Browse Tag: กระเทียม

16 ชนิดของอาหารที่ช่วยขับสารพิษจากมลพิษทางอากาศ

bar chart

Image © michael davis-burchat (License CC BY-ND 2.0)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสภาพอากาศของประเทศไทยที่ปกคลุมไปด้วยมลพิษของฝุ่นที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพเรานั้น ได้มีผลกระทบส่งผลให้เห็นได้อย่างชัดเจนเบื้องต้นเลยคือ อาการเจ็บคอ ไอ จาม และก็มีอาการเจ็บป่วยตามมา ถึงแม้เราจะสัมผัสไม่ได้เลยทำให้ชะล่าใจว่า ‘’คงไม่เป็นอะไรหรอกมั้ง’’ หรือ ‘’ไม่เห็นจะมีอะไรเลย’’ ก็ตาม จนกระทั่งรวมไปถึงการไม่ป้องกันตัวเองเอาเสียเลย เดินตัวปลิวท่ามกลางมลพิษ สูดดมเอามลพิษเข้าไปเต็มปอด ไม่ทำการสวมแมสป้องกันแต่อย่างใด กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อเกิดผลกระทบและมีอาการต่างๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น ทางบล็อกของเรามีความห่วงใยและใส่ใจต่อผู้อ่านอันเป็นที่รักที่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเขตที่มีมลพิษปกคลุมอย่างหนักหน่วง จึงได้ทำการค้นหาข้อมูลวิธีการดูแลตัวเองจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้มาฝากค่ะ เราต่างก็คงจะทราบกันดีแล้วนะคะว่ามลพิษทางอากาศนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราได้ โดยที่พิษชนิดต่างๆ เหล่านั้นเมื่อเข้าสู่ร่างกายของเราก็จะไปทำการสะสม ซึ่งพิษเป็นสารพิษที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตหรือเซลล์ที่มีชีวิต เมื่อสารพิษได้ตกค้างและสะสมอยู่ในร่างกายของเรามันก็จะกลายสภาพเป็นรูปแบบของโรค โดยเป็นการเชื่อมโยงระหว่างร่างกายและจิตใจ ร่างกายของคนเราเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของสมองของเรา ซึ่งร่างกายของคนเราเนี่ยจำเป็นต้องล้างพิษเป็นประจำเพื่อการเผาผลาญอาหารได้ดีและเร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการรักษาร่างกายของเราให้ปลอดจากสารพิษและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการรักษาคุณภาพของชีวิตเพื่อให้มีสุขภาพดีไม่เจ็บไม่ป่วยนั่นเองค่ะ

ทราบกันหรือไม่คะว่ามลพิษทางอากาศก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้อย่างไร ?

คำตอบก็คือ เมื่อคุณหายใจในอากาศที่ไม่ว่าจะมีมลพิษฝุ่นละอองหรือมลพิษอื่นๆ ซึ่งมลพิษเหล่านั้นก็จะแทรกซึมเข้าไปในร่างกายและทำให้เยื่อบุของหลอดลมและปอดพองตัว ซึ่งสิ่งนี้แหละจะนำไปสู่โรคทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ มะเร็งปอด โรคหอบหืด หายใจดังเสียงฮืดๆ ไอ และหายใจลำบาก หากคุณมีภาวะหัวใจและทางเดินหายใจใดๆ ที่มีอยู่แล้วอาการเหล่านี้ก็จะยิ่งแย่ลงที่มาจากการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศนั่นเองค่ะ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์เหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องปกติทีจะเกิดขึ้นบ่อยในประเทศไทยเรา จนทำให้บางท่านก็คิดว่ามันคงจะไม่สำคัญอะไรไม่ได้จำเป็นหรืออันตรายใดๆ เพราะว่ามันจับต้องหรือสัมผัสโดยตรงไม่ได้ แต่ยังไงก็อย่าลืมติดตามข่าวสารและเช็คระดับอันตรายของฝุ่นไว้ด้วยก็ดีนะคะการป้องกันไว้ก่อนซึ่งดีกว่าต้องมาตามแก้ทีหลังเมื่อมันเกิดขึ้นหรือลุกลามค่ะ เอาล่ะเราอย่าได้รอช้ากันเลยค่ะในเมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และยังจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองที่เต็มไปด้วยมลพิษนี้อยู่ งั้นเราก็ควรรู้จักการป้องกันและดูแลตัวเองให้มีสุขภาพที่ดีนอกจากป้องกันภายนอกจากการใส่แมสปิดจมูกไว้แล้ว การเลือกรับประทานอาหารเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษทางอากาศก็สำคัญยิ่งค่ะ โดยพบว่าอาหารบางชนิดที่อุดมไปด้วยวิตามินซีและอี สามารถช่วยทำความสะอาดระบบในร่างกาย โดยเฉพาะทางเดินหายใจ เนื่องจากอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและมีคุณสมบัติต้านการอักเสบนั่นเองค่ะ

 

16 ชนิดของอาหารที่ช่วยขับสารพิษจากมลพิษทางอากาศ

Street Food

Image © David Guyler (License CC BY 2.0)

1.น้ำเปล่า

น้ำเปล่า หรือน้ำดื่มที่ถือเป็นแหล่งของอาหารที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ โดยเฉพาะในเรื่องของการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายของเรา เนื่องจากน้ำจะเป็นส่วนประกอบของร่างกายของเราแล้วน้ำยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกอวัยวะส่วนของร่างกายอีกเช่นกันค่ะ โดยที่น้ำจะไปทำการช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและช่วยให้ร่างกายสดชื่นผิวหนังมีความชุ่มชื้น โดยเฉพาะสภาวะอย่างนี้เรายิ่งควรจะดื่มน้ำเปล่าบ่อยๆ ซึ่งควรจะดื่มน้ำอย่างน้อย 3 ลิตรต่อวัน ถ้าใครที่ไม่ชอบดื่มน้ำทุกวันก็อาจจะส่งผลทำให้ไตทำงานหนักเกินไปและก็อาจจะนำไปสู่โรคไตได้อีกด้วยค่ะ

 

2.บรอคโคลี่

พบว่าในบรอคโคลี่สีเขียวเข้มนี้มีสารซัลโฟราเฟนที่เป็นสารประกอบที่ต่อต้านการก่อให้เกิดมะเร็งและจะไปช่วยขับสารพิษที่เกี่ยวข้องกับโอโซนและมลพิษจากฝุ่นละอองออกจากร่างกาย นอกจากการกินบรอคโคลี่แล้วผักตระกูลกะหล่ำอื่นๆ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคความเสื่อมได้โดยเฉพาะมะเร็งค่ะ

 

3.อะโวคาโด
การลดลงของระดับวิตามินอีในร่างกายมนุษย์นั้นจะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยของสภาพปอด เช่นโรคหอบหืด ดังนั้นการบริโภคอาหารจำพวก อะโวคาโดหรือผักโขม ที่มีวิตามินอีสูงจะสามารถช่วยในการรับมือจากผลกระทบของมลพิษที่มากจากฝุ่นได้ค่ะ

 

4.กระเทียม

ใครจะรู้ว่ากระเทียมนี่แหละเป็นแหล่งของกำมะถันที่มีประโยชน์ต่อสภาพผิวอีกทั้งยังทำให้เส้นผมของเราเงางามอีกด้วย นอกจากนั้นกระเทียมยังช่วยขับล้างพิษที่ตกค้างอยู่ในร่างกายของเรา ดังนั้นอย่าลืมนำกระเทียมมาปรุงในอาหารแต่ละมื้อของคุณล่ะ!

 

5.ขมิ้น
ขมิ้นเป็นเครื่องเทศที่นิยมใช้นำมาปรุงอาหารและยาในปัจจุบัน ซึ่งขมิ้นเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบที่สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งและขับล้างสารพิษจากตับได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

6.หัวหอม
โชคดีที่บ้านเรานั้นมีหัวหอมในการประกอบอาหารหลายอย่างค่ะ โดยหัวหอมจะเต็มไปด้วยกรดอะมิโนที่มีกำมะถันซึ่งมีประสิทธิภาพดีต่อการขับสารพิษออกจากตับค่ะ หัวหอมดิบให้ประโยชน์ด้านสุขภาพมากที่สุดและต้นหอมดิบก็อร่อยเมื่อรับประทานเป็นผักแนบเคียงค่ะ

 

7.บีทรูท
บีทรูทสีแดงที่นิยมใส่ในจานสลัดหรือผสมในน้ำผลไม้ปั่นนั้น ใครจะรู้ว่าบีทรูทมีสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยในการบำรุงตับได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้หัวบีทยังช่วยกำจัดสารพิษ อนุมูลอิสระ และช่วยต่อต้านมะเร็งในร่างกายได้อีกด้วยค่ะ

 

8.ขิง
ที่บ้านเรานำขิงมาประกอบอาหารค่อนข้างหลากหลายค่ะ และขิงก็มีคุณสมบัติที่ช่วยในการสมานแผลและใช้เป็นยา การดื่มน้ำขิงหรือรับประทานอาหารที่มีขิงเป็นส่วนประกอบนั้นจะช่วยในการซ่อมแซมการทำงานของตับให้ดีขึ้นค่ะ

 

9.น้ำมันมะกอก
การรับประทานน้ำมันมะกอกเพื่อให้ได้รับประโยชน์ต่อสุขภาพที่ดีที่สุดนั้น คือการโรยลงไปในสลัดจานโปรดนั่นเอง เพราะถ้าน้ำมันมะกอกผ่านความร้อนนั้นจะทำให้เปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีและสูญเสียคุณสมบัติด้านสุขภาพไปค่ะ ซึ่งสาร Alpha-tocopherol วิตามินอีที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกจะช่วยเพิ่มการทำงานของปอดได้ดี กรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกยังมีประโยชน์ในการลดการอักเสบอีกด้วยค่ะ

 

10.มะเขือเทศ
อย่างที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าในมะเขือเทศลูกกลมๆ สีแดงสดนี้มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่าไลโคปีนที่สูงมาก ซึ่งสารไลโคปีนที่ว่านี้สามารถช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจของเราได้เป็นอย่างดีเยี่ยมเลยแหละ

 

11.Flaxseed
เมล็ดแฟลก (Flaxseed) มี phytoestrogens และกรดไขมันโอเมก้า 3 ในระดับสูง ไฟโตเอสโทรเจนมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดอาการของโรคหอบหืดและอาการแพ้อื่นๆ สามารถเพิ่มลงในสลัดหรือแซนวิสในตอนเช้าก็เป็นอีกทางเลือกค่ะ

 

12.มะนาว
มะนาวเป็นแหล่งที่ดีที่สุดของวิตามินซี ซึ่งสามารถช่วยในการย่อยอาหารและยังเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระช่วยในการขับล้างสารพิษในร่างกาย จะบีบมะนาวผสมน้ำอุ่นๆ แล้วดื่มก่อนนอนก็ไม่เลวนะคะ

 

13.โหระพา
พืชผักอย่างโหระพาที่มีใบสีเขียวมีกลิ่นเฉพาะนั้นจัดเป็นสมุนไพรชั้นดีที่มีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย และมีสารต้านอนุมูลอิสระเต็มรูปแบบในการปกป้องตับ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งของอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย แค่เพียงรับประทานวันละสี่หรือห้าใบต่อวันนั้นก็เพียงพอต่อการซ่อมแซมระบบภูมิคุ้มกันเราได้แล้วค่ะ

 

14.แอปเปิ้ล
แอปเปิ้ลนั้นอุดมไปด้วยไฟเบอร์และวิตามินเอ ซึ่งช่วยในการชำระล้างสารพิษในร่างกายของเรา การเลือกรับประทานแอปเปิ้ลสักผลในตอนเช้ายังทำให้สดชื่นไม่หนักท้องแถมดีต่อสุขภาพอีกด้วย


15.ไวน์ขาว
ไวน์ที่ทำจากผลองุ่นจะมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูงมาก พบว่าการดื่มไวนนั้นดีต่อระบบทางเดินหายใจและสุขภาพของหัวใจนั่นเอง

 

16.ผักชี
ผักชีสามารถช่วยในการย่อยอาหารและรักษาระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับที่ปกติ ดังนั้นอาหารมื้อต่อไปอย่าลืมโรยหน้าด้วยผักชีบ้างนะคะ 😉

 

ทุกวันนี้มีปัจจัยหลายอย่างรอบตัวที่รบกวนสภาวะจิตใจและสภาวะร่างกายให้บอบช้ำ สูญเสียจากการสะสมของมลพิษทางสภาวะแวดล้อมต่างๆ ก็ยิ่งทำให้สุขภาพของเราย่ำแย่ลงไปทุกวัน ถ้าไม่มีการบำรุงแก้ไขหรือป้องกันก็อาจจะทำให้แย่ลงได้ การเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องนั้นก็สามารถช่วยบำรุง ซ่อมแซม ก็สามารถช่วยให้เราไกลจากโรคภัยไข้เจ็บได้ค่ะ ถึงแม้จะเป็นเรื่องไม่ไกลตัวแต่ก็ไม่อยากให้มองข้ามกันนะคะ

