Browse Tag: กระดูก

14 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมสูง

Source: Flickr (click image for link)

ขึ้นชื่อว่าสารอาหารซึ่งเป็นสารอาหารที่จะต้องมาหล่อเลี้ยงทุกระบบในร่างกายของเราให้ขับเคลื่อนได้อย่างสมดุลและเป็นปกติ แน่นอนว่าร่างกายของเราไม่ควรที่จะขาดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งไปได้เลย ถึงแม้ว่าจะเป็นแร่ธาตุหรือกลุ่มของสารอาหารที่ร่างกายต้องการไม่มากแถมใครหลายคนอาจจะไม่ให้ความสำคัญหรือไม่ให้ความสนใจเลยด้วยซ้ำไป เพราะอาจจะไม่ทราบว่าถ้าขาดไปแล้วจะมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร ไม่ว่าร่างกายจะขาดสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งไปไม่ว่าสารอาหารนั้นจะเป็นกลุ่มที่เล็กหรือใหญ่ก็ล้วนแต่ไม่สมควรที่จะขาดค่ะ วันนี้เลยอยากนำข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทหรือชนิดไหนบ้างที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมอยู่สูง เพื่อเป็นแนวทางหรือไกด์ไลน์ให้กับคนที่รักสุขภาพหรือกำลังสนใจค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแร่ธาตุตัวนี้อยู่ ให้ได้ทราบและนำไปปรับใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพกันค่ะ สารอาหารที่เป็นชนิดของแร่ธาตุอย่าง แมกนีเซียม โดยส่วนใหญ่พบในกระดูกและฟันที่อยู่ในรูปแบบฟอสเฟตหรือคาร์บอเนต รองลงมาจะอยู่ในกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ และส่วนน้อยจะอยู่ในน้ำภายนอกเซลล์ค่ะ แมกนีเซียม เปรียบเสมือนคนงานที่ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ก็เพียงเพื่อที่จะสังเคราะห์โปรตีนให้กับร่างกายและเป็นโคเอนไซม์ที่สำคัญที่สุดชนิดหนึ่งในร่างกาย โดยที่จะทำงานร่วมกับแคลเซียมอันเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในระบบต่างๆ ของร่างกายค่ะ กาลเวลาผ่านไปคนเราใส่ใจสุขภาพก็เพียงแต่สารอาหารหลักจำพวก คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แต่หลายคนไม่รู้และเข้าใจเลยว่าอาการที่เรียกว่า ขาดสารอาหาร นั้นไม่ได้แค่เพียงมาจากสารอาหารจำพวกเหล่านั้นแต่มันอาจจะเกิดจากการที่เราขาดแร่ธาตุบางตัวไปก็เป็นได้ค่ะ เพราะเราอาจจะไม่นึกว่าเกลือแร่หรือแร่ธาตุตัวเล็กๆ เหล่านั้นจะมีผลกระทบต่อระบบในร่างกายของเราไม่น้อยค่ะ มาถึงตรงนี้เราควรที่จะย้อนกลับมามองดูสุขภาพร่างกายตัวเองให้มากขึ้นว่าอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรานั้นเกิดมาจากที่เราขาดหรือเกินอะไรไปหรือเปล่า

เมื่อร่างกายได้รับแมกนีเซียมไม่เพียงพอหรือการขาดแร่ธาตุแมกนีเซียม จะมีอาการดังนี้ค่ะ

1.ไม่สามารถบังคับอวัยวะต่างๆ ให้เคลื่อนไหวตามต้องการได้ เนื่องจากมีการผิดปกติของระบบประสาท กล้ามเนื้อ

2.ระบบทางเดินอาหารและการย่อยผิดปกติ

3.เลือดแข็งตัวช้า

4.ประสาทไว ตกใจง่าย

5.มีปัญหาระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ

 

14 ชนิดของอาหารที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมสูง

 

1.ผักขม

ถ้าถามหาอาหารที่มีแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่มีชื่อว่าแมกนีเซียมอยู่สูงแล้วล่ะก็ ส่วนใหญ่จะอยู่ในผักใบเขียวอย่างผักขม และผักขมต้มสุก 1 ถ้วย ปริมาณ 180 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 157 มิลลิกรัม

 

2.ผักสวิสชาร์ด

อีกหนึ่งชนิดของผักที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมอยู่สูงที่อยากแนะนำก็คือ ผักสวิสชาร์ต หรือ ที่คนส่วนใหญ่เรียก ชาร์ต โดยผักสวิสชาร์ดต้มสุก 1 ถ้วย ปริมาณ 180 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 154 มิลลิกรัม

 

