HealthGossip

วิตามิน

26 ชนิดของอาหารที่ส่งผลทำให้อารมณ์ดีขึ้น

  Photo by freestocks.org on Unsplash เนื่องด้วยหัวข้อที่แล้วได้เขียนเรื่องราวของอาหารที่ส่งผลทำให้อารมณ์ของเราบูด อารมณ์เสียง่าย หรืออารมณ์ไม่ดีทั้งวันไปแล้ว และก็ได้พบว่ามีอาหารอยู่ไม่น้อยชนิดเลยทีเดียวที่อยู่ในลิสท์จนหลายคนคงต้องคิดแน่ๆ เลยว่าแล้วจะกินอะไรได้บ้างเนี่ย มีแต่อาหารที่ชอบเลยแต่พอกินแล้วดันมาทำให้อารมณ์ไม่ดีอีก มันก็เป็นเรื่องธรมมดาของชีวิตอ่ะนะคะว่าเมื่อมีด้านไม่ดีนั้นมันก็ต้องมีด้านที่ดีเป็นของคู่กันอยู่แล้วค่ะ ดังนั้นวันนี้เราเลยอยากนำเสนออาหารที่ส่งผลทำให้อารมณ์ของเราดีขึ้น ให้สดใสไม่หมองหม่นเหมือนกำลังจะเป็นโรคซึมเศร้าเหงาซึม ใครที่เกิดอาการเหล่านี้อยู่ก็ลองลุกขึ้นมาปรับอาหารเลือกอาหารเหล่านี้รับประทานกันดูนะคะ เนื่องจากยุคสมัยมันเปลี่ยนไปมีเทคโนโลยีและสิ่งเอิ้ออำนวยความสะดวกต่างๆ มากมาย แค่อยู่ที่ว่าเราจะเลือกอะไรให้กับตัวเอง และก็พบว่าไม่น้อยเลยที่คนเราหันมาใส่ใจตัวเองและสุขภาพกันมากขึ้น คนเราตามพื้นฐานแล้วต้องเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองเสมอนั่นแหละถึงจะเรียกว่ารักตัวเองเป็นค่ะ การเลือกรับประทานอาหารก็เช่นเดียวกันถ้าเรารักสุขภาพตัวเองมากพอก็จะเลือกแต่สิ่งที่ดีให้กับตัวเองเสมอ เชื่อหรือไม่ว่าการที่เราหงุดหงิดง่าย อะไรๆ ก็คิดแต่ในทางแง่ลบจิตใจไม่ผ่องใสนอกจากส่งผลทางจิตใจแล้วก็อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการนำมาสู่โรคภัยไข้เจ็บได้ค่ะ ดังนั้นเราไม่ควรปล่อยปะละเลยกับเรื่องเพียงเล็กน้อยแบบนี้ไปได้เลยล่ะค่ะ ตามเป็นจริงแล้วคนเราไม่มีความสุขกับที่ตัวเองจะต้องมานั่งร้อนใจ และมีอารมณ์ที่ไม่สดใสมองไปทางไหนก็มืดหม่น แต่บางทีเราอาจจะไม่รู้ตัวหรือไม่สามารถห้ามตัวเองให้เป็นอย่างนั้นได้ค่ะ จะมีคนรอบตัวเราสักกี่คนที่จะมานั่งบอกเราว่า เออเนี่ยช่วงนี้เธอดูหงุดหงิดง่ายนะ เธอช่วยลดความอารมณ์เสียง่ายของเธอได้ไหม กว่าเราจะรู้ตัวอีกทีคนรอบข้างก็ไม่กล้าเข้าใกล้แล้วล่ะค่ะ ผู้เขียนก็ไม่อยากให้ผู้อ่านต้องเป็นนั้นหรอกนะคะ แค่ช่วงไหนรู้สึกอารมณ์หงุดหงิดง่าย พยายามควบคุมตัวเองแล้วยังไม่ได้ผลก็ขอให้ย้อนกลับมาดูอาหารการกินช่วงนี้ของเราเป็นยังไง และเลือกอาหารที่ช่วยให้เราอารมณ์ดีขึ้นรับประทานกันดีกว่าค่ะ 🙂 Photo by Priscilla Fong on Unsplash 26 ชนิดของอาหารที่ส่งผลทำให้อารมณ์ดี   1.ปลาแซลมอล ปลาแซลมอนเป็นแหล่งของกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีเลยล่ะค่ะ ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบสูง มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาท ป้องกันภาวะซึมเศร้า ช่วยลดความวิตกกังวลและความซึมเศร้าหมองหม่นได้อีกด้วยค่ะ นอกจากนี้ปลาแซลมอนยังมีโปรตีนสูง วิตามินบี 12 และวิตามินดี โดยวิตามินบี 12 […]

20 ชนิดสุดยอดของผักที่มีโปรตีนสูง

ขึ้นชื่อว่า “พืชผัก” หลายคนก็จะนึกถึงความสุขภาพดีจากวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารเป็นอย่างแน่แท้ ก็ใครจะไปนึกว่าพืชผักที่เคี้ยวกรุบกรับๆ อยู่นี่จะมีโปรตีนอยู่ได้ใช่ไหมล่ะคะ สุขภาพที่ดีที่ได้มาจากการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ถือเป็นปัจจัยหลักไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่เราควบคุมน้ำหนักหรือเพื่อรักษาสุขภาพก็ตาม แต่การทราบว่าเราควรเลือกรับประทานอาหารแบบไหนให้เหมาะสมกับความต้องการของเรายังไงนั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ คนยังไม่ค่อยทราบและเข้าใจ แต่ก็อย่างว่าสมัยนี้มีสิ่งที่เอื้ออำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าเราจะอยากรู้เรื่องอะไรแค่เราค้นหาทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถรู้ได้ไม่ยาก วันนี้มีจึงหัวข้อที่น่าสนใจอยากจะมาแนะนำเกี่ยวกับ ชนิดของผักที่มีโปรตีนสูง ซึ่งอาจจะเหมาะกับคนที่ไม่รับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์เลยอยากได้โปรตีนจากพืชมาทดแทน หรือคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักแต่ก็อยากได้โปรตีนที่ไม่ใช่จากเนื้อสัตว์ คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยถ้าใครที่กำลังมองหาตัวเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพที่สมบูรณ์เช่นกันค่ะ การรับประทานอาหารที่แตกต่างหลากหลายหมู่อาหารจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนนั่นเอง โปรตีนจากเนื้อสัตว์บางชนิดจะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายต้องการมากกว่าและครบถ้วนอย่างแน่นอน ในกรณีนี้ให้เป็นทางเลือกรับประทานทดแทนชั่วคราวต่อเหตุผลที่แตกต่างของแต่ละคนค่ะ   20 ชนิดสุดยอดของผักที่มีโปรตีนสูง                         1.ควีนัว ควีนัวได้ถูกจัดให้เป็นสุดยอดของอาหารซึ่งเป็นพืชที่มีเส้นใยอาหารสูงและแน่นอนว่ามีโปรตีนที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ ในขนาดของควีนัวสุกปริมาณ 1 ถ้วย มีปริมาณของโปรตีนอยู่มากถึง 8.14 กรัม เลยค่ะ   2.ผักปวยเล้ง ผักใบสีเขียวเข้มที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนอย่างผักปวยเล้ง ก็ยกให้เป็นอีกตัวเลือกของผักที่ให้โปรตีนถึง 2.9 กรัม เลยทีเดียว จะเลือกทานแบบสดๆ ในสลัด หรือนำมาปรุงอาหารก็อร่อยได้คุณค่าแบบไม่รู้สึกผิดหลังทานเสร็จอย่างแน่นอน […]

14 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเคสูง

“วิตามินเค (Vitamin K)” เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน ซึ่งเราจะทราบกันดีเมื่อพูดถึงบทบาทของวิตามินเคนั้นมีความสำคัญต่อการแข็งตัวของเลือดนั่นเองค่ะ จริงๆ แล้ววิตามินเคมีทั้งหมด 3 ชนิด และรูปแบบที่พบในธรรมชาติจะมีอยู่ 2 รูปแบบ ดังนี้่ค่ะ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชผักใบเขียวและสัตว์ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับและยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย วิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตับ นอกจากร่างกายจะได้รับวิตามินเคจากอาหารที่รับประทานแล้ว เชื้อแบคทีเรียในลำไส้ของเราก็สามารถสังเคราะห์วิตามินเคได้เองค่ะ ด้วยเหตุนี้ระดับวิตามินเคของเราจึงขึ้นอยู่กับสุขภาพของลำไส้ของเรานั่นเอง และส่วนใหญ่พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการขาดวิตามินเคนั้น ดังนี้ เกิดจากความผิดปกติของตับให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ คนที่มีความผิดปกติของท่อน้ำดี การใช้ยาปฏิชีวนะนานๆ หรือมากเกินไป เมื่อร่างกายเกิดการขาดวิตามินเคจะทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินเค ที่เรียกว่า […]

14 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 2 สูง

“วิตามินบี 2 (Vitamin B2)” หรือ Riboflavin เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เป็นวิตามินที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยช่วยให้ร่างกายเราใช้ประโยชน์จากวิตามินบีชนิดอื่นๆ ได้ และช่วยให้ร่างกายของเราได้ใช้พลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป นอกจากนี้ยังอาจช่วยปกป้องเซลล์ที่เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต adrenal gland ซึ่งโดยทั่วไปคนเรามักจะขาดไรโบฟลาวินเหมือนกันกับไธอะมีน(วิตามินบี1) และเมื่อเราขาดวิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวินไปจะเห็นได้ชัดจากการเกิดแผลเปื่อยที่มุมปาก ที่เราเรียกกันว่า “ปากนกกระจอก” (angular stomatitis)   แพ้แสง มองแสงจ้าไม่ได้ ตาจะมองไม่ชัด คันตา ซีด ริมฝีปากแดง ปวดแสบในปากและลิ้น ร่องจมูกและเปลือกตาจะมีการอักเสบ มีขุย บางทีอาจจะปวดหัวไมเกรน การขาด Riboflavin จะมีผลต่อการสร้างคอลลาเจนที่จำเป็นต่อเส้นผมและผิวหนังของเราค่ะ เนื่องจาก Riboflavin มีบทบาทในการรักษาระดับคอลลาเจน เลยมีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนังและเส้นผม คอลลาเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาโครงสร้างและป้องกันริ้วรอยบนผิวหนัง การขาดสาร Riboflavin อาจจะส่งผลให้การรักษาบาดแผลช้าลงด้วยค่ะ ดังนั้นการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 จะสามารถช่วยให้คุณในการเอาชนะปัญหาสุขภาพมากมาย รวมถึงสามารถปรับปรุงการทำงานของเซลล์ที่เกิดจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระอีกด้วย ดังนั้นเราควรได้รับวิตามินบี 2 ให้เหมาะสมต่อวันคือ 1.7 มิลลิกรัมต่อวัน […]

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินเอสูง

วิตามินเอ (Vitamin A) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ค้นพบโดย ดร. อี.วี. แมคคอลลัม (E.V. McCollum) นักวิทยาศาสตร์ชาวสหรัฐอเมริกา ร่างกายของเราสามารถสะสมวิตามินเอได้นานมากอาจนานได้ถึง 1 หรือ 2 ปี โดยเก็บไว้ในชั้นเซลล์ไขมัน ด้วยวิตามินเอเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันดังนั้นวิตามินเอจะถูกดูดซึมไปใช้ในร่างกายได้ดีที่สุดเมื่อกินร่วมกับอาหารที่มีน้ำมันหรือไขมันเป็นส่วนประกอบนั่นเองค่ะ และเมื่อร่างกายของเราใช้วิตามินเอไม่หมดก็จะถูกเก็บสะสมไว้ที่ตับ และวิตามินเอมีหน้าที่ช่วยในการมองเห็น การเจริญเติบโตของกระดูก การแบ่งตัวของเซลล์ การกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคซ่อมแซมผิวของตาและหลอดลมทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายยากขึ้น อีกทั้งวิตามินเอยังช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวโดยเฉพาะ lymphocyte ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างปกติไม่ชะงักหรือหยุดการเจริญเติบโตก่อนวัย วิตามินเอจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.อยู่ในรูปแบบวิตามินอยู่แล้ว (Proformed Vitamin A) หรือเรียกว่า Retinol ซึ่งได้มาจากเนื้อสัตว์ เช่น น้ำมันตับปลา อาหารประเภทเนื้อ ไข่ ตับและเครื่องใน 2.กำลังจะเป็นวิตามินเอ (Provitamin A) หรือเรียกว่า เบต้า แคโรทีน (Beta-Carotene) เป็นสารที่เมื่อเข้าสู่รางกายจึงได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ พบมากในผักสีต่างๆ เช่น แครอท ผักโขม […]

เคราติน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

ความงามกับผู้หญิงเป็นของคู่กันเสมอ เพื่อให้ตัวเองดูดีและสุขภาพดีนั้นต้องมาจากภายในไปสู่ภายนอกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเพียงแต่ดูแลภายนอกอย่างเดียวบางทีก็ไม่เห็นผลได่เต็มที่ ทุกสิ่งทุกอย่างมักมีที่มาที่ไปเสมอ อย่างเช่นการที่เราอายุมากขึ้นผิวหนังก็จะไม่ยืดหยุ่นได้ดีเหมือนครั้งที่ยังอายุน้อย อีกทั้งจะให้ร่างกายสามารถสู้ทนเหมือนเมื่อก่อนก็คงจะยากถ้าหากเราไม่ดูแล เหมือนอย่างวันนี้ที่เราเห็นว่าการดูแลสุขภาพเส้นผมก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สาวๆ หลายคนกังวลใจเนื่องจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งมีการตกแต่งเส้นผมด้วยสารเคมีต่างๆ ไหนจะพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่เราทำเกือบทุกวัน ทำให้เส้นผมเราโดนความร้อนจากการเป่า ไดร์ หนีบอีก ยังรวมไปถึงการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการบำรุงของเส้นผม ปัจจัยหลายอย่างมากมายที่สามารถทำให้เส้นผมของเราอ่อนแอ เพราะอย่างนี้จึงมีผลิตภัณฑ์มากมายด้วยเช่นกันที่พร้อมใจกันมาให้ทดลองกันนำมาดูแลได้ง่ายดายมากขึ้น อย่างเช่น Keratin หรือ เคราตินที่สาวๆ คงจะคุ้นหูกันดีว่าด้วยช่วยเราในเรื่องของเส้นผม ดังนั้นวันนี้ทาง HealthGossip จึงอยากให้มาทำความเข้าใจและรู้จักกับเคราตินกันให้มากขึ้น ว่ามันคืออะไร มีในส่วนไหนในร่างกายเราหรืออะไรยังไง ไปไขข้อข้องใจและหาคำตอบไปพร้อมๆกันเนอะ เคราติน (Keratin) คืออะไร “เคราติน” ที่เราเข้าใจและเคยได้ยินมาจากคำแนะนำของช่างทำผมร้านประจำ ว่าเป็นสารอาหารที่สำคัญในการล็อคความสวยงามของเส้นผม และให้ความเปล่งประกายของเส้นผมของเราใช่ไหมล่ะคะ จริงๆ แล้วเคราติน (Keratin) คือ เส้นใยผิวหนังชนิดหนึ่งที่อยู่ที่บริเวณหนังกำพร้าของคนเรา เป็นเซลล์ที่ผิวหนังสร้างขึ้นจากเซลเยื่อบุผิวหนังและอัดแน่นเป็นแผ่นบางใสในชั้นนอกสุดเรียกว่า หนังขี้ไคล เคราตินจะช่วยป้องกันการดูดซึมของสารต่างๆเข้าสู่ร่างกาย ลดอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต และป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวหนัง เคราตินที่มีโครงสร้างประกอบมาจากโปรตีนเส้นใย ทั้งยังเป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวหนังอย่างที่กล่าวมาข้างต้น โดยทำหน้าที่เป็นตัวประสานเนื้อเยื่อของผิวหนังเข้าด้วยกัน โปรตีนชนิดนี้เป็นส่วนประกอบหลักของเส้นผมถึงร้อยละ 90 รองลงมาคือเส้นขนและเล็บมีเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นที่ปะปนอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ ได้แก่ บริเวณผนังหลอดเลือด เนื้อเยื่อกระจกตาและเลนส์ตา คุณสมบัติของเคราตินคือสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับชั้นเซลล์ผิวหนังและเป็นแหล่ะความชุ่มชื้นของเส้นผม […]

15 อาหารว่างที่กินแล้วอิ่มและไม่ทำให้อ้วน

Snack หรือ อาหารว่าง ที่เราชอบรับประทานเล่นระหว่างมื้อหนัก หรือบางทีอาหารว่างบางชนิดก็อาจจะกลายเป็นมื้อหนักได้เช่นกัน ก็เนื่องจากพลังงานแคลอรี่ที่สูงพุ่งปรี๊ดกว่าอาหารมื้อหลักที่เราทานกันซะอีก โดยเฉพาะในสาวๆ อย่างเรา ชอบรับประทานอาหารหลายมื้อยิบย่อย นู่นก็อยากกิน นี่ก็น่าทานไปซะหมด กินจุกจิกเป็นว่าเล่นได้ทุกวัน บอกแค่ชิมกินไปกินมามันก็เพลินหันมาอีกทีเอ้าหมดและ ถึงแม้ว่าที่เรากินๆกันไปมันก็อร่อยถูกปาก อิ่มท้อง สบายตัว แต่ว่าหลังจากนั้นล่ะคะ น้ำหนักที่บอกว่ากำลังควบคุมอยู่กลับกลายเป็นว่าต้องมาปลอบใจตัวเองและบอกว่า พรุ่งนี้ค่อยลด? น้ำหนักที่ขึ้นมาราวกับจรวดนั้นก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่เราไม่ชอบ แต่ทว่าอาหารว่างบางชนิดมันยังไปกระทบกับสุขภาพด้านอื่นๆ ของเราด้วยเช่นกันค่ะ การหักห้ามใจไม่ให้ทานของว่างในดวงใจรสเลิศมันอาจจะยาก แต่ผลที่ตามมามันอาจจะยุ่งยากในการแก้ไขกว่าหรือบางทีอาจจะสายเกินแก้ก็เป็นได้ค่ะ วันนี้ทาง HealthGossip ก็ไม่ใจร้ายแล้วบอกว่า ห้าม กินซะทีเดียวนะคะ สุขภาพของเรา ต่อให้มีเงินเป็นหลายล้านแต่ถ้าไม่เลือกซื้ออาหารที่มีคุณค่าต่อสุขภาพเราทานแล้ว บางทีเราก็ไม่สามารถซื้อสุขภาพที่มันแย่ลงให้กลับมาดีดังเดิมได้ค่ะ วันนี้ขอนำเอาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารว่างที่รับประทานแล้วไม่ทำให้อ้วนที่ทั้งทานแล้วอิ่มแถมยังดีต่อสุขภาพมาเสนอกันค่ะ   15 อาหารว่างที่กินแล้วอิ่มและไม่ทำให้อ้วน                           1. ช็อคโกแลต คงเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่สาวต้องมีติดตู้เย็นเพื่อรับประทานอย่างแน่นอน แต่ขอให้เลือกดูสักนิดนึงก่อนซื้อ ช็อกโกแลตที่ควรเลือกรับประทานควรมีปริมาณส่วนผสมของโกโก้เยอะที่สุดยิ่งเยอะยิ่งดี […]

ไขมัน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

ไขมัน (Fat) คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์แต่ไม่ละลายน้ำ คำว่าไขมัน (fat) ทางเคมีอาหาร นั้นหมายถึง ลิพิด (lipid) ประเภทไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ที่มีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้องขณะที่ น้ำมัน (oil) เป็นไตรกลีเซอไรด์ที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง คำว่าไขมัน (fat) และน้ำมัน (oil) มักใช้แทนกันหรือใช้คู่กัน โดยทั่วไป “น้ำมัน” ใช้กับไขมันที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง “ไขมัน” หมายถึง ไขมันที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง “ลิพิด” หมายรวมไขมันทั้งที่เป็นของเหลวและของแข็งตลอดจนสสารที่เกี่ยวข้องอื่น ซึ่งโดยปกติใช้ในบริบททางการแพทย์หรือชีวเคมี ดังนั้น กรดไขมัน (fatty acid) ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ในไขมัน (fat) จึงเป็นกรดไขมันที่มีจุดหลอมเหลวสูงกว่าอุณหภูมิห้อง ได้แก่ กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) ขณะที่น้ำมัน (oil) มีองค์ประกอบหลักคือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) ซึ่งมีจุดหลอมเหลวต่ำค่ะ ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหาร (nutrient) ที่ให้พลังงาน และก็มีส่วนประกอบหลักคือไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) […]

7 ประโยชน์สุดยอดจากแอปเปิ้ลเขียว

วันนี้มาถึงคิวของผลไม้ที่เราเรียกว่า แอปเปิ้ล กันค่ะ แต่วันนี้จะเป็นแอปเปิ้ลสีเขียวค่ะ จากโพสที่แล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับประโยชน์ของแอปเปิ้ลสีแดง และด้วยประโยชน์ที่มีมากมายจากแอปเปิ้ลสีแดงอีกทั้งส่วนข้อมูลของแอปเปิ้ลเขียววันนี้ก็มีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่ดีไม่แตกต่างกันเลยค่ะ อย่างไรก็ดีขึ้นชื่อว่าแอปเปิ้ลแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสีไหนประโยชน์และคุณค่าก็ไม่ได้แพ้กันเลยทีเดียวค่ะ และหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และก็เพื่อทำให้ทุกๆคนได้ทราบกันว่าแอปเปิ้ลแต่ละสีนั้นเป็นอย่างไร มีคุณค่าทางโภชนาการแตกต่างกันอย่างไรบ้างและมีอย่างไหนที่มีความโดดเด่นจากผลไม้อื่นๆหรือเปล่า ข้อมูลที่กีเหล่านี้รวมถึงสิ่งดีๆเราก็อยากเอามาแชร์และแบ่งปันเผื่อใครที่กำลังเลือกหนทางรักษาสุขภาพโดยการเลือกรับประทานอาหารหรืออยากให้ร่างกายได้รับแต่สิ่งดีๆ เราก็ขอให้ข้อมูลของเราสามารถช่วยคุณได้บ้างนะคะ ถ้าอย่างนั้นเราก็ไปพบและเข้าใจกับข้อมูลที่เกี่ยวกับประโยชน์ต่างๆ ของแอปเปิ้ลเขียวกันให้มากขึ้นกันเลยดีกว่าค่ะ     7 ประโยชน์สุดยอดที่คุณควรเลือกกินแอปเปิ้ลเขียว                           1.ช่วยในการควบคุมน้ำหนัก ปฎิเสธไม่ได้เลยที่จะยกให้เป็นผลประโยชน์ข้อแรกของแอปเปิ้ลเขียวค่ะ จากข้อมูลของ USDA Nutrient database ของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา พบว่าแอปเปิ้ลเขียวมีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนี้ โดยคุณค่าทางอาหารต่อแอปเปิ้ลเขียว 100 กรัม มีปริมาณพลังงาน 58 กิโลแคลอรี่, น้ำ 85.46 กรัม, น้ำตาล 9.59 กรัม, ไฟเบอร์ 2.8 กรัม และโพแทสเซียม […]

สารอาหาร คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

วันนี้ทาง HealthGossip อยากนำข้อมูลของ สารอาหาร มานำเสนอกันค่ะ เคยสงสัยหรือเปล่าคะว่าทำไมร่างกายของเราถึงต้องการสารอาหาร ก่อนที่จะได้สารอาหารก็ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไปก่อน อาหารก็มีหลากหลายอย่างและเราจะรู้ได้ยังไงว่าอาหารแบบไหนถึงจะเรียกว่าอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารแบบไหนที่เราเลือกรับประทานเข้าไปจะให้สารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ตอนนี้เราจึงควรที่จะไปทำความเข้าใจความหมายของอาหารและสารอาหารกันก่อนเลยค่ะ  อาหาร คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย สารอาหาร คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่ ได้แก่สารอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่หรือแร่ธาตุ สารอาหารแต่ละชนิดมีหน้าที่เด่นเฉพาะแตกต่างกัน และเมื่อรับประทานเข้าไปจะถูกเผาผลาญให้เกิดเป็นพลังงานและความร้อนเพื่อนำไปใช้ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย เช่น การเดิน การวิ่ง การยืน การนอน การหายใจ เป็นต้น ซึ่งหากแบ่งสารอาหารโดยใช้เกณฑ์การให้พลังงานของสารอาหารจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.กลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงาน กลุ่มสารอาหารที่ห้พลังงาน […]