 

3 ข้อเคล็ดลับสุดยอดของสูตรต้านความแก่

cute-hair-1
Source: Flickr (click image for link)

วันนี้ HealthGossip มีบทความให้มาอ่านกันเล่นๆแต่เนื้อหาที่มีสาระ เกี่ยวกับเรื่องของความแก่ที่เป็นเรื่องที่รบกวนจิตใจใครหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย โดยเฉพาะผู้หญิง คำว่า แก่ พูดเบาๆก็เจ็บค่ะ เป็นอะไรที่ได้ยินแล้วรู้สึกไม่ลื่นหูเอาซะเลย ต่อให้ไม่พูดว่าแก่ แต่พอเราบอกให้คนอื่นทายอายุทีไร ชอบตอบเกินอายุจริงซะเหลือเกิน ทำยังกับหน้าตาเรามันทรยศกับอายุซะยังไงยังงั้นแหนะ ยากที่จะทำใจยอมรับได้ หากใครมาพูดให้ได้ยินใกล้ๆแล้วล่ะก็แทบอยากจะทำเนียนเป็นไม่รู้ ไม่เข้าใจซะดื้อๆ อึนๆเนียนๆไป เพราะอย่างนี้ไม่รีรอค่ะ เราจึงได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับการชะลอความแก่มาลงให้หลายๆคนได้อ่านกัน อย่างน้อยเผื่อมันจะเป็นอีกทางเลือกทางหนึ่ง หรือสำหรับบางคนที่สนใจจะลองนำไปปรับใช้ก็ไม่ว่ากันค่ะ โดยแนวทางการแพทย์เวชศาสตร์อายุวัฒน์ กำลังได้รับความนิยมเพราะใครๆ ก็อยากอยู่อย่างมีคุณภาพด้วยอายุขัยที่มากขึ้นและกฌอยากมีความอ่อนเยาว์อยู่ตลอดกาลก็ไม่ปาน และอาหารก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของการชะลอความแก่ของวัย คำว่า เวชศาสตร์อายุวัฒน์ โดย นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช บัญญัติจาก ภาษาสันสกฤตสองคำนำมาสมานกันโดยให้ความหมายตรงกับคำว่า Anti aging คือการมีชีวิตที่ยืนยาวและเจริญรุ่งเรือง หรือ มีคุณภาพชีวิตที่ดี นั่นเองค่ะ (อายุ (Ayu)=ชีวิต,วัฒนะ=เจริญรุ่งเรือง) จากการบรรยายของนายแพทย์ กฤษดา ศิรามพุช เจ้าของหนังสือขายดี ถอดรหัสความชรา ตอนชีวิตเริ่มต้นที่ หกสิบปี ในหัวข้อ Anti aging medicine and Nano Era ให้กับผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่สนใจแนวทางการมีชีวิตยืนยาว โดยไม่เจ็บป่วย ป่วยไข้ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน ในเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา แนวทางการแพทย์ที่นับว่าเป็นแนวทางใหม่ล่าสุดที่ได้รับการคาดหมายว่า จะกลายเป็นการแพทย์ศตวรรษใหม่ คือ เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ ซึ่งเป็นคำจำกัดความของคุณหมอในการแปลหนังสือเล่มแรก อายุยืนควรกำหนดได้ หรือ Life Extension Revolution ของนายแพทย์ฟิลลิป มิลเลอร์ กูรู ด้าน Anti aging medicine ซึ่งหากจะให้คำจำกัดความง่ายๆ ศาสตร์การแพทย์แผนใหม่นี้ คือ การทำความเข้าใจถึงสาเหตุของความแก่ชรา หาจุดอ่อนในร่างกายของแต่ละบุคคลที่ทำให้ความชรามาเยือน แล้วจึงแก้ไขให้ตรงจุดโดยอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เมื่อรวมกับความคาดหมายถึงความสำเร็จของ Nanomedicine หรือยานาโน ซึ่งจะเข้าไปทำงานในร่างกายระดับเซลล์ จึงทำให้ศาสตร์นี้เป็นความหวังใหม่ของมนุษยชาติ

ในหัวข้อนี้นอกจาเราจะเสนอสูตรวิธีในการรับประทานอาหารเพื่อชะลอความแก่แล้ว เรายังมีเคล็ดลับ ปัจจัยต่างๆที่เป็นผลกระทบต่อการทำให้เราแก่เร็วขึ้นมาบอกกันอย่างครบเครื่องกันเลยทีเดียวค่ะ

 

สูตรสุดยอดอาหารต้านความแก่

หัวใจสำคัญของการไม่ยอมแก่

แนวทางง่ายๆสำหรับการชะลอวัยที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เอาไว้เป็นสามแนวทางคือ

  1. จำกัดปริมาณที่ได้รับจากอาหาร แต่ต้องถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  2. ใช้ชีวิตด้วยวิถีสุขภาพ
  3. ดูแลสุขภาพจิตให้แข็งแรง

โดยจะเน้นไปที่การจำกัดพลังงานที่ได้รับหรือกินอาหารให้น้อยลง แต่ยังคงคุณค่าของสารตามที่ร่างกายต้องการไว้ ถือ ได้ว่าเป็นหัวใจของการชะลอวัยเลยทีเดียว เพราะหากสาเหตุของความแก่ตัวลงของเซลล์มาจากการเผาผลาญอาหาร หรือกระบวนการเมตาบอลิซึม ทำให้เกิดของเสียจากการเผาผลาญพลังงาน นั่นคือ อนุมูลอิสระ ซึ่งเจ้านี่เองที่ทำให้เกิดรอยเหี่ยวย่น และอาการแสดงออกของความแก่ต่างๆ โดยสูตรสุดยอดที่จะชะลอความแก่ มีดังนี้

  1. อาหาร

เมื่อหัวใจของสุขภาพร่างกายคืออาหาร ซึ่งเวชศาสตร์อายุวัฒน์ก็เน้นเรื่องของอาหารมากเช่นกัน มีความพยายามมากมายที่จะหาทางต้านความแก่ จนกลายเป็นการทดลองใช้ยาหลายๆชนิดรวมกัน ซึ่งก็พบว่าสามารถชะลอความแก่ได้ อันเรียกว่า ทฤษฎี poli-pill ในขณะเดียวกันมีแนวความคิดใหม่เกิดขึ้นเนื่องจากคงไม่มีใครอยากกินยาวันละมากๆเพียงเพื่อการมีชีวิตอยู่ แต่หากเปลี่ยนเป็นอาหาร ก็ดูท่าว่าจะมีความเป็นไปได้สูงและผลของการทดลองก็ออกมาได้อย่างน่าตื่นเต้น เมื่อพบว่าเมื่อกินอาหาร 6 อย่างนี้ ในปริมาณที่กำหนดให้ ผลการต้านความชราได้เท่ากับการกินยาหลากหลายเม็ด เรียกแนวคิดนี้ว่า poly-meal

  • ดื่มไวน์วันละ 150 มล. เนื่องจากเรสเวอราทรอลจากไวน์เป็นยอดยาอายุวัฒนะชั้นเลิศ
  • ปลาจากน้ำทะเลลึกวันละ 118 กรัม เพิ่มปริมาณ Omega 3 ให้กับร่างกาย
  • ช็อคโกแลตดำวันละ 100 กรัม (ซึ่งช็อกโกแลตชนิดนี้จะไม่หวานมันเหมือนช็อกโกแลตอื่นๆ)
  • ผักและผลไม้ วันละ 400 กรัม
  • กระเทียม วันละ 2.7 กรัม

อาหารต่างๆ เหล่านี้เรารู้จักกันดี แต่อาจไม่ได้มีโอกาสรับประทานบ่อยนัก หรือเป็นอาหาร ยี้ สำหรับคนบางคนเลยทีเดียว แต่หากดูจากผลการวิจัยพบว่าอาหารต่างๆเหล่านี้ ช่วยชะลอความชราให้คุณได้จริงๆ ซึ่งเปรียบเทียบกับอีกแนวทางที่นำเสนอ คือ การกินยาให้หลากหลาย หรือ poly-meal เป็นสิ่งที่น่าพิสมัยกว่ากันเยอะ

2. ฮอร์โมน…การควบคุมจิตใจ

จุดที่เป็นความต่างของศาสตร์นี้อีกประการ คือ การทำความเข้าใจกับฮอร์โมนร่างกาย ซึ่งเปรียบเหมือนตัวควบคุมร่างกายที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของระบบประสาท ของเหลวที่ผลิตขึ้นจากต่อมไร้ท่อที่เรียกว่าฮอร์โมนนั้น จะมีระดับการผลิตมากหรือน้อยแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล ฮอร์โมนนับสิบชนิดที่ทำหน้าที่ต่างกัน กับเชื่อมโยงร้อยเรียงกัน จุดเดียวกับการบรรเลงบทเพลงซิมโฟนีและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความรู้สึก อาจกล่าวได้ว่าสมองควบคุมร่างกายด้วยเส้นประสาท ส่วนจิตใจควบคุมด้วยร่างกายด้วยฮอร์โมนก็ว่าได้ ศาสตร์แห่งฮอร์โมนจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนซึ่งเวชศาสตร์อายุรวัฒน์ให้ความสำคัญ โดยการตรวจวัดความสมดุลฮอร์โมนและเติมฮอร์โมนที่ขาดลงไปซึ่งเป็นกระบวนการที่ละเอียดอ่อนเนื่องจากปริมาณฮอร์โมนกระแสเลือดนั้นมีน้อยมาก เช่น ฮอร์โมนเสตียรอยด์ และไทรอยด์ฮอร์โมน ในพลาสมามีเพียง 10-6 และ 10-9 เท่านั้น การให้ฮอร์โมนเสริมจึงเป็นเรื่องที่จะต้องระมัดระวังและละเอียด ถึงขนาดที่คุณหมอกฤษดา เรียกว่า การจูลฮอร์โมนกันหลายที่ทีเดียว เพราะฮอร์โมนทุกตัวสัมพันธ์กันหมด หากใช้รูปแบบของศาสตร์อายุรวัฒน์ จากตะวันตกคงไม่สามารถนำประโยชน์ของศาสตร์นี้มาใช้ได้อย่างเต็มที่ คุณหมอจึงให้ประยุกต์เข้ากับวิถีคนไทย โดยอิงหลักการพื้นฐานของการผลิตฮอร์โมนในร่างกาย คือ อารมณ์และจิตใจ ที่มีความสัมพันธ์กับ ระดับฮอร์โมน โดยผสมเข้ากับแนวทางของพุทธศาสนา จนพบว่าการนั่งสมาธิและการทำจิตใจว่าง เป็นเครื่องมือชั้นดีในการคุมระดับฮอร์โมนในร่างกายให้อยู่ในระดับสมดุล กลายเป็นศาสตร์แห่งการผสมผสานที่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ

3. วิถีชีวิตและสุขภาพ

– ดูแลหุ่นให้เพรียวไว้ จะเรียกได้ว่า ยิ่งผอมยิ่งอยู่ได้นานก็ไม่ผิด

– อย่าพยามยามให้เกิดแผลในร่างกาย เพราะการติดเชื้อเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเสื่อม

– เลิกสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการของความแก่ของผิวพรรณ และโรคร้ายต่างๆ

– อย่าปฏิเสธวิตามินและเกลือแร่เสริม หากคุณไม่สามารถกินอาหารได้ครบ 5 หมู่

– เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

– ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ ใส่เสื้อผ้าป้องกันแสงแดด เพื่อมิให้ผิวพรรณเหี่ยว หรือ มีรอยด่างดำ รวมทั้งฝ้า กระ

– ลดเวลาในการใช้โทรศัพท์มือถือ

– หัวเราะให้กับชีวิต

– ชะลอความเร่งรีบในชีวิตลงบ้าง

 

ปัจจัยในการดำรงค์ชีวิตไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันรสมถึงสุขภาพจิตใจ ฮอร์โมนของเรา ล้วนแต่เป็นผลกระทบหลักที่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียของร่างกาย และก็เป็นวิธีที่เราสามารถเลือกปฎิบัติและเลือกรับประทานกันได้ทั้งนั้น อยู่ที่เราจะรักษาดูแลกันมากน้อยแค่ไหน หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้หลายๆคน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ก่อนที่จะตัสินใจเสียเงินมากมายในการดูแลภายนอกแค่เพียงทางเดียวนะคะ 🙂

 

www.flickr.com/photos/angel_ina/4908486912/

L-Carnitine คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

steak-beef-1
Source: Flickr (click image for link)

