Browse Tag: melatonin

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

sleeping-night-1
Source: Flickr (click image for link)

คนเราใช้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำไมน่ะหรอ…ก็เพราะว่าเป็นวัฐจักรของธรรมชาติที่สร้างขึ้นมา ให้ร่างกายมนุษย์มีเวลาหยุดพักเพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานให้สมดุล บางคนคิดว่าเวลา 8 ชั่วโมงนั้นช่างยาวนานเหลือเกินเสียดายที่จะทิ้งไปกับการนอน จึงได้ทำสิ่งอื่นที่คิดว่าสำคัญกว่าการนอนจนทำให้เวลาในการนอนน้อยลง แต่เมื่อถึงเวลาที่ควรจะนอนเราก็จะจำเป็นจะต้องนอนค่ะ ความรู้สึกง่วง หงาว หาว นอนนั้นช่างโหดร้ายและทรมานเหลือเกิน ก็อาการเหล่านี้แหละค่ะที่กำลังจะบอกคุณว่าเรากำลังฝืนธรรมชาติอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอน เราก็จะมีอาการดังกล่าวมาคอยเตือนอยู่ตลอดเวลาว่า ได้เวลาที่ต้องนอนแล้วนะ นั่นก็เกิดจาก เมลาโทนิน หรือ “ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล (The darkness hormone)” นั่นเองค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันให้มากขึ้นนะคะ

 

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

“เมลาโทนิน” (Melatonin) เป็นฮอร์โมนในระบบประสาทที่ร่างกายเราสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติค่ะ เมลาโทนินนั้นได้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยดอกเตอร์เลอร์เนอร์ (Aaron Bunsen Lerner) แพทย์ชาวอเมริกัน ในปีค.ศ.1958 เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งได้ถูกสร้างโดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรอคะ ? ก็เนื่องจากการถูกค้นพบครั้งแรกโดยการสกัดสารจากต่อม ไพเนียล(Pineal gland) ของวัวมาทำให้บริสุทธิ์ได้เป็นสารใน กลุ่ม indole ซึ่งมีผลต่อเมลานิน (Melanin) บนผิวหนังของกบ ทำให้สีผิวจางลงและเนื่องจากสารที่สกัดจากต่อมไพเนียล มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายซีโรโทนิน (Serotonin) จึงเรียก สารในกลุ่ม indole ซึ่งไปฟอกสีเมลานินนี้ว่า เมลาโทนิน ค่ะ

light-1
Source: Flickr (click image for link)

เกี่ยวกับเมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเรา โดยมีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอตาและต่อมไพเนียล โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นและหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณ 22 นาฬิกา ปริมาณสูงสุดประมาณ 3 นาฬิกา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย การที่เรามีความรู้สึกเฉื่อยชาลงและมีความรู้สึกตื่นตัวน้อยลงนั้น ก็เป็นผลของการหลั่งของเมลาโทนินนั้นเพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ อีกทั้งร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิเริ่มมีการลดต่ำลงจึงทำให้เหมาะแก่การนอนหลับมากขึ้นค่ะ และในช่วงเวลาเช้ามืดของวันต่อมาระดับของเมลาโทนินก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในระหว่างวัน เมลาโทนิน จะลดระดับลงต่ำมากจนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดได้ เนื่องจากระดับของ เมลาโทนินนั้นขึ้นลงตามวงจรของความมืดและความสว่าง (light-dark cycle) จึงทำให้ทั้งมนุษย์หรือแม้กระทั่งพืชนั้นที่ก็มีฮอร์โมนนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งมีความตื่นตัวในระหว่างวัน โดยที่ระดับของเมลาโทนินจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่เวลา 2.00 น.ในเด็กที่มีสุขภาพดีทั่วไป อีกทั้งจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุดที่เวลา 3.00 น.ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้แล้วปริมาณการผลิตเมลาโทนินในร่างกายนั้นลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้นค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ทำไมผู้สูงอายุต้องพบกับปัญหาในการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่อายุยังน้อยค่ะ

 

ประโยชน์ของเมลาโทนิน
เชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการเพลียหลังการโดยสารเครื่องบิน (Jet-Lag) และการทำงานเป็นกะซึ่งยังมีข้อโต้แย้งเรื่องคุณสมบัตินี้กันอยู่ เมลาโทนินถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด (circadian rhythm) เมลาโทนินเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับลึก ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ความผิดปกติเรื้อรังของการนอน อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร อีกทั้งประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเมลาโทนินยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคได้ ที่สำคัญยังมีผลต่อการควบคุมกระบวนการทางชีวภาพและการเกิดอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการใช้เมลาโทนิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลด (หรือเพิ่มขึ้น) ของปริมาณของเมลาโทนินในเลือดทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับหรือความผิดปกติของวงจรการหลับและการตื่นในรอบวันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/zubrow/5404957877/

www.flickr.com/photos/bennyseidelman/5103679082/

12 เหตุผลที่ควรเข้านอนให้เร็วขึ้น

beauty-sleep-1
Source: Flickr (click image for link)

