Browse Tag: เมลาโทนิน

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

sleeping-night-1
Source: Flickr (click image for link)

คนเราใช้เวลาในการนอนหลับพักผ่อนอย่างน้อยที่สุด 8 ชั่วโมงต่อวัน ทำไมน่ะหรอ…ก็เพราะว่าเป็นวัฐจักรของธรรมชาติที่สร้างขึ้นมา ให้ร่างกายมนุษย์มีเวลาหยุดพักเพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานให้สมดุล บางคนคิดว่าเวลา 8 ชั่วโมงนั้นช่างยาวนานเหลือเกินเสียดายที่จะทิ้งไปกับการนอน จึงได้ทำสิ่งอื่นที่คิดว่าสำคัญกว่าการนอนจนทำให้เวลาในการนอนน้อยลง แต่เมื่อถึงเวลาที่ควรจะนอนเราก็จะจำเป็นจะต้องนอนค่ะ ความรู้สึกง่วง หงาว หาว นอนนั้นช่างโหดร้ายและทรมานเหลือเกิน ก็อาการเหล่านี้แหละค่ะที่กำลังจะบอกคุณว่าเรากำลังฝืนธรรมชาติอยู่ ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอน เราก็จะมีอาการดังกล่าวมาคอยเตือนอยู่ตลอดเวลาว่า ได้เวลาที่ต้องนอนแล้วนะ นั่นก็เกิดจาก เมลาโทนิน หรือ “ฮอร์โมนแห่งรัตติกาล (The darkness hormone)” นั่นเองค่ะ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับเจ้าฮอร์โมนตัวนี้กันให้มากขึ้นนะคะ

 

เมลาโทนิน (Melatonin) คืออะไร

“เมลาโทนิน” (Melatonin) เป็นฮอร์โมนในระบบประสาทที่ร่างกายเราสร้างขึ้นได้เองตามธรรมชาติค่ะ เมลาโทนินนั้นได้ถูกค้นพบครั้งแรกโดยดอกเตอร์เลอร์เนอร์ (Aaron Bunsen Lerner) แพทย์ชาวอเมริกัน ในปีค.ศ.1958 เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งได้ถูกสร้างโดย Pineal gland ที่สมอง การหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกกระตุ้นโดยความมืดและถูกยับยั้งโดยแสง ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นหรอคะ ? ก็เนื่องจากการถูกค้นพบครั้งแรกโดยการสกัดสารจากต่อม ไพเนียล(Pineal gland) ของวัวมาทำให้บริสุทธิ์ได้เป็นสารใน กลุ่ม indole ซึ่งมีผลต่อเมลานิน (Melanin) บนผิวหนังของกบ ทำให้สีผิวจางลงและเนื่องจากสารที่สกัดจากต่อมไพเนียล มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายซีโรโทนิน (Serotonin) จึงเรียก สารในกลุ่ม indole ซึ่งไปฟอกสีเมลานินนี้ว่า เมลาโทนิน ค่ะ

light-1
Source: Flickr (click image for link)

เกี่ยวกับเมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนินถูกสังเคราะห์ขึ้นจากกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่มีอยู่ในกระแสเลือดของเรา โดยมีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอตาและต่อมไพเนียล โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นและหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณ 22 นาฬิกา ปริมาณสูงสุดประมาณ 3 นาฬิกา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย การที่เรามีความรู้สึกเฉื่อยชาลงและมีความรู้สึกตื่นตัวน้อยลงนั้น ก็เป็นผลของการหลั่งของเมลาโทนินนั้นเพิ่มขึ้นนั่นเองค่ะ อีกทั้งร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิเริ่มมีการลดต่ำลงจึงทำให้เหมาะแก่การนอนหลับมากขึ้นค่ะ และในช่วงเวลาเช้ามืดของวันต่อมาระดับของเมลาโทนินก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งในระหว่างวัน เมลาโทนิน จะลดระดับลงต่ำมากจนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถตรวจวัดได้ เนื่องจากระดับของ เมลาโทนินนั้นขึ้นลงตามวงจรของความมืดและความสว่าง (light-dark cycle) จึงทำให้ทั้งมนุษย์หรือแม้กระทั่งพืชนั้นที่ก็มีฮอร์โมนนี้อยู่เช่นกัน ซึ่งมีความตื่นตัวในระหว่างวัน โดยที่ระดับของเมลาโทนินจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่เวลา 2.00 น.ในเด็กที่มีสุขภาพดีทั่วไป อีกทั้งจะเพิ่มขึ้นสูงที่สุดที่เวลา 3.00 น.ในผู้สูงอายุ นอกจากนี้แล้วปริมาณการผลิตเมลาโทนินในร่างกายนั้นลดลงเมื่อเราอายุมากขึ้นค่ะ ซึ่งจะเห็นได้ทำไมผู้สูงอายุต้องพบกับปัญหาในการนอนไม่หลับมากกว่าผู้ที่อายุยังน้อยค่ะ

 

ประโยชน์ของเมลาโทนิน
เชื่อกันว่าช่วยบรรเทาอาการเพลียหลังการโดยสารเครื่องบิน (Jet-Lag) และการทำงานเป็นกะซึ่งยังมีข้อโต้แย้งเรื่องคุณสมบัตินี้กันอยู่ เมลาโทนินถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด (circadian rhythm) เมลาโทนินเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับลึก ช่วยกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth hormone) ความผิดปกติเรื้อรังของการนอน อาจทำให้หยุดการเจริญเติบโตก่อนเวลาอันควร อีกทั้งประโยชน์ด้านอื่น ๆ ของเมลาโทนินยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคได้ ที่สำคัญยังมีผลต่อการควบคุมกระบวนการทางชีวภาพและการเกิดอนุมูลอิสระ ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงการใช้เมลาโทนิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลด (หรือเพิ่มขึ้น) ของปริมาณของเมลาโทนินในเลือดทำให้เกิดปัญหาการนอนหลับหรือความผิดปกติของวงจรการหลับและการตื่นในรอบวันค่ะ

 

www.flickr.com/photos/zubrow/5404957877/

www.flickr.com/photos/bennyseidelman/5103679082/