สมัยนี้มีอาหารเสริมมากมายหลายชนิดเต็มไปหมด บางตัวก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร ช่วยเรื่องอะไรบ้าง บางทีก็อยากจะรู้อยากลองอยากที่จะกินดูบ้างแต่มันก็ยังไม่แน่ใจและยังคงลังเล ฟังคนนู้นทีคนนี้ทีบอกว่าตัวนี้ดีอย่างนั้นอย่างนี้ วันนี้ทาง HealthGossip เลยอยากจะยกอาหารเสริมตัวหนึ่งมาบอกเล่ากันเพื่อให้เรารู้จักและเข้าใจความหมายกันมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของคนที่อยากลดน้ำหนักหรือลดความอ้วน อาหารเสริมตัวนี้ถือว่าเป็นตัวหลักที่เลือกรับประทานกันเลยทีเดียว ซึ่งเห็นบอกว่าช่วยลดความอ้วนได้ แต่จะลดได้ยังไงนั้น ก่อนอื่นเรามารู้จักทำความเข้าใจความหมายของอาหารเสริมตัวนี้กันก่อนเลยค่ะ ซึ่งอาหารเสริมตัวนี้มักคุ้นหูกันในชื่อที่เรียกกันว่า “แอลคาร์นิทีน” โดยที่ คาร์นิทีน เป็นสารประกอบจตุรภูมิของแอมโมเนียมที่สังเคราะห์ได้จากกรดอะมิโนสองชนิดคือ ไลซีนและเมธไทโอนีน ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตคาร์นิทีนจะลำเลียงกรดไขมันจากไซโตซอลเข้าสู่ไมโทคอนเดรียระหว่างการสลายของลิพิด (ไขมัน) เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงาน คาร์นิทีนถูกใช้เป็นอาหารเสริมกันอย่างกว้างขวาง เดิมคาร์นิทีนพบว่าเป็นปัจจัยในการเจริญเติบโตของหนอนนกและมีอยู่บนฉลากวิตามินบี คาร์นิทีนมีอยู่ 2 stereoisomers : Active form คือ L-carnitine ขณะที่ inactive form คือ D-carnitine

แอลคาร์นิทีน (L-Carnitine) เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเราเอง โดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโน 2 ตัว คือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนีน (methionine) และ ถูกใช้ไปในหน้าที่ต่างๆ หลายอย่าง เช่น เข้าไปช่วยเพิ่มกระบวนการในการดึงไขมันไปใช้ โดยการขนส่งกรดไขมัน (fatty acid) เข้าไปในศูนย์กลางของการสร้างพลังงานของเซลล์ หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ แอล-คาร์นิทีนช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มาส่วนใหญ่ก็จะถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย และเพราะกระบวนการพื้นฐานดังกล่าวของสารชนิดนี้ จึงทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้างโฆษณาเพื่อให้เห็นว่า “เมื่อกินแอล-คาร์นิทีน แล้วร่างกายเหมือนจะได้ทำงานดึงไขมันไปใช้ตลอดเวลา แม้แต่ในยามหลับ” L-Carnitine ทำหน้าที่สำคัญในระบบเมตาบอลิซึมเพื่อสร้างพลังงาน โดยผ่านกระบวนการเผาผลาญกรดไขมันที่เรียกว่า Beta-oxidation ซึ่งเกิดภายในไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) ของเซลล์ต่างๆ รวมไปถึงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อลาย โดยปกติ L-Carnitine จะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ Acyl-Carnitine ทำหน้าที่ขนส่งกรดไขมันสายยาวเพื่อนำไปเผาผลาญภายในไมโตคอนเดรียแล้วจึงเปลี่ยนกลับมาเป็น L-Carnitine เหมือนเดิม ดังนั้นเราจึงอาจกล่าวได้ว่า L-Carnitine มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อวัฏจักรของการสลายกรดไขมันในร่างกาย ขณะเดียวกันการขาด L-Carnitine นอกจากจะมีผลเสียต่อเมตาบอลิซึมของกรดไขมันแล้วยังอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาที่พบว่าการให้ L-Carnitine สามารถลดอัตราการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ (All- cause mortality, 27%) ลดภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ (Ventricular arrhythmias, 65%) และลดการปวดเค้นของกล้ามเนื้อหัวใจ (Angina, 40%) แต่ไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อการลดอุบัติการการเกิดโรคหัวใจวาย (Heart failure)

แหล่งของคาร์นิทีน จะพบมากในเนื้อแดงและผลิตภัณฑ์จากนม คาร์นิทีนจากแหล่งธรรมชาติอื่นๆ ประกอบด้วยถั่วและเมล็ดพืช (เช่น ฟักทอง ทานตะวัน งา) พืชตระกูลถั่วหรือเมล็ดถั่ว (ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วแขก, ถั่วลิสง) ผัก (อาร์ติโชค, หน่อไม้ฝรั่ง, หัวผักกาดเขียว, บร็อคโคลี่, กะหล่ำดาว, ผักคอลลาร์ด, กระเทียม, ผักกาดเขียวปลี, กระเจี๊ยบมอญ, พาสลี่ย์, คะน้า) ผลไม้ (แอปปริคอท, กล้วย) ธัญพืช (บัควีท(buckwheat), ข้าวโพด, ลูกเดือย, ข้าวโอ๊ต, รำข้าว, ข้าวไรย์, ข้าวสาลี, รำข้าวสาลี, จมูกข้าวสาลี) และอื่นๆที่เป็นอาหารสุขภาพ (ละอองเกสรดอกไม้, ยีสต์ที่ใช้หมักสุรา, carob)การดูดซึมคาร์นิทีนของร่างกาย การดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน

 

L-Carnitine กับการควบคุมหรือลดน้ำหนัก

ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มากมายต่างระบุตรงกันว่าการใช้ L-Carnitine ช่วยส่งเสริมเมตาบอลิซึมของกรดไขมันตามกลไกที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยเฉพาะเมื่อเรามีการออกกำลังกายชนิดแอโรบิกร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะว่าการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอหรือแอโรบิก (Aerobic exercise) จะทำให้เซลล์สลายกรดไขมันไปเป็น ATP ซึ่งเป็นสารให้พลังงานหลักของเซลล์อย่างต่อเนื่อง หากเราออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30 นาที ดังนั้นหากเราต้องการควบคุมน้ำหนักจากการลดไขมันสะสม การใช้ L-Carnitine ร่วมกับการออกกำลังกายก็ย่อมจะช่วยให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยนั่นเอง การรับประทาน L-Carnitine ร่วมกับกลุ่มวิตามินพื้นฐานอย่างวิตามินบีรวม (Vitamin B-Complex) นอกจากจะช่วยควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกายให้เป็นปกติแล้ว วิตามินบีรวมยังเป็นโคเอนไซม์หลักในปฏิกริยาการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายให้เป็นพลังงานอีกด้วย