ถ้าหากถามว่าการพักผ่อนที่ดีที่สุดคืออะไร ก็คงจะหนีไม่พ้นการนอนหลับไปได้อย่างแน่นอน ก็เพราะการนอนหลับนั้นถือเป็นการได้พักระบบทุกส่วนของร่างกายของคนเรา ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายโดยเฉพาะธรรมชาติสร้างมาให้เรานอนหลับตอนกลางคืน เราต้องอย่าฝืนธรรมชาติ และในบางคนแทนที่จะนอนตอนกลางคืนแต่ดันกลับมานอนตอนกลางวัน ไม่ยอมหลับยอมนอนกลางคืน ซึ่งก็ทำให้ระบบการทำงานของร่างกายผิดเพี้ยน เพราะฮอร์โมนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายตัวจะหลั่งเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น นั่นเองค่ะ คำว่านอนเร็วของแต่ละคนนั้นก็คงจะแตกต่างกันไป ถ้าวัยเด็กเราก็ควรที่จะนอนเร็วหน่อย คือนอนไม่เกิน 3 ทุ่ม เพราะ Growth Hormone จะหลั่งตอน 2-3 ทุ่มเท่านั้น (ซึ่งดึกๆแล้วจะไม่หลั่ง) และการนอนก็ควรนอนให้หลับสนิท (ไม่ฝัน) ด้วยเป็นเวลา 1.5 ชม.หลังเข้านอน ถ้า Growth Hormone หลั่งแล้วจะไปช่วยซ่อมสร้างร่างกายตั้งแต่ 5 ทุ่มจนถึงตี 5 สำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต ฮอร์โมนตัวนี้มีผลต่อการเติบโตและอาจมีผลต่อความสูงด้วยค่ะ แต่ถ้าเราเข้าสู่วัยทำงาน กว่าจะเลิกงานแต่ละวันก็ปาเข้าไปเย็นมากแล้ว แถมยังต้องเสียเวลากับการเดินทางอีก เมื่อถึงบ้านก็ต้องอาบน้ำ เคลียร์งานอื่นๆ ถ้าจะให้มานอน 2 หรือ 3 ทุ่ม ก็คงเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นการนอนเร็วสำหรับวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ จึงจัดให้อยู่ในช่วงเวลาก่อน 4 ทุ่ม คนที่อยากสวย หน้าใส ดูดี มีเสน่ห์ ลองเปลี่ยนการใช้ชีวิต เป็นคนนอนเร็วขึ้น เพื่อสุขภาพภายในและภายนอกของเราค่ะ

 

 

12 เหตุผลที่ควรเข้านอนให้เร็วขึ้น

 

1.ร่างกายได้มีเวลาทำการซ่อมแซมตัวเองมากขึ้น

กิจกรรมที่เราได้ทำมาทั้งวัน ย่อมต้องทำให้มีจุดที่ร่างกายเกิดการสึกหรอที่เหมือนกับเครื่องยนต์ และในช่วงเวลาที่เราได้นอนก็เป็นช่วงที่เราให้เวลากับระบบต่างๆ ในร่างกายได้พัก ไม่ว่าจะเป็นสมอง กล้ามเนื้อได้เกิดการคลายตัว และเกิดการซ่อมแซมเซลล์ที่เสียหายไปให้กลับคืนมาใหม่ ยิ่งได้นอนเร็วก็เท่ากับได้ตักตวงกำไรสำคัญที่จะทำให้ท่านมีสุขภาพดี คนที่นอนเร็วจะไม่เสี่ยงเจ็บป่วยง่ายจากร่างกายที่ทรุดโทรมเกินเยียวยานั่นเองค่ะ

 

2.ร่างกายสร้างภูมิต้านทานและทำให้มีความสุข
รู้หรือเปล่าคะว่าสมองของเราสามารถสร้างความสุขให้กับเราได้ ก็ในช่วงที่เรานอนหลับ ร่างกายของเราจะหลั่งสารเมลาโทนิน ซีโรโทนิน และฮอร์โมนที่เป็นประโยชน์กับร่างกายอื่นๆ ออกมาโดยที่ Hormone Melatonin จะหลั่งเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้น ที่จะไปช่วยให้นอนหลับและสร้างภูมิต้านทาน เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาเราก็จะรู้สึกสดชื่น สดใส กระปรี้กระเปร่า และยังมีภูมิต้านทานไม่ให้เกิดอาการป่วยง่ายๆ อีกด้วยค่ะ โดยสถาบันการนอนหลับแห่งชาติ (National Sleep Foundation) ชี้ว่าการนอนหลับมีผลมหาศาลต่อคุณภาพชีวิตของเรา

 