3.เมล็ดฟักทอง

เมล็ดฟักทองที่ควนส่วนใหญ่จะรับประทานเนื้อฟักทองมากกว่า แต่ก็มีหลายคนที่นิยมรับประทานเมล็ดฟักทองเป็นอาหารว่างหรือกินเล่นๆ แก้เบื่อ แต่ดันให้ประโยชน์และแร่ธาตุแมกนีเซียมสูงซะนี่ เลือกทานไม่ผิดแล้วยังมีประโยชน์อีกโดยเมล็ดฟักทอง ½ ถ้วย ปริมาณ 59 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 325 มิลลิกรัม ค่ะ

 

4.โยเกิร์ตไม่มีไขมัน

แร่ธาตุแมกนีเซียมจะมีมากในผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำทุกชนิด แต่จะมีอยู่มากเลยก็คือในโยเกิร์ตที่ไม่มีไขมัน โดยโยเกิร์ตไม่มีไขมัน 1 ถ้วย ปริมาณ 245 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 47 มิลลิกรัม

 

5.ควีนัว

ควีนัวที่สมควรได้รับการยกย่องให้เป็นสุดยอดของอาหารด้วยคุณค่าทางสารอาหารหลักและย่อยมีเยอะแยะมากมายขนาดนี้ รวมไปถึงแร่ธาตุแมกนีเซียมสูงไปอีกโดยควีนัวหุงสุก 1 ถ้วยปริมาณ 195 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 118 มิลลิกรัม ค่ะ

 

6.ข้าวกล้อง

ข้าวกล้องมีสารอาหารและแร่ธาตุอยู่มากมายเลยค่ะ และหนึ่งในนั้นก็มีแร่ธาตุแมกนีเซียมอยู่สูง โดยข้าวกล้องหุงสุก 1 ถ้วยปริมาณ 195 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 86 มิลลิกรัม ค่ะ

 

7.ถั่วเหลือง

อาหารประเภทตระกูลถั่วถือเป็นระดับต้นๆ ของอาหารที่มีแมกนีเซียมอยู่สูง โดยเฉพาะถั่วเหลืองค่ะ ทราบหรือไม่ว่าถั่วเหลืองต้มสุก 1 ถ้วยปริมาณ 172 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ถึง 148 มิลลิกรัม ทีเดียวค่ะ

 

8.ปลาทู

ปลาทูที่หารับประทานได้ง่ายในบ้านเราเรียกได้ว่านอกจากหาทานง่ายแล้วยังราคาถูกคุ้มค่าแก่ประโยชน์ที่มีซ่อนอยู่ในเนื้อปลาทูแน่นอนค่ะ และเนื้อปลาทูปริมาณ 85 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ปริมาณ 82 มิลลิกรัม ค่ะ

 

9.อะโวคาโด

อะโวคาโดอาหารทรงคุณประโยชน์ไม่ควรแปลกใจและลังเลที่จะเลือกรับประทานอาหารชนิดนี้เลยค่ะ นอกจากมีสารอาหารมากมายแล้วยังมีธาตุแมกนีเซียมซ่อนอยู่สูงเชียม โดยอะโวคาโด 1 ลูก ปริมาณ 201 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ปริมาณ 82 มิลลิกรัม

 

10.กล้วย

กล้วยถึอเป็นอีกชนิดของผลไม้ที่ให้แร่ธาตุแมกนีเซียมสูง ซึ่งกล้วยขนาดกลาง 1 ลูก ปริมาณ 118 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ปริมาณ 32 มิลลิกรัม ค่ะ

 

11.ลูกมะเดื่ออบแห้ง

ในผลไม้อบแก้งหลายชนิดเลยค่ะที่มีแร่ธาตุแมกนีเซียมอยู่สูง โดยเฉพาะลูกมะเดื่ออบแห้ง โดยลูกมะเดื่ออบแห้ง ½ ถ้วย ปริมาณ 75 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 51 มิลลิกรัม ค่ะ

 

12.อัลมอลด์

เมล็ดอัลมอลด์แสนอร่อยของโปรดของใครหลายๆ คน ด้วยประโยชน์และคุณค่าของอัลมอลด์ก็มีไม่น้อยรวมไปถึงแร่ธาตุแมกนีเซียมด้วยค่ะ และอัลมอลด์ปริมาณ 28 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 80 มิลลิกรัม

 

13.ถั่วดำ

จะเห็นได้ว่าอาหารจำพวกธัญพืชจะมีแร่ธาตุแมกนีเซียมอยู่สูง และถั่วดำก็เป็นหนึ่งในนั้นค่ะ โดยที่ถั่วดำ 1 ถ้วย ปริมาณ 175 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ถึง 120 มิลลิกรัม เลยล่ะค่ะ

 

14.ดาร์กช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตอย่างดาร์กช็อกโกลแลตถือเป็นสุดยอดอาหารชนิดหนึ่ง ที่มีสารต่อต้านออกซิแดนท์แล้วยังมีแร่ธาตุแมกนีเซียมที่สูง โดยดาร์กช็อกโกแลต 1 ชิ้นสี่เหลี่ยมปริมาณ 29 กรัม มีธาตุแมกนีเซียมอยู่ประมาณ 95 มิลลิกรัม

 

 

 

อ้างอิง : ข้อมูลปริมาณแร่ธาตุแมกนีเซียมในอาหารจาก www.healthaliciousness.com/articles/foods-high-in-magnesium

www.flickr.com/photos/diversey/17490694615/

15 ชนิดของอาหารที่มีแคลเซียมสูง

Source: Flickr (click image for link)

แคลเซียม เป็นสารอาหารจำพวกแร่ธาตุหรือเกลือแร่ที่เราอาจจะคิดว่าไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ แต่ทราบหรือไม่คะว่าแคลเซียมเป็นสารอาหารหลักที่สำคัญและร่างกายไม่ควรที่จะขาดหรือมีน้อยเกินไป เนื่องจากถ้าเมื่อเราขาดหรือมีไม่เพียงพอแล้วจะส่งผลที่ไม่ดีต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ถึงแม้ว่าจะพบแร่ธาตุตัวนี้เป็นส่วนประกอบของร่างกายอยู่จำนวนมาก ก็เพราะว่าแคลเซียมนั้นทำหน้าที่สำคัญคือการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือนนั่นเองค่ะ ความสำคัญและภาระอันยิ่งใหญ่ของแคลเซียมจึงเป็นสิ่งที่คอยเตือนคนรุ่นหลังๆ อยู่เสมอว่าไม่ควรที่จะขาดแคลเซียมเด็ดขาด โดยปกติแล้วร่างกายคนเราต้องการแคลเซียมประมาณวันละ 800 – 1,200 มิลลิกรัม เพราะอย่างนี้เราจึงนำเนื้อหาและความสำคัญมาบอกเพื่อนๆ กัน ว่ามีอาหารอะไรบ้างที่มีสารอาหารที่เรียกว่า แคลเซียม อยู่ เพื่อนๆ ก็คงจะทราบอยู่บ้างถ้าพูดถึงสารอาหารตัวนี้ก็คงจะนึกภาพถึงนมเป็นแน่แท้ แล้วอาหารอย่างอื่นล่ะ? หลายคนก็อาจจะยังไม่ทราบกันเท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้สูงอายุซึ่งไม่มีช่วงอายุไหนเลยที่ควรจะละเลยสารอาหารตัวนี้ ก่อนที่จะไปหาแคลเซียมแบบอาหารเสริมมาทานเราลองมาดูแคลเซียมทึ่มีอยู่ในอาหารกันก่อนดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

 

15 ชนิดของอาหารที่มีแคลเซียมสูง

 

1.นม

แน่นอนว่าถ้าต้องการหาอาหารที่เป็นแหล่งของสารอาหารที่เรียกว่า แคลเซียม มารับประทาน หลายๆ คนก็คงจะนึกถึงนมเป็นอันดับต้นๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดอีกด้วยนะคนมและผลิตภัณฑ์นมทุกชนิดมีส่วนประกอบของโปรตีนสูงและมีสารอาหารแร่ธาตุเกลือแร่อยู่ด้วย ดังนั้นนมยังไงก็เป็นเครื่องดื่มที่มีแคลเซียมและเป็นประเภทของอาหารที่ควรเลือกรับประทานเพื่อเสริมแคลเซียมค่ะ โดยนมเป็นแหล่งของแคลเซียมที่มากถึง 300 มิลลิกรัม ต่อนม 1 กล่องปริมาณ 250 มิลลิลิตร

 

2.ปลาเล็กปลาน้อย

ปลาเล็กปลาน้อยที่กินและกลืนไปทั้งตัว เคี้ยวกรุบๆกรอบๆทั้งเนื้อทั้งก้างนี้แหละแหล่งของแคลเซียมชั้นดีเลยค่ะ ปลาเล็กปลาน้อยที่ 2 ช้อนโต๊ะนั้นมีปริมาณแคลเซียมถึง 226 มิลลิกรัม

 

3.กุ้งแห้ง

กุ้งแห้งสีส้มๆแดงๆ ที่เราพบเห็นในอาหารไทยที่เรานิยมใส่ในส้มตำไทย หรือจะเป็นผัดไทนี้ก็ถือว่าเป็นแหล่งของแหล่งของแคลเซียมตัวยง ใครที่ไม่ชอบรับประทานหรือเขี่ยออกนี่คิดใหม่เลยนะคะไม่อยากให้พลาดของดีกันจ้า ซึ่งในกุ้งแห้งตัวจิ้ดตัวจ้อยปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้แคลเซียมถึง 140 มิลลิกรัมเลยที่เดียวค่ะ

 

4.เต้าหู้อ่อน

เต้าหู้เรียกได้ว่าเป็นสุดยอดอาหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องของอาหารเพื่อสุขภาพ เคล็ดลับในเรื่องของความสวยความงามของสาวน้อยสาวใหญ่นี่ถือเป็นเรื่องที่รู้จักกันดี จะต้องมีเต้าหู้อยู่ในลิสเป็นแน่แท้ นอกจากคุณค่าสารอาหารมากมายของเต้าหู้แล้วยังถือว่าเป็นแหล่งของแคลเซียมสูงไม่แพ้อาหารอื่นๆ เลยทีเดียวค่ะ โดยเต้าหู้อ่อน 5 ช้อนโต๊ะ มีแคลเซียม 150 มิลลิกรัม

 

5.นมถั่วเหลือง

ใครที่มีอาการแพ้นมวัวหรือไม่ชอบดื่มนมวัวแล้วกลัวจะขาดแคลเซียม งั้นลองมาดื่มนมถั่วเหลืองกันไหมคะ หรือถ้าใครที่ชอบดื่มนมถั่วเหลืองเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้วก็ดีค่ะ นอกจากประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการเต็มล้นแล้ว นมถั่วเหลืองก็มีการเติมแคลเซียมเข้าไปโดยคุณสมบัติโดยรวมแล้วไม่ได้ด้อยไปกว่านมวัวเลยล่ะค่ะ โดยที่นมถั่วเหลืองแบบเสริมแคลเซียมต่อ 1 กล่อง จะมีปริมาณแคลเซียมอยู่ 250-300 มิลลิกรัม

 

6.งาดำ

เมล็ดงาดำ จัดเป็นอาหารที่พบว่ามีแคลเซียมเช่นกันค่ะ ใครที่ชอบธัญพืชอย่างเมล็ดงาดำก็ไม่ควรที่จะพลาดนะคะ ซึ่งงาดำ 1 ช้อนโต๊ะ จะมีแคลเซียมอยู่ 132 มิลลิกรัม

 

7.ผักคะน้า

ใครจะคิดว่าในพืชผักจะสามารถเป็นแหล่งอาหารของแคลเซียมได้ ใครที่กำลังมองหาผักที่นอกจากจะให้วิตามินแล้วยังตามมาด้วยแร่ธาตุหลักอย่างแคลเซียมแล้วล่ะก็ มองมาที่ผักคะน้าได้เลยค่ะ โดยผัดผักคะน้า 1 ทัพพี ให้แคลเซียมสูงถึง 71 มิลลิกรัม

 

8.หอยนางรม

คอซีฟู้ดส์ไม่ควรพลาดหอยนางรมสดๆ ที่จิ้มด้วยน้ำจิ้มซีฟู้ดส์จัดว่าจิ๊ดสะใจ จัดว่าเป็นเมนูโปรดของใครหลายๆ คนเลยก็ว่าได้ หอยนางรมไม่เพียงแต่มีแร่ธาตุมากมายให้สรรพคุณที่ดีต่อสุขภาพแล้วหนึ่งในแร่ธาตุที่หอยนางรมมีไม่แพ้ใครนั่นก็คือ แคลเซียม ซึ่งถ้าเรารับประทานหอยนางรม 6 ตัว ก็จะได้รับแคลเซียมถึง 300 มิลลิกรัมเลยล่ะค่า

 

9.กะปิ

กะปิอาหารรสเด็ดแต่กลิ่นอาจจะไม่เตะจมูกของใครนัก แต่ทรายหรือไม่ว่าเป็นแหล่งของแคลเซียมดีๆ นี่เอง ด้วยส่วนผสมของกะปิที่มาจากกุ้งตัวเล็กตัวน้อยนี่ไงทำให้กะปิไม่ได้เป็นแค่อาหารรสเด็ดแต่ยังให้แคลเซียมถึง 1,565 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เลยทีเดียว

 

10.บร็อคโคลี่

บร็อคโคลี่จัดเป็นผักสีเขียมเข้มที่มีแคลเซียมสูง นอกจากเราจะนิยมรับประทานกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว ถือว่าบร็อคโครี่ให้สารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่ดีอยู่ไม่น้อยค่ะ ซึ่งบร็อคโคลี่ ⅔ ถ้วย ให้แคลเซียมถึง 88 มิลลิกรัมค่ะ

 

11.เมล็ดอัลมอนด์

เมล็ดอัลมอนด์จัดเป็นอาหารว่างทานเล่นเพื่อสุขภาพเลยก็ว่าได้ ที่เต็มไปด้วยประโยชน์มากล้นไหนจะเป็นวิตามินต่างๆ อีกทั้งยังมีไฟเบอร์อีกด้วย และที่สำคัญยังมีแคลเซียมอยู่ถึง 75 มิลลิกรัม ต่อปริมาณแอลมอลด์ 29 เมล็ด อร่อยแล้วยังให้ประโยชน์ครบถ้วน

 

12.ถั่วแระต้ม

ถั่วแระต้มที่หลายๆ คนชอบรับประทานเป็นอาหารว่าง รสชาติอร่อยเคี้ยวเพลินแถมให้แคลเซียมสูงอย่างนี้ใครล่ะจะพลาด โดยถั่วแระต้มจำนวน 100 กรัม ให้ปริมาณแคลเซียมถึง 194 มิลิกรัมเลยทีเดียว

 

13.กุ้งฝอย

กุ้งฝอยตัวเล็กๆ ใสๆ เมื่อนำมาทอดหรือปรุงสุกจะเกิดเป็นสีชมพูอ่อนๆ บางทีออกสีส้ม ซึ่งสามารถรับประทานได้ทั้งตัวโดยกุ้งฝอยจำนวน 100 กรัม มีแคลเซียมถึง 1,339 มิลลิกรัม

 

14.ถั่วขาว

ถั่วขาวถือเป็นโปรตีนจากพืชที่อุดมไปด้วยวิตามินต่างๆ มากมาย รวมถึงแคลเซียมอยู่จำนวนไม่น้อยคือประมาณ 112 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม

 

15.ชีส

ชีสที่เป็นอาหารชนิดโปรดของใครหลายคน นอกจากความอร่อยยืดหยุ่นชวนเพลินแล้วยังเป็นแหล่งของแคลเซียมชั้นดีอีกด้วย ซึ่งมีแคลเซียมมากถึง 721 มิลลิกรัม ต่อปริมาณ 100 กรัม เลยทีเดียวเชียว

 

 

อ้างอิง : ข้อมูลปริมาณของแคลเซียมจากตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

 

www.flickr.com/photos/paperwingedswallows/8921970990/

โปรตีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

protein-foods-1
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีน (Protein) เป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งเป็นพอลิเมอร์สายยาวของกรดอะมิโน (amino acid) ส่วนในทางของโภชนาการโปรตีนนั้นเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน โดยโปรตีน 1 กรัมจะให้พลังงาน 4 แคลอรี (calorie) โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายของมนุษย์และสัตว์ ร่วมไปถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างพืชด้วย โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกายที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ โดยเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเซลล์ของสิ่งที่มีชีวิตทุกชนิด เช่น เอนไซม์ (enzyme) ฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานและการดำรงชีวิต คำว่า Proteins เป็นคำที่มีจากภาษากรีก โปรตีนนั้นมีความสำคัญต่อร่างกายเนื่องจากมีหน้าที่สร้างเนื้อเยื่อ ควมคุมเมตาบอลิซึมของร่างกายและการเคลื่อนไหวของร่างกาย ในส่วนของพืชนั้นสามารถสังเคราะห์โปรตีนได้จากแหล่งไนโนโตเจนอนินทรีย์ แต่สัตว์ทั่วไปต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น

โปรตีนประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ คือ คาร์บอน 50% ออซิเจน 20% ไนโตเจโดรเจน 6% และกำมะถันอยู่เล็กน้อย น้ำหนักของโมเลกุลโปรตีนมีน้อยมากจะถูกสังเคราะห์ในเซลล์ไรโบโซม ซึ่งมีหน่วยเล็กที่สุดของโปรตีนคือ กรดอะมิโน โดยกรดอะมิโนหลายโมเลกุลมาเรียงต่อกันเรียกว่าพันธะแปปไทด์ เมื่อเกิดการเรียงตัวกันก็จะกลายมาเป็นโปรตีน โดยโปรตีนในแต่ละชนิดจะให้ประโยชน์ที่แตกต่างกันค่ะ

กรดอะมิโน เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน สามารถสร้างขึ้นเองในร่างกายของมนุษย์ในบางชนิดเท่านั้น และบางไม่สามารถสร้างเองได้ต้องอาศัยการรับประทานเข้าไป โปรตีนจะประกอบไปด้วยกรดอะมิโน 12 -22 ชนิดเป็นโปรตีนที่อยู่ในอาหาร ส่วนโปรตีนที่อยู่ในร่างกายมี 20 ชนิดมีความจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ 8 ชนิด สำหรับเด็ก 9 ชนิด

กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือ กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ต้องได้รับจากสารอาหารเท่านั้นได้แก่ ไอโชลูซีน ลูซีน ไลซีน เมโทรอนิน เฟนิลอะ ลานีน ทรูไอนิน ทรับโตเฟน วาลีน เด็กต้องการเพิ่ม อาร์จินิน ฮีสติดิน หากขาดกรดอะมิโนเหล่านี้จะทำให้เนื้อเยื่อไม่สามารถเจริญเติบโตได้

กรดอะมิโนไม่จำเป็นต่อร่างกาย ร่างกายสามารถสร้างได้เองโดยสร้างจากคาร์โบไฮเดรต ไขมัน ได้แก่ อะลานิน แอสพาร์ติก ซีสเอทีน กรดกลูดามิก อาร์จิมีน โพนลิน เซริน ไทโรซิน กลูตามีน

 

เกี่ยวกับโปรตีน (Protein)

ลักษณะของโปรตีน โปรตีนมีความสำคัญต่อร่างกายแต่ไม่สามารถสังเคราะห์ได้เองจึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเข้าไป พืชสามารถสังเคราะห์จากไนโตรเจนและแอมโมเนียมที่อยู่ในดิน ดังนั้นสัตว์จะได้จากพืชกว่ากินเนื้อสัตว์เข้าไป โดยจะเปิดจากอะมิโนที่มีหลายชนิดที่เรียงต่อกันเป็นโปรตีน

แหล่งอาหารของโปรตีน จะพบได้จากพืชและสัตว์ แต่สัตว์จะให้โปรตีนที่สูงกว่าพืช แต่ถั่วเหลือถือว่ามีโปรตีนมากที่สุดและมีราคาถูกด้วย โดยในเนื้อสัตว์จะมีมากในเนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อหมู ไข่และเนื้อปลา ในส่วนที่ได้จากพืชจะเป็นพวกข้าวทั้งหลาย ข้าวสาลี ข้าวโพด  โปรตีนจากเนื้อสัตว์จะมีกรดอะมิโนที่ครบและสามารถนำไปใช้งานได้ทันที ในส่วนของโปรตีนที่ได้จากพืชนั้นก็จะเป็นถั่วเหลือง โดยถั่วเหลือง 34%  เนื้อไก่ 23.4%  ไข่ 13%

protein-foods-2
Source: Flickr (click image for link)

โปรตีนแบ่งได้ 2 แบบคือ แบ่งตามสมบัติทางเคมีและแบ่งตามสมบัติทางโภชนาการ

(แบบที่1) แบ่งตามสมบัติทางเคมี

1.Simple Proteins เป็นโปรตีนที่เกิดจากกรดอะมิโนมาเรียงต่อกัน และมีการย่อยสลายออกมาเป็นกรดอะมิโนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

2.Conjusgated Protein หรือเรียกอย่างว่าโปรตีนประกอบเป็นการรวมตัวของ Simple Proteins และสารชนิดอื่นที่ไม่ใช่โปรตีน เรียกว่า พรอสเททิก (Prosthetic Group) มักพบในเม็ดเลือดและตามต่อมต่างๆ

3.Derived Proteins เป็นโปรตีนที่ย่อยสลายโปรตีน 2 กลุ่มแรก โดยการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มากระทบ อย่างเช่น แสง ปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้โมเลกุลมีการเรียงตัวใหม่เป็นโครงสร้างจากเดิมแต่มีน้ำหนักเท่าเดิม

(แบบที่2) แบ่งตามสมบัติโภชนาการ

1.โปรตีนสมบูรณ์ (Complete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทุกชนิดในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายมีความเจริญเติบโต แข็งแรง จะมีอยู่ในเนื้อนม ไข่

2.โปรตีนไม่สมบูรณ์ (Incomplete protein) เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมีโนที่จำเป็นอยู่ไม่ครบหรือว่ามีมากกว่า ไม่มีประโยชน์และความจำเป็นต่อร่างกายได้ มักจะอยู่ในข้าว ผัก

 

ประโยชน์ของโปรตีนที่มีต่อร่างกาย

 

สร้างและซ่อมแซมส่วนที่ศึกหรอ เสริมสร้างเนื้อเยื้อให้กับส่วนต่างๆของร่างกาย โปรตีนจะถูกย่อยเป็นกรดอะมิโนก่อนที่จะถูกซึมผ่านลำไส้เล็กไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย

 

สร้างโปรตีน เอนไซม์ ฮอร์โมน ควบคุมการทำงานของร่างกาย ในการสร้างเอนไซม์หรือนำไปย่อยอาหารและปฏิกิริยาต่างๆ สร้างฮอร์โมนในการควบคุมการทำงานของร่างกายและแอนติบอดี้ของร่างกายและโปรตีนยังช่วยในการสร้างเซลล์ผิว เพราะในบริเวณใต้ผิวหนังจะมีใยคอลลาเจนที่สร้างจากโปรตีน ช่วยให้ผิวหนังเกิดความหยุ่ยนุ่ม ไม่แข็งกระด้าง นอกจากนั้นโปรตีนสามารถเพิ่มความแข็งแรงของเล็บ เส้นผม และเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสาททั้งหมดของร่างกายเข้าด้วยกัน

 

รักษาสมดูลของกรด – ด่างในร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราเกิดกรดขึ้นตลอดเวลา เนื่องจากการเมตาบริซึมของร่างกายอย่างเช่น กรดกำมะถัน กรดแลดติก เป็นต้น โปรตีนจะเป็นได้ทั้งกรดและด่างจึงทำให้ร่างกายได้รับทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นการสร้างบัฟเฟอร์ในการสร้างความสมดุลของกรดด่างไว้

 

รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย โปรตีนจะทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของเหลวกับเซลล์ทั้งนำภายในเซลล์และรอบๆเซลล์ จึงทำให้น้ำสามารถเข้าออกของเซลล์ได้ โปรตีนจึงทำหน้าที่ควบคุมน้ำในการออสโมติกให้สมดุล

 

ให้พลังงานแก่ร่างกาย โปรตีนนั้นจะถูกเผาผลาญและให้พลังงานออกมา โดยโปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลลอลี ในกรณีที่เหลือจากการที่ร่างกายนำไปใช้ซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อ

 

การแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดบาดแผลจะมีการสร้างไฟบริด โดยโปรตีนในการอุดที่บาดแผลทำให้เลือดนั้นหลุดไหลได้

 

 

www.flickr.com/photos/artizone/6788516807/

www.flickr.com/photos/arepb/3085141320/

ฟลูออรีน คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร

brush-teeth-1
Source: Flickr (click image for link)

ฟลูออรีน (Fluorine) เป็นเกลือแร่ที่จำเป็นอีกหนึ่งตัวค่ะ ที่จะพบได้ในเนื้อหนังเกือบทั่วร่างกายของเรา แต่จำนวนที่พบมากกว่าที่อื่นๆ คือที่โครงสร้างของกระดูกและฟัน อีกทั้งฟลูออลีนที่พบในร่างกายของเราจะอยู่ในลักษณะเป็นสารผสมเรียกว่า ฟลูออไรด์ ที่ส่วนใหญ่พวกเราจะทราบเรียกกันในชื่อนี้ค่ะ ซึ่งฟลูออไรด์มีอยู่ 2 ชนิดก็คือ โซเดียมฟลูออไรด์ ที่เขาใช้เจือปนกับน้ำดื่มซึ่งต่างกันกับแคลเซียมฟลูออไรด์ที่พบกันตามธรรมชาติค่ะ หรือเข้าใจกันง่ายว่า ฟลูออไรด์ เป็นสารประกอบของ “ฟลูออรีน” ที่มีมากเป็นอันดับที่ 17 ของโลกในจำนวนธาตุต่างๆ ที่พบบนโลก และเราสามารถพบฟลูออไรด์ได้ตามธรรมชาติ เช่น ในหิน ซึ่งส่วนมากเป็นฟลูออไรด์ในรูปของแคลเซียม นอกจากนั้นแล้วในชีวิตประจำวันเราสามารถได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มอย่างที่ได้กล่าวกันข้างต้น อีกทั้งในอากาศที่เราหายใจและก็พบฟลูออไรด์ได้ในอาหารอีกด้วยค่ะ

 