เมื่อมนุษย์เริ่มแก่ตัวลงนั้น ความเข้มข้นของคาร์นิทีนก็จะลดลงไปดวย ซึ่งมีผลต่อการเผาผลาญกรดไขมันในเนื้อเยื่อต่างๆ โดยเฉพาะจะเกิดผลกระทบต่อกระดูก จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง และเซลล์สร้างกระดูกจะทำหน้าที่เผาผลาญเพื่อซ่อมแซมมวลกระดูก ทั้งนี้ การเปลี่ยนระดับพลาสมาของเซลล์สร้างกระดูกกับการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกมีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก โดยการลดระดับพลาสมาในเซลล์สร้างกระดูกจะเป็นตัวชี้วัดในการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก ซึ่งปรากฏในโรคกระดูกพรุนของผู้สูงอายุและวัยหมดประจำเดือนในผู้หญิง ซึ่งในการทดลอง การใช้คาร์นิทีนผสม หรือ propionyl-L-carnitine นั้น สามารถเพิ่มความเข้มข้นของ serum osteocalcin ในสัตว์ที่ทดลอง แต่ถ้าว่าระดับ serum osteocalcin มีแนวโน้มทำให้อายุของสัตว์ที่ทดลองนั้นสั้นลงด้วยค่ะ

 

ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน โดยทั่วไป 20 ถึง 200 มิลลิกรัมคือปริมาณของคาร์นิทีนที่ควรได้รับต่อวัน ด้วยเหตุนี้ผู้ที่เคร่งครัดในการทานมังสวิรัติจะรับประทานเพียง 1 มิลลิกรัมต่อวัน ไม่มีประโยชน์เกิดขึ้นถ้ารับประทานคาร์นิทีนมากกว่า 2 กรัมภายในครั้งเดียว เพราะว่าร่างกายสามารถดูดซึมได้สูงสุดได้เพียง 2 กรัม

 

www.flickr.com/photos/stephen_bolen/6142919686/

9 สุดยอดอาหารที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Super Foods

quinoa-rice-1ช่วงนี้เทรนด์สุขภาพมาแรง การออกกำลังกายและอาหารสุขภาพก็แรงตามไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเหล่าดารา กินอาหารคลีน ออกกำลังกาย อัพรูปลงอินสตาแกรม แบบนี้ก็ยิ่งเป็นกระแสให้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น จะว่าไปแล้วใครๆก็อยากจะมีสุขภาพที่ดีพร้อมกับรูปร่างที่สวยงามกันทั้งนั้นแหละจริงไหม บางคนก็สรรค์หาอาหาร ออกแบบเมนูอาหารที่คิดว่ารับประทานไปแล้วจะช่วยให้สุขภาพดีและสามารถลดความอ้วนไปได้ด้วย วันนี้ HealthGossip จึงลองหาอาหารที่เราเรียกกันว่า Super Food มาบอกกันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นอีกแนวทางเลือกในการเลือกนำมาประกอบอาหารกันค่ะ ก่อนอื่นก็ขออธิบายคำว่า “ซูปเปอร์ฟู้ดส์” กันก่อนเลยค่ะ “ซุปเปอร์ฟู้ด” (Superfood) เป็นคำศัพท์ทางการตลาด (Marketing term) เพื่อใช้กล่าวถึงอาหารที่เชื่อว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซุปเปอร์ฟู้ดไม่ใช่คำที่นักโภชนาการ (Dietitian) และนักวิทยาศาสตร์อาหาร (Nutrition scientists) นิยมใช้กัน ตามพจนานุกรมของแมคมิแลน (Macmillan dictionary) ได้ให้คำจำกัดความของซุปเปอร์ฟู้ดว่า เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและอาจจะช่วยรักษาอาการโรคบางอย่างได้ค่ะ เดี๋ยวเราไปดูกันดีกว่ามีอะไรบ้างนะ

 

 9 สุดยอดอาหารที่ขึ้นชื่อว่าเป็น Super Food

 

  1. คีนัว (Quinoa) ธัญพืชมากประโยชน์ที่ยกให้เป็น ซูเปอร์ฟู้ด เป็นที่นิยมมากในต่างประเทศ และนำมาทำเมนูสุขภาพได้มากมาย ทั้งของคาวและขนมหวาน ควินัว, กีนัว, คิน-วา เป็นพืชตระกูลข้าวชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ๆ หน้าตาคล้ายกับธัญพืชทั่ว ๆ ไป พบมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น โบลีเวีย เปรู เอกวาดอร์ โคลัมเบีย เป็นต้น คีนัวมีประโยชน์มากจนได้รับฉายาว่า “ซูเปอร์ฟู้ด” หรือธัญพืชที่คุณค่าทางอาหารสูง สามารถใช้กินแทนข้าวได้โดยมีมีโปรตีนที่สูงกว่าข้าวทั่วไปแล้ว ยังมี แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ธาตุเหล็ก และไขมันดีที่จำเป็นต่อร่างกาย มีไฟเบอร์มากกว่าข้าวกล้องถึง 2 เท่า เป็นแหล่งรวมกรดอะมิโน กรดเอซิด และสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป และควบคุมระบบการย่อยอาหารอีกด้วย และยิ่งไปกว่านั้น คีนัว ยังเป็นอาหารที่เหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย คุณประโยชน์คล้าย ๆ กับข้าวสาลีและข้าวบาร์สามารถนำไปทำให้สุกด้วยวิธีการเดียวกับการหุงข้าว มีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ คือ จะนิ่มแต่แอบแฝงความกรุบกรอบเล็ก ๆ นำไปปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู และใช้เวลาหุงเพียงไม่กี่นาที จึงเป็นวัตถุดิบที่นิยมสำหรับคนที่รักสุขภาพมากๆเลยล่ะค่ะ
  2. เมล็ดเชีย (Chia Seeds) เมล็ดเชียมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ สีดำ มีสารอาหารเยอะ แต่แคลอรี่ต่ำมาก เมล็ดเชีย เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระนี้ช่วยป้องกันไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ที่สำคัญสารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยไปต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่สร้างความเสียหายให้กับเซลล์ในร่างกาย นำไปสู่โรคร้ายต่างๆ มากมาย เช่น โรคมะเร็ง เมล็ดเชียมีไฟเบอร์สูง แถมยังมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เส้นใยของเมล็ดเชียสามารถดูดซับน้ำได้ถึง 10-12 เท่า ของน้ำหนักมัน ดังนั้นเมื่ออยู่ในท้องจึงเป็นเหมือนเจลที่ขยายตัว ช่วยให้รู้สึกอิ่มและคุณก็จะทานน้อยโดยอัตโนมัติ เมล็ดเชียมีโปรตีนสูงถึง 14% ของน้ำหนักมัน อีกทั้งยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย โปรตีนนี้จะช่วยลดความอยากอาหารได้ และเมล็ดเชียมีกรดไขมันโอเมก้าสูงเช่นเดียวกับเมล็ดเฟลกซ์ จริงๆ เมล็ดเชียมีกรดไขมันโอเมก้า 3 มากกว่าปลาแซลมอนในปริมาณที่เท่ากันด้วย ถึงแม้ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่คนรักสุขภาพ แต่ปัจจุบันจัดเป็นซุเปอร์ฟู้ดที่ฮอตฮิตสุดๆ ก็ว่าได้ค่ะ
  3. คามู คามู (Camu Camu) ผลไม้ทรงกลม ขนาดเท่าผลพุทรา เมื่อสุกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอมม่วง โดดเด่นที่รสเปรี้ยวช่วยให้เจริญอาหาร นิยมคั้นผลคามู คามูสด ดื่มเป็นน้ำผลไม้ ผสมกับน้ำผลไม้อื่นหรือผสมกับน้ำเปล่า นอกจากนี้สามารถซื้อผงคามู คามูจากร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ชง ผสมน้ำดื่ม อัตราส่วนน้ำ 1 แก้วต่อผงคามู คามู 1 ช้อนชา หรือใช้เติมลงในน้ำผักผลไม้ปั่นหรือน้ำสลัด Journal of Food Research International ระบุว่า ผลคามู คามู 100 กรัมมีปริมาณวิตามินซี 1,882-2,280 มิลลิกรัม มีสรรพคุณช่วยรักษาสุขภาพดวงตาและผิวหนัง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันโรคหวัด หอบหืด บรรเทาอาการของโรคเหงือก อ่อนเพลียเรื้อรังไปจนถึงโรคซึมเศร้า
  4. กระเทียมสีดำ (Black Garlic) กระเทียมสีดำได้รับการกล่าวขวัญถึงประโยชน์ต่อสุขภาพว่าเหนือกว่ากระเทียมทั่วไป แท้จริงคือ กระเทียมสีขาวที่ผ่านการหมักบ่ม (Fermentation) ด้วยอุณหภูมิ 65-80 เปอร์เซ็นต์ นาน 1 เดือน จนกระเทียมสีขาวเปลี่ยนเป็นสีดำ วารสาร Medicinal and Aromatic Plant Science And Biotechnology เพิ่มเติมว่า สาร SAC (S-Allyl-L cysteine) ที่พบในกระเทียมสีดำมีคุณสมบัติด้านมะเร็ง กระเทียมสีดำใช้ปรุงอาหารเหมือนกระเทียมทั่วไป และเพื่อให้กระเทียมหลั่งสารสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น สารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ควรบุ บด หรือสับกระเทียม และตั้งทิ้งไว้สักครู่ก่อนนำมาปรุงอาหาร นายแพทย์แอนดรูว์ ไวล์ (Andrew Weil) พ่อมดแห่งวงการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า กระเทียมสีดำมีรสชาติหวานกว่ากระเทียมสีขาว และพบรายงานผลวิจัยที่ระบุว่า กระเทียมสีดำมีสารแอนติออกซิแดนต์และสาระสำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากกว่ากระเทียมสีขาวหลายเท่า  นายแพทย์แอนดรูว์เห็นว่า กระเทียมสีดำมีเสน่ห์ดึงดูดนักชิมและผู้ที่ชื่นชอบอาหารแปลกใหม่ หากไม่สามารถหาซื้อได้ กินกระเทียมสีขาวก็นับว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพมากพอ เพราะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ป้องกันโรคในระบบทางเดินหายใจ ลดปริมาณคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดได้
  5. มัทฉะ (Matcha) มัทฉะ คือ ชาเขียวชนิดหนึ่งมีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่น ผลิตโดยนำยอดอ่อนมาอบไอน้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการหมักและนวด เมื่อแห้งจึงนำมาบดกลายเป็นผงสีเขียว เป็นชาที่กินได้ทั้งใบ จึงอุดมไปด้วยสารอาหารที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ใยอาหาร และ เบต้าแคโรทีน  เมื่อละลายน้ำ มัทชะจะกลายเป็นน้ำสีเขียวอ่อนสดใส นิยมชงโดยใช้ไม้ตีฟองผสมชาและน้ำร้อนให้เข้ากัน ขณะตีเสร็จใหม่ ๆ บนผิวหน้าน้ำชาจะมีฟองละเอียดสีเขียวปกคลุม ยิ่งตีนานน้ำชาจะกลายเป็นสีเขียวมรกตเข้มขึ้น สำหรับวิธีชงชาที่ถูกต้อง สมาคมผู้ฝึกสอนชาญี่ปุ่น แนะนำว่า ควรกรองชาก่อนเพื่อไม่ให้ผงชาจับตัวเป็นก้อน จากนั้นใส่มัทฉะ 2 กรัมลงในถ้วยชา รินน้ำอุณหภูมิปกติลงไปประมาณ 10 ซี.ซี. ใช้ไม้ตีน้ำมัทฉะให้เข้ากัน แล้วจึงรินน้ำเดือดลงในถ้วยชา 50 ซี.