3.ช่วยควบคุมน้ำหนัก
ในบางคนพยายามที่จะลดน้ำหนักเป็นอย่างหนักแต่ทำไมน้ำหนักถึงไม่ลดหรือลดยากเหลือเกิน แต่อย่าลืมนะคะว่านอกเหนือจากการออกกำลังกาย ควบคุมอาหารแล้ว ก็ยังต้องนอนให้เร็วขึ้นและหลับพักผ่อนให้เพียงพอค่ะ เนื่องจากการนอนเร็วจะช่วยสกัดอาการหิวดึกและกินดึกที่จะตามมา ถ้าเรานอนดึกร่างกายก็จะผลิตสารเลปติน (Leptin) น้อยลงซึ่งเลปตินมีบทบาทในการควบคุมความอยากอาหาร เพราะฉะนั้นยิ่งเราอดนอน เลปตินก็จะถูกผลิตออกมาน้อยลงทำให้เรามีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น เช่นอยากทานขนมหวาน และอาหารมันๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการควบคุมและลดน้ำหนักได้

 

4.ทำให้ความจำดีขึ้น
การศึกษาจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน หรือ APA ได้มีการระบุว่า คนที่นอนน้อยหรือหลับได้ประมาณ 4 ชั่วโมงต่อคืนติดต่อกันนานๆเข้าจะมีผลต่อความจำทำให้มีสมาธิสั้นและก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากขึ้น นั่นก็เพราะเวลาเรานอน สมองจะมีกลไกช่วยในการจัดระเบียบ กำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป แต่ถ้าเราอดนอน นอนน้อย นอนไม่พอ เราจะรู้สึกมึน ลืมง่าย หรือไม่ก็ลิ้นพันกันคิดอะไรแต่กลับพูดเป็นอีกอย่าง เพราะฉะนั้นต้องนอนให้เต็มอิ่มจะได้เป็นการชาร์จแบตให้สมอง พร้อมรับความจำใหม่ ๆ ที่เข้ามาในวันต่อๆ ไป

 

5.ช่วยชะลอความแก่
เห็นข้อนี้แล้วอย่ากรีดร้องล่ะ ใครจะรู้ว่าแค่นอนให้เร็วขึ้นก็ช่วยเสริมสร้างความเป็นอัมมะตะให้เราได้และยังป้องกันความเสื่อมชราที่มาหาได้จากพลังการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสนิมแก่ที่เกิดขึ้นในร่างกายตามธรรมชาติในทุกลมหายใจ แต่การได้นอนจะช่วยให้สนิมแก่ทั้งหลายไม่ให้มาทำร้ายร่างกายก่อนวัยอันควรเป็นพอ ก่อนที่จะไปหาครีมที่ว่าแพงและดีมาใช้ ก็ลองกลับบ้านไปนอนให้เร็วขึ้นอีกนิดเอาให้แน่ใจว่าหลับสนิท และนอนหลับให้ได้ 8 ชั่วโมงต่อวัน รับรองว่าจะดูเด็กและอ่อนเยาว์อยู่เสมอ

 

6.ช่วยควบคุมความดันโลหิตได้
ในขณะที่เราเลือกที่จะนอนหลับให้เร็วขึ้น ภายในร่างกายจะมีระบบประสาทอัตโนมัติทั้งหลายและกลไกทางชีววิทยาที่เป็นดั่งฟันเฟืองขนาดจิ๋วทั้งหลายเกิด การทำงานที่ซับซ้อนอย่างการไปควบคุมหัวใจและความดันโลหิตให้สงบลงไม่แกว่งขึ้นลงง่ายเหมือนกับตอนตื่น

 

7.ทำให้เป็นคนอารมณ์ดี ไม่วีน ไม่เหวี่ยง
การที่เรานอนให้เร็วขึ้นนั้น ก็จะทำให้ร่างกายของเราได้พักผ่อนได้เต็มอิ่มและเพียงพอต่อเวลาในการซ่อมแซมในส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้สารต่างๆ ที่ร่างกายได้สร้างในขณะหลับนั้นก็ได้รับอย่างเต็มที่ ซึ่งตรงข้ามกับเมื่ออดนอนที่นำไปสู่ความอึมครึมของสุขภาพและสมอง ไม่มีสมาธิ ความจำไม่ดี ขี้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ความอดทนน้อยลงและอารมณ์เสียง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็คงไม่มีใครอยากที่จะเข้าใกล้เราแล้วแหละค่ะ สุขภาพกายก็เสื่อม สุขภาพจิตยังจะมาแย่อีก

 

8.ร่างกายได้รับการขับสารพิษ
ขณะที่เรานอนหลับเป็นการช่วยปรับให้อวัยวะช่วยล้างพิษทำงานได้ดีขึ้น อย่างตับ ไต และลำไส้ ซึ่งสังเกตได้ว่าคนที่อดนอนอาจมีปัญหาท้องผูก หน้าตาหม่นหมอง ดูไม่สดชื่นและที่สำคัญคือสุขภาพไม่ดี นั่นเพราะส่วนหนึ่งของพิษมาจากการนอนดึกด้วย โดยเฉพาะสาวๆที่ปวดรอบเดือนบ่อยถ้าสามารถปรับเปลี่ยนการนอนได้ก็จะช่วยคุมเคมีที่ทำให้ปวดรอบเดือนได้มากเลยล่ะค่ะ

 

9.ช่วยให้คงความหน้าใสอ่อนเยาว์
โดยปกติแล้วคนในวันหนุ่มสาวจะมีการผลิต “โกรทฮอร์โมน” ได้ดีและมากกว่าคนที่มีอายุมาก และสิ่งสำคัญอีกอย่าง ที่ทำให้ “โกรทฮอร์โมน” ลดลง ก็คือการนอนน้อย นอนดึก จะทำให้ฮอร์โมนตัวนี้ผลิตออกมาน้อยลง คนที่อยากหน้าใส อ่อนเยาว์ ดูเต่งตึง ไม่แก่เร็ว ควรจะเข้านอนเร็วๆ ก่อน 4 ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนตัวนี้ออกมาได้อย่างเต็มที่

 

10.ช่วยลดการเกิดความเสี่ยงโรคกำเริบ
โรคเก่าที่อาจกำเริบได้ในมนุษย์นอนดึกก็คือ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันสูง เบาหวาน ภูมิแพ้ โรคเครียดซึมเศร้ารวมไปถึงโรคมะเร็ง การที่เรานอนดึกนั้นจะไปทำให้ร่างกายเหนื่อยเพิ่มขึ้นอย่างไม่คุ้มค่าเอาซะเลย ร่างกายเมื่อทำงานเกินเวลาก็จะพาให้โรคที่พกอยู่ตามอวัยวะต่างๆพากันแผลงฤทธิ์ขึ้นหรือกำเริบนั่นเอง

 

11.ช่วยเรื่องของผิวพรรณ
ในด้านของผิวหนังนั้น การนอนหลับที่เพียงพอและเวลาที่เหมาะสม ในส่วนของสารเมลาโทนินซึ่งเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญในการปกป้องเซลล์ผิวหนังจากสารอนุมูลอิสระต่างๆ และสารเมลาโทนินจะถูกสร้างมากที่สุดในเวลากลางคืนขณะที่เรานอนหลับ ถ้าเราอดนอนหรือนอนน้อยก็จะทำให้มีการสร้างสารนี้ลดลง ส่งผลให้เกิดการอักเสบหรือภูมิแพ้ของผิวหนังได้ง่ายขึ้น

 

12.ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การที่เรานอนดึกจะทำให้ระบบในร่างกายต่างๆ เกิดการแปรปรวน ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ โดยร่างกายจะต้องใช้เวลามากขึ้นถึง 40 เปอร์เซนต์เพื่อจัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต และการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนานๆ ก็จะไม่เป็นผลดีอย่างแน่นอนค่ะ

 

www.flickr.com/photos/sophiadphotography/8414241757/

แมกนีเซียม คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

green-drink-1
Source: Flickr (click image for link)

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากมายในร่างกายแต่น้อยกว่าแคลเซียม และฟอสฟอรัส ผู้ใหญ่มีแมกนีเซียมประมาณ 20-28 กรัม พบอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ ประมาณ 40% พบอยู่ในน้ำภายนอกเซลล์(Extracellular fluid)ประมาณ 1% และที่เหลืออีกประมาณ 50% พบอยู่ในกระดูกและฟัน โดยอยู่ในรูปเกลือฟอสเฟตหรือคาร์บอเนต ในเด็กแรกเกิดจะมีแมกนีเซียมต่ำและเมื่อโตขึ้นจะมีแมกนีเซียมเพิ่มมากขึ้น โดยแมกนีเซียมจะพบทั้งในพืชและสัตว์ ในพืชนั้นแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพียงเพื่อจะสังเคราะห์โปรตีนให้กับร่างกาย และเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกายที่จะทำงานร่วมกับแคลเซียมอันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายค่ะ

อาการของผู้ที่ขาดแมกนีเซียม จะมีอาการเบื่ออาหาร กล้ามเนื้อกระตุก สับสน หัวใจเต้นผิดปกติ บางรายอาจจะมีอาการชัก

สาเหตุของการขาดแมกนีเซียม

ความเครียด ทำให้แมกนีเซียมถูกใช้มากขึ้นหลายเท่า

เนื้อและอาหารที่ผ่านกรรมวิธีปรุงแต่ง น้ำอัดลม ล้วนแต่มีส่วนผสมของฟอสฟอรัสเยอะซึ่งก็จะไปขัดขวางการดูดซึมของแมกนีเซียมค่ะ

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้

การใช้ยาขับปัสสาว ก็มีส่วนทำให้ขาดแมกนีเซียมได้เช่นกัน

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีโอกาสขาดแมกนีเซียมได้ง่าย

 

เกี่ยวกับแมกนีเซียม หรือ (Magnesium)

  • แมกนีเซียม เป็นสารอาหารประเภทเกลือแร่หรือแร่ธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งก็จัดอยู่ในกลุ่มของเกลือแร่ที่มีอยู่มากในร่างกาย
  • แมกนีเซียม จะพบทั้งในพืชและสัตว์
  • แมกนีเซียม เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ที่เป็นสารสีเขียวในพืช
  • แมกนีเซียม พบมากในผักใบเขียวทุกชนิด
  • แมกนีเซียม พบมากผลไม้สดและยังพบในเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง วอลนัท แป้งข้าวสาลี หอยนางรม ถั่วดำ เต้าหู้ ถั่วลิสง เมล็ดทานตะวัน แอลมอนด์ รำข้าว ปวยเล้ง และข้าวโพด
  • แมกนีเซียม พบในน้ำนมและเนื้อสัตว์น้อย
  • แมกนีเซียม ปริมาณแมกนีเซียมในอาหารจะลดลงได้มาก จากการประกอบอาหารที่เทน้ำทิ้งไป
  • แมกนีเซียม ในกระบวนการแปรรูปอาหารประเภทธัญพืชด้วยการขัดสี จะทำให้สูญเสียแมกนีเซียม  เช่น ข้าวสารที่ขัดสีจนขาว
  • แมกนีเซียม เป็นโคแฟกเตอร์ (Co-factor) ที่สำคัญของเอ็นไซม์ในร่างกายไม่น้อยกว่า 300 ชนิด เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีนต่างๆในร่างกาย
  • แมกนีเซียม เป็นเกลือแร่ที่มีโอกาสขาดได้ง่ายรองจากแคลเซียม
  • แมกนีเซียม ช่วยให้การผลิตฮอร์โมนต่างๆ เป็นปกติ
  • แมกนีเซียม หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
  • แมกนีเซียม ทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสประสาท จึงช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวกับสมองได้ เช่น ซึมเศร้า ไมเกรน เครียด เป็นต้น
  • แมกนีเซียม เป็นตัวช่วยในการสะสม แคลเซียม เข้ากระดูก และลดความรุนแรงของ โรคหัวใจ วายเรื้อรัง
  • แมกนีเซียม มีหลายรูปแบบเช่น แมกนีเซียมซิเตรด แมกนีเซียมแอสพาเตรด แมกนีเซียมคาร์บอเนต แมกนีเซียมกลูคอเนต แมกนีเซียมออกไซต์ และแมกนีเซียมซัลเฟต
  • แมกนีเซียม  ช่วยบรรเทาและป้องกัน อาการปวดประจำเดือนโดยการคลายกล้ามเนื้อมดลูก
  • แมกนีเซียม ช่วยในการการเติบโตของกระดูกและฟัน
  • แมกนีเซียม ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด
  • แมกนีเซียม ช่วยในการควบคุมสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย

 

 

ประโยชน์ของแมกนีเซียม (Magnesium)

 

ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย  เกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญที่จำเป็นหลายขบวนการ ซึ่งส่วนมากแมกนีเซียมจะอยู่ในเซลล์และจะไปกระตุ้นน้ำย่อย โดยเป็น co-factor ของน้ำย่อยหลายชนิดซึ่งจำเป็นสำหรับการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และกรดอะมิโนให้เป็นพลังงาน

 

ช่วยส่งเสริมการดูดซึมและการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เกี่ยวข้องกับการคลายตัว ( relaxation ) ของกล้ามเนื้อช่วยส่งเสริมการดูดซึม และการเผาผลาญของแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม และโพแทสเซียม

 

ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรน ลดอาการซึมเศร้า เครียดและช่วยให้นอนหลับ โดยเป็นตัวที่ไปช่วยในการสร้างสารเมลาโทนิน เมื่อแมกนีเซียมรวมกับแคลเซียมแล้วจะทำงานคล้ายเป็นยาระงับประสาทจากธรรมชาติ ช่วยให้รู้สึกสงบ สำหรับแคลเซียมและแมกนีเซียม แร่ธาตุทั้ง 2 ตัวจะช่วยในการทำงานของระบบประสาท ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ การขาดแร่ธาตุนี้จะทำให้เกิดตะคริวและรบกวนการทำงานของเส้นประสาทมีผลทำให้นอนไม่หลับ

 

ช่วยร่างกายในการใช้วิตามินบีรวม วิตามินซี และวิตามินอี ซึ่งจำเป็นสำหรับการส่งสัญญาณประสาท( nerve impulse) และป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

 

ช่วยป้องกันอาการทางด้านโครงกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ฟันผุ กระดูกพรุน อ่อนเพลียเรื้อรัง ตะคริว กล้ามเนื้อกระตุก อาการสั่น

 

ช่วยลดไขมันในเลือดและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

 

ช่วยป้องกันอาการปวดก่อนมีประจำเดือนของสตรี

 

 

ปริมาณของแมกนีเซียมที่ร่างกายควรได้รับ

ปริมาณที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน (RDA) ของแมกนีเซียมสำหรับผู้ใหญ่อยู่ระหว่าง 200-700 มิลลิกรัม ซึ่งในแต่ละวันร่างกายคนแต่ละช่วงอายุต้องการแมกนีเซียมแตกต่างกัน ดังนี้

ผู้ชายควรได้รับวันละ                                                 350      มิลลิกรัม

ผู้หญิงควรได้รับวันละ                                                300      มิลลิกรัม

หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรได้รับวันละ           450      มิลลิกรัม

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี ควรได้รับวันละ                      60-70    มิลลิกรัม

เด็กอายุ 2-7 ปี ควรได้รับวันละ                                   150      มิลลิกรัม

เด็กอายุ 7-10 ปี ควรได้รับวันละ                                 250      มิลลิกรัม

 

 

www.flickr.com/photos/elmastudio/6886053387/

15 ชนิดของอาหารสำหรับคนที่นอนไม่หลับ

stress-working-1
Source: Flickr (click image for link)

การนอนหลับ เป็นช่วงเวลาของการพักผ่อนที่ดีที่สุดและยังเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายได้หยุดพักในการเคลื่อนไหวและหยุดพักจากการใช้สมองทั้งวัน ช่วงเวลานี้นี่เองจะไปช่วยเพิ่มและรักษาประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้สมบูรณ์ และผลเสียของการที่นอนหลับไม่เพียงพอนั้นก็จะไปทำให้เซลล์ต่างๆในร่างกายเสื่อมสภาพลง แล้วยังทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก ไหนจะเกิดอาการไม่รู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า มีอาการอ่อนล้าและอารมณ์แปรปรวนง่าย โดยการที่เรานอนไม่หลับไม่ว่าจะเป็นอาการหลับลำบากหรือหลับไม่สนิท อาจเนื่องมาจากความเครียด ความกังวล ที่ไม่ว่าจะมาจากปัจจัยทางด้านจิตใจหรือสิ่งแวดล้อมก็ตาม วันนี้ทาง HealthGossip จึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ควรเลือกรับประทานมาแนะนำสำหรับคนที่นอนไม่หลับหรือหลับยากลำบากเหลือเกินมาฝากกันค่ะ การที่เราพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะนอนหลับได้อย่างปกกติ ในบางครั้งก็กลับกลายเป็นการทำให้ยิ่งนอนไม่หลับเข้าไปใหญ่เนื่องจากการพยายามที่จะหลับกลับทำให้รู้สึกตึงเครียดจากการที่เรากำลังจะพยายามนอนให้หลับ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารก็เป็นทางเลือกที่ง่าย เริ่มจากตัวเราเองสามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องมารู้สึกกังวลค่ะ 

 

15 ชนิดของอาหารสำหรับคนที่นอนไม่หลับ

milk-cereal-1
Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.กล้วย (Banana)

กล้วยเป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ง่ายและราคาไม่แพง นอกจากจะอุดมไปด้วยแมกนีเซียม โพแทสเซียมกับ Vitamin B และที่สำคัญยังมีกรดอะมิโนที่ชื่อว่า ‘’ทริปโตเฟน’’(Tryptophan)ที่เป็นหนึ่งใน 20 ของกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ โดยสมองจะนำทริปโตเฟนไปสร้างสารเซโรโทนิน (serotonin) ซึ่งถ้าร่างกายมีสารตัวนี้เพียงพอ ก็จะเพิ่มการหลั่งของฮอร์โมนเมลาโทนิน (melatonin) ซึ่งช่วยในการควบคุมการนอนหลับให้มีมากขึ้น ทั้งสองเป็นฮอร์โมนที่ไขไปสู่ความนิ่งสงบให้กับสมอง ร่างกายจึงจะรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด อารมณ์ดีและนอนหลับสนิทได้ตลอดคืนค่ะ

 

2.ชาเขียว (Green tea)

หลายคนคงสงสัยว่าเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอย่างชานี่หรอที่จะช่วยให้นอนหลับสบายได้ แต่ถ้าว่าเครื่องดื่มประเภท Decaf (เต็มๆคือ Decaffeinate มีคาเฟอีนในปริมาณน้อย) ในบางชนิดกลับทำให้ง่วงนอนซะอย่างนั้นค่ะ ดังนั้นการจิบชาเขียวร้อนๆสักถ้วยก่อนนอน และด้วยจากชาเขียวนั้นมีสาร เทนนิน (Theanine) เป็นสารที่มีฤทธิ์กับประสาทส่วนกลางช่วยให้นอนหลับสบายนั่นเองค่ะ

 

3.อัลมอลด์ (Almond)

“อัลมอนด์เป็นสุดยอดอาหารที่ช่วยให้หลับ” เนื่องจากในเม็ดอัลมอนด์มีแมกนีเซียม(Magnesium) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อทำอยากให้นอนหลับ และอัลมอนด์ยังอุดมไปด้วยโปรตีนที่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างที่นอนหลับและช่วยสลับวงจรของอะดรีนาลีน (Adrenaline) คือร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนเมื่อเรารู้สึกอันตรายหรือตกอยู่ในความเครียด ดังนั้นถ้ามีฮอร์โมนชนิดนี้ หมายความว่า ความดันเลือดถูกเพิ่มขึ้น ใจเต้นเร็วขึ้นในตัวคุณสู่วงจรนิ่งภาวะพักผ่อน ลองทานเมล็ดอัลมอนด์สัก 1 ช้อนโต๊ะก่อนนอนสัก 2 ชั่วโมง แล้วคุณจะรู้สึกผ่อนคลาย นิ่งจนอยากงีบนอน  

 

4.นม (Milk)

คงเคยได้ยินมาว่าการดื่มนมก่อนนอนนั้นจะทำให้หลับสบายขึ้น ถือว่าใช้ได้ค่ะเพราะการดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอนนั้นเป็นวิธีรักษาอาการนอนไม่หลับที่ดีและมีมายาวนานแล้ว การดื่มนมก่อนนอนเป็นการเตรียมตัวที่สำคัญ เพราะเป็นการส่ง สัญญาณไปที่สมองว่าได้เวลาเข้านอนแล้ว นอกจากนี้แคลเซียมในนมยังช่วยสมองจัดการทริปโทแฟนที่หลงเหลือ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เราง่วงนอน ซึ่งสรรพคุณของแคลเซียม (Calcium) คือ “ช่วยลดความเคร่งเครียด” เพราะอย่างนี้การดื่มนมอุ่นๆ ก่อนนอนสักหนึ่งแก้ว นอกจากไม่ต้องกลัวนอนไม่หลับแล้วยังไม่ต้องอยู่ในภาวะวิตกจริตและก็เบาเทาอาการครุ่นคิดเครียดกับการทำงานจากเมื่อตอนกลางวันไปได้เลยค่ะ

 

5.ข้าวโอ๊ต (Oat)

การเลือกรับประทานเมนูข้าวโอ๊ตที่คุณสมบัติของข้าวโอ๊ตนั้นเต็มไปด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ซึ่งล้วนช่วยให้เรานั้นหลับง่ายขึ้น ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้เลือกรบประทานข้าวโอ๊ตอุ่นๆก่อนนอน ข้าวโอ๊ตนอกจากราคาไม่แพงแล้วยังสามารถทำทานได้ง่ายอีกด้วยและควรหลีกเลี่ยงการปรุงรสหวาน ในสำหรับคนที่ชอบรสหวานควรเลือกใช้น้ำตาลเทียมใส่แทนจะดีกว่า การรับประทานรสหวานมากๆ อาจจะส่งผลตรงกันข้ามทำให้ตาสว่าง ไม่อยากหลับนอนซะอย่างนั้นเลยค่ะ

 

6.ไข่ต้ม (Egg)

การเลือกรับประทานเมนูไข่ต้มหรือจะทำเป็นไข่ตุ๋นก็เนื่องมาจากเป็นอาหารที่ย่อยง่ายพลังงานไม่เยอะ เพราะถ้านำไปทอดไปเจียวพลังงานจากน้ำมันก็จะเพิ่มขึ้นมาร่างกายก็จะต้องใช้เวลานานในการเผาผลาญ ทำให้ร่างกายตื่นตัว ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการนอนไม่หลับ ด้วยเหตุนี้มื้อเย็นจึงควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ซึ่งการปรุงด้วยการต้ม ตุ๋น และบางครั้งอาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากคุณไม่ได้กินโปรตีนเพียงพอ ลองหาไข่ต้มทานสักฟอง  แล้วคุณจะรู้สึกง่วงอย่างแน่นอน

 

7.น้ำผึ้ง (Honey)

ในสี่ชั่วโมงแรกของการนอนหลับ จะเป็นช่วงที่ต่อมใต้สมองจะไปกระตุ้นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ย่อยสลายไขมัน และการเลือกทานน้ำผึ้งจะไปช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ ทำให้เผาผลาญไขมันได้ดีมากขึ้น หรือลองใส่น้ำผึ้งสักช้อนในนมอุ่นๆจะช่วยให้หลับสบายขึ้น

 

8.เนื้อปลา (Fish)

เนื้อปลา ไม่ว่าจะเป็นปลาแซลมอล ทูน่า ปลาทู ถ้าวันไหนร่างกายมีภาวะเครียดสูงทำให้นอนหลับลำบาก หลับยากเหลือเกินขอให้นึกถึงเมนูจากปลาทะเล เนื่องจากปลาทะเลจะอุดมไปด้วยโอเมก้า3 ไขมันต่ำถ้าเทียบกับบรรดาเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ อีกทั้งยังมีแร่ธาตุแมกนีเซียมอีกด้วย ดังนั้นเนื้อปลาจึงมีสารอาหารที่ไปต่อต้านความเครียดจึงทำให้รู้สึกผล่อนคลายและหลับสบายง่ายขึ้นค่ะ

 

9.ถั่ว (Beans)

สำหรับคนที่อยากรับประทานอาหารเล่นก่อนนอน ถั่วเป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ อีกทั้งยังเหมาะสำหรับคนที่ตื่นกลางดึกบ่อยๆ ได้อีกด้วย เนื่องจากถั่วอุดมไปด้วยแมกนีเซียม แร่ธาตุที่ได้ ชื่อว่าเป็นยากล่อมประสาทโดยธรรมชาติ เพราะถั่วทำให้มีฤทธิ์ช่วยผ่อนคลาย โดยเฉพาะเมนู ถั่วแระ ถั่วแระโรยเกลือสักนิด ยิ่งถ้าใครอยู่ในภาวะวัยทอง มีอาการกระสับกระส่ายนอนไม่หลับ ซึ่งในถั่วแระมี เอสโตรเจน (Estrogen ฮอร์โมนเพศหญิง)ธรรมชาติ เหมือนถั่วเหลือง สามารถช่วยลดอาการวูบวาบอันเป็นฝันร้ายรบกวนคนวัยทองระหว่างนอนได้ด้วยค่ะ

 

10.เชอร์รี่ (Cherry)

เชอร์รี่ เป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ไม่ว่าจะเลือกรับประทานแบบสดๆ หรือแบบอบแห้งรวมไปถึงน้ำเชอร์รี่ โดยเชอร์รี่ที่มีรสชาติเปรี้ยวนี่แหละค่ะจะไปช่วยกระตุ้นฮอร์โมนเมลาโทนิน รักษาอาการนอนไม่หลับ เพราะอย่างนี้การดื่มน้ำเชอร์รี่ (Cherry juice) 1 แก้วก็ช่วยให้เรานอนหลับได้ค่ะ

 

11.ซีเรียล (Cereal)

ถ้าจะพูดถึงธัญพืชที่เราทราบกันดีก็คงจะเป็น ‘’ซีเรียล’’ซึ่งจัดอยู่ในธัญพืชที่หลายคนรู้จักและมักจะเลือกรับประทานกัน นอกจากจะหาซื้อง่ายและง่ายต่อการรับประทานแล้ว ซีเรียลแบบธรรมดาที่ไม่มีน้ำตาลเชื่อมมาเคลือบถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่ควรเลือกมารับประทานกันค่ะ ซีเรียลเป็นธัญพืชที่ไม่ขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุด ด้วย “คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) ที่มีอยู่ในซีเรียลจะช่วยเพิ่มเจ้าทริปโตเฟนในกระแสเลือด” นำซีเรียลผสมนมสักถ้วยก่อนนอนก็ทำให้ผ่อนคลายและหลับสบายได้ค่ะ

 

12.ซุปเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น (Miso soup)

ซุปเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น หรือ มิโซะซุป (Miso soup) ที่เราคุ้นเคยกันดีตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่มักจะถูกเสิร์ฟคู่มากับอาหารชุดญี่ปุ่นอยู่เสมอ ด้วยความที่ภายในมิโซะซุปนี้ประกอบไปด้วย กรดอะมิโน (Amino acids) ซึ่งทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนธรรมชาติที่เรียกว่า เมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งถูกสร้างโดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง เมื่อการหลั่งของเมลาโทนินเพิ่มขึ้นคนเราจะมีความรู้สึกตื่นตัวลดลงหรือเฉื่อยชาลงนั่นเอง รวมถึงอุณหภูมิของร่างกายก็เริ่มลดต่ำลง ทำให้เหมาะสำหรับการนอนมากขึ้น และระดับของเมลาโทนินจะลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเช้ามืดของวันใหม่นั่นเองค่ะ

 

13.ข้าว แป้งที่ไม่ผ่านการขัดสี

คาร์โบไฮเดรตที่ไม่ผ่านการขัดสีเป็นอีกตัวเลือกสำหรับคนที่รักสุขภาพกันอยู่แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่าในคนที่นอนไม่หลับหรือหลับลำบาก ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ควรนำมารับประทานค่ะ จำพวก ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้องงอก ข้าวไรส์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท โฮลเกรน หรือโรยข้าวด้วยจมูกข้าวเป็นประจำทุกมื้อเย็น จะทำให้ร่างกายเก็บสะสมทริปโตเฟน (Tryptophan) และกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในระบบประสาทส่วนกลาง ที่มีคุณสมบัติพิเศษช่วยให้ผ่อนคลายและทำให้นอนหลับได้ดี แต่ต้องรับประทานต่อเนื่องเป็นประจำนะคะ

 

14.ไก่งวง (Turkey)

เนื้อไก่งวงมีสารทริปโตฟาน (Tryptophan) ที่เป็นหนี่งใน 8 ของกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และยังเป็นสารตั้งต้นที่ส่งผ่านระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินท์ได้ (serotonergic neurons) ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมความหิว อารมณ์และความโกรธ จึงมีส่วนทำให้เรานอนหลับได้ดีขึ้นค่ะ

 

15. โยเกิร์ต (Yoghurt)

โยเกิร์ตสักถ้วยก่อนนอนในเวลาที่เรารู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ที่เกิดจากอาหารไม่ย่อยนั้น ลองหยิงโยเกิร์ตขึ้นมารับประทานสักถ้วย เนื่องจากจุลินทรีย์โปรไบโอติกในโยเกิร์ตจะไปช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ช่วยระบบการย่อยอาหาร โดยการไปกระตุ้นการทำงานของแบคทีเรียทำให้ร่างกายย่อยโปรตีน และดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อการนอนหลับได้ดีขึ้นและโยเกิร์ตก็ยังอุดมไปด้วยกรดอะมิโนทริปโตเฟน ช่วยทำให้ง่วงและหลับเร็วขึ้นกว่าปกติค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/jonahgs/167453161/

www.flickr.com/photos/kpwerker/2988199272/