เกี่ยวกับฟลูออรีน หรือ  Fluorine

  • ฟลูออรีน เป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย พบมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน
  • ฟลูออรีน เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสโลหิต แล้วกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เลือด หัวใจ ของเหลวที่บริเวณไขสันหลัง กระดูก และฟัน
  • ฟลูออรีน เกลื่อแร่ชนิดนี้เป็นเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ไข่แดงมีสีแดง เปลือกสีสวยและมีคุณค่าอาหารครบถ้วน
  • ฟลูออรีน ก้อนกรวด ก้อนหินเป็นแหล่งกำเนิดที่ดีของฟลูออรีน
  • ฟลูออรีน จำเป็นสำหรับการทำให้ฟันและกระดูกแข็งแรง
  • ฟลูออรีน ในแหล่งอาหารตามธรรมชาติจำพวก ข้าวต่างๆ ผลไม้ เช่น แอปเปิล องุ่น ลูกแพร์ กล้วย และเชอร์รี่ ผักต่างๆ เช่น หัวแครอท กระเทียม หัวบีท ผักใบเขียว กระจับ ถั่ว ข้าวโพด หัวไชเท้า มะเขือ หัวหอม มันฝรั่ง เนย เนยแข็ง เนยเหลว ไข่  เมล็ดทานตะวัน  อื่นๆ เช่น อาหารทะเล ถั่วเหลือง ปลา น้ำทะเล น้ำกระด้าง น้ำผึ้ง ชาดำ
  • ฟลูออรีน แหล่งอาหารที่ดีที่สุดคือในชา อาหารทะเล
  • ฟลูออรีน ปริมาณของฟลูออรีนในพืชผักนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ดินฟ้าอากาศ พื้นที่ดินปลูกปุ๋ยที่ใช้
  • ฟลูออรีน ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง และทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น
  • ฟลูออรีน องค์การอนามัยโลก กำหนดความเข้มข้นมาตรฐานของน้ำปะปาไว้ให้มีฟลูออรีนประมาณ 1 PPM ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัย
  • ฟลูออรีน หรือฟลูออไรด์ในยาสีฟัน อาจช่วยลดฟันผุได้ประมาณร้อยละ 20-30
  • ฟลูออรีน น้ำยาบ้วนปากชนิดฟลูออไรด์ พบว่าฟลูออไรด์บนผิวเคลือบฟันมักจะหลุดออกไปอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากการสึกหรอของฟัน โดยการใช้บดเคี้ยว ขัดฟันและแปรงฟัน
  • ฟลูออรีน ช่วยลดการเกิดกรดในปากเนื่องจากคาร์โบไฮเดรต จึงไปลดการเสียของเคลือบฟัน ( tooth enamel )
  • ฟลูออรีน ช่วยในการดูดซึมของเหล็ก
  • ฟลูออรีน ช่วยในการเจริญเติบโต และบำรุงระบบสืบพันธุ์
  • ฟลูออรีน ส่วนใหญ่ดูดซึมที่ลำไส้เล็กแต่ก็มีบางส่วนถูกดูดซึมที่กระเพราะ ประมาณร้อยละ 90 ของฟลูออไรด์ที่กินเข้าไปจะเข้าไปในกระแสโลหิต ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งจะขับออกทางปัสสาวะ และอีกครึ่งหนึ่งจะไปจับที่ฟันและกระดูก

 

 

ประโยชน์ของฟลูออรีน หรือ Fluorine

 

ช่วยทำให้กระดูกแข็งแรงและทำให้ฟันทนต่อการผุมากขึ้น พบว่า ฟลูออไรด์จะเพิ่มการจับเกาะของแคลเซียมจึงทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงและช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ( osteoporosis ) และความผิดปรกติของกระดูกที่จะถูกสร้างขึ้น

 

ทำให้นัยน์ตาดำ มีสีเข้มขึ้น มีสุขภาพดีและสวยงาม ซึ่งเกลือแร่ฟลูออรีนมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่มาก สำหรับผู้รักสวยรักงามจะขาดเลยไม่ได้

 

 

ปริมาณของฟลูออรีนที่ร่างกายควรได้รับ

การขาดเกลือแร่ฟลูออรีน จะทำให้ฟันผุ โรคกระดูกพรุน ถ้ามากเกินไปจะทำให้เกิดโรคฟลูออโรซิส ซึ่งมีลักษณะของอาการฟันเป็นลายจุดๆ และทำให้หินปูน เกิดขึ้นในเนื้อเยื่อได้ ไต ตับ ต่อมอะดรีนัล หัวใจ ประสาทส่วนกลาง อวัยวะสืบพันธุ์ถูกทำลายหรือกระทบกระเทือน

ปริมาณที่แนะนำ ควรแนะนำให้เด็กอายุเกินกว่า 3 ปี กินประมาณวันละ 0.5 มก. และเด็กอายุ 2-3 ปี กินประมาณวันละ 0.3 มก. ถ้าอายุต่ำกว่า 1 ปี กินประมาณวันละ 0.2 มก. การได้รับฟลูออไรด์ 1 ส่วนต่อน้ำล้านส่วนจะช่วยป้องกันฟันผุในเด็กจนอายุถึง 8-12 ปีได้ และในผู้ใหญ่บางรายอาจมีประโยชน์บ้างในการช่วยรักษาฟันให้แข็งแรง ในคนปรกติจะได้รับฟลูออไรด์จากอาหารต่างๆประมาณ 1.8 มก. ต่อวัน และถ้าดื่มน้ำที่มีสารนี้ 1 ส่วนต่อล้านส่วนจะได้รับฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเป็น 3.2 มก. ต่อวัน ร่างกายจะเก็บไว้ในกระดูก 2-3 มก. ต่อวัน ในปริมาณดังกล่าวนี้จะไม่อันตรายต่อร่างกาย แต่ในคนที่ทำงานกลางแจ้งหรือนักกีฬาที่ต้องดื่มน้ำมากๆ จะได้รับฟลูออไรด์จากน้ำมากขึ้น จนถึงขีดอันตรายต่อร่างกายได้ค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/steeljam/16424848778/

  • 1
  • 2