Browse Tag: ผัก

16 ชนิดของพืชและผักที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสูง

Source: Flickr (click image for link)

โปรตีน จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในสารอาหารที่สำคัญที่สุดในร่างกายของมนุษย์ แค่โปรตีนเพียงเล็กน้อยก็สามารถส่งผลในการซ่อมแซมหรือบำรุงในด้านต่างๆ ของสุขภาพเราได้ ทั้งในด้านความแข็งแรงทางร่างกายไปจนถึงเส้นผม ผิวหนัง และเล็บ ห่วงโซ่กรดอะมิโนของโปรตีนจะเป็นส่วนที่สำคัญในบทบาทการทำงานภายในร่างกายเรา ซึ่งโปรตีนนั้นเป็นสารอาหารที่สำคัญมากถ้าร่างกายเราได้รับอย่างเพียงพอค่ะ นอกจากนี้โปรตีนยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำงานของระบบประสาทให้มีประสิทธิภาพที่ดีซึ่งก็รวมไปถึงระดับของพลังงานทั้งหมดด้วย ทราบกันดีว่านอกจากโปรตีนที่เป็นสารอาหารที่สำคัญและไม่ควรละเลยหรือมองข้าม ก็ยังมีสารอาหารในส่วนอื่นๆ อย่างส่วนของคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่มีอยู่ในอาหารตามสัดส่วนของร่างกายที่ควรได้รับในแต่ละวันอีกด้วยค่ะ โดยร่างกายของเราต้องใช้กรดอะมิโนที่แตกต่างกันถึง 20 ชนิด เพื่อความสมบูรณ์ในการทำหน้าที่ต่อร่างกายและสุขภาพของเรา จาก 20 ชนิดของกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราต้องการนั้น มีกรดอะมิโนที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นมาเองได้อยู่ 11 ชนิด และมีอีก 9 ชนิดที่ร่างกายของเราไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ค่ะนอกเสียจากจะได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป จึงเรียกกรดอะมิโนนี้ว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) โดย กรดอะมิโนที่จำเป็น เป็นกรดอะมิโนที่ได้รับจากอาหารที่เรากินเข้าไป ซึ่งมีกรดอะมิโนที่จำเป็นอยู่ 9 ชนิด คือ histidine, isoleucine, leucine, lysine, methionine, phenylalanine, threonine, tryptophan valine และ arginine โดย arginine จะจัดอยู่ในกลุ่มของเด็กทารกเท่านั้นเนื่องจากเด็กทารกไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ร่างกายจึงสามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้นเด็กทารกจะต้องการกรดอะมิโนจำเป็นจำนวน 10 ชนิด ส่วนวัยผู้ใหญ่ที่สามารถสร้างอาร์จีนีนได้แล้วจะมีกรดอะมิโนจำเป็นเหลือเพียง 9 ชนิดค่ะ ซึ่งหลายๆ คนที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์และต้องการได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นจากอาหารประเภทพืช ธัญพืช หรือผัก และเพื่อการที่ร่างกายจะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นให้เพียงพอเหมาะสมต่อความต้องการนั้น แน่นอนว่าควรที่จะนำมาจับคู่หรือรับประทานให้หลากหลายในแต่ละเมนูค่ะ อีกทั้งอาหารจากพืชและผักเหล่านี้ยังสามารถสร้างโปรตีนที่สมบูรณ์ภายในร่างกายได้ทันที ดังนั้นวันนี้เราเลยรวบรวมอาหารประเภทพืชและผักที่มีกรดอะมิโนที่สำคัญๆ มาให้เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการเลือกรับประทานกันค่ะ

 

16 ชนิดของพืชและผักที่มีกรดอะมิโนจำเป็นสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ควีนัว

ควีนัว (Quinoa) ที่ถูกยกให้เป็นสุดยอดอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากและเป็นพืชที่มีโปรตีนอยู่ถึง 8 กรัม ต่อ ควีนัวสุก 1 ถ้วยตวง รวมถึงเส้นใยและแร่ธาตุต่างๆ มากมาย ซึ่งในคนที่รักสุขภาพกจะเลือกรับประทานควีนัวแทนข้าวกันเลยทีเดียวค่ะ

 

2.ถั่วเหลือง

ส่วนใหญ่แล้วคนที่ทานมังสวิรัติ เจ หรือคนที่แพ้แลคโตสในนมวัวส่วนใหญ่จะเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองให้โปรตีนได้เทียบเท่ากับเนื้อสัตว์และนมวัว นอกจากนี้ถั่วเหลืองยังเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์อีกด้วยนั่นก็หมายความว่า มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วนนั่นเองค่ะ

 

3.เมล็ดเชีย

เมล็ดเชีย (Chia Seed) เป็นพืชที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับผักสาระแหน่ และเป็นที่ยอมรับให้เป็นสุดยอดอาหารเพื่อสุขภาพ เมล็ดเชียเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ กรดไขมันโอเมก้า 3 และกรดอะมิโนที่จำเป็น เมล็ดเชียถูกนิยมนำมารับประทานเพื่อเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพอย่างแพร่หลาย โดยจะนำไปแช่น้ำเพื่อให้ย่อยง่ายขึ้นและเพิ่มลงในสมูทตี้ พุดดิ้ง เพื่อความอร่อยค่ะ

 

4.เมล็ดบักวีท

เมล็ดบักวีท (Buckwheat) เป็นเมล็ดธัญพืชที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการซึ่งมีโปรตีนและเส้นใยอาหารสูง อีกทั้งยังอุดุมไปด้วยปริมาณที่ยอดเยี่ยมของกรดอะมิโนจำเป็นค่ะ

 

5.ผักโขม

ผักโขม (Amaranth) เมล็ดผักโขมมักถูกใช้ในการทำแป้งแบบเพื่อสุขภาพ คือแป้งธัญพืช พาสต้าที่มีสีเขียว ในส่วนของใบนั้นจะถูกนำมารับประทานสดๆ ในรูปแบบของสลัดหรือผสมปั่นลงในสมูทตี้ ผักโขมนอกจากมีโปรตีนสูงแล้วยังมีกรดอะมิโนจำเป็นอีกด้วยค่ะ

 

6.สาหร่ายเกลียวทอง

สาหร่ายเกลียวทองหรือที่เราเรียกหรือคุ้นหูกันว่า สาหร่าย Spirulina ค่ะ สาหร่ายเกรียวทองที่ส่วนใหญ่พบในรูปแบบอาหารเสริม ก็ได้ถูกยกให้เป็นสุดยอดอาหารที่ให้ประโยชน์คุณค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์เนื่องจากขาดกรดอะมิโนจำเป็นอยู่สองตัว คือ methionine และ cysteine จึงอยากจะแนะนำให้รับประทานคู่กับถั่วและธัญพืชอย่าง ข้าวโอ๊ต ก็สามารถช่วยเพิ่มในส่วนที่ขาดหายไปได้ค่ะ

 

7.เมล็ดเฮ็มพ์

เมล็ดเฮ็มพ์ (Hemp Seeds) หรือ กัญชง เป็นอีกหนึ่งชนิดของพืชที่เป็นแหล่งของโปรตีนที่สมบูรณ์มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน นอกจากแคลอรี่ต่ำแล้วยังให้กรดไขมันชนิดดีอย่างโอเมก้า 3 สูง ส่วนใหญ่จะเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในคนที่ออกกำลังกายหรือเพาะกล้าม จะนำมาชงผสมในเครื่องดื่มต่างๆ เพื่อเพิ่มโปรตีนนั่นเอง

 

8.เนยถั่ว

เนื่องจากเนยถั่วได้ถูกทำมาจากถั่วลิสงถ้าจะให้ดีเลือกแบบที่ไม่มีสิ่งใดผสมเลยนอกจากถั่วล้วนๆ จะนำมาจิ้มรับประทานกับแอบเปิ้ลเขียวก็ดี นอกจากได้รับโปรตีนและเส้นใยสูงอีกทั้งยังมีกรดไขมันที่ดีแล้วยังได้รับกรดอะมิโนจำเป็นในปริมาณที่เหมาะสมอีกด้วยค่ะ

 

9.บล็อคโคลี่

ผักตระกูลกะหล่ำอย่างบล็อคโคลี่นอกจากให้โปรตีนสูงและมีกรดอะมิโนที่จำเป็นจึงถูกนำมาประกอบอาหารได้อย่างง่ายๆเลย ไม่ว่าจะต้ม ผัด แกง ทอด ก็อร่อยและรับประโยชน์ไปเลยเต็มๆ ค่ะ

 

10.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้ง (Spinach) เป็นผักที่อยู่ในตระกูลเดียวกับผักโขม และยังมีคุณประโยชน์ที่คล้ายกันอีกด้วย มีโปรตีนและเส้นใยสูง คุณค่าสารอาหารมากมายรวมถึงกรดอะมิโนจำเป็นที่มีปริมาณยอดเยี่ยมอีกด้วย

 

11.ข้าวโอ๊ต

ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากค่ะ มีโปรตีนและเส้นใยอาหารที่สูงและมีกรดอะมิโนจำเป็นชนิด Methionine อย่างโดดเด่นเลยทีเดียว

 

12.ข้าวกับถั่ว

ข้าวกับถั่วจัดเป็นคู่หูที่ลงตัวและได้รับโปรตีนที่สมบูรณ์ครบถ้วย เนื่องจากถั่วส่วนใหญ่มีปริมาณเมทไธโอนีนที่ต่ำและมีปริมาณไลซีนที่สูง ซึ่งในขณะที่ข้าวมีปริมาณไลซีนที่ต่ำและมีปริมาณเมทไธโอนีนสูง การหุงข้าวผสมถั่วเขียว หรือรับประทานข้าวกับอาหารจำพวกถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ ก็จะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างครบถ้วนเลยล่ะค่ะ

 

13.ควอร์น

ควอร์น (Quorn) ในคนที่รักสุขภาพและทานมังสวิรัติจะรู้จักกันเป็นอย่างดีค่ะ ควอร์น คือ ไมโครโปรตีน ที่เกิดจากการหมักบ่มจุลินทรีย์ประเภท ฟังกัส (Fungus) และขึ้นรูปให้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ใช้รับประทานแทนเนื้อสัตว์และเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ค่ะ

 

14.ฮัมมูสและขนมปังพิต้า

ฮัมมูส (Hummus) เป็นเครื่องจิ้มสไตล์ตะวันออกกลาง และเป็นอาหารว่างเพื่อสุขภาพที่กำลังนิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ซึ่งฮัมมูสจะนิยมรับประทานคู่กับขนมปังพิต้า Pita Chickpeas เนื่องจากฮัมมูสมีปริมาณไลซีนที่ไม่เพียงพอจึงควรรับประทานคู่กับ Pita Chickpeas ซึ่งมีปริมาณไลซีนเยอะค่ะ

 

15.ดอกกะหล่ำ

ถ้านึกไม่ออกว่าเย็นนี้จะกินอะไร? เมนูผัดดอกกะหล่ำหรือนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ไม่เลวเลยสำหรับอาหารมื้อเย็นนี้ค่ะ ดอกกะหล่ำจัดว่าเป็นผักที่มีกรดอะมิโนจำเป็นที่เรียกว่า histidine อยู่สูง การเลือกนำผักชนิดนี้มาปรุงอาหารผสมกับผักอื่นๆ จะช่วยให้ได้รับคุณค่าทางอาหารและกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วน

 

16.ธัญพืชและพืชตระกูลถั่ว

พบว่าธัญพืชไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ต่างๆ กับพืชตระกูลถั่วทุกชนิดจัดเป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์และคุณค่าทางอาหารที่สำคัญไม่แพ้เนื้อสัตว์ อย่างไรการรับประทานอาหารที่หลากหลายในแต่ละมือถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

 

www.flickr.com/photos/149561324@N03/38578649772/

www.flickr.com/photos/30478819@N08/36973263392/

20 ชนิดสุดยอดของผักที่มีโปรตีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

ขึ้นชื่อว่า “พืชผัก” หลายคนก็จะนึกถึงความสุขภาพดีจากวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหารเป็นอย่างแน่แท้ ก็ใครจะไปนึกว่าพืชผักที่เคี้ยวกรุบกรับๆ อยู่นี่จะมีโปรตีนอยู่ได้ใช่ไหมล่ะคะ สุขภาพที่ดีที่ได้มาจากการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ถือเป็นปัจจัยหลักไม่ว่าจะอยู่ในช่วงที่เราควบคุมน้ำหนักหรือเพื่อรักษาสุขภาพก็ตาม แต่การทราบว่าเราควรเลือกรับประทานอาหารแบบไหนให้เหมาะสมกับความต้องการของเรายังไงนั้นเป็นสิ่งที่หลายๆ คนยังไม่ค่อยทราบและเข้าใจ แต่ก็อย่างว่าสมัยนี้มีสิ่งที่เอื้ออำนวยความสะดวกมากมาย ไม่ว่าเราจะอยากรู้เรื่องอะไรแค่เราค้นหาทางอินเทอร์เน็ตก็สามารถรู้ได้ไม่ยาก วันนี้มีจึงหัวข้อที่น่าสนใจอยากจะมาแนะนำเกี่ยวกับ ชนิดของผักที่มีโปรตีนสูง ซึ่งอาจจะเหมาะกับคนที่ไม่รับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์เลยอยากได้โปรตีนจากพืชมาทดแทน หรือคนที่กำลังควบคุมน้ำหนักแต่ก็อยากได้โปรตีนที่ไม่ใช่จากเนื้อสัตว์ คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่น้อยถ้าใครที่กำลังมองหาตัวเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามการเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพที่สมบูรณ์เช่นกันค่ะ การรับประทานอาหารที่แตกต่างหลากหลายหมู่อาหารจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนนั่นเอง โปรตีนจากเนื้อสัตว์บางชนิดจะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายต้องการมากกว่าและครบถ้วนอย่างแน่นอน ในกรณีนี้ให้เป็นทางเลือกรับประทานทดแทนชั่วคราวต่อเหตุผลที่แตกต่างของแต่ละคนค่ะ

 

20 ชนิดสุดยอดของผักที่มีโปรตีนสูง

Source: Flickr (click image for link)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ควีนัว

ควีนัวได้ถูกจัดให้เป็นสุดยอดของอาหารซึ่งเป็นพืชที่มีเส้นใยอาหารสูงและแน่นอนว่ามีโปรตีนที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ ในขนาดของควีนัวสุกปริมาณ 1 ถ้วย มีปริมาณของโปรตีนอยู่มากถึง 8.14 กรัม เลยค่ะ

 

2.ผักปวยเล้ง

ผักใบสีเขียวเข้มที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนอย่างผักปวยเล้ง ก็ยกให้เป็นอีกตัวเลือกของผักที่ให้โปรตีนถึง 2.9 กรัม เลยทีเดียว จะเลือกทานแบบสดๆ ในสลัด หรือนำมาปรุงอาหารก็อร่อยได้คุณค่าแบบไม่รู้สึกผิดหลังทานเสร็จอย่างแน่นอน

 

3.ผักเคล

ผักเคลใบสีเขียวเข้มที่นิยมนำมาทำสลัดรับประทานเพื่อสุขภาพแล้วยังถูกจัดให้เป็นสุดยอดของอาหาร ซึ่งก็ไม่แปลกใจเลยด้วยสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการที่เปี่ยมล้น รวมไปถึงโปรตีนจากผักเคลหั่น 1 ถัวย มีมากถึง 2.9 กรัมเลยทีเดียวค่ะ

 

4.บล็อคโคลี่

ถ้ามองหาผักสีเขียวที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติอร่อยถูกปากไม่ว่าจะลวก ต้ม ผัด ย่าง คงมองข้ามบล็อคโคลี่ไปไม่ได้อย่างแน่นอน และบล็อคโคลี่ก็มีโปรตีนอยู่ไม่น้อย เพียงบล็อคโคลี่ 1 ถ้วยก็มีโปรตีนอยู่ถึง 2.6  กรัม

 

5.หน่อไม้ฝรั่ง

หน่อไม้ฝรั่งเป็นผักที่ส่วนใหญ่จะเห็นเคียงมากับจานของสเต็กและคนไทยจะนิยมนำมาผัดกับเนื้อสัตว์ต่างๆ และด้วยรสชาติความอร่อยของหน่อไม้ฝรั่งเมื่อรับประทานเข้าไปเพียง 100 กรัม ก็ยังได้รับโปรตีนมากถึง  2.4 กรัม เลยล่ะค่ะ

 

6.ผักสลัดน้ำ

ผักสลัดน้ำ เป็นผักที่อยู่ตระกูลเดียวกันกับกะหล่ำปีซึ่งเราคนไทยนิยมนำมากินเป็นผักสลัดหรือแกล้มกับน้ำพริกก ผักสลัดน้ำนอกจากเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีแล้วยังมีเส้นใยอาหารและวิตามินซีที่สูงด้วยค่ะ ผักสลัดน้ำปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนอยู่ 2.3 กรัม ค่ะ

 

7.อาร์ติโชก

อาร์ติโชกเป็นผักที่ได้ถูกยกให้เป็นแหล่งของใยอาหารสูง หลายๆ คนอาจจะยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับผักชนิดนี้กันมากนัก แต่ก็ไม่ควรมองข้ามนำมาเป็นอีกทางเลือกในการรับประทานเพื่อได้รับโปรตีนจากผักชนิดนี้กันค่ะ อาร์ติโชกปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนอยู่ 3.3 กรัม

 

8.ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองแบบปรุงสุกได้จัดเป็นแหล่งอาหารของโปรตีนอย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียวค่ะ นอกจากสารอาหารที่มีมากมายแล้วยังมีใยอาหารสูงตามไปด้วย ถั่วเหลืองต้มสุกปริมาณ ๅ ถ้วย มีโปรตีนอยู่สูงมากถึง 28.6 กรัมเลยทีเดียวค่ะ

 

9.ถั่วแระ

ถั่วแระนอกจากจะเป็นแหล่งวิตามิน A, C, Thiamin, ฟอสฟอรัสและธาตุเหล็กที่ดีแล้วปริมาณวิตามินบีและโฟเลตที่พบในถั่วแระก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ด้วยค่ะ นอกจากนี้ยังมีเส้นใยอาหารที่สูงและยังเป็นแหล่งของโปรตีนชั้นดี โดยถั่วแระปริมาณ 1 ถ้วย ยังให้โปรตีนถึง 8.6 กรัม

 

10.ถั่วเลนทิล

ถ้าพูดถึงพืชต้องยกให้พืชตระกูลถั่วเลยที่เป็นแหล่งชั้นดีของโปรตีน และถั่วอีกหนึ่งชนิดที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ ถั่วเลนทิล นั่นเองค่ะ นอกจากนี้ถั่วเลนทิลก็เป็นแหล่งที่ดีของใยอาหาร รวมถงมีปริมาณของโฟเลตสูง ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก ปริมาณโปรตีนจากถั่วเลนทิลต้ม 1 ถ้วย มีปริมาณโปรตีนมากถง 17.9 กรัม เลยค่ะ

 

11.เมล็ดฟักทอง

ส่วนใหญ่เราจะเลือกรับประทานเมล็ดฟักทองเป็นอาหารว่างซะมากกว่า นอกจากจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งสามารถช่วยลดความเครียดและการอักเสบของอ๊อกซิเดชั่นแล้วเมล็ดฟักทองยังมีสาร L-tryptophan ที่ไปช่วยกระตุ้นการนอนหลับให้หลับสนิทอีกด้วยค่ะ ในเมล็ดฟักทองคั่วสุกปริมาณ 1 ออนซ์ มีโปรตีนอยู่ถึง 5.2 กรัม

 

12.บีทรูท

บีทรูทเป็นพืชผักและเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน รวมไปถึงแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า betalains บีทรูทปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนอยู่ 2 กรัม

 

13.มันฝรั่ง

มันฝรั่งสามารถรับประทานทดแทนคาร์โบไฮเดรตจากข้าวได้เลยก็ว่าได้ แต่ถึงแม้ว่าคุณจะได้รับคาร์โบไฮเดรตแต่กลับพบว่ามันฝรั่งก็มีโปรตีนอยู่ไม่น้อยเช่นกัน มันฝรั่งปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนถึง 2 กรัม ค่ะ

 

14.กะหล่ำดอก

กะหล่ำดอกเป็นพืชที่อาจจะไม่มีโปรตีนสูงเท่ากับผักชนิดอื่นๆ แต่กะหล่ำดอกก็จัดเป็นผักที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและมีฤทธิ์ในการขับสารพิษในร่างกาย ต้านการอักเสบ อีกทั้งยังช่วยระบบการย่อยอาหารของคุณให้ดีขึ้นอีกด้วย การรับประทานกะหล่ำดอกปริมาณ 100 กรัม จะได้รับโปรตีนมากถึง 1.9 กรัม เลยทีเดียวค่ะ

 

15.ถั่วงอก

การเลือกรับประทานถั่วงอกที่สดสะอาดหรือนำมาปรุงใส่ในอาหารก็ทำให้เกิดอาหารจานโปรดของคุณได้ ด้วยปริมาณโปรตีนในถั่วงอกสุกจะมีโปรตีน 2.5 กรัม อีกทั้งถั่วงอกยังเต็มไปด้วยสารอาหารอื่นๆ อีกด้วย เช่นเลซิตินที่ไปช่วยลดคอเลสเตอรอลและมีแร่ธาตุสังกะสีอีกด้วย่ค่ะ

 

16.เห็ด

เห็ดนอกจาก เป็นอาหารที่แสนอร่อยและมีคุณค่าทางโภชนากาสูงแล้ว ยังมีสรรพคุณในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอีกด้วยค่ะ การรับประทานเห็ดปริมาณเพียง 1 ถ้วย ก็ได้รับโปรตีนมากถึง 3 กรัมเลยทีเดียว

 

17.แครอท

แครอทเป็นผักที่อุดมไปด้วยวิตามิน และสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญอย่างเบต้าแคโรทีนอยด์ เป็นอีกตัวเลือกของผักที่มีโปรตีนอย่างแครอทที่จะเลือกรับประทานกันค่ะ แครอทปริมาณ 100 กรัม มีโปรตีนอยู่ 0.9 กรัม ค่ะ

 

18.ถั่วแระญี่ปุ่น

ใครจะรู้ว่าถั่วแระญี่ปุ่นตามร้านอาหารญี่ปุ่นที่นิยมเสิร์ฟเป็นอาหารทานเล่นนั้น จะมีโปรตีนอยู่สูงอย่างไม่น่าเชื่อกันเลยทีเดียว ซึ่งถั่วแระญี่ปุ่นแบบต้มสุกปริมาณ 1 ถ้วย ให้โปรตีนสูงถึง  16.9 กรัม เลยล่ะค่ะ

 

19.มะเขือยาว

เมื่อเราเลือกรับประทานมะเขือยาวนอกจากเราจะได้รับเส้นใยและโพแทสเซียมแล้ว ก็จะได้รับโปรตีนมากถึง 1 กรัม ต่อปริมาณ 100 กรัมเลยทีเดียว

 

20.ข้าวโพด

ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่ให้รสชาติหวานมีเส้นใยอาหารที่สูง เพียงอยู่ทานข้าวโพดต้มปริมาณ 1 ถ้วย ก็ได้รับโปรตีนไปเต็มๆ ถึง 16 กรัม กันไปเลยค่ะ

 

 

www.flickr.com/photos/frf_kmeron/3150715238/

www.flickr.com/photos/john/3959245280/

9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง

Source: Flickr (click image for link)

เคยสงสัยเรื่องคลอโรฟิลล์กันหรือเปล่าคะบางคนอาจทราบกันว่าส่วนใหญ่ในพืชนั้นจะต้องมีสารตัวนี้อยู่ แต่หลายๆ คนอาจจะไม่ทราบงง่าความจริงแล้วคลอโรฟิลล์คืออะไรและคลอโรฟิลล์จะมีประโยชน์สำหรับมนุษย์เราหรือเปล่านะ วันนี้เลยอยากจะมาเขียนถึงข้อมูลของคลอโรฟิลล์บางส่วนเพื่อทำความรู้จักกับคลอโรฟิลล์ให้มากขึ้นกันค่ะ “ โดยสารคลอโรฟิลล์ ” (Chlorophyll) ที่เป็นสารสีเขียวนั้นคือเป็นประเภทสีอีกหนึ่งชนิดของพืชในกลุ่มพฤกษเคมี (Phytonutrients) นั่นเอง โดยคลอโรฟิลล์ มีหน้าที่ในการดูดซับแสงในกระบวนการสังเคราะห์แสงและสร้างพลังงานของพืชค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นความสำคัญของสารคลอโรฟิลล์คือช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ทั้งยังเป็นสารจากธรรมชาติที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็งในร่างกาย และปกป้อง DNA จากความเสียหายที่เกิดจากเชื้อราที่เป็นพิษ เช่นอะฟลาท็อกซิน คลอโรฟิลล์สามารถพบได้ในพืชที่มีสีเขียวทั้งหมด ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงผักใบเขียวและผักอื่นๆ ที่เรารับประทานกันทั่วไปรวมถึงสาหร่ายหรือแบคทีเรียบางชนิดอีกด้วยค่ะ การเลือกรับประทานผักยังไงให้ได้คลอโรฟิลล์อย่างเต็มที่นั้นจะแบบปรุงสุกหรือแบบดิบดีล่ะ? ปริมาณคลอโรฟิลล์จะลดลงเมื่อผักสีเขียวนั้นถูกปรุงสุกหรือเกิดจากการละลายเมื่อแช่แข็งและเมื่อเริ่มเกิดการเน่าเสีย ตัวอย่างเช่นปริมาณคลอโรฟิลล์ในผักขมลดลงประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์หลังจากที่ละลาย และอีก 50 เปอร์เซ็นต์หลังจากการต้มหรือนึ่ง ทางที่ดีควรปรุงหรือต้มด้วยอุณหภูมิต่ำจะช่วยคงสภาพคลอโรฟิลล์ได้มากที่สุดค่ะ

 

9 ชนิดของอาหารที่มีสารคลอโรฟีลสูง

Source: Flickr (click image for link)

1.ผักปวยเล้ง

ผักปวยเล้งเป็นผักใบสีเขียวเข้มที่มากคุณค่าทางโภชนาการเลยล่ะค่ะ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของอาหารที่มีสารคลอโรฟิลล์สูง ผักปวยเล้งปริมาณเพียง 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 23.7 มิลลิกรัม

 

2.ผักชี

ทราบกันหรือเปล่าคะว่าผักชีที่เรานิยมนำมาปรุงอาหารดีๆ นี่แหละค่ะเป็นแหล่งชั้นดีของคลอโรฟิลล์เลยก็ว่าได้ค่ะ ผักชีปริมาณแค่ครึ่งถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 19.0 มิลลิกรัม

 

3.กะหล่ำปลี

กะหล่ำปลีไม่ว่าจะนำมารับประทานแบบสดๆ หรือนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิดแล้วยังเต็มไปด้วยสารคลอโรฟิลล์ไม่น้อยเลยค่ะ กะหล่ำปลีปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่ถึง 4.1 มิลลิกรัม

 

4.ถั่วแขก

ถั่วแขกมีลักษณะคล้ายกับถั่วฝักยาวแต่ขนาดสั้นกว่าและมีกลิ่นต่างกันค่ะ ถั่วแขกปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 8.3 มิลลิกรัม

 

5.ผักวอเตอร์เครส

ผักวอเตอร์เครสหรือคนไทยเราเรียกกันว่าผักสลัดน้ำที่มีลักษณะคล้ายผักสลัดจัดเป็นพืชสีเขียวเข้มและให้คลอโรฟิลล์สูงมากเลยทีเดียวค่ะ ซึ่งผักวอเตอร์เครสแค่ปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 15.6 มิลลิกรัม

 

6.ผักอลูกูร่า ร็อคเก็ต

เป็นพืชตระกูลกะหล่ำและนิยมนำมาทำสลัดและประกอบอาหารต่าง ๆ ใบของผักชนิดนี้จะมีลักษณะกลม โค้งมน ผักอลูกูร่า ร็อคเก็ตปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 8.2 มิลลิกรัม

 

7.กระเทียมต้น

เป็นพืชผักชนิดหนึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกับหอมและกระเทียม ส่วนใหญ่นำมาปรุงอาหารประเภทผัดหรือทำซุปค่ะ กระเทียมต้นปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 7.7 มิลลิกรัม

 

8.ผักสลัดเอ็นไดว์

ผักสลัดเอ็นไดว์ (Endive) มีลักษณะคล้ายๆ ผักสลัดจำพวก กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค แต่มีลักษณะใบหยิก ผักสลัดเอ็นไดว์ปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 5.2 มิลลิกรัม

 

9.ถั่วลันเตาหวาน

ในถั่วลันเตาฝักเล็กๆ สีเขียวสดใสจึงทำให้เป็นหนึ่งในแหล่งของอาหารที่ให้คลอโรฟิลล์สูง โดยถั่วลันเตาหวานปริมาณ 1 ถ้วย จะมีคลอโรฟิลล์อยู่มากถึง 4.8 มิลลิกรัม

 

www.flickr.com/photos/jasonp80/7072939569/

www.flickr.com/photos/141397992@N02/27360755456/

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

Source: Flickr (click image for link)

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) จะเป็นที่รู้จักและนิยมเลือกมารับประทานกันในแวดวงคนที่รักสุขภาพโดยเฉพาะในต่างประเทศ ร้านค้าที่เรียกว่าซูปเปอร์มาร์เก็ตในต่างประเทศที่ไปทางไหนอาหารทุกอย่างเกือบทุกชนิดที่จะต้องมีอาหารประเภทออร์แกนิก และราคาก็จะแตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิกซึ่งอาหารที่เป็นออร์แกนิกจะมีราคาที่สูงกว่า และคนต่างประเทศค่อนข้างจริงจังที่จะเลือกซื้อหรือหยิบอาหารที่เป็นออร์แกนิกอยู่เสมอๆ ในบางคนถึงกับสงสัยว่าทำไมราคาถึงได้ต่างกันขนาดนี้นะในเมื่อชนิดของอาหารก็เป็นชนิดเดียวกันรูปร่างหน้าตาของอาหารก็เหมือนกัน ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แค่เพียงอาหารเท่านั้นที่เป็นอาหารออร์แกนิก ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันด้วยที่เป็นออร์แกนิกอย่างเช่น เครื่องปรุงอาหาร เป็นต้น นี่จึงเป็นเหตุจูงใจให้ผู้เขียนได้คลายความสงสัยเลยจึงอยากนำเอาข้อมูลมาแบ่งปันกันค่ะ ว่าแล้วอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้มันคืออะไรกัน ทำไมถึงเป็นที่นิยมกันมากนักในพวกคนที่รักสุขภาพ ถ้าจะพูดไปสมัยนี้ใครๆ ก็หันมาใส่ใจในสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น และบางคนที่ยังไม่ทราบว่าอาหารออร์แกนิกคืออะไรอย่างแน่ชัดแต่เห็นคนอื่นบอกดีก็กินตามกันไป และก็เป็นเรื่องปกติซึ่งก็ไม่ผิดแต่อย่างใดค่ะ แค่อย่างน้อยอยากให้ตัวเราเองทราบข้อมูลที่แท้จริงไว้ซึ่งบางทีอาจจะสามารถนำข้อมูลไปบอกต่อคนอื่นๆ ได้อีกด้วย รู้อย่างนี้แล้วเราไปดูข้อมูลและทำความเข้าใจเกี่ยวกับ อาหารออร์แกนิก กันเลยค่ะ

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) คืออะไร

อาหารออร์แกนิก (Organic Food) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาหารเกษตรอินทรีย์ หรือ อาหารอินทรีย์ นั่นก็หมายความว่าอาหารออร์แกนิกที่ว่านี้คืออาหารที่ได้ผ่านกระบวนการผลิตจากทางเกษตรโดยที่ไร้หรือปลอดสารเคมีทุกชนิดคือไม่ใช้สารเคมีใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมีรวมถึงวัตถุสังเคราะห์ต่างๆ อีกทั้งยังรวมไปถึงไม่ทำการตัดต่อทางพันธุกรรมจากเมล็ดพันธุ์อีกด้วยค่ะ ซึ่งก็รวมไปถึงกระบวรการผลิตก็จะต้องไม่มีการใช้สารเคมีในการกำจัดพืชด้วย และก่อนที่จะเริ่มการปลูกก็จะต้องเตรียมหน้าดินด้วยวิธีธรรมชาติ หรือเรียกง่ายๆ ว่าทุกกระบวนการและขั้นตอนการผลิตนั้นจะต้องไม่มีหรือปลอดสารปนเปื้อนทั้งสิ้นไม่ว่าจะจากมนุษย์หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม และจะไม่มีการฉายรังสีหรือเพิ่มเติมสารปรุงแต่งต่างๆ ลงไปในอาหารอีกด้วย แม้กระทั่งในขั้นตอนการเลี้ยงสัตว์จะต้องเลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารที่มีสุขอนามัย ถ้าอาหารที่มาจากการทำปสุสัตว์ก็จะต้องไม่มีการใช้สารปฎิชีวภาพ ไม่ใช้สารที่เร่งฮอร์โมนด้วย จากการตั้งคำถามและสงสัยว่าทำไมอาหารออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ที่มีตราประทับว่าออร์แกนิก (Organic) ถึงได้มีราคาที่แตกต่างจากอาหารชนิดเดียวกันที่ไม่ใช่ออร์แกนิก ก็เนื่องจากสินค้าออร์แกนิกหรือผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกจะถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสัดส่วนของส่วนผสมและวัตถุดิบที่เกิดจากการเพาะปลูกด้วยกระบวนการออร์แกนิก โดยการควบคุมและการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานที่ได้รับการยอมรับ นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาของผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกมีราคาสูงกว่าทั่วไป ก็เพราะว่ามีต้นทุนการผลิตที่สูงและมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมคุณภาพนั่นเองค่ะซึ่งมีอะไรบ้างนั้นกว่าจะมาเป็นอาหารประเภทออร์แกนิกได้นั้นต้องผ่านกระบวนการและขั้นตอนของอะไรบ้างมาดูกันค่ะ

  • ส่วนประกอบทุกอย่างต้องมาจากธรรมชาติ

ส่วนประกอบทุกอย่างในการที่จะประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกนั้นจะต้องมาจากธรรมชาติทั้งหมด นั่นก็คือในขั้นตอนกระบวนการเพาะปลูกพืชและผักนั้นจะไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใดๆ ทั้งสิ้น เรียกได้ว่าจะต้องเป็นพืชผักที่ปลอดสารพิษจากสารเคมีซึ่งจะใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกจากธรรมชาติในการเพาะปลูกเท่านั้นค่ะ และรวมไปถึงเนื้อสัตว์ก็ต้องมาจากสัตว์ที่จะต้องถูกทำการเลี้ยงดูให้เติบโตสมบูรณ์อย่างอิสระตามธรรมชาติรวมถึงได้รับอาหารจากธรรมชาติ และจะไม่มีการใช้สารเร่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเร่งเนื้อ เร่งไข่ จะไม่มีการขุนหรือให้อาหารสังเคราะห์ใดๆ ต่อสัตว์ทั้งนั้นที่เป็นการทำให้สัตว์เหล่านั้นโตเร็วขึ้นเหมือนกับที่ในวงการอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทำกัน ถึงจะเรียกได้ว่าผลผลิตเหล่านี้เป็นการสร้างอาหารแบบธรรมชาติ 100% ไม่มีสารพิษเจือปนค่ะ

  • ขั้นตอนขบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี

หากในอาหารมีส่วนประกอบจากการใช้สารเคมีร่วมด้วยนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นออร์แกนิก ซึ่งการไม่ใช้สารเคมีในที่นี้หมายถึง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี สารกระตุ้นหรือสารเร่งการเจริญเติบโต โดยตามหลักมาตรฐานขององค์กรออร์แกนิกจะระบุรูปแบบอาหารออร์แกนิกไว้ 3 ระดับ คือ

1.100% Organic (ธรรมชาติ 100%)

2.Organic (ธรรมชาติ 95% ขึ้นไป ใช้สารสังเคราะห์เพียงเล็กน้อยเท่าที่จำเป็น)

3.Made with Organic Ingredient (ธรรมชาติ 70% ขึ้นไป ถ้าต่ำกว่านี้ไม่ถือว่าเป็น Organic)

ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์ถูกนำออกมาจำหน่ายนั้น ต้องมีป้ายบ่งบอกเปอร์เซ็นต์ลักษณะนี้ ซึ่งในต่างประเทศอย่างอเมริกา แคนาดา ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารออร์แกนิกค่อนข้างสูง โดยจะเป็น Organic 100% ซึ่งเทียบกับประเทศไทยแล้วเรายังไม่ค่อยเห็นความสำคัญในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็เริ่มมีผู้บริโภคในกลุ่มคนรักสุขภาพหันมารับประทาน Organic Food มากขึ้น เพราะพิษภัยของสารพิษที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารและสิ่งแวดล้อม ทำให้ร่างกายของเรากลายเป็นแหล่งสะสมสารพิษและส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ดังนั้น Organic Food จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคที่ห่วงใยในสุขภาพของตัวเอง

  • กระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดมลพิษในสิ่งแวดล้อม

นอกจากส่วนผสมและขั้นตอนกระบวนการของการประกอบอาหารประเภทออร์แกนิกจะต้องปลอดสารพิษไร้สารเคมี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพแล้วยังคำนึงถึงในขั้นตอนกระบวนการผลิตที่จะไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยพยายามลดมลพิษที่จะให้โทษต่อธรรมชาติ ซึ่งคงจะทราบกันดีว่าการใช้สารเคมีเช่น ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยเคมี จะส่งผลให้มีสารพิษตกค้างอยู่ในดิน น้ำ และอากาศ ดังนั้นวิธีการปลูกแบบธรรมชาติแบบนี้จึงเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม พูดง่ายๆ คือ ดีต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมนั่นเองค่ะ

 

จะทราบได้อย่างไรว่าอาหารประเภทไหนเป็น “ออร์แกนิก”

Source: Flickr (click image for link)

ในส่วนของประเภทของอาหารออร์แกนิกที่พบว่ามีวางจำหน่ายมากที่สุดคือ ผักสด ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากธัญพืช เครื่องดื่ม เครื่องปรุงอาหาร และในรูปของขนมต่าง ๆ (เกือบ 58% ของสินค้าออร์แกนิกที่วางจำหน่ายเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งถ้าไม่นับรวมกับผักผลไม้สดที่ส่วนใหญ่จะผลิตในประเทศ สัดส่วนของสินค้าออร์แกนิกที่นำเข้าจากต่างประเทศจะสูงถึง 85%)

หลายคนอยากที่จะหันมาเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกกันมากขึ้นก็เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพนั่นเอง หรือใครที่กำลังอยากที่จะเริ่มต้นในการเลือกรับประทานอาหารประเภทออร์แกนิกอาจจะเกิดความสงสัยว่าต้องดูยังไงนะถึงจะรู้ว่าสินค้าหรืออาหารแบบไหนที่เป็นอาหารและสินค้าประเภทออร์แกนิก หรือแค่ติดป้ายว่าออร์แกนิก (Organic) ก็ใช่เลยหรือเปล่า? โดยเกือบ 91% ของสินค้าออร์แกนิกจะได้รับการรับรองมาตรฐาน และมีเพียง 9% เท่านั้นที่มีการกล่าวอ้างว่าเป็นสินค้าออร์แกนิกแต่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ซึ่งในสินค้าที่ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานนั้นจะใช้ตราที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากต่างประเทศ โดยตรารับรองการเกษตรอินทรีย์ที่ใช้มากที่สุดคือ ตรารับรองของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA)  

โดย U.S. Department of Agriculture ตรารับรองอาหารและผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดคำว่า “Organic” ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับสินค้าเกษตรและสัตว์น้ำที่จับได้จากแหล่งธรรมชาติที่มาจากการเพาะเลี้ยงและอาหารสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งที่เป็นวัตถุดิบและที่ผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้รวมถึงผลิตภัณฑ์เกษตรที่นำมาใช้ในลักษณะที่เป็นเครื่องปรุง (Ingredient) ที่ได้รับการผลิตและการจัดการเป็นไปตามกฎระเบียบ USDA ที่กำหนดไว้ว่าแล้วเท่านั้น แต่จะมีเพียงส่วนน้อยที่ใช้เพียงมาตรฐานของประเทศไทย Organic Thailand หรือสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) ค่ะ

 

https://www.flickr.com/photos/84906483@N08/7784187292/ 

https://www.flickr.com/photos/williamismael/5539135518/