Browse Tag: nutrition

16 ประโยชน์ต่อสุขภาพจากผักปวยเล้ง (Spinach)

Source: Flickr (click image for link)

“ผักปวยเล้ง (Spinach)” ผักปวยเล้งที่หลายคนมักสับสนว่านั่นคือผักโขมจากการ์ตูนเรื่องป๊อบอายที่เคยดูกันตอนเด็กๆ กันเมื่อตัวป๊อบอายได้กินผักที่ชื่อว่า Spinach เข้าไปจะทำให้ร่างกายแข็งแรงตัวโตขึ้น แต่จริงๆ แล้วผักโขมมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า ผักโขม (Amaranth) และผักใบเขียวทั้งสองชนิดนี้ก็เป็นพืชที่อยู่ตระกูลเดียวกันมีประโยชน์เหมือนกันค่ะ ผักปวยเล้งที่มีใบสีเขียวเข้มนี้ได้มีต้นกำเนิดมาจากทางตะวันออกกลางและแถบเปอร์เซียในสมัยโบราณนับพันๆ ปีมาแล้วค่ะ อีกทั้งยังเป็นผักที่ชาวอิหร่านนิยมรับประทานกันมากจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “Prince of Vegetables” กันเลยทีเดียว โดยจากชื่อที่นิยมเรียกกันว่าผักปวยเล้งออกเสียงเหมือนภาษาจีน ก็คงจะคิดว่ามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน แต่ความจริงแล้วการเพาะปลูกผักโขมได้มีการแพร่กระจายไปยังประเทศเนปาล ซึ่งในศตวรรษที่สิบเจ็ดได้นำไปเผยแพร่ที่ประเทศจีนและในขณะนั้นก็ยังคงเรียกกันว่า “เปอร์เซียกรีน” เหตุผลที่มีชื่อว่าผักปวยเล้ง ซึ่งดูเหมือนว่ามาจากประเทศจีน ก็เนื่องจากว่าผักปวยเล้งได้มีการบันทึกชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังจึงได้มีชื่อเป็นภาษาจีนไปโดยปริยายค่ะ นอกจากประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจจากผักปวยเล้งนี้แล้วประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการจากผักปวยเล้งก็ไม่ธรรมดาเลยค่ะ ดังนั้นวันนี้เราเลยอยากนำข้อมูลของประโยชน์ทางสุขภาพจากผักปวยเล้งมาบอกกัน

 

16 ประโยชน์ต่อสุขภาพจากผักปวยเล้ง (Spinach)

Source: Flickr (click image for link)

1.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง

การที่ผักปวยเล้งมีปริมาณโพแทสเซียมที่สูงมากอีกทั้งยังมีปริมาณโซเดียมต่ำ จึงส่งผลที่ประโยชน์ต่อผู้ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งโฟเลตที่มีอยู่ในผักปวยเล้งยังช่วยลดความดันโลหิตสูงและช่วยผ่อนคลายหลอดเลือดในขณะที่ยังรักษาระดับการไหลเวียนของโลหิตได้ดี จากการลดความดันโลหิตและผ่อนคลายความตึงของหลอดเลือด

2.บำรุงสายตา

เนื่องด้วยผักปวยเล้งมีวิตามินเอและสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่เรียกว่าเบต้าแคโรทีนที่สูง จึงไปช่วยสร้างสารโรดอปซินที่ส่งผลดีต่อการมองเห็นในเวลากลางคืนให้ดีขึ้นค่ะ  อีกทั้งยังเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระโดยไปต่อต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นซึ่งจะทำลายส่วนต่างๆ ของเซลล์ และทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติจนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย

 

3.มีประโยชน์ต่อระบบประสาท

ส่วนประกอบของผักปวยเล้ง จำพวก โปแตสเซียม โฟเลต และสารแอนตี้ออกซิแดนท์ต่าง ๆ เป็นประโยชน์ต่อระบบประสาทเมื่อเรารับประทานเป็นประจำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะโฟเลตสามารถช่วยบำรุงสมองเพิ่มความจำลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ อีกทั้งโพแทสเซียมยังเป็นส่วนสำคัญของสมองเช่นกันซึ่งมีความเชื่อมโยงเกี่ยวพันกับการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้เพิ่มขึ้น

 

4.ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

พบว่าผักปวยเล้งและผักบางชนิดมีความสามารถในการป้องกันเยื่อเมือกของกระเพาะอาหารที่จะไปช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ glycoglycerolipids ที่พบในผักปวยเล้งยังสามารถเพิ่มความแข็งแรงของเยื่อบุทางเดินอาหาร และป้องกันการอักเสบที่ไม่พึงประสงค์ในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอีกด้วยค่ะ

 

5.รักษาและป้องกันโรคมะเร็ง

ผักป้วยเล้งมีส่วนประกอบที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่างมากมาย อีกทั้งยังมีส่วนประกอบที่สำคัญที่พบว่ามีแนวโน้มในการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ อีกด้วยค่ะ โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งตับ และปอด ซึ่งส่วนประกอบสำคัญในผักปวยเล้งที่ว่านี้ คือ โฟเลต โทโคฟีรอล และคลอโรฟิลล์ ที่จะไปส่งผลต่อกลไกต่างๆ ในร่างกายและช่วยในการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งค่ะ

 

6.ลดการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา

Retinitis pigmentosa หรือ โรคอาร์พี (ตัวย่อ RP) เป็นโรคจอตาเสื่อมที่สามารถสืบทอดทางกรรมพันธุ์ที่เป็นเหตุแห่งความเสียหายต่อการเห็นอย่างรุนแรงถึงขั้นตาบอด ซึ่งเป็นผลมาจากการเสื่อมของ lutein และ xanthene ที่เป็นส่วนสำคัญของม่านตา แต่แล้วก็พบว่าการบริโภคผักปวยเล้งอาจส่งผลในการฟื้นฟูของเม็ดสีที่สำคัญสองสีและป้องกัน AMD ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผักปวยเล้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดผลกระทบที่เป็นอันตรายของอนุมูลอิสระซึ่งเป็นที่รู้กันว่าส่งผลเสียต่อวิสัยทัศน์และทำให้เกิดสภาวะที่เกี่ยวข้องกับอายุ เช่น โรคต้อหิน

 

7.ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทารกในครรภ์

สิ่งที่จำเป็นต่อเด็กทารกในครรภ์ในส่วนของการเจริญเติบโตของระบบประสาทของทารกน้อยนั้นก็คือ โฟเลตค่ะ ซึ่งในผักปวยเล้งมีสารสำคัญนี้อยู่ไม่น้อยเลยค่ะ โดยโฟเลตนี้จะช่วยแก้ไขข้อบกพร่องจำพวก โรคปากแหว่งเพดานโหว่ หรือ spina bifida ที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดโฟเลต อีกทั้งเมื่อคุณแม่รับประทานผักปวยเล้งเข้าไปนอกจากโฟเลตที่ได้รับยังจะได้รับวิตามินเอที่มีในผักปวยเล้งอีกด้วย ซึ่งวิตามินเอเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาปอดของทารกในครรภ์ได้ดีและสามารถถ่ายทอดทางน้ำนมได้อีกด้วยค่ะ ดังนั้นการบริโภคผักปวยเล้งจึงเหมาะแก่การรับประทานหลังคลอดด้วยเช่นกันค่ะ

 

8.ลดการอักเสบ

เนื่องด้วยในผักปวยเล้งพบว่าสารต้านการอักเสบอยู่มากมายหลายชนิดเลยทีเดียว โดยถูกแบ่งจำแนกเป็น methylenedioxy flavonoid และ glucuronides อีกทั้งผักปวยเล้งยังเป็นผักที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดการอักเสบทั่วตามร่างกาย รวมถึงการป้องกันโรคมะเร็งและการการป้องกันหัวใจจากการอักเสบซึ่งก่อให้เกิดอันตราย โดยยังไปลดการอักเสบของอาการปวดที่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบและโรคเกาต์อีกด้วยค่ะ

 

9.เสริมสร้างกล้ามเนื้อ

ในผักปวยเล้งมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อจากโคเอ็นไซคิวเท็น (Co – Q10) ซึ่งสารสำคัญตัวนี้ยังช่วยป้องกันและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายชนิดได้จากการที่ไปช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้แข็งแรงในการสูบฉีดเลือดไปใช้ในทุกส่วนของร่างกายเรา จึงส่งผลในการลดภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนั่นเองค่ะ

 

10.ช่วยเร่งการเผาผลาญ

ผักปวยเล้งติดอันดับต้นๆ ของอาหารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญซึ่งเป็นหัวข้อที่ได้โพสไปไม่นานมานี้ค่ะ ซึ่งก็เหมาะทีเดียวกับคนที่ต้องการคบวคุมน้ำหนักหรือต้องการโปรตีนจากพืชผัก เนื่องจากปริมาณโปรตีนที่พบในผักปวยเล้งช่างน่าสนใจกว่าผักหลายชนิดเลยทีเดียว อีกทั้งยังพบว่าสามารถย่อยสลายได้ง่ายจากเอนไซม์ของกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อมนุษย์และผักปวยเล้งยังสามารถลดความกระหายและความหิวซึ่งสามารถช่วยในการลดน้ำหนักได้อีกด้วยค่ะ

 

11.ป้องกันภาวะหลอดเลือดแข็ง

โรคภาวะหลอดเลือดแข็งไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับใครก็คงเป็นฝันร้ายและคงไม่มีใคอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างแน่นอน ซึ่งภาวะหลอดเลือดแข็งนี้เกิดจากการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง เม็ดสีที่สำคัญที่พบในผักปวยเล้ง คือ lutein พบว่าสามารถช่วยลดการเกิดภาวะหลอดเลือด หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดในสมอง อีกทั้งโปรตีนจากผักปวยเล้งยังมีแนวโน้มลดคอเลสเตอรอลและไขมันในเส้นเลือดอื่น ๆ ในร่างกายอีกด้วยค่ะ

 

12.ช่วยเสริมสร้างกระดูก ฟัน และเล็บ

ถ้ามองหาอาหารเพื่อรับประทานในการเสริมสร้างกระดูกและฟันอยู่แล้วล่ะก็ ลองเดินออกไปที่ซุปเปอร์มาเก็ตแล้วอย่ารีรอที่จะหยิบผักปวยเล้งมาประกอบอาหารหรือจะรับประทานแบบสดๆ ก็ไม่ว่ากัน เนื่องจากผักปวยเล้งเป็นแหล่งสุดยอดของวิตามินเค โดยวิตามินเคจะไปทำหน้าที่ในการรักษาแคลเซียมไว้ในเมทริกซ์กระดูก ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดแร่ธาตุกระดูก นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุอื่น ๆ อย่างเช่นแมงกานีส ทองแดง แมกนีเซียม สังกะสี และฟอสฟอรัสที่จะไปช่วยในการสร้างกระดูกให้แข็งแรงอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุนด้วยเช่นกันค่ะ

 

13.ปกป้องผิวพรรณ

สารต่อต้านอนุมูลอิสระจาก phytonutrients ในผักปวยเล้งได้ส่งผลต่อสุขภาพผิวของเราโดยการทำให้ผิวเราแข็งแรงขึ้น ปกป้องผิวของเราจากรังสีที่เป็นอันตรายจากแสงอาทิตย์รวมทั้งรังสียูวี นอกจากปกป้องผิวเราให้แข็งแรงแล้วยังช่วยซ่อมยีนส์ที่เกิดจากความเสียหายด้วยค่ะ เพราะอย่างนี้จึงส่งผลที่สำคัญต่อการป้องกันมะเร็งผิวหนังในระยะยาว

 

14.มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารก

จากการ์ตูนเรื่องป๊อบอายที่เมื่อรับประทานผักปวยเล้งแล้วจะทำให้ร่างกายโตขึ้นและแข็งแรงเพื่อการต่อสู้ปกป้องคนที่เขารักได้นั้นก็เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กๆ ที่ไม่ชอบทานผักได้หันมาทานผักกัน โดยเฉพาะผักปวยเล้งที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุมากมายที่ดีต่อการการพัฒนาตามวัยของการเจริญเติบโตที่สำคัญของเด็ก จึงมีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเด็กนั่นเองค่ะ

 

15.ลดความเสี่ยงต่อโรคต้อกระจก

พบว่าสารที่อยู่ในผักปวยเล้งอย่าง lutein และ zeaxanthin ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อสุขภาพสายตา โดยสามารถช่วยในการป้องกันดวงตาจากผลกระทบที่รุนแรงของรังสียูวีที่สามารถนำไปสู่ต้อกระจก นอกจากนี้ยังลดผลกระทบของอนุมูลอิสระซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญของต้อกระจกและภาวะสายตาอื่น ๆ อีกด้วยค่ะ

 

16.ดีต่อการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

ดีอย่างไรน่ะหรอ? พบว่าผักปวยเล้งมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการรุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเกี่ยวข้องกับสาร Epoxyxanthophylls (อีพ็อกซี่แซนโทฟิล) ที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มของคาโรทีนอยด์ เช่นเดียวกับสาร neoxanthin และ violaxanthin ซึ่งสารสำคัญนี้จะไปช่วยยับยั้งและต่อต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอกที่ทำการแพร่กระจายของมะเร็งตามทั่วร่างกายได้อย่างรวดเร็ว

 

จะเห็นได้ว่าผักปวยเล้งมีคุณค่าทางโภชนาการมากมายและดีต่อสุขภาพหลายอย่างจนอยากจะซื้อมารับประทานให้ได้ทุกวันยิ่งดี แต่อย่างไรก็ดีการเลือกรับประทานแบบพอดีพอเหมาะจะเป็นทางเลือกที่ดีเสมอ เนื่องจากข้อควรระวังของการเลือกรับประทานผักปวยเล้งคือ เมื่อได้รับประทานมากเกินไปกรดออกซาลิกที่อยู่ในผักปวยเล้งอาจจะไปรวมตัวกับแคลเซียมแล้วเกิดการตกตะกอนจนก่อให้เกิดโรคนิ่วเอาได้ โดยเฉพาะอาจจะต้องพึงระวังกันเป็นพิเศษสำหรับคนที่เป็นโรคนิ่วหรือโรคเกาต์ค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/smiteme/8256262560/

www.flickr.com/photos/joeyz51/39014341550/

ผักเคล (Kale) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

“ผักเคล” (Kale) อีกหนึ่งชนิดของผักใบสีเขียวเข้มที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดของอาหารหรือ Super Food นั่นเองค่ะ ถ้าได้ถูกยกให้ไปอยู่ในลำดับของสุดยอดของอาหารแล้วถือว่าเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเชื่อว่ามีอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักกับผักใบเขียวเข้มชนิดนี้กันมากนัก จึงอยากจะนำข้อมูลรายละเอียดทั้งผักเคลมีความเป็นมาและมีประโยชน์อย่างไรบ้างมานำเสนอกันในวันนี้ค่ะ ด้วยคำที่เราเคยได้ยินมาแต่เด็กๆ ว่า “กินผักแล้วจะได้แข็งแรง” วันนร้เราจะมารู้กันว่ากินผักแล้วจะแข็งแรงยังไง บางคนจะทานผักทีแสนยากเย็นโดยเฉพาะผักที่มีสีเขียวเข้ม ไหนจะบอกว่าเหม็นเขียวบ้าง ขมบ้าง ไม่อร่อยเอาซะเลย แต่ถ้าคุณได้มารู้จักและเห็นคุณค่ากับประโยชน์ที่ได้รับแล้ว ต้องบอกได้เลยว่าคุณค่าทางโภชนาการที่คุณจะได้รับจะต้องทำให้เปลี่ยนใจอย่างแน่นอน ลักษณะของผักเคลจะมีใบที่หยิกสีเขียวเข้มหลายคนเรียก ผักคะน้าใบหยิก ด้วยรสชาติที่คล้ายคลึงกับผักคะน้าแต่ก็ไม่แปลกใจเลยเนื่องจากผักเคลเป็นพืชผักที่อยู่สายพันธุ์เดียวกับผักคะน้า โดยผักเคลเป็นผักที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปลีเช่นเดียวกับบล็อคโคลี่ จะเห็นได้ว่าผักที่อยู่ในตระกูลนี้จะมีคุณค่าทางอาหารจะไม่แตกต่างกันมาก

ความเป็นมาของผักเคล เมื่อถึงสิ้นยุคกลางได้มีการถูกค้นพบของผักเคลและผักเคลก็เป็นพืชผักสีเขียวเข้มที่เห็นได้ทั่วไปในทวีปยุโรป จริงๆ แล้วพืชผักใบหยิกสายพันธุ์ของกะหล่ำปลีกับผักสายพันธุ์ใบเรียบแบนได้มีอยู่แล้วตั้งแต่ศตวรรษที่สี่ในกรีซ อีกทั้งยังถูกใช้เป็นยารักษาในรูปแบบของอาหารซึ่งใช้เพื่อรักษาโรคลำใส้ ถึงขนาดที่ชาวโรมันได้ขนานนามว่า “Sabellian Kale” โดยผักเคลได้ถูกยกให้เป็นบรรพบุรุษสมัยใหม่ ต่อมาผักเคลได้เข้าไปยังทวีปอเมริกาเหนือโดยอาณานิคมในศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้นผักเคลของรัสเซียได้ถูกนำเข้าสู่ประเทศแคนาดาจนเข้าสู่สหรัฐอเมริกาโดยพ่อค้าชาวรัสเซียในศตวรรษที่ 19 และคงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามาสมัยนี้คนรักสุขภาพหันมานิยมรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะจาก Super Food อย่างผักเคลที่ส่วนใหญ่จะนำมาปั่นเป็นสมูทตี้แบบ Green Smoothies ดื่มน้ำผักกันให้เห็นทั่วไป ด้วยความเบื่อหน่ายของสุขภาพที่ย่ำแย่ ขับถ่ายไม่ปกติ รู้สึกสุขภาพที่แย่ หลายคนยอมเปลี่ยนการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพนั่นเป็นสิ่งที่ดีและควรเป็นอย่างยิ่ง สมัยนี้มีอาหารมากมายหลายร้อยชนิดให้เลือกรับประทานแต่ถ้าคุณเลือกรับประทานที่ถูกและเหมาะสมต่อร่างกาย รับรองสุขภาพที่ดีไม่ไกลเกินเอื้อมค่ะ

 

ผักเคล (Kale) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

ได้กล่าวถึงความเป็นมาและประโยชน์ของผักเคลไปบ้างแล้ว การที่จะได้ถูกยกให้เป็น Super Food แน่นอนว่าต้องไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ผักเคลได้ถูกเรียกว่าเป็น “The new beef” และยังได้รับการยอมรับว่าเป็น “The queen of green” หรือราชินีแห่งผักใบเขียว รวมถึงเป็น “A nutritional housepower” การที่จะได้รับฉายาต่างๆ มาได้ย่อมมีที่มาที่ไปค่ะ เพราะฉะนั้นอันดับแรกเรามาดูสารอาหารที่พบในผักเคลก่อนเลยดีกว่าค่ะ

คุณค่าทางโภชนาการของ ผักเคล

ผักเคลปริมาณ 100 กรัม มีพลังงาน 49 กิโลแคลอรี่

 

                                                                                           ค่าเปอร์เซ็นต์ต่อวัน

ไขมันทั้งหมด 0.9 กรัม                                                                    1%

ไขมันอิ่มตัว 0.1 กรัม                                                                         0%

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.3 กรัม

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0.1 กรัม

โคเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม                                                              0%

โซเดียม 38 มิลลิกรัม                                                                       1%

โพแทสเซียม 491 มิลลิกรัม                                                           14%

คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 10 กรัม                                                      2%

                  ใยอาหาร 2 กรัม                                                              8%

โปรตีน 4.3 กรัม                                                                                8%

วิตามินเอ                                                                                       199%

วิตามินซี                                                                                        200%

วิตามินเค                                                                                       881%

แคลเซียม                                                                                        15%

เหล็ก                                                                                                8%

วิตามินดี                                                                                           0%

วิตามินบี 6                                                                                       15%

วิตามินบี 12                                                                                       0%

แมกนีเซียม                                                                                      11%

 

จะเห็นได้ว่าผักเคลปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงานที่ต่ำมากเพียง 49 กิโลแคลอรี่ เท่านั้น จากค่าสารอาหารต่างๆ ในผักเคลเรามาดูรายละเอียดของคำขนานนามขึ้นชื่อของผักเคลกันค่ะ

“The new beef” ถ้าเรามองค่าโปรตีนที่มีในผักเคลจะอยู่ที่ 4.3 กรัม ซึ่งในพืชผักจะถือว่าอยู่ในค่าที่สูงไม่น้อยเลยล่ะค่ะ ซึ่งไม่เพียงแต่โปรตีนที่เราจะได้รับในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โดยความสามารถในการต้านการอักเสบของผักเคลเป็นผักไม่มีใครเทียบได้ในผักใบเขียวที่ปราศจากไขมันแล้วแต่กลับมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เป็นกรดไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกายอย่างโอเมก้า 3 อยู่ซึ่งจะไปช่วยต่อสู้กับโรคข้ออักเสบ โรคหอบหืดและความผิดปกติของภูมิต้านทานเนื้อเยื่อ โรคหัวใจและโรคภูมิต้านตนเอง ทั้งยังเทียบเคียงมากับปริมาณแคลเซียมในผักเคลที่สูงมากกว่านมวัวถึงสามเท่าอีกด้วยค่ะ เห็นอย่างนี้แล้วไม่แปลกใจเลยทำไมผักเคลถึงได้ถูกเรียกว่าเป็น “The new beef”

“The queen of green” หรือราชินีแห่งผักใบเขียว ผักใบเขียวมีมากมายหลายชนิดเต็มไปหมด ฉะนั้นการได้รับตำแหน่งนี้มาไม่ง่ายอย่างแน่นอนจริงไหมคะ ด้วยความกรีนความเขียวของผักเคลก็ต้องย้อนกลับไปดูค่าของเส้นใยอาหารก่อนเลยค่ะ และแล้วก็เห็นได้ว่าค่าเส้นใยนั้นสูงลิ่วเลย ด้วยกากใยอาหารที่สูงจะช่วยในการดีท๊อกซ์ลำใส้ช่วยลดปัญหาของโรคลำใส้ให้หมดไป ดังนั้นไม่ต้องสงสัยว่าเดินออกจากบ้านไปเห็นหลายคนนำมาทำเป็นสมูทตี้ใส่แก้วถือดื่มแบบชิคๆ ทุกเช้านี่ไม่ใช่แค่เพียงโชว์ความคูลแต่มันคือความเฮลทตี้แบบวินวินนั่นเองค่ะ

“A nutritional house power” แหล่งสะสมของพลังงานสารอาหารรวมอยู่ในผักเคลหนึ่งเดียวนี้เท่านั้น ไม่ต้องไปหาหลายชนิดหลายอย่างมีแค่ผักเคลก็ได้รับสารอาหารที่เปี่ยมล้น ไม่ว่าจะเป็น โปรตีน กรดไขมันโอเมก้า 3 เส้นใยอาหาร แร่ธาตุอาหารอย่าง แมกนีเซียม แคลเซียม เหล็ก โซเดียม และโพแทสเซียม เท่านั้นยังไม่พอ ยังเป็นแหล่งของวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค และวิตามินบี 6 โดยเฉพาะค่าวิตามินเอ วิตามินเค และวิตามินซี ที่มีอยู่สูงมาก นอกจากนี้ยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูงอีกด้วยค่ะ เยอะแยะมากมายในหนึ่งเดียวขนาดนี้คงต้องยอมรับกับฉายานี้แล้วล่ะ

“Super Food” จากข้อมูลข้างต้นคงปฎิเสธกับการถูกยกให้เป็นหนึ่งในสุดยอดของอาหารไม่ได้เลยใช่ไหมล่ะ ด้วยคุณค่าสารอาหารทางโภชนาการที่มีในผักเคลได้ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างไม่น่าเชื่อว่าผักใบสีเขียวอย่างนี้จะมีได้เยอะถึงขนาดนั้น นอกจากวิตามินที่มีมากมายในผักเคลแล้วสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่อยู่ในผักเคลอย่าง ฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ โดยผักเคลมีจำนวน flavonoids ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายรวมทั้งสารประกอบฟีนอลิกและกรด hydroxycinnamic สามชนิดซึ่งสามารถช่วยรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติและช่วยขจัดอนุมูลอิสระที่เป็นอันตรายในร่างกาย ซึ่งผักเคลมี flavonoids ที่สำคัญที่สุด 2 ชนิด ได้แก่ kaempferol และ quercetin อีกทั้งสารต่อต้านอนุมูลอิสระในผักเคลนั้นยังช่วยในการซ่อมแซมเซลล์ดีเอ็นเอในขณะเดียวกันก็ชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่รวมไปถึงอาหารที่มีวิตามินเคสูงอย่างผักเคลอีกด้วย นอกจากนี้ยังจำเป็นสำหรับการทำงานทางร่างกายต่างๆ อีกมากมายรวมถึงสุขภาพของกระดูกและการแข็งตัวของเลือด ทั้งนี้การมีวิตามินเคที่เพิ่มขึ้นจะสามารถช่วยทุเลาความทรมานจากโรคอัลไซเมอร์ วิตามินเอที่สูง ของผักเคลจะช่วยในเรื่องของสุขภาพของผิวพรรณและสายตา ป้องกันมะเร็งปอดและมะเร็งในช่องปาก วิตามินซีสูง ของผักเคลจะช่วยในระบบเผาผลาญของเราให้ดีขึ้นและช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ทั้งยังสร้างความสดชื่นให้กับร่างกายด้วนค่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นยังพบว่าประสิทธิภาพของสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินหลากหลายชนิดในผักเคลจะลดลงเมื่อผ่านความร้อน ดังนั้นการนำมารับประทานแบบสดๆ เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ

 

www.flickr.com/photos/27129991@N03/10628307945/

www.flickr.com/photos/gvhetzel/5349803117/

ผักปวยเล้ง (Spinach) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

“ผักปวยเล้ง (Spinach)” เป็นผักที่จัดอยู่ในประเภทของผักที่มีสีเขียวเข้มซึ่งก็มีใครหลายๆ คนหลงเข้าใจผิดกันว่านั่นคือ ผักโขม (Amaranth) อย่างไรก็ตามผักทั้งสองชนิดนี้ก็จัดเป็นผักที่อยู่ในตระกูลเดียวกันและmี่สำคัญผักทั้งสองชนิดนี้มีประโยชน์ไม่ต่างกันเลยค่ะ แต่ทว่าวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจและพูดถึงผักปวยเล้งกันก่อนค่ะ เนื่องจากส่วนใหญ่เราจะเห็นผักชนิดนี้กันบ่อยเลยอยากมาทำความรู้จักและทราบถึงคุณค่ากับประโยชน์มีอะไรมากน้อยอย่างไรค่ะ ถ้าใครเคยดูการ์ตูนเรื่องป๊อบอายกันคงจะเห็นผักที่มีชื่อว่า Spinach ที่ป๊อบอายกินเพื่อเพิ่มพลังในการต่อสู้กับศัตรู โดยหลายๆ คนเข้าใจว่านั่นคือผักโขม แต่ความจริงแล้วคือผักปวยเล้งนั่นเองค่ะ ด้วยคาแรคเตอร์ของตัวการ์ตูนที่เราได้เห็นกันเมื่อได้กินผักปวยเล้งเข้าไปก็จะทำให้ตัวโตขึ้นและมีพลังแข็งแรงขึ้น นั่นก็เพื่อถ่ายทอดให้เป็นแรงจูงใจกับเด็กๆ ที่ไม่ชอบกินผักหรือกินยากได้เกิดมีความอยากแข็งแรงและตัวโตเหมือนกับตัวการ์ตูนที่เป็นฮีโร่ของพวกเขาเมื่อกินผักปวยเล้งเข้าไป และก็แน่นอนว่าผักปวยเล้งต้องมีอะไรดีหรือมีประโยชน์สักอย่างแน่นอนถึงได้นำมาสร้างเป็นการ์ตูนซะขนาดนี้จริงไหมล่ะคะ วันนี้เลยขอนำข้อมูลเหล่านี้มาให้อ่านกันโดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆ คนค่ะ  

 

ผักปวยเล้ง (Spinach) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

Source: Flickr (click image for link)

ผักปวยเล้งเป็นพืชผักใบสีเขียวเข้มที่อยู่ในตระกูล Amaranthaceae ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ของมันคือ Spinacia oleracea Linn. ตัวผักปวยเล้งเป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูและนิยมรับประทานกันอย่างมากในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งก็หาซื้อง่ายและราคาไม่แพงค่ะ ส่วนใหญ่เราจะเห็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและเห็นได้ทั่วไปคงเป็นการนำผักปวยเล้งมาอบชีส แต่ความจริงแล้วผักปวยเล้งในคนที่กินผักยากก็สามารถเริ่มจากการนำมาปั่นแล้วดื่มเป็นสมูทตี้ก่อนหรือนำไปต้มลงในซุป ส่วนถ้าใครที่ชอบกินแบบสดๆ ก็อาจนำไปผสมเป็นสลัดหรือสอดใส้แซนวิสแม้กระทั่งนำไปผัดเป็นอาหารเคียงกินกับสเต็ก ส่วนถ้าเป็นแบบอาหารบ้านเราก็อาจจะนำมาผัดแบบน้ำมันหอย เติมลงในแกงจืด หรือกินกันแบบสดๆ โดยจิ้มกับน้ำพริกก็ไม่เลวเลยนะคะ ด้วยการพูดชื่อของผักปวยเล้งที่เพี้ยนจนกลายเป็น Spinach จนมาถึงทุกวันนี้ โดยผักปวยเล้งใบสีเขียวเข้มนี้มีต้นกำเนิดมาจากทางตะวันออกกลางและแถบเปอร์เซียในสมัยโบราณนับพันๆ ปีมาแล้ว อีกทั้งยังเป็นผักที่ชาวอิหร่านนิยมรับประทานกันอย่างมากจนได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “Prince of Vegetables” กันเลยทีเดียว และการเพาะปลูกผักปวยเล้งก็ได้มีการแพร่กระจายไปยังประเทศเนปาลจนในศตวรรษที่สิบเจ็ดได้ถูกนำไปเผยแพร่ยังประเทศจีนและก็ยังคงเรียกกันว่า “เปอร์เซียกรีน” จนในช่วงศตวรรษที่ 11 ชาวอิหร่านได้นำมาเผยแพร่ให้กับชาวสเปนและเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา และเหตุผลที่ชื่อว่าผักปวยเล้งที่ดูเหมือนว่ามาจากประเทศจีน ก็เนื่องจากว่าผักปวยเล้งได้มีการบันทึกชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของราชวงศ์ถังจึงได้มีชื่อเป็นภาษาจีนไปโดยปริยายค่ะ เราก็ได้ทราบถึงต้นกำเนิดของ ผักปวยเล้ง (Spinach) กันไปแล้ว เรามาดูกันว่าเจ้าผักใบสีเขียวเข้มนี้จะมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

 

คุณค่าทางโภชนาการของผักปวยเล้ง (Spinach)

ผักปวยเล้งใบสดๆ ปริมาณ 100 กรัม

พลังงาน 23 กิโลแคลลอรี่

พลังงานจากไขมัน 3 กิโลแคลลอรี่

 

                                                                                                        % ต่อวัน

ไขมันทั้งหมด                         0  กรัม                                                 0

คลอเลสเตอรอล                    0  กรัม                                                  0

คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด         4   กรัม                                                  1

     เส้นใยอาหาร                      2   กรัม                                                  9

     น้ำตาล                                0   กรัม

โปรตีน                                   3   กรัม

โซเดียม                                79   มิลลิกรัม                                          3

โพแทสเซียม                     588 มิลลิกรัม                                          15

แมกนีเซียม                         19%

แคลเซียม                            10%

เหล็ก                                    15%

วิตามินเอ                           188%

วิตามินซี                             47%

วิตามินบี 6                          10%

จะเห็นได้ว่าค่าเปอร์เซ็นต์ต่อวันที่ร่างกายเราจะได้รับปริมาณของสารอาหารต่างๆ จากผักปวยเล้งสดปริมาณ 100 กรัม นอกจากไม่มีไขมันแล้วยังจัดอยู่ในผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำมากแต่กลับมีเส้นใยอาหารที่สูง รวมถึงเป็นผักที่มีโปรตีนอีกด้วย วิตามินและแร่ธาตุต่างๆ จะเห็นได้เด่นๆ เลยคือ ธาตุเหล็ก แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 6 และวิตามินซี อยู่ในระดับที่สูง โดยผักปวยเล้งจะให้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้

  • บำรุงสายตา
  • ช่วยลดการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  • รักษาความดันโลหิตสูง
  • ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
  • ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  • ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ
  • ลดความเสี่ยงต่อต้อกระจก
  • ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
  • ป้องกันภาวะหลอดเลือด
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ลดการอักเสบ
  • ช่วยพัฒนาการของทารกในครรภ์
  • รักษาและป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงประสาท

 

 

www.flickr.com/photos/ivanlian/7274599818/

www.flickr.com/photos/cindyshebley/38019918575/

9 สุดยอดประโยชน์ต่อสุขภาพจากแครนเบอร์รี่

Source: Flickr (click image for link)

ถ้าพูดถึงผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ผลไม้ชนิดแรกๆ ที่เราจะนึกถึงก็คงจะเป็นพวก สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เป็นอย่างแรกเลยใช่ไหมล่ะคะ นอกจากนี้แล้วยังมีราสเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่จะมาพูดถึงวันนี้คือผลไม้ที่มีชื่อว่า “แครนเบอร์รี่” (Cranberry) ค่ะ ขึ้นชื่อว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ก็จัดว่าเป็นสุดยอดอาหารที่ดีต่อสุขภาพอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ด้วยผลไม้ตระกูลนี้จะมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่โดดเด่นกันไปในแต่ละชนิด ไม่เพียงแค่รสชาติที่อร่อยเท่านั้นคนที่รักสุขภาพจะทราบกันเป็นอย่างดีและเลือกที่จะนำมารับประทานและประกอบอาหารกันอยู่เสมอ จากหัวข้อเกี่ยวกับผลไม้แครนเบอร์รี่ที่จะนำข้อมูลมาแบ่งกันในวันนี้ เนื่องจากเราไม่ค่อยจะคุ้นหูกันเท่าไหร่และอาจจะมีหลายคนที่ยังไม่รู้จักกันว่าผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ยังมีอีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์ไม่แพ้กันเลยอย่าง แครนเบอร์รี่ อยู่นะ ใครที่คุ้นหูผ่านตากันมาบ้างแต่ยังไม่รู้จักมากนักรวมถึงคนที่ยังไม่รู้จักเลยมันคืออะไรกันนะ จึงหวังว่าข้อมูลของผลไม้ชนิดนี้จะเป็นประโยชน์และเป็นอีกตัวเลือกของผลไม้เพื่อสุขภาพอีกหนึ่งชนิดนะคะ

ผลไม้ที่มีชื่อว่า แครนเบอร์รี่ มาจากไหนนะ

เรามาเริ่มเกริ่นและทำความเข้าใจความเป็นมาของผลไม้ชนิดนี้กันก่อนเลยค่ะ แครนเบอร์รี (Cranberries) เป็นผลไม้ที่อยู่ในตระกูลเบอร์รี่โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vaccinium macrocarpon ผลไม้แครนเบอร์รี่ถือกำเนิดขึ้นในแถบทางเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกาและทางตอนใต้ของประเทศแคนนาดาโดยจะมีมากกว่าแครนเบอร์รี่ที่เกิดตามธรรมชาติในทางตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกาและทั่วทวีปยุโรปค่ะ มีลักษณะเป็นผลทรงกลมรีที่มีผลสุกแล้วเป็นสีแดงสดอยู่ในลักษณะเป็นพวง ผิวของผลแครนเบอร์รี่จะลื่นและมันวาว รสชาติเปรี้ยวอมฝาด มีกลิ่นหอม ซึ่งชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดียนิยมนำมาปรุงอาหารและจัดเตรียมคล้ายกับวันสำคัญตามประเพณีของชาวอเมริกัน โดยนำมาอบแห้งและเติมรสชาติให้มีความหวานจากน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเมเปิ้ล พบว่าสมัยอาณานิคมชาวอาณานิคมได้เริ่มนำผลไม้แครนเบอร์รี่ส่งออกกลับบ้านกันในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ค่ะ แครนเบอร์รี่จะสามารถเก็บได้เป็นปีถ้าเรานำไปเก็บในรูปแบบแช่แข็ง ต้นแครนเบอร์รี่จะเริ่มสุกงอมเป็นสีแดงฉ่ำมากพร้อมเก็บในช่วงเดือนตุลาคม ส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเก็บโดยการแช่แข็งและนำมาปรุงอาหารหรือรับประทานกันได้ตลอดทั้งปีค่ะ

 

แครนเบอร์รี่มีประโยชน์อะไรบ้าง

Source: Flickr (click image for link)

ส่วนใหญ่ในช่วงวันคริสมาสต์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะนิยมนำมาแครนเบอร์รี่มาตกแต่งตามต้นคริสมาสต์ให้มีสีแดงสดใสสวยงาม ไม่เพียงแค่นั้นยังนิยมนำมาประกอบอาหารหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มรวมถึงเป็นอาหารว่างด้วย ก่อนอื่นเรามาดูคุณค่าทางโภชนาการของผลไม้ที่ชื่อว่าแครนเบอร์รี่ว่ามีอะไรบ้างค่ะ

คุณค่าทางโภชนาการของแครนเบอร์รี่

แครนเบอร์รี่ปริมาณ 1 ถ้วย 100 กรัม มีปริมาณแคลอรี่ 46 กิโลแคลอรี่

                                                                                                  ค่าเปอร์เซ็นต์ต่อวัน

ไขมันทั้งหมด 0.1 กรัม                                                                         0%

ไขมันอิ่มตัว 0 กรัม                                                                                 0%

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 0.1 กรัม

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว 0 กรัม

โคเลสเตอรอล 0 มิลลิกรัม                                                                   0%

โซเดียม 2 มิลลิกรัม                                                                              0%

โพแทสเซียม 85 มิลลิกรัม                                                                   2%

คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด 12 กรัม                                                           4%

                  ใยอาหาร 5 กรัม                                                                 18%

                   น้ำตาล 4 กรัม

โปรตีน 0.4 กรัม                                                                                    0%

วิตามินเอ                                                                                                1%

วิตามินซี                                                                                               22%

แคลเซียม                                                                                              0%

เหล็ก                                                                                                      1%

วิตามินดี                                                                                                 0%

วิตามินบี 6                                                                                              6%

วิตามินบี 12                                                                                           12%

แมกนีเซียม                                                                                            1%

 

9 สุดยอดประโยชน์ทางด้านสุขภาพจากแครนเบอร์รี่

 

1.แครนเบอร์รี่มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระและสารพฤษเคมี จำพวก oligomeric proanthocyanidins, anthocyanidin flavonoids (ซึ่งให้สีแดงสดใส), cyanidin, peonidin และ quercetin ที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่ส่งผลที่ดีต่อสุขภาพ โดยความเข้มของ anthocyanidin ในแครนเบอร์รี่จะไปช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและโรคหัวใจ

 

2.น้ำแครนเบอร์รี่ขึ้นชื่อในด้านประสิทธิภาพของการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (UTIs) แครนเบอร์รี่ได้ถูกนำมาใช้เป็นเวลาหลายปีในการรักษาป้องกันไม่ให้เกิดโรค UTIs พบว่าระดับสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูงที่เรียกว่า proanthocyanidins จะไปช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากการติดเชื้อจากกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะค่ะ

 

3.แครนเบอร์รี่ยังช่วยป้องกันมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านมเนื่องจากสารโพลีฟีนอลที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ

 

4.จากคุณค่าทางโภชนาการจะเห็นได้เด่นชัดว่าค่าเส้นใยในแครนเบอร์รี่สูงมากจึงช่วยในเรื่องของการขับถ่ายและดีท๊อกซ์ อีกทั้งยังมีวิตามินซีกับวิตามินอี (อัลฟาโทโคฟีรอ) ที่อยู่ในรูปแบบของสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพต่อสุขภาพร่างกายเราค่ะ

 

5.แผลอักเสบ แครนเบอร์รี่แสดงให้เห็นว่ามีฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหาร ระบบหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะเยื่อบุผนังของผนังลำไส้ของเรา

 

6.สุขภาพฟัน ขณะเดียวกันสาร phytonutrients ในแครนเบอร์รี่ชนิดเดียวกับที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการ UTIs กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพฟันของเราโดยป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่เกาะติดกับฟันของเรา โดยผลการต้านการอักเสบของ phytonutrients เหล่านี้ยังสามารถช่วยในการลดการอักเสบข้างในและรอบๆเหงือกของเรา ซึ่งจะไปช่วยลดความเสี่ยงของโรค periodontal ด้วยค่ะ

 

7.การเลือกรับประทานแครนเบอร์รี่แบบสดๆ จะได้รับสารต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด รองลงมาจะเป็นแครนเบอร์รี่แบบแห้ง และมีน้อยในรูปแบบของน้ำแครนเบอร์รี่ที่บรรจุขวดค่ะ และควรเลือกแบบน้ำแครนเบอร์รี่ 100 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

 

8.ลดน้ำหนัก น้ำแครนเบอร์รี่อุดมไปด้วยกรดอินทรีย์ซึ่งมีผลต่อการสะสมของไขมันในร่างกายเรา ดังนั้นจึงเป็นส่งผลที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักและต้องการควบคุมน้ำหนักค่ะ

 

9.รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหารมีสาเหตุมาจากแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Helicobacter pylori หรือ H. pylori จุลินทรีย์นี้จะไปโจมตีชั้นป้องกันของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นซึ่งเป็นส่วนแรกของลำไส้ และนำไปสู่การอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ดังนั้นอาหารที่อุดมไปด้วยสาร flavonoids เป็นกลุ่มที่มีแอนโธไซยานิน flavonols และ proanthocyanidins อย่างแครนเบอร์รี่จะไปช่วยลดความเสี่ยงของความผิดปกติของกระเพาะรวมถึงแผลในกระเพาะอาหารด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ H. pylori ค่ะ

 

เนื่องจากแครนเบอร์รี่และน้ำผลไม้แครนเบอร์รี่มีกรดออกซาลิกและยังสามารถเพิ่มความสามารถในการต้านการแข็งตัวของยาบางชนิด ผู้ที่มีปัญหาทางเดินปัสสาวะและผู้ที่รับประทาน warfarin ควรจำกัดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ด้วยค่ะ อย่างไรก็ตามการบริโภคแครนเบอร์รี่ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากมีฟรุกโตสซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณถ้าเผลอรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปค่ะ

 

www.flickr.com/photos/christiandembowski/10843772895/

www.flickr.com/photos/andy_m/37436221/