ซี. จากนั้นตีผงชาและน้ำร้อนให้เข้ากันจนเกิดฟองละเอียดเต็มบริเวณผิวด้านบน จึงยกไม้ตีชาออก ใช้จิบขณะอุ่น มัทฉะ อุดมไปด้วยสารคาเตชิน (Catechin) และวิตามินต่าง ๆ โดยสารคาเตชิน มีสารแอนติออกซิแดนท์ ต้านมะเร็ง ลดคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต ช่วยเพิ่มระบบเผาผลาญ ต้านเชื้อไวรัสไข้หวัด ต้านเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก จึงช่วยกำจัดกลิ่นปาก ข้อมูลจากวารสาร American Physiological Society เปิดเผยว่า มัทฉะ 1 กรัม มีสารคาเตชินสูงถึง 105 มิลลิกรัม มีค่าโอแรค (ORAC) หรือค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพสารแอนติออกซิแดนท์ถึง 1300 umoleTE/กรัม เมื่อเปรียบเทียบกับผลไม้ที่มีแอนติออกซิแดนท์ประสิทธิภาพสูงชนิดอื่น เช่น ทับทิมซึ่งมีค่าโอแรค 105 และบลูเบอร์รีป่า 93 นอกจากนี้ ยังอุดมไปด้วยวิตามิน เอ ซี และอี จึงช่วยชะลอวัย
  6. เคเฟอร์ (Kefir) นมเปรี้ยวชนิดหนึ่งผลิตจากการหมักน้ำนมวัว แพะ หรือแกะ ด้วยแบคทีเรียและยีสต์ กระบวนการหมักช่วยเปลี่ยนน้ำตาลแลคโตส (Lactose) ในนมให้กลายเป็นกรดแลคติก (Lactic acid) ทำให้มีรสเปรี้ยว เคเฟอร์มีรสชาติเปรี้ยวคล้ายโยเกิร์ต แต่มีความข้นหนืดน้อยกว่า และมีโพรไบโอติกส์ (Probictics) หรือแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพแตกต่างกัน แนะนำให้กินสลับกับโยเกิร์ต โดยกินร่วมกับผลไม้สดเพื่อให้ร่างกายได้รับโพรไบโอติกส์หลากหลาย ช่วยรักษาสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร ทำลายจุลินทรีย์ก่อโรค ทั้งกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแอนติบอดี (Antibody) ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ขณะเดียวกัน ผลไม้ที่มีกากใยสูงเมื่อกินควบคู่กับเคเฟอร์ จะมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกส์ (Prebiotic) ทำหน้าที่เป็นอาหารให้กับโพรไบโอติกส์ กระตุ้นให้จุลินทรีย์ชนิดดีภายในลำไส้เจริญเติบโตได้ดี และเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี อีกด้วย เคเฟอร์เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีปริมาณเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ในระบบทางเดินอาหารต่ำ ส่งผลให้ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้ หลังดื่มนมจึงเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเดิน ปวดท้อง แนะนำให้ดื่มเคเฟอร์นม ช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการปั่นป่วนในระบบทางเดินอาหาร
  7. มันแกว (Jicama) เป็นไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดินเป็นรากสะสมอาหาร แต่เดิมมีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง ปัจจุบันแพร่หลายในประเทศเขตร้อน เช่น จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มันแกวเป็นพืชที่มีหัวใต้ดินซึ่งกินได้ แต่ส่วนอื่น เช่น ใบและเมล็ดเป็นพิษ มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้ ช็อก หมดสติ และหยุดหายใจ กินมันแกวสดเป็นผลไม้ กินพร้อมผักสดร่วมกับน้ำสลัด นำไปผัดกับกุ้งด้วยไฟอ่อน หรือหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าต้มเป็นแกงจืดพร้อมผักสดหลากชนิดก็อร่อย มันแกวสดมีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เนื้อสัมผัสจึงฉ่ำกรอบ ให้ความสดชื่น ช่วยดับกระหาย ทั้งอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอามีน ไนอะซิน และวิตามินซี  มันแกวเพียง 1 ถ้วยตวง ให้ใยอาหารมากถึงร้อยละ 25 ของความต้องการใน 1 วันนอกจากนี้ยังมีส่วนประกอบของ อินูลิน (Inulin) ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหาร และไม่ให้พลังงาน มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกส์ช่วยกระตุ้นให้จุลินทรีย์ชนิดดีภายในลำไส้เจริญเติบโตได้ดี ช่วยในการขับถ่าย จึงนับเป็นอาหารสุขภาพที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
  8. กิมจิ (Kimchi) เป็นอาหารเกาหลี ทำจากผักหลากหลายชนิดนำมาดองหรือแช่ในน้ำเกลือเพื่อถนอมอาหารเตรียมไว้กินแทนผักสดในช่วงฤดูหนาวที่ไม่สามารถปลูกผักบางชนิดได้ นับเป็นภูมิปัญญาคนโบราณที่ทำให้มีผักกินตลอดทั้งปี โดย ผักกาดขาว หัวผักกาด หัวหอม ต้นหอม แตงกวา กระเทียม ขิง พริกแดง คือผักที่นิยมปรุงเป็นกิมจิ โดยหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ จากนั้นคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงรสที่มีกระเทียมสับ ขิง และพริกแดงป่นเป็นส่วนประกอบ นิยมกินกิมจิเป็นเครื่องเคียงในอาหารมื้อหลัก หรือปรุงเป็นอาหารหลากหลาย เช่น ข้าวผัด สตูบะหมี่ กิมจิมีรสชาติเปรี้ยวนำเพราะผ่านกระบวนการหมัก ทำให้อุดมด้วยจุลินทรีย์ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น แบคทีเรียแลคโตบาซิลลัส เช่นเดียวกับที่พบในนมเปรี้ยว โดยหลายการศึกษาพบว่าแบคทีเรียชนิดดีช่วยทำความสะอาดลำไส้ ป้องกันโรคในระบบทางเดินอาหารจากแบคทีเรียก่อโรค และลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ กิมจิ 1 ถ้วยตวงอุดมด้วยใยอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุจากผัก ที่สำคัญ ให้พลังงานเพียง 29 กิโลแคลอรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลเสริมว่า นอกจากให้พลังงานต่ำ ส่วนประกอบต่าง ๆ ในกิมจิล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น พริกแดงมีสารแคปไซซิน (Capsiaicin) ช่วยเผาผลาญไขมัน พริกแดงป่นมีวิตามินซีช่วยให้ถุงน้ำดีขับคอเลสเตอรอล ส่วนกระเทียมและหัวหอมช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตรอล และไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ และหลอดเลือด

สุดยอดของอาหารที่เราเรียกกันว่าเป็นซูปเปอร์ฟู้ดส์ แต่ยังไงก็แล้วแต่การเลือกรับประทานอาหารที่ดีแล้วก็ต้องเลือกรับประทานให้หลากหลายกันด้วยนะคะ ยังไงก็ขอให้อาหารเหล่านี้เป็นทางเือกในการประกอบอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของเรานะคะ