HealthGossip

ดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้คุณประโยชน์มากที่สุด

tea-time-1

Source: Flickr (click image for link)

เครื่องดื่มที่ไม่มีใครไม่รู้จักแล้วก็ยังให้ความนิยมชมชอบกันเป็นชีวิตจิตใจก็คงจะหนีไม่พ้นเครื่องดื่มที่มีชื่อว่า “ชาเขียว” (Green tea) ชาเขียว คือ ชาที่ได้มาจากต้นชา ซึ่งชาชนิดนี้จะไม่ผ่านขั้นตอนการหมักเลย เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้ใบชาแห้งอย่างรวดเร็ว ซึ่งวิธีการก็คือเมื่อเก็บใบชามาแล้วก็นำมาทำให้แห้งอย่างรวดเร็วในหม้อทองแดงโดยใช้ความร้อนไม่สูงเกินไปและใช้มือคลึงเบา ๆก่อนแห้งหรืออบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆแล้วนำไปอบแห้งเพื่อยับยั้งการทำงานเอนไซม์ (ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว) จึงได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และมีสีที่ค่อนข้างเขียว จึงเรียกกันว่า “ชาเขียว” และการที่ใบชาที่ได้นั้นไม่ผ่านขั้นตอนการหมักจึงทำให้ใบชามีสารประกอบฟีนอล (Phenolic compound) หลงเหลืออยู่มากกว่าในอู่หลงและชาดำ (สองชนิดนี้คือชาที่ผ่านการหมัก) จึงทำให้ชาเขียวมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาทั้งสอง โดยชาเขียวจะมี สารพฤกษเคมี ชื่อ EGCG ตัวนี้เป็นแชมป์เปี้ยนของสารต้านอนุมูลอิสระเลยทีเดียว จึงสามารถช่วยป้องกันมะเร็งและต้านมะเร็งได้ด้วย และมีบางงานวิจัยยังบอกว่าช่วยลดการดูดซึมไขมันและคอเลสเตอร์รอลที่ช่วยลดอัตราเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดตีบตันและโรคหัวใจได้อีกด้วยค่ะ และในชาเขียวนั้นจะมีเจ้าสาร EGCG อยู่ถึงประมาณ 35-50% กันเลยทีเดียว โดยขณะที่ชาอู่หลงมีประมาณ 8-20% และชาดำจะมี EGCG อยู่เพียง 10% เท่านั้นเองค่ะ ชาเขียวที่มีคุณภาพจะได้จากใบชาคู่ที่หนึ่งและใบชาคู่ที่สองที่เก็บจากยอด (ชาวจีนเรียกว่า “บู๋อี๋”) ส่วนใบชาคู่ที่สามและสี่จากยอดจะให้ชาชั้นสอง (ชาวจีนเรียกว่า “อันเคย”) ส่วนใบชาคู่ที่ห้าและหกจากปลายยอดจะเป็นชาชั้นเลว (ชาวจีนเรียกว่า “ล่ำก๋อง”)สำหรับสี กลิ่น และรสชาติของชานั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณของสารคาเทชินที่มีอยู่ในชา โดยฤดูการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว จะมีผลต่อระดับของสารคาเทชิน ซึ่งในใบชาฤดูใบไม้ผลิจะมีสารคาเทชินประมาณ 12-13% ในขณะที่ชาในฤดูร้อนจะมีสารคาเทชินประมาณ 13-14% (ใบชาอ่อนจะมีสารคาเทชินมากกว่าใบชาแก่) สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวจะประกอบไปด้วย กรดอะมิโน วิตามินบี วิตามินซี วิตามินอี สารในกลุ่ม xanthine alkaloids คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่เรียกว่า คาเทชิน (catechins) โดยเราสามารถแยกสารคาเทชินออกได้เป็น 5 ชนิด คือ gallocatechin (GC), epicatechin (EC), epigallocatechin (EGC), epicatechin gallate (ECG), และ epigallocatechin gallate (EGCG) โดยคาเทชินที่พบได้มากและมีฤทธิ์ทรงพลังที่สุดในชาเขียว คือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate – EGCG) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ชาเขียวมี 2 ประเภทใหญ่ๆคือ ชาเขียวแบบญี่ปุ่นและชาเขียวแบบจีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้จะต่างกันโดยชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกระทะร้อนแต่ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวแบบญี่ปุ่นจำแนกออกเป็นหลายเกรดตามคุณภาพใบชาแต่ที่รู้จักและเป็นที่นิยมในหมู่ชาวญี่ปุ่น ได้แก่ บันฉะ เซ็นฉะ เกียวกุโระฉะ และมัทฉะ

  • บันฉะ (Bancha) ใบชาแก่และคุณภาพต่ำที่สุด มักมีก้านใบติดมาด้วย เนื้อหยาบ รสค่อนข้างฝาด สีเขียวอมเหลือง เป็นชาที่ร้านอาหารญี่ปุ่นให้บริการฟรี บันฉะมีรสอ่อน สีไม่สวย จึงไม่นิยมนำมาปรุงอาหาร
  • เซ็นฉะ (Sencha) เป็นชาแก่เกรดกลางที่คนใช้ทั่วไป ประมาณ 80% ของใบชาที่เก็บเกี่ยวได้ผลิตเป็นใบชาเกรดนี้ ใบเซ็นฉะไม่มีก้านติดมาด้วย น้ำเซ็นฉะสีเขียวสด รสเข้มแต่ละเมียดละไม จับแล้วรสชายังติดที่ปลายลิ้นเป็นชาที่ชาวญี่ปุ่นเสิร์ฟรับรองแขกที่บ้าน ตามงานเลี้ยงรับรอง และตามที่ประชุมต่างๆ เซ็นฉะมีหลายเกรดตั้งแต่แบบธรรมดาแลัแบบพรีเมี่ยม ราคาก็ต่างกัน นำมาใช้ทำอาหารได้หลากหลายเพราะให้ทั้งกลิ่นและรสชาเขียวที่เข้มกว่าชนิดอื่น
  • เกียวกุโระฉะ (Gyukurocha) เป็นใบชาที่เก็บจากพุ่มต้นชาที่ดีที่สุด เนื่องจากผลผลิตน้อยราคาจึงค่อนข้างสูง น้ำชาสีเขียวอ่อนหอมหวานมาก ปกติการชงชาเขียวทั่วไปใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียสเท่านั้น เมื่อมิได้ความร้อนไปทำลายรสชาติชา ชาชนิดนี้แพงเกินกว่าจะนำมาผสมใส่อาหารหรือผลิตภัณฑ์อื่นได้
  • มัทฉะ (Matcha) เป็นผงชาเขียว สมัยก่อนได้จากการนำใบชาชั้นดี ‘’เกียวกุโระฉะ’’ มาบดจนละเอียดเป็นผงเพื่อใช้ในพิธีชงชา มัทฉะที่ได้จะมีลักษณะข้นสีเขียวเข้ม ปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตโดยนำใบชา’’เซ็นฉะ’’ มาสกัดเป็นน้ำแล้วจึงพ่นโดยการฉีดผ่านไอความร้อนสูงให้ไอระเหยออกเหลือแต่ผงสีเขียวเข้มกลิ่นหอม มัทฉะเป็นชาที่นิยมใช้ใส่อาหารเพราะสะดวกในการใช้ให้สีสวยกลิ่นหอมและราคาไม่แพง มัทฉะจะมีสีเขียวสดคล้ายเขียวมะนาว ในใบชาเขียวมีสารสำคัญหลายๆชนิด คือ คาเฟอีน, แทนนิน, สารคาเทซิน, เกลือฟลูออไรด์

      จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า สารคาเฟอีน และ สารคาเทชินใน ชาเขียวญี่ปุ่นแท้มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มเมทาบอลิซึ่มของร่างกายนั่นก็หมายถึง การเพิ่มอัตราการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต และการออกซิเดชันของไขมันนั่นเอง นอกจากนี้ชาเขียวญี่ปุ่นแท้ ยังช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ทำงานดีมากยิ่งขึ้น แต่เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ควรจะออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย จะทำให้การเผาผลาญดีขึ้น และเพื่อให้ได้ผลดีต้องดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ แบบปราศน้ำตาล หรือสารปรุงแต่งอื่นๆ โดยในแต่ละวันไม่ควรดื่มเกิน 10 – 12 ถ้วย หรือ ชงใบชา 1-2 ช้อนชา ในน้ำร้อน ดื่มวันละ 3 ถ้วย ระหว่างมื้ออาหาร จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพสูงสุด ดังนั้น ควรจะดื่มชาเขียวญี่ปุ่นแท้ เท่านั้น ซึ่งจะผลิตออกมาในรูปแบบของ ใบชา ชาซอง มัทฉะ เพื่อให้เราได้รับสารที่มีประโยชน์อย่างเต็มที่เพียงเติมน้ำร้อน ถึงชาเขียวญี่ปุ่นแท้ จะมีสารคาเฟอีน (ซึ่งอาจจะทำให้นอนไม่หลับถ้าดื่มเยอะเกิน) แต่ยังมีสารสำคัญที่มีประโยชน์อีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโน วิตามินบี, วิตามินซี, วิตามินอี, สารในกลุ่ม xanthine alkaloids หรือ คาเฟอีน (caffeine) และ ธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้สดชื่น คึกคัก และสารใน กลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคทีชิน (catechins) ตัวนี้แหละที่สำคัญ

ประโยชน์ของวิตามินที่อยู่ในชาเขียว

  • วิตามินซี ช่วยลดความเครียด ต่อต้านภาวะติดเชื้อและเสริมการทำงานของระบบ
  • วิตามินบีรวม ช่วยเสริมการทำงานในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต
  • วิตามินอี มีสรรพคุณเป็นสารแอนติออกซิแดนซ์ ชะลอความแก่
  • ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมความแข็งแรงให้แก่เคลือบฟัน ป้องกันฟันผุ
  • GABA  ช่วยลดระดับความดันเลือด และประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย
  • แร่ธาตุ ได้แก่ โซเดียม, โปแตสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส และอื่นๆ

 

และด้วยคุณประโยชน์มากล้นของชาเขียวนั้น เราเคยสงสัยกันหรือไม่ว่าบางทีการที่เราดื่มชาเขียวทุกวันๆ นั้นได้ประโยชน์จากสารต่างๆที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระจากจากเขียวนั้นเราได้รับมาเต็มๆเลยหรือเปล่า? วันนี้ HealthGossip ไม่พลาดค้นหาข้อมูลมาบอกกันค่ะ ว่าวิธีการดื่มชาเขียวแบบที่เราดื่มกันทุกวันนั้นจะได้ประโยชน์จากชาเขียวมากน้อยเพียงใด 🙂

 

วิธีดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์ที่สุด

รู้กันหรือเปล่าคะว่าการดื่มชาร้อนนั้นให้คุณ แต่ถ้าเป็นชาเขียวเย็นนั้นจะให้โทษ! แม้ว่าการดื่มชาจะไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย แต่ในยุคหลังๆมานี้คนไทยเราเริ่มนิยมการจิบชากันมากขึ้นไม่ว่าจะในคนที่หันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้นหรือจะเป็นความหลงไหลในกลิ่นและรสชาติก็ตาม โดยเฉพาะชาเขียวที่ขี้นชื่อเรื่องของสรรพคุณที่มีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ซึ่งเรียกได้ว่าญี่ปุ่นเป็นต้นตำรับทางด้านนี้เพราะได้รู้จักรสชาติและคุณค่าของชาเขียวมานานนับ 100 ปี ด้วยญี่ปุ่นเป็นเมืองที่มีอากาศหนาวเย็นและชาวญี่ปุ่นก็มักจะจิบชาอุ่นๆกันเป็นกิจวัตรประจำวันเลยก็ว่าได้ในขณะที่ประเทศไทยเรานัันมีอากาศที่ร้อนแทบทั้งปีจะมามัวนั่งชงชาดื่มแบบร้อนๆก็กะไรอยู่คงจะร้อนทั้งข้างในและข้างนอกเป็นแน่แท้ เพราะงั้นพี่ไทยเราเลยเลือกดื่มชาเขียวแบบเย็นๆแบบชื่นอกชื่นใจกันซะมากกว่า แต่ทว่าดื่มไปเราจะได้รับประโยชน์แค่ไหนกันนะ? อย่างที่ทราบกันดีนะคะว่าชาเขียวมีคุณสมบัติลดและต้านอนุมูลอิสระที่เป็นพิษต่อร่างกายของเรา โดยจะขับออกมาทางอุจจาระ และขับไขมันส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะและอุจจาระ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นั่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะของชาเขียวร้อน ที่คนญี่ปุ่นนิยมดื่มกันตั้งแต่เด็กจนแก่แต่คนไทยส่วนมากด้วยความที่ไม่รู้จักคุณสมบัติที่แท้จริงของชาเขียว เลยทำให้คิดเอาเองว่าแค่ดื่มชาเขียวก็ได้ประโยชน์แล้วไม่ว่าจะเป็นร้อนหรือเย็นก็ตาม อย่างเช่น จากการวิจัยชี้ว่า ชาเขียวที่ชงใหม่ๆ ร้อนๆ จะมีปริมาณแอนติออกซิแดนท์สูงสุด วัฒนธรรมการดื่มชาเขียวกำหนดให้ดื่มหลังจากชงชาไปประมาณ 1 นาที หากปล่อยไว้นานกว่านี้น้ำชาจะเริ่มเสียรสชาติ เมื่อชาเย็นลงแอนติออกซิแดนท์ในน้ำชาก็จะลดลง ยิ่งไปกว่านั้นการที่ชาเขียวเย็นสำเร็จรูปผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการพาสเจอไรซ์ ใส่สารกันบูดและแช่เย็นที่ชั้นวางของในห้างสรรพสินค้าเป็นเวลานานๆ ยังทำให้สูญเสียแอนติออกซิแดนท์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย และกรณีที่ใส่นมในชาเขียว นมจะจับกับสารคาเทชินทำให้ประสิทธิภาพการต้านอนุมูลอิสระของสารเคทิชินในฐานะแอนติออกซิแดนท์ลดลงไปมากขาดประสิทธิผลในการป้องกันมะเร็งและโรคอื่นๆ แต่เห็นทีคราวนี้ต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่แล้วนะค่ะ เพราะยังไงแล้วชาเขียวจะมีประโยชน์มากมายยังไง มันก็ย่อมมีโทษเช่นกัน อย่างที่บอกเนื่องจากชาเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกายในขณะที่มันร้อนอยู่เท่านั้น ในทางกลับกัน หากดื่มชาเขียวตอนที่มันเย็นแล้วจะทำให้เกิดโทษ เนื่องจากชาเขียวเย็นไม่ช่วยในการลดอนุมูลอิสระสารพิษออกจากร่างกาย แล้วยังทำให้สารพิษเกาะตัวกันแน่น อันเป็นสาเหตุของ “มะเร็ง” อีกต่างหาก อีกทั้งชาเขียวเย็นยังส่งผลให้ไขมันในร่างกายก่อตัวมากขึ้นตามผนังหลอดเลือด และไปอุดตันตามผนังลำไส้ อันเป็นบ่อเกิดแห่งโรคร้าย เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ เส้นเลือดตีบ เป็นต้น

ทุกวันนี้คนเริ่มรักษาสุขภาพกันมากขึ้นมีการการเลือกรับประทานอาหารกันเยอะขึ้น ไหนจะเป็นอาหารการกินแม้แต่เครื่องดื่มก็ยังต้องมีวิธีและเวลาที่เหมาะสมในการดื่ม ก็เพื่อให้การกินหรือการดื่มแต่ละอย่างคุ้มค่าไม่เสียเปล่านั่นเองค่ะ อาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภทนอกจากรสชาติจะต้องฝืนกินแล้วแต่ถ้าเลือกรับประทานไม่ถูกวิธี การที่เราฝืนทานกันมาเป็นเวลานานก็ถือเสียว่าสูญเปล่า และในวันนี้อย่างน้อยเราก็ได้ทราบว่า ควรดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์และคุณค่ามากที่สุดกันค่ะ 

 

www.flickr.com/photos/vordichtung/5869946403

About the Author

Pompam

สวัสดีค่ะ! ดิฉันมีชื่อ Pompam ค่ะ ดิฉันจบจากมหาวิทยาลัยคริสเตียนแห่งประเทศไทยในสาขา FoodTechnology and Nutrition ดิฉันเคยได้ร่วมงานกับหลายบริษัท อาทิเช่น SparSha, FoodStar, Sodexo และโรงพยาบาลยันฮี โดยได้มีการวางแผนกำหนดอาหารและสร้างเมนูอาหารให้กับคนหลายร้อยคนทั้งในคนที่อยากลดน้ำหนักและในคนที่อยากรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และดิฉันหวังว่าประสบการณ์ของดิฉันจะสามารถตอบโจทย์และช่วยคุณได้เป็นอย่างดี 🙂

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *