HealthGossip

อาหาร

13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง

“วิตามินอี (Vitamin E)” เป็นวิตามินชนิดที่ละลายได้ในไขมัน (fat soluble vitamin) มีลักษณะเป็นของเหลวคล้ายน้ำมันที่มีสีเหลืองอ่อนๆ วิตามินอีทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีหน้าที่เบื้องต้นเสมือนฟองน้ำที่คอยดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อถูกทำลาย ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งนั่นเองค่ะ จะพบว่ามีวิตามินอีอยู่มากในพืชส่วนในสัตว์นั้นจะพบค่อนข้างน้อยมากค่ะ เพราะฉะนั้นการบริโภคผักหรือผลไม้สดจึงช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินอีให้กับร่างกายของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่าน้ำนมของคุณแม่โดยเฉพาะจากคุณแม่หลังคลอด (colostrum) ก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ให้วิตามินอีในปริมาณที่สูงมากเช่นกันค่ะ ดังนั้นการขาดวิตามินอีเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากนอกเสียจากในเด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนดเนื่องได้วิตามินจากแม่ไม่พอ หรือคนที่มีปัญหาจากโรคของระบบย่อยอาหารที่ผิดปกติจึงทำให้ได้รับวิตามินไม่เพียงพอค่ะ อาการบ่งบอกเมื่อร่างกายขาดวิตามินอี ดังนี้ ถ้าขาดมากจะทำให้เกิดโลหิตจาง มีความผิดปกติของสมอง มือสั้น เดินเซ และการได้รับวิตะมินอีมากเกินไปอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ค่ะ การเสริมและบริโภคอาหารที่อุดมด้วยวิตามินอีจะให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ คอเลสเตอรอลมีความสมดุล ซ่อมแซมผิวที่เสื่อมสภาพ ป้องกันผมร่วง ปรับฮอร์โมนให้มีความสมดุล กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ผู้ใหญ่ไทยกินวิตะมินอีวันละประมาณ 8-10 มิลลิกรัม และไม่ควรกินเกินวันละ 30 มิลลิกรัม หรือ 1,500 IU   13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินอีสูง 1.อัลมอลด์ เมล็ดอัลมอลด์เป็นอาหารทานเล่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของวิตามินอีชั้นเยี่ยมเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยอัลมอลด์ปริมาณแค่ 1 ออนซ์ แต่มีวิตามินอีอยู่สูงถึง 7.3 มิลลิกรัม […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินดีสูง

“วิตามินดี (Vitamin D)’’ คือเซกโคสเตอรอยด์ (secosteroids) ที่ละลายในไขมันก็คือเป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ในไขมันกลุ่มหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เสริมการดูดซึมธาตุแคลเซียม เหล็ก แม็กนีเซียม ฟอสเฟตและสังกะสีในร่างกายของเรานั่นเอง วิตามินดีนั้นก็จะมีหลักๆ อยู่สองตัวคือ วิตามินดี 2 และวิตามินดี 3 นั่นเอง วิตามินดี 2 หรือ ergocalciferol ที่จะพบในพืช รา ไลแคน และสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยทาก หนอน ยีสต์ ส่วนวิตามินดี 3 หรือ cholecalciferol จะพบในน้ำมันตับปลา ไข่แดง และสังเคราะห์ที่ผิวหนังค่ะ ซึ่งปกติร่างกายเราจะได้รับวิตามินดีส่วนหนึ่งจากอาหาร และอีกส่วนหนึ่งจากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังซึ่งร่างกายสามารถสร้างเองได้โดยได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีบี (UVB) ซึ่งมีอยู่ในแสงแดด ซึ่งหลายคนจะทราบกันดีและเรียกวิตามินดีนี้อีกอย่างว่า “วิตามินแสงแดด” การให้ร่างกายได้รับแสงแดดที่เหมาะสมครั้งละ 5 ถีง 30 นาที สองครั้งต่อสัปดาห์ก็พอที่จะทำให้ร่างกายสร้างวิตามินดีขึ้นมาใช้ได้อย่างเพียงพอโดยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินดีจากอาหารเลยก็ว่าได้ นอกเสียจากพื้นที่ที่เราอยู่มีแสงแดดไม่เพียงพอ ในบางคนกลัวที่จะโดนแสงแดดและโดยเฉพาะรังสี UV ในแสงอาทิตย์โดยเฉพาะในประเทศไทยบ้านเรา อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ American Academy of Dermatology จึงแนะนำให้เรารับวิตามินผ่านทางอาหารหรืออาหารเสริมมากกว่าค่ะ […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินซีสูง

“วิตามินซี (Vitamin C)” หรือมีชื่อทางเคมีที่เราคุ้นเคยกันว่า กรดแอสคอร์บิค (ascorbic acid) วิตามินซีเป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ซึ่งมีบทบาทในการรักษาสุขภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของร่างกายและทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระค่ะ โดยวิตามินซีที่ได้จากธรรมชาติหรือจากอาหารจะสลายตัวได้ค่อนข้างง่ายมาก แค่เพียงเอาผักสดล้างน้ำหรือหั่นผักก่อนล้างก็ทำให้สูญเสียวิตามินซีไปกับน้ำที่ล้างผักไปซะอย่างนั้น และในหนึ่งวันร่างกายเราได้ใช้วิตามินซีและถูกขับออกมาประมาณ 1 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ดังนั้นความต้องการของวิตามินซีในร่างกายอย่างน้อยควรเท่ากับจำนวนมิลลิกรัมที่สูญเสียไป เพราะถ้าวิตามินซีสูงเกินความต้องการของร่างกายก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะในรูปของกรดออกซาลิกและเกลือซัลเฟตของวิตามินซีค่ะ ส่วนในร่างกายของเราที่มีการเก็บวิตามินซีไว้มากก็คือ ต่อมหมวกไต รังไข่ และในตา เมื่อใดที่ร่างกายเกิดความเครียดหรือร่างกายต้องออกแรงมาก อวัยวะเหล่านี้ก็จะปล่อยวิตามินซีออกมาในกระแสเลือดค่ะ เมื่อไหร่ที่ร่างกายของเราได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอก็จะแสดงอาการดังต่อไปนี้ เลือดออกตามไรฟัน กระดูกฟันเป็นรู เลือดออกใต้ผิวหนัง ที่หนังตาและเยื่อตา บวมตามข้อ ร่างกายอ่อนเพลีย มึน ซึม เบื่ออาหาร ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ร่างกายของแต่ละคนจะมีความต้องการของวิตามินซีที่แตกต่างกันนั่นก็ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของแต่ละคนนั่นเอง โดยในคนที่มีสภาวะปกตินั้นร่างกายต้องการวิตามินซีปริมาณ 60 มิลลิกรัมต่อวัน   15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินซีหรือกรดแอสคอร์บิคสูง   1.ฝรั่ง ใครที่ติดภาพว่าผลไม้ที่มีสีส้มรสเปรี้ยวจะมีวิตามินซีสูงอย่างเดียว แต่ทราบไม่ว่าฝรั่งลูปสีเขียวเนื้อสีขาวนี่มีวิตามินซีที่สูงกว่าผลไม้เปรี้ยวบางชนิดซะอีกค่ะ โดยฝรั่งแค่ 1 ลูก มีวิตามินซีสูงมากถึง 125 มิลลิกรัม เลยเชียวล่ะ   2.พริกหยวกสีแดง พริกหยวกสีแดงที่เรานำมาประกอบอาหารนี่ก็เป็นแหล่งวิตามินซีสูงชั้นดีเลยค่ะ […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง

“วิตามินบี 12 ( Vitaminn B12)” หรือ โคบาลามิน Cobalamin เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งช่วยรักษาสุขภาพเส้นประสาทสมองและรับผิดชอบในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงของคุณ วิตามินบี 12 จะพบในอาหารที่มาจากสัตว์ ส่วนพืชนั้นจะไม่มีวิตามินบี 12 นอกเสียจากจะเติมระหว่างการผลิตค่ะ โดยการขาดวิตามินบี 12 ในระยะยาวจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทซึ่งอาจทำให้เป็นอัมพาตได้ค่ะ และถึงแม้ว่าการขาดวิตามินบี 12 แบบไม่รุนแรงก็อาจทำให้การทำงานทางจิตบกพร่องและพลังงานในร่างกายต่ำ อีกทั้งวิตามินบี 12 ยังมีบทบาทในการก่อตัวของเม็ดเลือดแดง ดังนั้นการขาดโคบาลามินหรือวิตามินบี 12 สามารถนำไปสู่การผลิตเซลล์ที่ไม่สมบูรณ์ซึ่งไม่สามารถรองรับออกซิเจนได้อย่างถูกต้อง และประโยชน์ของวิตามินบี 12 นั้นก็มีมากมายไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มพลังงาน ลดภาวะซึมเศร้า ลดความอยากน้ำตาล ลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต ป้องกันมะเร็ง ลดความเสื่อมของระบบประสาทและสมอง เมื่อร่างกายมีการขาดวิตามินบี 12 จะมีอาการดังนี้ –ผิวและลิ้นซีดเหลือง -ลิ้นอักเสบ, มีแผลในปาก -ชาตามปลายเท้าปลายมือ -มีปัญหาเรื่องการทรงตัว -มองไม่ชัด หงุดหงิดง่าย -ซึมเศร้า -ความจำเสื่อ -ท้องผูก -ภาวะโลหิตจาง -เหนื่อยและอ่อนเพลียง่าย ปริมาณที่ควรได้รับวิตามินบี 12 ต่อวัน […]

13 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง

“วิตามินบี 6 (Vitamin B6)” หรือ ไพริดอกซิน (Pyridoxine) เป็นอีกหนึ่งในตระกูลวิตามินบีและเป็นวิตามินที่สามารถละลายได้ในน้ำ วิตามินบี 6 จะทนความร้อนได้แต่จะทนแสงสว่างไม่ได้ ในพืชวิตามินนี้มักรวมอยู่กับโปรตีนและอยู่ในรูปแอลกอฮอล์หรือไพริดอกซิน (Pyridoxine) ส่วนในสัตว์จะอยู่ในรูปของเอมีนหรือ Pyridoxamine และแอลดีไอด์ หรือ Pyridoxal แต่จะมีไพริดอกซินอยู่น้อย ร่างกายเราจะดูดซึมวิตามินบี 6 จากอาหารได้เร็วที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เมื่อเข้าไปสู่ในร่างกายก็จะเปลี่ยนเป็น Coenzyme ในรูปของ Pyridoxal Phosphate ที่เหลือจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ ภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากบริโภคและจะไม่เก็บสะสมไว้ที่ตับค่ะ วิตามินบี 6 มีบทบาทต่างๆ มากมายกว่า 100 ปฏิกิริยาในร่างกาย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ร่างกายของเราต้องการวิตามินบี 6 จากอาหาร และวิตามินบี 6 หรือ ไพริดอกซิน จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่ช่วยในการสร้างกรดอะมิโน การสร้างโปรตีนและการทำงานของเซลล์นับร้อย นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อสร้างไนอาซิน (วิตามิน B3) จากกรดอะมิโนทริปโตเฟนได้อีกด้วย บทบาทอื่น ๆ ของวิตามินบี 6 ได้แก่ […]

16 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 5 สูง

“วิตามินบี 5” (Vitamin B5) หรือ Pantothenic Acid (กรดแพนโทเทนิก) เป็นอีกหนึ่งชนิดของวิตามินบีและก็เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ ซึ่งร่างกายของเราสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้จากแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ วิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะถูกทำลายได้ง่ายมากจากความร้อน กรด และด่าง เช่น กรดน้ำส้มหรือด่างที่เป็นโซดาทำขนมที่เราเรียกกันว่า Baking Soda ค่ะ ในส่วนของหน้าที่ที่สำคัญของวิตามินบี 5 ที่มีต่อร่างกายของเราก็จะคล้ายๆ กับวิตามินบีตัวอื่นๆ โดยจะมีบทบาทในการเผาผลาญพลังงาน คือจะทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ต่อปฏิกิริยาเคมีที่ก่อให้เกิดพลังงาน และนอกจากนี้ยังมีบทบาทในการสังเคราะห์ไขมัน ฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตในการบรรเทาอาการเครียดและสารสื่อประสาทในสมอง รวมทั้งช่วยในกระบวนการสร้างเซลล์ต่างๆ ที่มีผลในการเจริญเติบโตของร่างกายด้วยค่ะ โดยปกติแล้ววิตามินบี 5 หรือกรดแพนโทเทนิกจะมีอยู่ทั่วไปในอาหารจึงไม่ค่อยพบการขาดวิตามินบี 5 นัก ถ้าจะขาดก็คงเป็นคนที่มีภาวะทุพโภชนาการหรือขาดสารอาหารอย่างรุนแรงนั่นเองค่ะ โดยอาการเมื่อขาดวิตามินบี 5 มีดังนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ชาที่มือและเท้า เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ นอนหลับไม่สนิท รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่เท้าหรือที่เรียกว่า “Burning Feet Syndrome” ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 3 สูง

“วิตามินบี 3” (Vitamin B3) หรือ Niacin, Nicotinic Acid, Niacina Mide เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโคเอนไซม์ที่ช่วยในการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย และเกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหารรวมถึงการผลิตฮอร์โมนทางเพศและสุขภาพผิวหนังของเราด้วยค่ะ ร่างกายของเราสามารถสร้างวิตามินบี 3 เองได้โดยใช้กรดอะมิโนทริปโตเฟน แต่ถ้าเมื่อไหร่ร่างกายของเราขาดวิตามินบี 1, 2 และ 6 ไปก็จะทำให้ไม่สามารถสร้างวิตามินบี 3 จากทริปโตเฟนได้ วิตามินบี 3 เป็นวิตามินที่ทนสภาวะความร้อนได้ดีและเกิดการสูญเสียประสิทธิภาพน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นจากการปรุงอาหารหรือจากการเก็บรักษา การขาดไนอะซินหรือวิตามินบี 3 จะนำไปสู่โรคที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร ทางผิวหนัง และระบบทางประสาท ทางด้านผิวหนัง อาการทางด้านผิวหนังเมื่อเราขาดไนอะซิน ผิวหนังจะอักเสบหรือผิวบอบบางทำให้ไวต่อการสัมผัสแสงแดดจนเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง อาจมีผื่นดำ ตกสะเก็ด ผิวลอก นำไปสู่โรคเพลลากรา (Pellagra) คือการเป็นผื่นผิวหนังอักเสบรุนแรง ทางด้านระบบทางเดินอาหาร อาการช่วงแรกจะมีอาการแสบร้อนคอ เบื่ออาหาร ท้องอืดแน่นท้องอาหารไม่ย่อย คลื่นไส้อาเจียนและอาจจะถ่ายอุจาระมีเลือดออก ทางด้านระบบประสาท เป็นโรคจิตเภทความจำเลอะเลือน สับสนวุ่นวาย นำไปสู่โรคซึมเศร้า มีความพิการทางสมองทำให้ผู้ป่วยซึม มือเกร็ง ส่วนใหญ่คนที่ขาดไนอะซินหรือวิตามินบี 3 เนื่องจากรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี […]

14 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 2 สูง

“วิตามินบี 2 (Vitamin B2)” หรือ Riboflavin เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ เป็นวิตามินที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย โดยช่วยให้ร่างกายเราใช้ประโยชน์จากวิตามินบีชนิดอื่นๆ ได้ และช่วยให้ร่างกายของเราได้ใช้พลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป นอกจากนี้ยังอาจช่วยปกป้องเซลล์ที่เกิดความเสียหายจากอนุมูลอิสระ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต adrenal gland ซึ่งโดยทั่วไปคนเรามักจะขาดไรโบฟลาวินเหมือนกันกับไธอะมีน(วิตามินบี1) และเมื่อเราขาดวิตามินบี 2 หรือ ไรโบฟลาวินไปจะเห็นได้ชัดจากการเกิดแผลเปื่อยที่มุมปาก ที่เราเรียกกันว่า “ปากนกกระจอก” (angular stomatitis)   แพ้แสง มองแสงจ้าไม่ได้ ตาจะมองไม่ชัด คันตา ซีด ริมฝีปากแดง ปวดแสบในปากและลิ้น ร่องจมูกและเปลือกตาจะมีการอักเสบ มีขุย บางทีอาจจะปวดหัวไมเกรน การขาด Riboflavin จะมีผลต่อการสร้างคอลลาเจนที่จำเป็นต่อเส้นผมและผิวหนังของเราค่ะ เนื่องจาก Riboflavin มีบทบาทในการรักษาระดับคอลลาเจน เลยมีผลต่อความแข็งแรงของผิวหนังและเส้นผม คอลลาเจนเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาโครงสร้างและป้องกันริ้วรอยบนผิวหนัง การขาดสาร Riboflavin อาจจะส่งผลให้การรักษาบาดแผลช้าลงด้วยค่ะ ดังนั้นการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 2 จะสามารถช่วยให้คุณในการเอาชนะปัญหาสุขภาพมากมาย รวมถึงสามารถปรับปรุงการทำงานของเซลล์ที่เกิดจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระอีกด้วย ดังนั้นเราควรได้รับวิตามินบี 2 ให้เหมาะสมต่อวันคือ 1.7 มิลลิกรัมต่อวัน […]

15 ชนิดของอาหารที่มีวิตามินบี 1 สูง

“วิตามินบี 1” (Vitamin B1) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไธอะมีน (Thiamine) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำ (water soluble vitamine) ซึ่งจะถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อนที่อยู่ในสารละลายมีฤทธิ์เป็นด่างหรือเป็นกลาง และสามารถทนได้ถึง 120 องศาเซลเซียสถ้าอยู่ในสารละลายที่เป็นกรดค่ะ โดยร่างกายของมนุษย์เราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมินได้เพราฉะนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารและจะถูกนำไปใช้จนหมดอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับเพิ่มจากอาหาร ในส่วนของหน้าที่สำคัญในการทำงานของไธอะมีนที่มีต่อร่างกายของเราคือ จะไปช่วยร่างกายของเราให้เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตมาเป็นพลังงาน โดยการเร่งการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นหลักรวมถึงโปรตีนและไขมันอีกด้วยค่ะ เนื่องด้วยร่างกายของเราไม่สามารถสังเคราะห์ไธอะมีนได้นอกเสียจากได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้นอีกทั้งยังถูกนำไปใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในบางคนจึงไม่เกิดอาการขาดวิตามินบี 1 ได้ง่ายอาจจะเพราะได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ เมื่อร่างกายเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะทำให้เป็น โรคเหน็บชา ได้ง่ายและก็เกิดได้กับบุคคลทุกกลุ่ม ทุกอายุ เด็กทารกถ้าเป็นโรคเหน็บชา (Infantile beriberi) จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันต่อโรค ซึ่งพบได้มากในประเทศที่รับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีเป็นอาหารหลัก โดยที่ไม่ได้รับอาหารอย่างอื่นที่มีวิตามินบี 1 มาเสริมเพิ่มเติมอย่างเพียงพอ เมื่อร่างกายของเราได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็จะมีสัญญาณเตือนว่าเรามีอาการขาดวิตามินบี 1 โดยที่เราจะรู้สึกเหนื่อยเมื่อยล้าง่าย เริ่มเบื่ออาหารการกิน นอนก็ไม่ค่อยจะหลับ อารมณ์แปรปรวน สมองมึนงงความคิดสับสนวกวนจากการเสื่อมสภากของระบบประสาท หากขาดรุนแรงก็อาจจะทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชาตามปลายมือปลายเท้า รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นอัมพาตและโรคหัวใจวายได้ และการขาดหรือได้รับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอก็เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้ค่ะ […]

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) จะเป็นที่รู้จักและนิยมเลือกมารับประทานกันในแวดวงคนที่รักสุขภาพโดยเฉพาะในต่างประเทศ ร้านค้าที่เรียกว่าซูปเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศที่ไปทางไหนอาหารทุกอย่างเกือบทุกชนิดที่จะต้องมีอาหารประเภทออร์แกนิก และราคาก็จะแตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิกซึ่งอาหารที่เป็นออร์แกนิกจะมีราคาที่สูงกว่า และคนต่างประเทศค่อนข้างจริงจังที่จะเลือกซื้อหรือหยิบอาหารที่เป็นออร์แกนิกอยู่เสมอๆ ในบางคนถึงกับสงสัยว่าทำไมราคาถึงได้ต่างกันขนาดนี้นะในเมื่อชนิดของอาหารก็เป็นชนิดเดียวกันรูปร่างหน้าตาของอาหารก็เหมือนกัน ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่เป็นอาหารออร์แกนิก ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันด้วยที่เป็นออร์แกนิกอย่างเช่น เครื่องปรุงอาหาร เป็นต้น นี่จึงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้เขียนได้คลายความสงสัยเลยจึงอยากนำเอาข้อมูลมาแบ่งปันกันค่ะ ว่าแล้วอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้มันคืออะไรกัน ทำไมถึงเป็นที่นิยมกันมากนักในพวกคนที่รักสุขภาพ ถ้าจะพูดไปสมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น และบางคนที่ยังไม่ทราบว่าอาหารออร์แกนิกคืออะไรอย่างแน่ชัดแต่เห็นคนอื่นบอกดีก็กินตามกันไป และก็เป็นเรื่องปกติซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใดค่ะ แค่อย่างน้อยอยากให้ตัวเราเองทราบข้อมูลที่แท้จริงไว้ซึ่งบางทีอาจจะสามารถนำข้อมูลไปบอกต่อคนอื่นๆ ได้อีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วเราไปดูข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารออร์แกนิก กันเลยค่ะ อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร อาหารออร์แกนิก (Organic Food) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารเกษตรอินทรีย์ หรือ อาหารอินทรีย์ นั่นก็หมายความว่าอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้คืออาหารที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตจากทางเกษตรโดยที่ไร้หรือปลอดสารเคมีทุกชนิดคือไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีรวมถึงวัตถุสังเคราะห์ต่างๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงไม่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมจากเมล็ดพันธุ์อีกด้วยค่ะ ซึ่งก็รวมไปถึงกระบวรการผลิตก็จะต้องไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดพืชด้วย และก่อนที่จะเริ่มการปลูกก็จะต้องเตรียมหน้าดินด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าทุกกระบวนการและขั้นตอนการผลิตนั้นจะต้องไม่มีหรือปลอดสารปนเปื้อนทั้งสิ้นไม่ว่าจะจากมนุษย์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม และจะไม่มีการฉายรังสีหรือเพิ่มเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ลงไปในอาหารอีกด้วย แม้กระทั่งในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์จะต้องเลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารที่มีสุขอนามัย ถ้าอาหารที่มาจากการทำปสุสัตว์ก็จะต้องไม่มีการใช้สารปฎิชีวภาพ ไม่ใช้สารที่เร่งฮอร์โมนด้วย จากการตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมอาหารออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตราประทับว่าออร์แกนิก (Organic) ถึงได้มีราคาที่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ก็เนื่องจากสินค้าออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสัดส่วนของส่วนผสมและวัตถุดิบที่เกิดจากการเพาะปลูกด้วยกระบวนการออร์แกนิก โดยการควบคุมและการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ […]