกับคนเป็นเบาหวานหรอ ? แต่รู้มั้ยคะว่าน้ำตาลในแตงโมไม่เยอะอย่างที่คิดเลย นอกจากนี้แตงโมยังมีแร่ธาตุ ใยอาหารและน้ำปริมาณมาก ที่จะไปช่วยลดความอยากอาหารค่ะ

 

5.องุ่น

องุ่นโดยเฉพาะองุ่นแดงมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง Resveratrol ซึ่งเป็นสารพฤกษเคมีที่พบได้ในองุ่น ที่จะไปช่วยปรับการตอบสนองของน้ำตาลในเลือดโดยทำให้ร่างกายหลั่งและใช้อินซูลินค่ะ

 

6.แคนตาลูป

แคนตาลูปสามารถรสชาติหวานฉ่ำช่วยเติมความสดชื่นด้วยเนื้อนุ่ม ๆ แคนตาลูปเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่มีปริมาณน้ำมาก และมีสารอาหารต่างๆ สูง

 

7.ชมพู่

ชมพู่เป็นผลไม้ที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลในพื้นที่เขตร้อนอย่างบ้านเรา นอกจากมีพลังงานต่ำและน้ำเยอะแล้วยังมีเส้นใยอาหาร วิตามินซีที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 

8.สตรอเบอร์รี่

สตรอเบอร์รี่เป็นอีกชนิดของผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนี้ยังสามารถปรับภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งและเพิ่มการเผาผลาญอาหารซึ่งจะช่วยคุณในขณะลดน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

9.ราสเบอร์รี่

ราสเบอร์รี่ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ที่มีเส้นใยสูงที่เป็นผลดีต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อีกทั้งยังเป็นแหล่งที่ดีของสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามิน

 

10.ส้ม

สารฟลาโวนอยด์และกรดฟีนอลเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่พบในส้ม อีกทั้งยังมีวิตามินซีและเส้นใยอาหารสูง เมื่อกล่าวถึงการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสไม่เพียงแต่ช่วยชะลอระดับกลูโคส แต่ยังยับยั้งการเคลื่อนไหวหรือการขนส่งของน้ำตาลกลูโคสผ่านลำไส้และตับด้วย

 

11.กีวี่

กีวี่ลูกกลมๆ รีๆ มีเปลือกขนสีน้ำตาลแต่มืเนื้อข้างในสีเขียวสดใส ด้วยรสชาติที่หวานอมเปรี้ยวกัดทีให้ความชุ่มฉ่ำไม่น้อย มีวิตามินซีและเส้นใยอยู่สูงไม่น้อยดเลยค่ะ นึกอะไรไม่ออกก็จับกีวี่มาสักลูกรับรองหลังจากรับประทานจะไม่รู้สีกผิดเลยแม้แต่น้อย

 

12.ลูกแพร์

ผลไม้อีกชนิดอย่างลูกแพร์ไม่ว่าคุณจะกินมันเท่าไรคุณก็จะได้ลิ้มรสที่แสนอร่อยและเต็มเปี่ยมไปด้วยเส้นใยอาหารและสารอาหารที่ดี ลูกแพร์เป็นผลไม้ที่มีน้ำเยอะยังไปช่วยในการควบคุมความหิวได้ด้วยเช่นกัน

 

13.เลมอล

นอกจากเลเมอลแล้วยังรวมถึงมะนาวที่นอกจากมีวิตามินต่างๆ เช่นวิตามิน A, B, แมกนีเซียมโซเดีย เส้นใย และอื่นๆ นอกจากนี้เลมอลและมะนาวยังมีระดับที่ดีของเส้นใยที่ละลายน้ำได้ซึ่งจะไปช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เส้นใยที่ละลายน้ำช่วยยับยั้งปริมาณน้ำตาลที่นำเข้าจากเลือด นอกจากนี้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะทำให้ระดับกลูโคสของเราคงที่ค่ะ

 

14.แครนเบอร์รี่

แครนเบอร์รี่เป็นแหล่งที่มีปริมาณเส้นใยและสารต้านอนุมูลอิสระที่ดี นอกจากนี้ยังช่วยในการควบคุมระดับกลูโคสของร่างกายเนื่องจากมีน้ำตาลน้อยมาก น้ำแครนเบอร์รี่หากดื่มเป็นประจำสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการ UTIs ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเบาหวานค่ะ

 

15.เสาวรส

ผลไม้รสเปรี้ยวอบหวานนิดๆ อย่างเสาวรสอุดมไปด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังพบว่าเสาวรสและเปลือกของมันมีเส้นใยที่ละลายน้ำได้เรียกว่าเพคตินซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเพคตินทำให้ความสามารถในการดูดซึมน้ำตาลลดลงค่ะ

 

16.ทับทิม

ผลทับทิมเม็ดสีแดงสดใสอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องคุณจากอนุมูลอิสระและโรคเรื้อรัง อีกทั้งทับทิมยังเป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ยอดเยี่ยมอีกด้วยค่ะ

 

17.เชอร์รี่

เชอร์รี่ผลสดๆ มีสารสำคัญเหมือนกับบลูเบอร์รี่คือ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสำคัญอย่างแอนโธไซยานินที่ช่วยให้เซลล์ผลิตอินซูลินได้ถึง 50% เลยค่ะ

 

18.ลูกพีช

นอกจากรสชาติที่อร่อยของลูกพีชทั้งยังสามารถเติมความสดชื่นให้กับเครื่องดื่มในช่วงอากาศร้อนๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาวิตามิน A และ C หรือกำลังต้องการใยอาหาร ลูกพีชเป็นอีกหนึ่งผลไม้ที่ไม่ควรมองข้ามค่ะ

 

19.ส้มโอ

ผลไม้ไทยที่รสชาติอร่อยติดปากคนไทยอีกชนิดอย่างส้มโอ นอกจากมีวิตามินซีและเส้นใยอาหารที่สูงไม่แพ้ผลไม้ชนิดอื่นๆ แล้ว ยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอย่าง flavonoid ที่ไปช่วยในการสร้างความสมดุลให้แก่ฮอร์โมนอินซูลินและระดับน้ำตาลในเลือดค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/ktpupp/684941010/

www.flickr.com/photos/lori_greig/5334058050/

คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีเและชนิดที่ไม่ดี

bread-1
Source: Flickr (click image for link)

“คาร์โบไฮเดรต” เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของเรา ถ้าพูดถึงอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในกลุ่มของคนที่กำลังลดน้ำหนักอยู่ก็คงจะคิดว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม และถ้าอยู่ในกลุ่มของคนที่รักสุขภาพนั้นอาจจะให้ความสนใจในการรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และจะให้ข้ามหมู่ใดหมู่นึงก็คงจะยาก แล้วทราบกันหรือปล่าวล่ะคะว่าคาร์โบไฮเดรตนั้นมีอยู่ 2 กลุ่ม ซึ่งก็มีกลุ่มที่ควรรับประทานและกลุ่มที่ไม่ควรรับประทาน หรือเรียกง่ายๆว่ากลุ่มที่ดีและไม่ดี วันนี้เลยอยากให้มาทำความเข้าใจกันหน่อยว่าอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่สามารถเลือกรับประทานได้ แม้เราจะอยู่ในช่วงที่กำลังควบคุมน้ำหนักอยู่ก็ตามแถมยังดีต่อสุขภาพของเรานั้นมีอยู่จริงค่ะ ดังนั้นวันนี้เลยนำข้อมูลมาแชร์และอยากให้ทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันค่ะ แล้วเมื่อเราเข้าใจมากขึ้นก็จะได้เลือกและปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์การรับประทานของเรา อย่างไรก็ดีการรับประทานอาหารที่ครบและหลากหลายนั้นเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพเรามากกว่าค่ะ เพราะงั้นเราไปทำความเข้าใจกับชนิดของ อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต กันเลยค่ะ

 

คาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีและคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ไม่ดี

carbohydrate-2
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โดยทางวิทยาศาสตร์ได้แบ่งคาร์โบไฮเดรตออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามโครงสร้างทางเคมีก็คือ “คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว” และ ‘’คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน’’ ดังนี้

 

1.คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว (Simple Carbohydrates) หรือ คาร์โบไฮเดรตย่อยง่าย

คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว มีโครงสร้างทางเคมีเป็นน้ำตาล 1-2 โมเลกุล เป็นคาร์โบไฮเดรตพื้นฐาน เมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกายจะมีการย่อยเพียงเล็กน้อยหรือบางชนิดร่างกายเราก็สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและนำไปใช้ได้เลยทันทีและจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างฉับพลัน ทำให้รู้สึกมีพลังงานขึ้นทันที

ได้แก่จำพวก น้ำตาลชนิดต่างๆที่รับประทานทั่วไป อาทิ น้ำตาลทราย (น้ำตาลซูโครส) ที่ใช้ในการประกอบอาหารต่างๆ น้ำตาลแลคโตสที่พบในนม น้ำตาลฟรุกโตสที่พบในผลไม้ ผักต่างๆ และน้ำผึ้ง น้ำตาลมอลโตสที่พบในเมล็ดพืชที่งอก รวมถึงพวกแป้งขัดขาว ข้าวขาว ขนมปังขาว

ในส่วนของน้ำตาลนั้นก็คือพลังงานของร่างกาย แต่เมื่อมีพลังงานเข้าสู่ร่างกายปริมาณมากเกินไปพลังงานส่วนเกินก็จะถูกแปรรูปเป็นไขมันเพื่อสะสมเป็นพลังงานสำรอง ทำให้มีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้น และเมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไปตับอ่อนก็จะผลิตฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ แต่ถ้าเราทานแป้งขัดขาวมากจนเป็นนิสัยตับอ่อนก็จะทำงานมากขึ้น เมื่อถึงจุดที่ฮอร์โมนอินซูลินถูกผลิตออกมามากจนเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็วและทำให้รู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าเดิม หากเป็นมากอาจหน้ามืดเป็นลมซึ่งเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเป็นเบาหวานนั่นก็คือการผลิตฮอร์โมนอินซูลินบกพร่องค่ะ

 

2.คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrates) หรือ คาร์โบไฮเดรตย่อยยาก

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีโครงสร้างทางเคมีที่ยาวกว่าตั้งแต่ 3-4 โมเลกุลต่อกันจนถึงต่อกันยาวมาก

ได้แก่จำพวก แป้งไม่ขัดขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังธัญพืช(โฮลวีต) เมล็ดพืช ธัญพืชเผือก มัน ข้าวโอ๊ต ถั่ว ผักสีเขียวและเหลือง มันหวาน และผักที่มีแป้งสูง ได้แก่ ผักหัวต่างๆ ผลไม้

ความแตกต่างของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนกับคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวนั้นก็คือ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนนั้นเมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะค่อยๆ ถูกย่อย คือร่างกายต้องใช้เวลาในการย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวก่อนที่จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ผนังเซลล์ลำไส้เล็กและเข้าสู่กระแสเลือดต่อไป เนื่องจากในแป้งไม่ขัดขาวยังมีคุณค่าอย่างอื่นอีกเช่นวิตามิน แร่ธาตุบางชนิดรวมถึงเส้นใยอาหาร ดังนั้นร่างกายจึงค่อยๆ ดูดซึมสารอาหารจากแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี ในกระบวนการเปลี่ยนจากแป้งเป็นน้ำตาลจึงช้ากว่าแป้งขัดขาว ทำให้ร่างกายได้พลังงานต่อเนื่องยาวนาน และระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มคงที่สม่ำเสมอทำให้มีพลังงานต่อเนื่อง ไม่หิวบ่อย อีกทั้งเส้นใยอาหารยังช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารและขับถ่ายและยังได้รับวิตามินแร่ธาตุอีกด้วยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/j0annie/15363793976/
www.flickr.com/photos/141735806@N08/27955435632/

โครเมี่ยม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

yeast-1
Source: Flickr (click image for link)

โครเมียม (Chromium) เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดี ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เพื่อให้ได้พลังงานไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆในร่างกาย  รองจากแคลเซียมแล้ว โครเมียม เป็นแร่ธาตุที่ได้รับความนิยมมากสำหรับคนอเมริกันที่รับประทานเป็นประจำ และยังเป็นที่ร่างกายต้องการโครเมียมในปริมาณ 50 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน โครเมียม มีความสำคัญอย่างยิ่งกับขบวนการเมตาลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยเสริมการทำงานของอินซูลินในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดเข้าไปในเซลล์ เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานสำรอง โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต) ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติและช่วยลดความอยากน้ำตาล นอกจากนั้นโครเมียมยังสามารถควบคุมระดับของปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดได้ โดยจะไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิด HDL ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และลดการสร้าง LDL ได้ เมื่อเรามีอายุมากขึ้นร่างกายเราจะค่อยๆขาดโครเมี่ยมไปเรื่อยๆ นั่นอาจจะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุให้คุณเสี่ยงต่อโรคร้ายอย่างโรคเบาหวานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โครเมียมที่อยู่ในรูปของโครเมียม พิโคลิเนต (Chromium Picolinate) หรือ โครเมียม โพลีนิโคไทเนต (Chromium Polynicotinate) มีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน การเสริมโครเมียมทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพในการนำกลูโคสไปใช้ได้เพิ่มขึ้นค่ะ

ภาวะการขาดโครเมียม

จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง

การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น

การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

 

เกี่ยวกับโครเมียม หรือ Chromium

  • โครเมียม เป็นแร่ธาตุจำเป็นที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย
  • โครเมียม ในร่างกายของคนเรามีอยู่ประมาณ 6 มิลลิกรัม และปริมาณนี้ก็จะลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุเรามากขึ้น
  • โครเมียม เกี่ยวข้องกับเมตาบอริซึม ของคาร์โบไฮเดรต และไขมัน โดยเฉพาะการใช้กลูโคสในร่างกาย
  • โครเมียม มีผลในเรื่องของการลดน้ำหนัก คือ มันไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกาย และไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  • โครเมียม มีส่วนในการช่วยรักษาปริมาณน้ำตาลในร่างกายให้คงที่ (ในขบวนการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรต)
  • โครเมียม เป็นส่วนประกอบของสารที่เรียกว่า GTF (Glucose Tolerance Factor) โดยทำงานร่วมกับ ไนอาซิน และ กรดอะมิโนอีกหลายชนิด
  • โครเมียม เมื่อขาดจะทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โครเมียม วิตามินซีจะเพิ่มการดูดซึมของโครเมียม
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมที่ดีที่สุด คือ ในยีสต์ (Brewer’s yeast)
  • โครเมียม แหล่งที่พบโครเมียมในธรรมชาติ พบมากใน น้ำมันข้าวโพด หอยกาบ เนื้อไก่ บริวเวอร์ยีสต์ จมูกข้าวสาลี ตับ ไข่แดง เห็ด เนยแข็ง กากน้ำตาล และในข้าวชนิดต่างๆ เช่น ข้าวกล้อง
  • โครเมียม ช่วยการเจริญเติบโต
  • โครเมียม ช่วยป้องกันพิษจากตะกั่ว
  • โครเมียม ป้องกันหลอดเลือดแข็ง
  • โครเมียม ทำงานเป็นเกราะป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล และอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงเฉียบพลัน
  • โครเมียม ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  • โครเมียม ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องการใช้
  • โครเมียม ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  • โครเมียม เป็นตัวที่มีบทบาทร่วมกับ RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน
  • โครเมียม ทั้งหมดที่รับประทาน ส่วนที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสาวะและอุจจาระบางส่วน

 

ประโยชน์ของโครเมียม หรือ Chromium

 

ลดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย จากหลักฐานการศึกษาวิจัยพบว่า โครเมียม (ทั้งในรูปแบบพิกโคลิเนตและอื่นๆ) พบว่ามีผลในการลดระดับคลอเลสเตอรอลในร่างกาย โดยการมีบทบาทไปเพิ่ม HDL หรือ คลอเรสเตอรอลชนิดดี และลดระดับ คลอเรสเตอรอลทั้งหมด

 

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวาน จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและการเผาผลาญน้ำตาล โครเมียมทำหน้าที่เสริมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน โดยเป็นส่วนประกอบของ glucose tolerance factor ซึ่งมีความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินต่อตัวรับอินซูลิน (insulin receptor)

 

ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก โครเมียมพิกโคลิเนต จะไปช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ มีการศึกษาเมื่อปี 1998 โดยมีอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 122 คนที่เป็นสมาชิกของเฮลท์คลับต่างๆ ในเทกซัสได้รับ โครเมียมจำนวน 400 ไมโครกรัมต่อวันของ โครเมียมพิกโคลิเนต หรือยาหลอกเป็นระยะเวลติดต่อกัน 3 เดือน คนที่ได้รับ โครเมียม มีไขมันในร่างกายลดลง 6 ปอนด์ (2.7 กิโลกรัม) ขณะที่คนที่ได้รับยาหลอกลดลงเพียง 3 ปอนด์ (1.3 กิโลกรัม)

 

ปริมาณของโครเมียมที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปริมาณที่แนะนำ ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน

(ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 

www.flickr.com/photos/cgc/4755952861/

แมงกานีส คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-vegetable-1
Source: Flickr (click image for link)

มงกานีส (Manganese) เป็นอีกหนึ่งแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อร่างกายไม่แพ้แร่ธาตุตัวอื่นๆค่ะ และที่สำคัญก็คือร่างกายของเราไม่สามารถขาดได้ด้วยเช่นกัน จะพบมากในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจและต่อมพิทูอิทารี่ แมงกานีสจะช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมโดยประโยชน์หลักๆของแร่ธาตุชนิดนี้ก็คือ จะไปช่วยในเรื่องของการตอบสนองของกล้ามเนื้อการยืดตัวหดตัวดี ช่วยทำให้ไม่ปวดหลังและทำให้ร่างกายสดชื่นมีความจำที่ดีและอื่นๆอีกมากมาย แมงกานีส มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันในกระดูกและกระดูกอ่อน แมงกานีสจะมีส่วนที่คล้ายกับแมกนีเซียม คือ สารอาหารชนิดนี้จะมีการสูญเสียระหว่างกระบวนการดัดแปลงทางอาหาร เช่น เมื่อธัญพืชถูกเปลี่ยนเป็นแป้งขัดขาวจากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีระดับแมงกานีสต่ำในระดับเพียงแค่ 25% ของกลุ่มทดสอบที่มีการควบคุมการได้รับสารอาหารนั่นเอง

 

เกี่ยวกับแมงกานีส หรือ Manganese

  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุ ที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของคนเราและไม่สามารถขาดได้
  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง
  • แมงกานีส พบมาในส่วนของโครงกระดูก ตับ ตับอ่อน หัวใจ
  • แมงกานีส ส่วนใหญ่จะสูญเสียไประหว่างกระบวนการปรุงอาหาร และส่วนเกินจะออกผ่านทางน้ำดีแล้วขับออกทางอุจจาระ
  • แมงกานีส มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเอนไซม์หลายชนิด คือ ช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย
  • แมงกานีส ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมเพราะอย่างนี้ในคนที่ร่างกายขาดแมงกานีส จะทำให้หลงลืมได้ง่าย ความจำจะสั้นกว่าคนปกติ
  • แมงกานีส แหล่งของอาหารตามธรรมชาติได้มาจาก พืชผัก ผลไม้และเมล็ดผลไม้(เปลือกแข็ง)
  • แมงกานีส  พบมากในผักใบเขียว ธัญพืช ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หัวบีต เม็ดมะม่วงหิมพานต์ นม เนย ไข่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ตับสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวไรน์ มะพร้าว คะน้า กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กล้วย สับปะรด ข้าวเจ้า แห้ว แครอท หัวปลี เมล็ดอัลมอนด์ เมล็ดทานตะวัน องุ่น มะกอก ส้ม เชอรี่ แอปเปิ้ล อะโวคาโด แอพริคอท มะตูม มะขวิด กระจับ
  • แมงกานีส ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง และกระดูกพร้อมทั้งรักษาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์
  • แมงกานีส กระตุ้นให้ตับเก็บน้ำตาลในรูปของ Glycogen
  • แมงกานีส มีความสำคัญในการผลิตน้ำนมในผู้หญิงตั้งครรภ์ และการสร้างยูเรียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปัสสาวะ
  • แมงกานีส เป็นตัวสำคัญที่ช่วยในการสังเคราะห์ทางเคมีของต่อมไทรอยด์ขับไทรอกซินและช่วยในการใช้โคลีน
  • แมงกานีส ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมัน และ คอเลสเตอรอล
  • แมงกานีส ช่วยให้ความจำดีขึ้น ลดอาการหงุดหงิดง่าย
  • แมงกานีส ถ้าได้รับประทานแมงกานีสอย่างพอเพียงโรคลมบ้าหมูก็สามารถมีอาการดีขึ้นได้
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยและนำสารอาหารมาใช้ให้เป็นประโยชน์
  • แมงกานีส มีความสำคัญต่อการสร้างไทรอกซิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักของต่อมไทรอยด์

 

 

ประโยชน์ของแมงกานีส (Manganese)

 

แมงกานีสช่วยควบคุมการทำงานของเอนไซม์ คือช่วยในการเผาผลาญโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน ช่วยลดการเกิดไขมันสะสมในร่างกาย และช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่จำเป็นต่อกระบวนการนำไบโอติน วิตามินบี1 และวิตามินซี มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

 

ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ซึ่งแมงกานีสมีความจำเป็นต่อโครงสร้างของกระดูก

 

ช่วยในการทำงานของอินซูลิน โดยการขาดแมงกานีสจะทำให้อินซูลินลดประสิทธิภาพน้อยลง

 

แมงกานีสช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต คือช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ให้ทำงานตามปกติและช่วยขับฮอร์โมนเพศสำหรับวัยเจริญพันธ์ุ

 

ช่วยเรื่องการทำงานของสมองระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ โดยจะไปควบคุมสุขภาพและการทำงานของสมองระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อให้มีประสิทธิการสั่งงาน่่และมีความสัมพันธ์กัและมีส่วนช่วยในกระบวนการตอบสนองของกล้ามเนื้อด้วยค่ะ

 

 

ปริมาณของแมงกานีสที่ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน

โดยสถาบันวิจัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำปริมาณแมงกานีสที่ควรได้รับต่อวันคือประมาณ 2-5 มิลลิกรัมต่อวัน

หากร่างกายมีแมงกานีสไม่เพียงพอ คนที่ร่างกายขาดแมงกานีสจะทำให้หลงลืมได้ง่ายความจำจะสั้นกว่าคนปกติ นอกจากนั้นยังมีอาการปวดหลังและข้อกระดูกสันหลังเสื่อมเร็วกว่าคนที่ร่างกายไม่ขาดแมงกานีส

หากร่างกายได้รับแมงกานีสมากเกินไป ส่วนใหญ่แล้วจะได้รับเข้ามาจากทางของการสัมผัสมากกว่าที่จะได้จากการรับประทานอาหาร เพราะฉะนั้นหากเราได้สัมผัสไม่ว่าจะจากการสูดดมหรือ ทำอะไรที่เกี่ยวกับแมงกานีสโดยตรงก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับแมงกานีสที่มากเกินไปหรือมีอาการจากการได้รับมากเกินไป และถ้าเกิดว่าแมงกานีสมีอยู่ในร่างกายมาเกินไปจากการที่เราสัมผัสโดยตรงก็อาจจะทำให้มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท และมีอาการสั่นคล้ายกับโรคพาร์กินสันหรือโรคสันนิบาตนั่นเองค่ะ

 

www.flickr.com/photos/chodhound/5540012574/

  • 1
  • 2